จารีตประเพณีและพหุนิยมทางกฎหมาย
รัฐสมัยใหม่และจารีตประเพณี ระหว่างกฎหมายของรัฐสมัยใหม่และจารีตประเพณีอาจไม่สอดคล้องกัน กฎเกณฑ์ชนิดใดมีผลใช้บังคับเหนือกว่า
กฎเกณฑ์นี้เป็นกฎหมาย?
การจัดการป่าชุมชน ภายใต้การจัดการโดยกฎหมายของรัฐ พื้นที่ป่าลดลงอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ หลังทศวรรษ 2530 มีความพยายามผลักดันให้ออกกฎหมายป่าชุมชน แม้ไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็ยังคงมีระบบการจัดการอยู่
คำอธิบายเกี่ยวกับสถานะของจารีตประเพณีในกฎหมายไทย มาตรา 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ” “เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”
การใช้กฎหมายต้องเป็นไปตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร >>> เจตนารมณ์ >>> จารีตประเพณี ตัวอย่างที่มักถูกอ้างถึง ชกมวย หมอผ่าตัด การสาดน้ำวันสงกรานต์ ไม่มีการฟ้องละเมิด
แม้เปิดช่องให้ใช้ได้ แต่ความเป็นจริงมีกฎหมายทุกเรื่อง ข้อโต้แย้ง แม้เปิดช่องให้ใช้ได้ แต่ความเป็นจริงมีกฎหมายทุกเรื่อง ลักษณะจารีตที่ได้รับการยอมรับ ใช้ในรูปลักษณะเดียวกัน ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติขัดหรือแย้งกับจารีต
ในมาเลเซีย มี Adat Adat ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน Adat ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกเขียน แต่เป็น oral tradition ถ้ามีประมวลก็รวบรวมขึ้น การพิสูจน์ถึง Adat ให้ความสำคัญกับหลักฐานในระดับท้องถิ่น
การศึกษากฎหมายไทยจึงไม่ต้องสนใจจารีตประเพณี ศึกษาตัวบทกฎหมาย ใช้บังคับเหมือนกันทั่วราชอาณาจักร ระบบกฎหมายเชิงเดี่ยว <mono-legal system>
พหุนิยมทางกฎหมาย/ระบบกฎหมายเชิงซ้อน Legal Pluralism การพิจารณาถึงกฎหมายมักพิจารณาเฉพาะกฎหมายของรัฐ แต่ในความเป็นจริงมีกฎเกณฑ์หลายประเภทถึงบังคับใช้ LP ศึกษาถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่และได้รับการปฏิบัติตาม แม้ไม่ใช่กฎหมายของรัฐ
สถานการณ์ที่มีกฎหมาย 2 ชุดหรือมากกว่าปฏิสัมพันธ์กันอยู่ The situation in which 2 or more laws interact >>> Hybrid law กฎหมายจากองค์กรนิติบัญญัติ กฎหมายจารีตประเพณี กฎหมายศาสนา
สถานการณ์ที่ทำให้เกิด Legal Pluralism แบบที่หนึ่ง การขยายตัวของอาณานิคมของตะวันตกเหนือดินแดนต่างๆ ในเอเชีย กฎหมายของเจ้าอาณานิคมกับกฎหมายที่ใช้อยู่ในสังคมนั้นๆ
แบบที่สอง กฎหมายของรัฐแบบเชิงเดี่ยวที่อยู่บนสังคมพหุวัฒนธรรมหรือกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันในมิติต่างๆ เช่น มาเลเซีย มีกฎหมายครอบครัวที่ยอมรับหลายแบบ ในไทย มีการจัดการป่าชุมชน ระบบไร่หมุนเวียน
Law Reform Act <marriage and divorce> 1976 กฎหมายนี้จะไม่บังคับกับมุสลิมและบุคคลใดที่แต่งงานภายใต้ Muslim Law และชนพื้นเมืองแห่ง Sabah และ Sarawak และชนพื้นเมืองใดๆ ที่แต่งงานและหย่าภายใต้ Native Customary Law หรือ Aboriginal Custom
ข้อจำกัดและปัญหาบางประการ จารีตประเพณีส่วนมากยอมรับในเรื่องครอบครัว มรดก การจัดการทรัพยากร ปัจจุบันขยายถึงทรัพย์สินทางปัญญา ควรมีการสร้างมาตรฐานขั้นต่ำที่จารีตไม่อาจละเมิดได้ เช่น รูปแบบการลงโทษ