เลื่อยมือ hack saw
หน้าที่ เลื่อย เป็นเครื่องมือคมตัดแบบตัดถากชนิดหนึ่ง บริเวณฟันหรือใบเลื่อยทำด้วยเหล็กสำหรับทำเครื่องมือหรือเหล็กสำหรับงานตัดด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นฟันเล็กๆเรียงกันอยู่เป็นแถวคล้ายคมของสกัด มีทั้งในงานไม้และงานโลหะ
ส่วนประกอบหลัก 1.โครงเลื่อย 2.ใบเลื่อย 3.นัตหางปลา 1 3 2
หน้าทีส่วนประกอบเลื่อยมือ 1. โครงเลื่อย ( Frame ) ทำหน้าที่ในการจับขึงใบเลื่อยให้ตึงและพาใบเลื่อยเคลื่อนที่ไป และกลับเพื่อทำการตัดเฉือนวัสดุ 2. ใบเลื่อย ( Blade ) ทำหน้าที่ในการจัดเฉือนวัสดุที่ต้องการตัด 3.นัตหางปลา (Nut) ทำหน้าที่ในการล็อคใบเลื่อย และปรับความตึงของใบเลื่อย
ลักษณะของคลองเลื่อย แบบฟันสลับ ใช้กับเลื่อยกล (เครื่อง) แบบฟันคลื่น ใช้กับเลื่อยมือ แบบตอกหรือเจียระไน ใช้กับเลื่อยวงเดือน
คุณสมบัติของใบเลื่อย ใบเลื่อยที่ใช้เลื่อยวัสดุแข็งและวัสดุอ่อน จะมีความห่างระหว่างฟันต่างกันซึ่งแบ่งออกเป็นฟันห่างฟันถี่ปานกลาง และฟันถี่มาก ค่าความถี่ ของฟันเลื่อยจะบอกได้โดยเทียบจำนวนฟันต่อความยาวของใบเลื่อย 1 นิ้วหรือ 25 มิลลิเมตร ขนาดของใบเลื่อย จะบอกเป็นจำนวนฟัน/นิ้วและความหนา ความกว้าง ความยาวรูปร่างของใบเลื่อยโดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความยาวระหว่างรูร้อยใบเลื่อย เช่น 300 มม. และทางด้านใกล้รูร้อยด้านหนึ่ง จะบอกจำนวนฟัน/นิ้ว ที่ใช้งานกันอยู่ทั่ว ๆ ไป คือ 18 ฟัน/นิ้ว
ร่องเก็บเศษ ระยะพิตห่าง ร่องเก็บเศษโต ใชักับโลหะอ่อน ระยะพิตแคบ ร่องเก็บเศษเล็ก ใช้กับโลหะแข็ง
ลักษณะของร่องเก็บเศษ ร่องเก็บเศษเล็ก ฟันมีความแข็งแรงมาก ร่องเก็บเศษโตฟันมีความแข็งแรงน้อย เนื่องจากมีมุมลิ่มเล็ก ร่องเก็บเศษโตฟันมีความแข็งแรงมาก เพราะขนาดของมุมลิ่มโต
การเลือกใบเลื่อยให้เหมาะกับงาน
ขั้นตอนการเลื่อยชิ้นงาน 1. ยึดใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยโดยให้ ฟันเลื่อยชี้ไปทิศทางของการเลื่อยเสมอ 2.จับชิ้นงานให้แน่นบนปากกา ให้แนวตัดอยู่ใกล้ตัวของปากกา มากที่สุด บากแนวเลื่อยด้วยตะไบสามเหลี่ยม 3.เริ่มเลื่อยเอียงใบเลื่อยทำมุมกับผิวงาน ประมาณ 10 องศา
ข้อควรระวังในการใช้เลื่อยมือ 4.ใช้ความเร็วในการเลื่อยประมาณ 40 – 50 จังหวะชักต่อนาที ข้อควรระวังในการใช้เลื่อยมือ 1.การเลื่อย ถ้าเป็นเลื่อยมือ ต้องออกแรงตัดให้สม่ำเสมอ 2. ต้องเลือกระยะฟันของใบเลื่อย ให้เหมาะสมกับชนิด,ขนาด และวัสดุงาน 3. ใส่ใบเลื่อยให้ฟันชี้ไปทางจังหวะตัดเนื้องาน 4. การจับชิ้นงาน ให้รอยตัดอยู่ใกล้ที่จับยึดมากที่สุด เพื่อป้องกันการสั่นขอชิ้นงานขณะทำการเลื่อย 5. การจับยึดชิ้นงานต้องมีเทคนิคที่เหมาะสมในงานบางลักษณะ 6. ใช้ใบเลื่อยให้เต็มตลอดใบหรือให้ใช้จำนวนฟันให้มากที่สุด
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี นำเสนอโดย นายพงษ์ศักดิ์ คำเปลว ครูอัตราจ้างแผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ข้อมูลอ้างอิง http://hanpho.ac.th/