การสอนแบบแผนที่ความคิด (Mind Map) รศ.วิภาดา รักวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรกฎาคม 2556
รศ.วิภาดา รักวิจัย
Mind Map คืออะไร? Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มี อยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็น บรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ได้โดยง่าย เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมอง ให้เชื่อมโยงต่อข้อมูล หรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” รศ.วิภาดา รักวิจัย
ลักษณะของแผนที่ความคิด (Mind Map) ความคิด รวบยอดหลัก ความคิดรวบยอดย่อย ความคิดรวบยอดรอง รศ.วิภาดา รักวิจัย
การสร้าง แผนที่ความคิด หรือ Mind Map เขียน/วาด มโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ เขียน/วาด มโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ เขียน/วาด มโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
กฎการสร้าง Mind Map เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถ ประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้าง พื้นฐานรองรับ คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยืดหยุ่นได้มากขึ้น ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รศ.วิภาดา รักวิจัย
โครงสร้างของการเขียน Mind Map 1. คิดค้น หา ใจความสำคัญ หรือ Key concept ให้ได้เสียก่อนว่า มีอะไร และอย่างไร 2. จากนั้น นำ Key concept มาหา Key word จาก Key concept นั้นๆ ซึ่งจะได้ “คำสำคัญ” ออกมา และจะมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำต่างๆ เหล่านั้น 3. จากนั้นจึงนำ “คำสำคัญ” มาเรียงต่อกันให้เห็นความสัมพันธ์ เชื่อมโยงของเหตุการณ์ โดยใช้เส้นและสีของเส้นแสดงระดับความสำคัญของความสัมพันธ์เชื่อมโยงเหล่านั้น รศ.วิภาดา รักวิจัย
การคิด...ข้อสังเกต...สรุป 1. โครงสร้างของความคิด ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร 2. มี Key concept อย่างไร และอะไรบ้าง 3. แจกลูกออกมาเป็น Key word ได้หรือไม่ กี่คำ อะไรบ้าง 4. Key word แต่ละคำ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างไร เมื่อเชื่อมโยงคำแต่ละคำได้แล้ว คนอื่นจะอ่านรู้เรื่องหรือไม่ รศ.วิภาดา รักวิจัย
หลักสำคัญในการทำ Mind Map 1. อย่าเขียนประโยคยาวๆ เพราะพื้นที่จำกัด ให้เขียนใจความสั้นๆ หรือ วลีเท่านั้น หากมีประโยคยาวๆให้กลุ่มช่วยกันสรุปเป็นคำสั้นๆ 2. ให้เขียนด้วยปากกาหลายๆสี 3. สามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ (ผิดถูกไม่ว่ากัน) รศ.วิภาดา รักวิจัย
ในบางครั้ง หรืออาจบ่อยครั้งที่เราเริ่มต้นไม่ถูก หรือคิดอะไรไม่ออก ให้เริ่มต้นโดยถามตัวท่านเอง โดยใช้สูตร 5W 1H ใคร (Who) อะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อใด (When) ทำไม (Why) อย่างไร (How) รศ.วิภาดา รักวิจัย
วิธีการเขียน Mind Map โดยละเอียด 1.เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน 2.วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต 3.คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มี ลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละ เส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง 4.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา 5.แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่ แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ 6.การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน 7.คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น 8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน รศ.วิภาดา รักวิจัย
ข้อเสนอแนะในการเขียน MIND MAP 1.การสร้างภาพศูนย์กลาง การทำภาพให้น่าสนใจ ดังนี้ - ภาพควรมีสีไม่น้อยกว่า 3 สี - ขนาดของภาพไม่ควรมีขนาดใหญ่จนเกินไป ขนาดพอเหมาะประมาณ 2 ตารางนิ้ว - ภาพไม่จำเป็นต้องมีภาพเดียว อาจมีหลาย ๆ ภาพ หรือหลาย สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น - ภาพเป็นภาพที่มีลักษณะเคลื่อนไหวก็จะดี - ไม่ควรจะใส่กรอบภาพศูนย์กลางเพราะกรอบอาจจะเป็นสิ่งที่สกัดกั้นการไหลของความคิด 2.การหาคำสำคัญ (KEY WORD) คำสำคัญควรมีลักษณะดังนี้ - ควรเป็นคำเดียว วลี หรือข้อความสั้น ๆ - ควรเป็นคำที่สื่อความหมายได้ดี แสดงถึงจุดเน้น กระตุ้นความสนใจ ง่ายแก่การจำ 3. การหาความคิดรอง หรือการแตกกิ่ง ควรทำดังนี้ - เป็นคำสำคัญที่รองลงไปหรือเป็นส่วนประกอบที่เกี่ยวกับคำสำคัญ/คำกุญแจเพื่อเป็นการลงรายละเอียด - ควรเขียนบนเส้นที่ต่อออกไปแต่เส้นจะเรียวลงไปเรื่อย ๆ - ถ้าต้องการเน้นอาจทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ ใส่กล่องหรือขีดเส้นใต้เป็นต้น - คำ/ภาพ/เส้น บนสาขาเดียวกัน ควรใช้สีเดียวกัน - การแตกกิ่งไม่ควรให้เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งควรให้สมบูรณ์ ควรแตกกิ่งให้ได้ภาพ MIND MAP ที่สมดุล - การแตกกิ่งควรแตกทิศเฉียงมากกว่าบนล่าง รศ.วิภาดา รักวิจัย
การสร้างแผนที่ความคิดมีหลายลักษณะ แผนผังแบบกิ่งไม้ (Branching Map) นำเสนอโดยการเขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดอื่น ๆ ที่สำคัญรองลงไปตามลำดับ ผังวงจร (A Circle Map) นำเสนอโดยการเขียนเป็นแผนผังเพื่อเสนอความสัมพันธ์เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันเรียงลำดับเป็นวงกลม แผนผังใยแมงมุม (A Spider Map)นำเสนอโดยเขียนความคิดรวบยอดหลักที่สำคัญไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษแล้วเขียนคำอธิบายหรือบอกลักษณะของความคิดรองลงไปไว้ในลักษณะของใยแมงมุม แผนผังก้างปลา (A Fishbone Map) นำเสนอโดยเขียนประเด็นหรือเรื่องหลักแล้วเสนอสาเหตุและผลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนผังตารางเปรียบเทียบ (A Compare Table Map) นำเสนอโดยการเขียนเป็นตารางเพื่อเปรียบเทียบสองสิ่งหรือสองเรื่องในประเด็นที่กำหนด แผนผังรูปวงกลมทับเหลื่อม (Overlapping Circles Map) เสนอการเปรียบเทียบสองสิ่งหรือสองเรื่องมีลักษณะเหมือนกันหรือต่างกัน รศ.วิภาดา รักวิจัย
การนำ Mind Map ไปใช้ ใช้ระดมพลังสมอง ใช้นำเสนอข้อมูล ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้ รศ.วิภาดา รักวิจัย
สามารถนำเสนอได้ดีและทำให้ผู้เข้าร่วมสนใจ ประโยชน์ ของ Mind Map ทำให้จำได้ง่ายขึ้น ทุกคนได้มีส่วนร่วม ได้ความเห็นของทุกคน สามารถนำเสนอได้ดีและทำให้ผู้เข้าร่วมสนใจ รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
การคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hat) การคิดเปรียบเทียบ การคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา แสดงถึงความเป็นกลางจึง หมายถึงตัวเลขและขัดเท็จจริงต่างๆ แสดงถึงความโกรธ อารมณ์ จึง หมายถึงการมองเห็นทางด้านอารมณ์และความรู้สึกของผู้คิดในเรื่อง ความประทับใจ ความโกรธ ความสนุก ความอบอุ่น และความพอใจ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น การคิดเชิงมโนทัศน์ แสดงถึงความเยือกเย็น ท้องฟ้า ซึ่ง อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง จึง หมายถึงการควบคุม การคิดสังเคราะห์ การคิดแบบ หมวก 6 ใบ แสดงถึงความมืดครึ้มจึง หมายถึงการคิดด้านลบ การปฏิเสธและการคิดค้น ป้องกันไม่ให้คิดหรือตัดสินใจที่เสี่ยงช่วยทำให้หาข้อพกพร่องหรือจุดอ่อนได้รวมทั้งช่วยตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผล แสดงถึงความเจริญเติบโต ความสมบูรณ์ จึง หมายถึงความคิดสร้างสรรค์ และความคิดใหม่ๆ มุมมองใหม่ แสดงถึงความสว่างไสวและด้านบวก จึง หมายถึงเหตุผลทางบวก ความมั่นใจเหตุผลในการยอมรับและประโยชน์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดประยุกต์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดวิพากษ์ การคิดอนาคต การคิดบูรณาการ การคิดเชิงกลยุทธ์ รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย
รศ.วิภาดา รักวิจัย