การเฝ้าระวังเหตุการณ์ในชุมชน
การเฝ้าระวังเหตุการณ์ คืออะไร??? คือ การเฝ้าระวังโรค และ ภัย จากข่าว ซึ่ง การเฝ้าระวังโรค มี หลากหลายวิธี ที่เห็นเป็นประจำคือ การเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วย ที่เข้ามา รับการรักษาที่สถานบริการ อีกอย่างคือ การเฝ้าระวังจากข่าวการเจ็บป่วยในชุมชน
ใครบ้าง ที่จะเป็นผู้เฝ้าระวังเหตุการณ์ ในชุมชนของเรา ยกตัวอย่าง เช่น เกิดโรคอุจจาระร่วง ในครอบครัวหนึ่ง (พ่อ แม่ ลูก ปู่) ผู้ที่จะแจ้งข่าวนี้จะเป็นใครบ้าง?
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครอื่นๆ เพื่อน เพื่อนบ้าน ผู้ร่วมงาน กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. /เทศบาล นักการเมืองท้องถิ่น ครู ตำรวจ ผู้สื่อข่าวในท้องถิ่น ผู้ดำเนินรายงการวิทยุชุมชน ชมรมต่างๆ ที่มีในชุมชน คลินิกเอกชน ร้านขายยา พระ เณรที่วัด เจ้าของร้านค้าปลีกในชุมชน
เกณฑ์ในการแจ้งข่าว ( ทั้งเหตุการณ์เกิดโรค และปัจจัยเสี่ยง) จะแจ้งข่าวอะไรบ้าง??? เกณฑ์ในการแจ้งข่าว ( ทั้งเหตุการณ์เกิดโรค และปัจจัยเสี่ยง)
1. โรค หรือ กลุ่มอาการป่วยที่พบบ่อยในชุมชน 1.1 มีผู้ป่วยที่ป่วยพร้อมกันหลายคน ด้วยอาการแบบเดียวกัน - อุจจาระร่วง - อาหารเป็นพิษ - ไข้เลือดออก - ไข้ ปวดข้อ ออกผื่น - โรคอุปทานหมู่ - ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยคล้ายๆ กัน เป็นกลุ่มก้อน
1. โรค หรือ กลุ่มอาการป่วยที่พบบ่อยในชุมชน 1.2 ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคสำคัญในพื้นที่ รวมถึงบุคคลที่สงสัยว่าจะป่วย - อหิวาตกโรค (อุจจาระร่วงอย่างแรง) - โรคมือเท้าปาก (พบในเด็กเล็ก ศูนย์เด็กเล็ก) - โรคไข้เลือดออก - ไข้ปวดข้อยุงลาย (ไข้ปวดข้อ ออกผื่น) - ไข้หวัดนก - ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 - โรคปอดบวม - โรคพิษสุนัขบ้า - โรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรซีส)
1. โรค หรือ กลุ่มอาการป่วยที่พบบ่อยในชุมชน 1.3 มีผู้ป่วยที่รุนแรงกว่าปกติ - ถ่ายเป็นน้ำจนช๊อค เสียชีวิต - เป็นหวัดอาการรุนแรง ถึงเสียชีวิต
2. โรคใหม่ หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบในพื้นที่ 2.1 ผู้ป่วยเป็นโรคที่คนในชุมชนไม่ เคยรู้จัก หรือเคยพบ ในพื้นที่มา ก่อน - โรคมาลาเรียมาเกิดในพื้นที่เรา -โรคที่ไม่เคยเกิดในชุมชนเราเลย - โรคที่ไม่มีใครในพื้นที่เคยพบหรือ รู้จัก 2.2 มีผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วโดยไม่ ทราบสาเหตุ - โรคที่ยังไม่ทราบชื่อ อาจจะเป็น การระบาดของเชื้อชนิดใหม่ หรือเกิดจากเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ที่ รุนแรง
3. เหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในคนในชุมชน 3.1 มีสัตว์ป่วย ตายเป็นจำนวนมาก ที่พบบ่อย เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย หมู ปลา 3.2 พบอาหารและน้ำที่ไม่ปลอดภัยเป็นจำนวนมาก หลายจุดในชุมชน เช่น นมบูดในโรงเรียน เนื้อปลาปักเป้า ฯลฯ 3.3 สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น น้ำเน่าเสียในคลอง บ่อน้ำ กองขยะมีกลิ่นเหม็นเน่า ตลาดที่มีหนูหรือแมลงวันชุกชุม
ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น ขั้นตอนของการแจ้งข่าว ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น สอบสวน ตรวจสอบ แจ้งข่าว
ขั้นตอนการแจ้งข่าว - บอกข่าวด้วยตัวเอง ที่ รพ.สต. - แจ้งทางโทรศัพท์ - แจ้งผ่านทาง อสม. - แจ้งผ่าน อบต. เทศบาล รายละเอียดในการแจ้งข่าว 1. ชื่อผู้แจ้งพร้อมเบอร์โทร. 2.โรค หรือเหตุการณ์ที่เราพบ 3.จำนวนผู้ป่วย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต