การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
Advertisements

การบริหารจัดการเพื่อ พัฒนาผลการปฏิบัติงาน
ระบบการประเมินเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุน
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
Research Problem ปัญหาการวิจัย
Graduate School Khon Kaen University
การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
เรื่องสืบเนื่อง การวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วน ราชการ
ที่มาของระบบควบคุมภายใน
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
ตัวชี้วัดที่ 9 : ร้อยละความสำเร็จ ในการให้ความร่วมมือดำเนินงานตามคู่มือปฏิบัติงานกระบวนการ ที่สร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุนของกรมอนามัย.
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนการพัฒนาและการปฏิบัติการ ของโครงการโดยเจ้าหน้าที่โครงการมีส่วนร่วม ปี พ.ศ.2552.
การปรับปรุงโครงสร้างภายในกองพัสดุ เสนอที่ประชุม
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA: Public Sector Management Quality Award)
การติดตาม และประเมินโครงการ.
แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสภากาชาดไทย
การตรวจสอบ การตรวจสอบ คือ กระบวนการที่เป็นระบบ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
แผนที่ยุทธศาสตร์สำนักพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงานบุคคล
คำอธิบายแนวทางการให้คะแนน เอกสาร/หลักฐานการดำเนินงาน
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
บทบาทการบริหารงานสำนักงาน 1
เพื่อการกำหนดระดับตำแหน่ง
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ
หมวด2 9 คำถาม.
แนวทางการดำเนินงานโครงการสำคัญ ปีงบประมาณพ.ศ.2554 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ Results Based Management (RBM)
การจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงาน Work Manual
การบริหารความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง ความเสี่ยง (RISK)
Sharing Items Module 1 : การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
การประชุมคณะทำงานหมวด 4 ครั้งที่ 1/2553 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2553 เวลา น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน.
การตรวจราชการ กับการบริหารความเสี่ยง
สรุปประเด็นการประชุมสัมมนากลุ่มย่อย
การตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) 1.
องค์กรนำการปศุสัตว์ไทย
ระบบเอกสารคุณภาพ เนาวรัตน์ เสียงเสนาะ สอิด
โครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA : Public Sector Management Quality Award) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
บทนำการบริหารโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (การส่งเสริมให้ส่วนราชการนำร่อง เข้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ) เขียนลักษณะสำคัญขององค์กร :
“การถ่ายทอดตัวชี้วัด จากระดับองค์กรลงสู่ระดับบุคคล”
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk)
การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก. พ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR)
Evaluation as a Strategy ; สำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
หมวด 6 การจัดการกระบวนการ Process Management
กระบวนการที่สร้างคุณค่า และ กระบวนการสนับสนุน
การดำเนินงานประจำปี2557 สท.
กลุ่มที่ 4.
ใช้สำหรับการปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป
การวิเคราะห์และออกแบบระบบ System Analysis and Design
ADDIE Model.
หลักการเขียนโครงการ.
Planing : ระบบการวางแผนงบประมาณ
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
ตัวชี้วัดคุณภาพการให้บริการประชาชน
รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards)
ว่าที่ร้อยตรีสมศักดิ์ พรหมดำ นักวิชาการฝึกอาชีพ 7 ว กลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ; Bs.ME, Be,ME, Ms.ME การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Work Manual)
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระบบข้อมูลสารสนเทศ 4.2 กระบวนงานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กลุ่ม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.
Progress Report 2548 Financial Report Link to Progress Report 2550 Capacity Building 2551 Estimates Report Link to Excel Loader KPI Strategy.
เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
โครงการจัดตั้ง กองแผนงาน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) เพื่อดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level : FL) ประจำปีงบประมาณ 2552 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

วัตถุประสงค์ การจัดทำ Work Manual เพื่อให้ส่วนราชการมีการจัดคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ที่แสดงถึงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานของกิจกรรม/กระบวนการต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์การ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ตาม PM 5) ที่มุ่งไปสู่การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของส่วนราชการได้มาตรฐานเป็นไปตามเป้าหมาย ได้ผลิตผลหรือการบริการที่มีคุณภาพ เสร็จรวดเร็วทันตามกำหนดเวลานัดหมาย มีการทำงานปลอดภัย และไม่สร้างมลพิษแก่ชุมชน เพื่อการบรรลุข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการ

