สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย แพทย์หญิงมยุรา เทพเกษตรกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคเบาหวานและระบบต่อมไร้ท่อ คลินิกเบาหวาน ร. พ. กรุงเทพพัทยา.
Advertisements

นางชัญญานุช สุวรรณ์ทา
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ งานนำเสนอ
นกในประเทศไทย จัดทำโดย ด.ช.ธีรวุฒิ เนียมคุ้ม ชั้น ม. 2/1 เลขที่ 9.
เรื่อง การเลี้ยงไส้เดือนแดงเพิ่มผลผลิตการเกษตร
หัวข้อบรรยาย วก341 สรีรวิทยาของพืชและสัตว์ (ต่อ)
เซลล์และกระบวนการดำรงชีวิตของพืช
เพิ่มพูนทักษะการเคลื่อนไหว
การมีชีวิตอยู่รอดและการก่อโรคของRhizoctonia solani (Khun)ใน ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ Survival and Pathogenicity of Rhizoctonia solani(Khun) in Bio-Extract Fertilizer.
นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว
โครโมโซม.
หลักการทางเคมีของสิ่งมีชีวิต
วัฏฎ3 อาหารสำหรับวัยรุ่น
สารอนินทรีย์ (Inorganic substance)
ด.ญ. วราภรณ์ พันธ์คำ เลขที่ 34 ด.ญ. ภาวินีย์ เค้ามูล เลขที่ 42
ด.ญ. วราภรณ์ พันธ์คำ เลขที่ 34 ด.ญ. ภาวินีย์ เค้ามูล เลขที่ 42
บทที่ 3 ทรัพยากรดิน.
ความสำคัญของพืชและอนาจักรพืช
โพรโทซัว( Protozoa ).
การปฏิสนธิ-ท้อง9เดือน
รายวิชา สุขศึกษา รหัสวิชา พ 31101
การขนส่งอสุจิสู่ Epididymis
ขบวนการสร้างตัวอสุจิ (Spermatogenesis)
การผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
จัดทำโดย ด.ช.สมชาย คงดั่น 2/5.
เสนอ รศ.สุวิทย์ วรรณศรี รายวิชา BIOL351 ชีววิทยาของสัตว์ในท้องถิ่น
การเลี้ยงปลากะพงขาว.
วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ next.
ความต้องการแร่ธาตุของโคนม
รองศาสตราจารย์ ดร. วิศิษฐิพร สุขสมบัติ
ควายเพื่อทำพ่อพันธุ์
เพียงใดถ้าคนไทย พุงเกิน 80 ,90
นางสาวสุธาสินี ภัยชนะ
เชื้อ Aeromonas hydrophila ที่ก่อโรคในปลาน้ำจืด
ควบคุมโรคจากแมลงพาหะ
เลื่อยมือ hack saw.
สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
(Artificial insemination) สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
ด.ญ.พิม ขจรเวคิน ม.2/1 เลขที่ 11
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนที่
DNA สำคัญอย่างไร.
การจัดการน้ำ WATER MANAGEMENT.
นางสาวเพ็ญศรี กล่อมคุ้ม
ตัวต้านทาน ทำหน้าที่ ต้านทานและจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร
การผสมเทียม   การผสมเทียม (Artificial insemination) หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์ตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับไข่ของสัตว์ตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์
โดย นายสุพันธ์ อินทะแสง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
อาหารหลัก 5 หมู่ โดย นางสาวฉัตรสุดา มงคลโภชน์
เรื่อง เต่าทะเล (Sea Turtle)
จุดเริ่มต้นชีวิต การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ การคลอด
การเลี้ยงปลาหางนกยูง
ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดขอนแก่น
ราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและ ความละเอียดของข้อมูล ต้องใช้พลังงานจากเรือยนต์
กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์ไม้ยาง(Dipterocarpacea) บางชนิดในประเทศไทย.
แผนภูมิสมดุล ความบกพร่องในผลึก การเปลี่ยนของรูปโลหะ การคืนตัว
ดร. บัณฑิตย์ เต็งเจริญกุล
โครงสร้างระบบประสาท แบ่งตามตำแหน่งและโครงสร้างได้เป็น 2 ระบบ คือ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervousหรือ CNS) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง 2. ระบบประสาทรอบนอก.
อาหารและสารอาหาร อาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในอาหารจะเรียกว่า “สารอาหาร”
ระบบน้ำเหลืองและเต้านม
เรื่อง การสังเคราะห์แสง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เอกภพและโลก( 3)
การสืบพันธุ์ของมนุษย์ เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เรื่อง บอนสี จัดทำโดย ด. ญ. อาทิตย์ยา ผูกพัน เลขที่ 21 ชั้น ม
ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
ระบบขับถ่าย เรื่อง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การใช้น้ำหมักชีวภาพ (Enzyme)
Reprod. Physio. of Domestic Animal
19 Nov 2014 Metabolic Integration (เมแทบอลิซึมผสมผสาน)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ น้ำเชื้อ จัดทำโดย สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

น้ำเชื้อ (Semen) น้ำเชื้อ คือ ของเหลวสีขาวขุ่น ซึ่งหลั่งออกมาจากอวัยวะเพศของสัตว์เพศผู้ขณะทำการผสมพันธุ์ น้ำเชื้อ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1.ตัวอสุจิ (Spermatozoa) 2.สารซึ่งหลั่งจากต่อมเพศผู้ ได้แก่ Seminal plasma

ตารางแสดงคุณลักษณะของน้ำเชื้อ โคนม โคเนื้อ ปริมาตรน้ำเชื้อที่รีดได้แต่ละครั้งโดยประมาณ 6 ซีซี 4 ซีซี ความเข้มข้นของอสุจิ(ล้านตัว/ml)จากน้ำเชื้อที่รีดได้แต่ละครั้งโดยประมาณ 1,200 1,000 ปริมาณตัวอสุจิทั้งหมดจากน้ำเชื้อที่รีดได้แต่ละครั้งโดยประมาณ(ล้านตัว) 7,000 6,500 จำนวนอสุจิที่แข็งแรงสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า 70% 65% จำนวนอสุจิที่มีรูปร่างปกติ 80% PH 6.5-7

องค์ประกอบทางเคมีของน้ำเชื้อโค ปริมาณ (มิลลิกรัม/100 ซีซี) ฟรุคโต๊ส(Fructose) 530 ซอบิทอล(Sorbitol) 75 กลีเซอริล พอสโฟริล คลอไรด์ Glyceryl phosphoryl choline (GPC) 350 อินโนซิทอล(Inositol) 35 กรดซิติก(Citric Acid) 720 เออโกไทโอนีน(Ergothionine) พลาสมาโลเจน(Plasmalogen) 60 โซเดียม(Sodium) 230 โพแทสเซี่ยม(Potassium) 140 คลอรีน(Chlorine) 180 แคลเซี่ยม(Calcium) 44 แม็กนีเซี่ยม(Magnesium) 9

ปริมาณน้ำเชื้อ (Semen) ของโคที่หลั่งออกมาแต่ละครั้ง จะประมาณ 2-8 มิลลิลิตรหรือซีซี ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) 6.5-7 มีจำนวนตัวอสุจิ ประมาณ 1,200 ล้านตัวต่อปริมาตรน้ำเชื้อ 1 มิลลิลิตร

ตัวอสุจิ ความยาว 60-70 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 1/1000 มิลลิเมตร) ความยาว 60-70 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 1/1000 มิลลิเมตร) หัวอสุจิจะมีลักษณะกลมรีและแบน ขนาดของส่วนหัวยาวประมาณ 8-10 ไมครอน กว้าง 4 ไมครอน และหนาประมาณ 0.5 ไมครอน

อสุจิที่หลั่งออกจากพ่อพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ จะมีรูปร่างปกติประมาณ 80 % ของจำนวนอสุจิที่หลั่งออกมาทั้งหมด ประมาณ 80-90 % ของตัวอสุจิที่มีรูปร่างปกตินี้ สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร ต่อนาที

