โรงเรียนวังทองพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 2 มอลต์ข้าวไทย โรงเรียนวังทองพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 2
มอลต์ข้าวไทย คณะผู้ทำโครงงาน อาจารย์ที่ปรึกษา นางอนงค์ จิราพงษ์ นายกิติศักดิ์ เนียมชาวนา นายวัชระพล มีไผ่ขอ นางสาวภาศิณี เกิดบึงพร้าว อาจารย์ที่ปรึกษา นางอนงค์ จิราพงษ์ โรงเรียนวังทองพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 2 โทรศัพท์ 0-5531-1129 โทรสาร 0-5531-1222
บทคัดย่อ โครงงานนี้เป็นการศึกษาแนวทางที่จะนำข้าวเหนียวและข้าวเจ้าที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ในรูปของข้าวมอลต์ ( Malt rice ) ชนิดชงดื่ม โดยนำข้าวเหนียวและข้าวเจ้ามาเพาะให้งอกต้นอ่อนยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วนำไปอบจนแห้งต่อจากนั้นนำไปบดให้ละเอียดร่อนแยกส่วนละเอียดที่สุด มาผสมครีมเทียม น้ำตาล ชงดื่ม จากการทดลองผลิต พบว่าสามารถผลิตมอลต์จากข้าวเหนียวและข้าวเจ้าได้ให้กลิ่นและรสชาดใกล้เคียงกับมอลต์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
จุดมุ่งหมายของการศึกษา 1. เพื่อทดลองผลิตมอลต์จากข้าวเจ้าและข้าวเหนียว 2. เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกอยู่ในชุมชน 3. เพื่อนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรียนรู้สู่ ชีวิตจริง 4. ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมระหว่างเรียน
ที่มาและความสำคัญ ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวเป็นพืชที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงของเราได้ทรงปลูกและทำการวิจัยเพื่อพัฒนาข้าวของคนไทยให้มีคุณภาพและผลผลิตที่สูงขึ้นด้วยพระองค์เอง แต่ชาวนาที่ปลูกข้าวอยู่ทุกภาคของประเทศไทยยังคงประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น ข้าวไม่มีราคา ผลผลิตเสียหายจากน้ำแล้ง น้ำท่วม หรือความชื้นสูงเกินไป ถูกกดราคาเสมอๆ ฐานะของชาวนาไทยจึงยากจน ทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าที่เป็นลูกหลานของชาวนาพยายามคิดค้นหาวิธีการที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีราคาสูงขึ้น ด้วยการนำมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ โดยอาศัยกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์มาพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านผลิตเป็นมอลต์จากข้าวไทย
วิธีดำเนินการ ผลิตมอลต์ข้าวไทย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว ถังพลาสติก ตะกร้าพลาสติก ใบตองกล้วย ถาดอลูมิเนียม ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ผ้าขาวบาง กะละมังสแตนเลส ซองบรรจุภัณฑ์ ครีมเทียม น้ำตาลทรายแดง เครื่องบด
ขั้นตอนการผลิต นำข้าวเปลือกมาคัดแยกสิ่งเจือปน นำข้าวไปแช่น้ำ 1-2 วันแล้วแต่ชนิดของข้าว
ขั้นตอนการผลิต นำข้าวไปเพาะให้งอกประมาณ 5-6 วัน
ขั้นตอนการผลิต นำข้าวงอกไปอบให้แห้ง
ขั้นตอนการผลิต บดละเอียด
ขั้นตอนการผลิต ร่อนแยกกาก
ผลิตภัณฑ์ที่ได้
ต้นทุนการผลิต ค่าข้าวเปลือกถังละ 80 บาท (ผลิตมอลต์ได้ 1 กิโลกรัม) ค่าข้าวเปลือกถังละ 80 บาท (ผลิตมอลต์ได้ 1 กิโลกรัม) ค่าจ้างบดครั้งละ 40 บาท อุปกรณ์ประกอบการผลิตที่ใช้ได้ระยะยาวเป็นเงิน 3,500 บาท ( วัสดุถาวร ) ค่าครีมเทียมในการผลิตต่อครั้ง 300 บาท น้ำตาลทรายแดง 60 บาท/ครั้ง บรรจุภัณฑ์ 50 บาท
การรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลความพึงพอใจจากผู้ทดลองชิมจากกลุ่มบุคคลต่อไปนี้ * ผู้บริหารสถานศึกษา 20 คน * ประชาชนทั่วไป 20 คน * คณะครู 60 คน * นักเรียน 50 คน รวมทั้งหมด 150 คน