แนวทางการดำเนินการตาม PM 5

กระบวนการสร้างคุณค่า กระบวนการสำคัญที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งผลต่อการบรรลุพันธกิจหลัก/ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของการจัดสรรทรัพยากร และความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณแผ่นดิน

กระบวนการสนับสนุน กระบวนการที่ช่วยสนับสนุนให้กระบวนการสร้างคุณค่า สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ กระบวนการด้านสารบัญ การเงิน/งบประมาณ กระบวนการทรัพยากรบุคคล กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุ กระบวนการด้าน IT กระบวนการวางแผน เป็นต้น

ข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการด้าน IT “ข้อกำหนดที่สำคัญ” (Key Requirement) หมายถึง ผลลัพธ์ที่คาดหวัง เมื่อสิ้นสุดกระบวนการนั้น อาทิ กระบวนการติดตั้งโปรแกรม ข้อกำหนดที่สำคัญคือ ความรวดเร็ว ความผิดพลาด กระบวนการบำรุงรักษา ข้อกำหนดที่สำคัญคือ รอบระยะเวลา ความถูกต้อง ความครบถ้วน เป็นต้น “ข้อกำหนดที่สำคัญ” ของกระบวนการสนับสนุน ไม่ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผลผลิตและบริการเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกองค์การ และระเบียบปฏิบัติหรือแผนนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550/แผนแม่บท IT การค้นหาข้อกำหนดที่สำคัญ สามารถทำได้โดย การวิเคราะห์ความต้องการ ความคาดหวัง ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ เช่น การออกแบบสำรวจ การสอบถาม หรือการสังเกต เป็นต้น

ตัวชี้วัดที่สำคัญ “ตัวชี้วัดที่สำคัญ” หมายถึง ตัววัดที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จของการดำเนินการของกระบวนการ เช่น - การวัดความผิดพลาดของกระบวนการติดตั้งโปรแกรม สามารถวัดได้จาก ร้อยละของข้อผิดพลาดในการติดตั้งโปรแกรม โดยตั้งเป้าไว้ไม่เกิน 5% ของจำนวนครั้งในการติดตั้งโปรแกรม - การวัดรอบระยะเวลาของกระบวนการบำรุงรักษาสามารถวัดได้จาก ร้อยละของการดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น

ตัวอย่างกระบวนการสนับสนุนและข้อกำหนดที่สำคัญ รายชื่อกระบวนการสนับสนุน ข้อกำหนดที่สำคัญ ของกระบวน ตัวชี้วัดที่สำคัญ ของกระบวนการ กระบวนการรับ-ส่งหนังสือภายนอก รับ-ส่งเอกสารรวดเร็ว ร้อยละของหนังสือภายนอก ที่รับได้ภายใน 2 วัน กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ความทันเวลา ร้อยละของโครงการที่สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ทันตามแผนงาน กระบวนการพัฒนาบุคลากร สอดคล้องกับสมรรถนะของบุคลากร ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะที่กำหนด

การออกแบบกระบวนการ ปัจจัยที่ใช้ในการออกแบบกระบวนการ ประกอบด้วย ข้อกำหนดที่สำคัญ องค์ความรู้ เทคโนโลยี กฎระเบียบ กฎหมาย ต้นทุน/ ค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ เป็นต้น

คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) คืออะไร แผนที่บอกเส้นทางการทำงานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของ กระบวนการ ระบุถึงขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ ของกระบวนการ มักจัดทำขึ้นสำหรับงานที่มีความซับซ้อน มีหลายขั้นตอน และ เกี่ยวข้องกับหลายคน สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการ ปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานไว้ใช้อ้างอิง ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการ ปฏิบัติงาน