ตัวอสุจิที่ปกติ จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัวและส่วนหาง ส่วนหางจะสามารถแยกได้อีกเป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง(mid piece) , ส่วนหลัก(main piece) และส่วนปลาย(end piece)

ส่วนหัวของตัวอสุจิ จะถูกปกคลุมด้วยอะโครโซม(Acrosome) และโพสนิวเคลีย แคป(Postnuclear cap)

อะโครโซม(Acrosome) จะคลุมส่วนหัวด้านหน้า โพสนิวเคลีย แคป(Postnuclear cap)จะปกคลุมส่วนหัวด้านท้ายส่วนที่จะต่อกับหาง

อสุจิจะสามารถเจาะทะลุเปลือกไข่เพื่อเข้าผสมกับไข่ จำเป็นต้องอาศัยเอ็นไซม์(Enzyme) จากอะโครโซมเพื่อสลายเปลือกไข่ ถ้าอะโครโซมผิดปกติ หรือถูกทำลาย อสุจิจะไม่สามารถเจาะทะลุเปลือกไข่เพื่อเข้าไปผสมได้

ส่วนหางของตัวอสุจิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ -ส่วนกลาง(mid piece) -ส่วนหลัก(main piece) -ส่วนปลาย(end piece)

หางส่วนกลาง(mid piece) เป็นส่วนหางที่มีลักษณะหนา ยาวประมาณ 8-10 ไมครอน ประกอบไปด้วยไมโตครอนเดีย(Mitochondria) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน

ส่วนต่อของหางส่วนกลาง(Mid piece) กับหัวของอสุจิ จะเป็นจุดที่อสุจิสลัดส่วนหางออก ในขณะที่เข้าผสมกับนิวเคลียส(Nucleus) ของไข่

หางส่วนหลัก(main piece) ยาวประมาณ 40-50 ไมครอน

หางส่วนปลาย(end piece) จะยาวประมาณ 3 ไมครอน

องค์ประกอบหลัก ๆ ของส่วนหาง ซึ่งเป็นส่วนที่ให้อสุจิเคลื่อนที่ได้ คือ เส้นแกนกลาง(axial filament) เส้นแกนกลางนี้ จะประกอบด้วยเส้นใยเล็ก ๆ เริ่มจากพร็อกซิมอล เซนทิโอล(Proximal centriole) และยาวไปตลอดจนสุดปลายหาง

เส้นใยที่ประกอบเป็นเส้นแกนกลางนี้ จะเรียงตัวเป็นคู่ตามแนวยาวเพื่อการโบกพัดให้อสุจิเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้

ลักษณะที่ผิดปกติของอสุจิ (Abnormal morphology of Sperm) การหลั่งน้ำเชื้อของพ่อโคทุกครั้ง จะมีตัวอสุจิที่มีความผิดปกติของรูปร่างปนออกมาเสมอประมาณ 8-10 %

ปริมาณ 8-10 % นี้ ไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติและไม่ถือว่ามีความผิดปกติ แต่ถ้าตัวอสุจิที่หลั่งออกมามีความผิดปกติของรูปร่างมากกว่า 25% จึงถือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

ความผิดปกติของน้ำเชื้อที่มักพบ จะมี 3 อย่าง คือ 1.เกิดความผิดปกติที่ส่วนหัว 2.เกิดความผิดปกติที่ส่วนหาง 3.มีความผิดปกติโดยเกิดไซโตพลาสมิก ดรอป(Cytoplasmic droplets)

1.ความผิดปกติที่ส่วนหัว เช่น หัวใหญ่ , หัวเล็ก , หัวเบี้ยว , หัวแหลม , มี 2 หัว

2.ความผิดปกติที่ส่วนหาง เช่น หางม้วน , หางงอ , หางขาด , มี 2 หาง , หางบวม , มีหางส่วนกลาง(mid piece) 2 ท่อน

3.มีความผิดปกติโดยเกิดไซโต พลาสมิก ดรอป(Cytoplasmic droplets) เป็นการเกิดวงหรือหยดน้ำ ในหางบริเวณส่วนกลาง(mid piece)ของหาง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของขบวนการสร้างอสุจิ

สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ขอขอบคุณ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์