บทเรียนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดย อ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทเรียนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย วัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบไทยๆ ค่านิยมการเคารพกฎหมาย และนิติรัฐ ความรุนแรงในสังคม อำนาจนิยม ความมั่นคง กระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง ระบบการศึกษา ภูมิปัญญาไทยที่ถูกทิ้งขว้างไม่เชื่อมโยงเข้ากับสิทธิมนุษยชน การเริ่มต้นสิทธิมนุษยชนบางส่วนแล้ว ต้องสานต่อ
วัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบไทยๆ นิติธรรม นิติรัฐ เป็นจริงหรือในสังคมไทย วัฒนธรรมการไม่เคารพกฎหมาย ระบบอุปถัมภ์ และการทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชนของผู้มีอำนาจ ธรรมาภิบาลกับการปกครอง ความรับผิดชอบทางการเมืองต่ำ การสร้างรัฐธรรมนูญของชนชั้นนำ กับ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน รัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการเมือง มิใช่หลักประกันสิทธิเสรีภาพ พลเมือง ชนชั้นกลาง เฉื่อย ถูกมอม ถูกสกัดกั้น ไปไม่ถึงฝั่งฝัน รัฐธรรมนูญจึงไม่ตอบปัญหาสิทธิมนุษยชนของคนชายขอบ
ค่านิยมการเคารพกฎหมาย และนิติรัฐ สังคมไทยมีความพิเศษ - การเปลี่ยนแปลงใหญ่ไม่ได้เกิดจากประชาชน วัฒนธรรมการไม่เคารพกฎหมาย นำไปสู่ ไม่เกิดนิติรัฐ ระบบอุปถัมภ์ และการสร้างอภิสิทธิ์ชน การเมืองเรื่องเลือกตั้ง - สัมปทานอำนาจการปกครอง เจ้าพ่อ เจ้าเมือง ประชาชนไม่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงประเทศ แม้เสียเลือดเนื้อ ความอ่อนแอของพลเมือง รอฟ้า รออำนาจ เข้ามาแก้ปัญหาให้ตน การปกครองจึงไม่ตอบสนองต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชน
นิติรัฐ – อภิรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ3ฉบับ-รัฐสภานิยม อำนาจนิยม รัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย ธรรมนูญของรัฐธรรมนูญไทย – รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดฉบับชั่วคราว - ความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ - จารีตประเพณีในการฉีกและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ - รัฐธรรมนูญยิ่งเขียนยิ่งยาว (ประเด็นสำคัญพร่าเลือน?) - รธน.ชั่วคราวเป็นของชนชั้นนำ รธน.ถาวรดูเหมือนเป็นของประชาชน * รัฐธรรมนูญไทยอดีต ปัจจุบัน อนาคต อยู่ภายใต้อภิรัฐธรรมนูญไทย *
ความรุนแรงในสังคม อำนาจนิยม ความมั่นคง คนชายขอบไม่รู้กฎหมาย หวาดกลัว ไม่กล้าที่จะยืนยันสิทธิ การให้ความช่วยเหลือและความรู้ทางกฎหมายยังไม่เพียงพอ เบ้าหลอมเจ้าพนักงานของรัฐ กับ ทัศนคติแบบอำนาจนิยม การใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าพนักงาน และคดีไม่ถึงอัยการ ศาล ระบบอุปถัมภ์ การคอร์รัปชั่น การไม่เคารพกฎหมายของผู้มีอำนาจ นโยบายความมั่นคงของรัฐ – พรบ.ความมั่นคง/สถานการณ์ฉุกเฉิน การกำหนดวิธีการลงโทษที่รุนแรง และปราศจากหลักทางอาชญวิทยา ทัณฑวิทยา และสังคมวิทยา
กระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง เบ้าหลอมเจ้าพนักงานของรัฐ และการสร้างทัศนคติที่ดี คนชายขอบไม่รู้กฎหมาย หวาดกลัว ไม่กล้าที่จะยืนยันสิทธิ การให้ความช่วยเหลือและความรู้ทางกฎหมายยังไม่เพียงพอ สนับสนุนการระงับข้อพิพาทนอกศาลสอดคล้องกับวิถีจารีตวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการลงโทษ ชดเชยแก่สังคม และกระบวนการเฝ้าระวังความขัดแย้ง สังคม และกระบวนการราชทัณฑ์ต้องมุ่งไปสู่การฟื้นฟูนักโทษให้กลับคืนสู่สังคม ลดการเพิ่มโทษ ใช้กระบวนการแก้ไขนอกคุกให้มาก
ระบบการศึกษา ภูมิปัญญาไทยที่ถูกทิ้งขว้าง ประชาธิปไตยหมู่บ้านที่เคยมีหายไป – วิถีการผลิตเปลี่ยน วัฒนธรรมปัจเจกนิยมแบบไม่สนใจชุมชนแพร่กระจาย การศึกษาแบบเน้นท่องจำ ทำข้อสอบ ปรนัย การถูกทำให้อ่อนแอของนักศึกษาจากภาครัฐ วิธีระงับข้อพิพาทแบบชุมชนถูกกระบวนการยุติธรรมของรัฐเข้าแทน การศึกษากับปราชญ์ในชุมชนลดน้อยเพิ่งกลับมาเริ่มต้นใหม่ในช่วงหลัง การเชื่อมโยงระหว่างวิถีท้องถิ่น กับระบบกฎหมายหลักถูกรัฐทำลาย เช่น การจัดสรรทรัพยากร ชุมชนVSอุตสาหกรรม
การเริ่มต้นสิทธิมนุษยชนบางส่วน ต้องสานต่อ การเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย การรับเอาสิทธิมนุษยชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับระบบกฎหมายภายใน รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ออกมามักเพิ่มเติมหลักประกันสิทธิมนุษยชน มีการคำนึงถึงการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนในความเป็นจริง ในชั้นศาล การมีองค์กรตรวจตราสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ คณะกรรมการฯ/ผู้ตรวจ ค่านิยมเรื่องการเคารพเสียงส่วนน้อยได้รับการยอมรับมากขึ้น ประชาธิปไตยทางตรง – ประชาพิจารณ์ ถูกนำมาใช้มากขึ้น ประชาธิปไตยภาคประชาชนเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น