ขอบเขตหลัก Work Manual Work Flow ของกระบวนการ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน รายละเอียดวิธีการทำงานของแต่ละขั้นตอนย่อย เอกสาร/ระเบียบ ที่ใช้ประกอบการดำเนินการ แบบฟอร์ม ผู้รับผิดชอบ มาตรฐานงาน คือ ข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน มาตรฐานระยะเวลา มาตรฐานในเชิงคุณภาพ เช่น ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของข้อมูล ความผิดพลาด ความคุ้มค่าของงาน เป็นต้น ระบบการติดตามประเมินผล เพื่อใช้ติดตามผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด กำหนดรูปแบบ และระยะเวลาในการติดตาม เช่น ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน

องค์ประกอบคู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) องค์ประกอบคู่มือการปฏิบัติงาน 1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือ 2. ขอบเขต 3. คำจำกัดความ 4. หน้าที่ความรับผิดชอบ 5. Work Flow กระบวนการ 6. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 7. มาตรฐานงาน 8. ระบบติดตามประเมินผล 9. เอกสารอ้างอิง 10. แบบฟอร์มที่ใช้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

วัตถุประสงค์ (Objectives) คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) วัตถุประสงค์ (Objectives) ความหมาย: เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานของกระบวนนี้ขึ้นมา ตัวอย่างวัตถุประสงค์เรื่อง : คู่มือการตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

ขอบเขต (Scope) ความหมาย: คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ขอบเขต (Scope) ความหมาย: เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบถึงขอบเขตของกระบวนการในคู่มือว่าครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนใด ถึงขั้นตอนใด หน่วยงานใด กับใคร ที่ใด และเมื่อใด ตัวอย่างขอบเขตเรื่อง : คู่มือการตรวจสอบภายใน ระเบียบการปฏิบัตินี้ครอบคลุมขั้นตอนการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายในและผู้รับการตรวจสอบ ตั้งแต่การวางแผนการตรวจสอบ การดำเนินการตรวจสอบ การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ และการตรวจติดตามซ้ำ สำหรับทุกครั้งที่มีการตรวจสอบ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

คำจำกัดความ (Definition) คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) คำจำกัดความ (Definition) ความหมาย: เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบถึงคำศัพท์เฉพาะซึ่งอาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หรือคำย่อ ที่กล่าวถึงภายใต้ระเบียบปฏิบัตินั้นๆ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน ตัวอย่างคำจำกัดความ เรื่อง : คู่มือการตรวจสอบภายใน Auditor = ผู้ตรวจสอบที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการ Auditee= แผนก หน่วยงาน หรือบุคคลผู้ได้รับการตรวจสอบ CAR = Corrective Action Report - การร้องขอให้ดำเนินการแก้ไข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities) คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities) ความหมาย: เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบว่ามีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับระเบียบปฏิบัตินั้น ๆ โดยมักจะเรียงจากผู้อำนาจหรือตำแหน่งสูงสุดลงมา ตัวอย่างหน้าที่ความรับผิดชอบเรื่อง : คู่มือการตรวจสอบภายใน ผู้อำนวยการกอง: อนุมัติแผนการตรวจสอบ ติดตามและพิจารณาผลการตรวจสอบ ภายใน หัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม: รับทราบและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ นักวิชาการ 6 ว. : จัดทำแผน ดำเนินการตรวจสอบ สรุปผลและติดตามผล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

Work Flow กระบวนการ จุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดของกระบวนการ กิจกรรมและ Yes No สิ้นสุดของกระบวนการ จุดเริ่มต้น และ กิจกรรมและ การปฏิบัติงาน การตัดสินใจ ทิศทาง/ การเคลื่อนไหว ของงาน

เอกสารอ้างอิง (Reference Document) คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) เอกสารอ้างอิง (Reference Document) ความหมาย: เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบถึงเอกสารอื่นใดที่ต้องใช้ประกอบคู่กันหรืออ้างอิงถึงกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นๆ สมบูรณ์ ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเรื่องอื่น พระราชบัญญัติ กฎหมาย กฎระเบียบ หรือวิธีการทำงาน เป็นต้น ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงเรื่อง : คู่มือการตรวจสอบภายใน ระเบียบการปฏิบัติเรื่องการแก้ไขและป้องกัน(QP-QMR-01) ระเบียบปฏิบัติเรื่องการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร (QP-QMR-02) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

