สารอินทรีย์และการเรียกชื่อ การเรียกชื่อสารอินทรีย์ (Nomenclature) ชื่อเฉพาะ (specific name) หรือ ชื่อสามัญ (common name) อาศัยชื่อจากแหล่งที่พบ หรือผันจากสารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน ชื่อในระบบสากล ได้แก่ ระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ ระบบ SYSTEMATIC
หลักการเรียกชื่อในระบบ IUPAC มีขั้นตอนหลัก คือ 1. การเลือกสายโซ่หลัก (parent chain) เลือกสายโซ่คาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนที่ต่อเนื่องยาวที่สุดและมีหมู่ ฟังก์ชั่นเป็นสายโซ่หลัก กำหนดชื่อหลักตามจำนวนคาร์บอน ดังนี้ C1 meth C2 eth C3 prop C4 but C5 pent C6 hex C7 hep C8 oct C9 non C10 dec
2. การให้เลขตำแหน่ง กำหนดตำแหน่งของคาร์บอนในสายโซ่หลัก โดยเริ่มจากปลายหนึ่งไปหา อีกปลายหนึ่ง ทั้งนี้ต้องให้คาร์บอนที่มีหมู่ฟังก์ชั่น หรือมีหมู่อื่นมาเกาะน้อย ที่สุด 3. การกำหนดคำลงท้าย (suffix) ชื่อของสารในส่วนนี้ จะบอกว่าสารนั้นมีหมู่ฟังก์ชั่นหลัก รวมทั้งลักษณะ ของสายโซ่คาร์บอน เป็นอย่างไร แบ่งเป็น
ชนิดของสายโซ่คาร์บอน คำลงท้ายของส่วนที่ 1 บอกลักษณะของสายโซ่คาร์บอนโดยเขียนต่อจากชื่อหลัก (parent name) ชนิดของสายโซ่คาร์บอน คำลงท้าย โครงสร้าง ชื่อ alkane - ane CH3CH2CH3 propane alkene - ene CH2=CHCH3 propene alkyne - yne HC≡CCH3 propyne คำลงท้ายของส่วนที่ 2 บอกชนิดของหมู่ฟังก์ชันหลักโดยเขียนต่อจากคำลงท้ายส่วนที่ 1 โดยตัด e ออกก่อน เช่น CH3CH2CH2COOH butanoic acid (butane + oic acid) CH3CH2CH2OH propanol (propane + ol) CH3CH2COCH3 butanone (butane + one)
ตารางแสดงลำดับความสำคัญของหมู่ฟังก์ชัน (จากมากไปน้อย) คำลงท้าย ตัวอย่าง -CO2H -oic acid CH3CH2COOH (propanoic acid) -CO-O-CO- -oic anhydride CH3CO-O-COCH3 (acetic anhydride) -CO-O- alkyl -oate CH3CO-O-CH2CH3 (ethyl acetate) -CO-X -oyl halide CH3CH2CO-Cl (propanoyl chloride) -CO-NH2 -amide CH3CH2CO-NH2 (ethyl amide)
ตารางแสดงลำดับความสำคัญของหมู่ฟังก์ชัน (จากมากไปน้อย) (ต่อ) คำลงท้าย ตัวอย่าง -CO-H (-CHO) -al CH3CH2CH2-CO-H (butanal) -CO (-C=O) -one CH3-COCH3 (2-propanone) -OH -ol CH3CH2-OH (ethanol) -N- -amine CH3CH2-N-CH3 (ethyl methyl amine) -O- -ether CH3CH2-O-CH2CH3 (diethyl ether) -X -halide CH3CH2CH2CH2-Br (butyl bromide)
4. หมู่แทนที่หรือหมู่ฟังก์ชั่นที่ซ้ำกัน กรณีที่มีหมู่แทนที่หรือหมู่ฟังก์ชันที่ซ้ำกันหลายหมู่ จะใช้คำนำหน้าหมู่นั้นๆ ที่ แสดงจำนวนที่ซ้ำกันนั้น เช่น di (2 หมู่) tri (3 หมู่) tetra (4 หมู่) penta (5 หมู่) เช่น