แบบฟอร์มที่ใช้ (Form) คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) แบบฟอร์มที่ใช้ (Form) ความหมาย: เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบถึงแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการบันทึกข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติงานของกระบวนการนั้น ๆ ตัวอย่างแบบฟอร์มเรื่อง : คู่มือการตรวจสอบภายใน แบบวางแผนการตรวจสอบภายใน (Audit Plan) (F-AD-01) แบบคำถามการตรวจสอบภายใน (Audit Checklist) (F-AD-02) แบบรายงานผลการตรวจสอบภายใน (Audit Report) (F-AD-03) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

ประโยชน์การจัดทำ Work Manual ต่อองค์การและผู้บังคับบัญชา ใช้ฝึกอบรมข้าราชการใหม่ ประหยัดงบประมาณในการฝึกอบรม เนื่องจากหัวหน้างานใช้เป็นคู่มือในการสอนงาน ทำให้การกำหนดหน้าที่การงานชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน ใช้ในการควบคุมงานและการติดตามผลการปฏิบัติงานให้มีความผิดพลาดในการทำงานลดน้อยลง เป็นคู่มือในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Review) ของบุคลากร ช่วยในการปรับปรุงงานและออกแบบกระบวนงานใหม่ ใช้เป็นฐานในการประกาศเวลามาตรฐานการให้บริการ

ประโยชน์การจัดทำ Work Manual ต่อผู้ปฏิบัติงาน ได้รับทราบภาระหน้าที่ของตนเองชัดเจนยิ่งขึ้น ได้เรียนรู้งานเร็วขึ้นทั้งตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ / หรือตอนที่จะย้ายงานใหม่ มีขั้นตอนในการทำงานที่แน่นอน ทำให้การทำงานได้ง่ายขึ้น รู้จักวางแผนการทำงานเพื่อให้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อการวิเคราะห์งานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะมีสิ่งที่อ้างอิง สร้างความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน

ปัจจัยสำคัญในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ลักษณะที่ดีของคู่มือการปฏิบัติงาน คุณสมบัติและทักษะของผู้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

ลักษณะที่ดีของคู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ลักษณะที่ดีของคู่มือการปฏิบัติงาน กระชับ ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานและฝึกอบรม เหมาะสมกับองค์กรและผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม มีความน่าสนใจ น่าติดตาม มีความเป็นปัจจุบัน (Update) ไม่ล้าสมัย แสดงหน่วยงานที่จัดทำ วันที่บังคับใช้ มีตัวอย่างประกอบ Clear Complete Concise Correct สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

คุณสมบัติและทักษะ ของผู้จัดทำเอกสารการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) คุณสมบัติและทักษะ ของผู้จัดทำเอกสารการปฏิบัติงาน คุณสมบัติ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเรื่องนั้น ๆ เป็นคนช่างสังเกต เอาใจใส่ในรายละเอียดของการปฏิบัติงาน รู้ทฤษฎีและความรู้พื้นฐานของการวิเคราะห์ระบบงาน รู้หลักการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ รู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทักษะ ทักษะการวิเคราะห์ (Analysis Skills) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ทักษะออกแบบ (Design Skills) ทักษะการประเมินผล (Evaluation Skills) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.)

ตัวอย่างแบบฟอร์มแสดงรายชื่อกระบวนการ ข้อกำหนดที่สำคัญ ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ

ตัวอย่างแบบฟอร์มการออกแบบกระบวนการ ชื่อกระบวนการ.......................................................................... ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ................................................... ลำดับที่ ผังกระบวนการ รายละเอียดงาน ผู้รับผิดชอบ เอกสารที่เกี่ยวข้อง No Yes No Yes การตัดสินใจ จุดเชื่อมต่อระหว่างขั้นตอน (เช่น กรณีการเขียนกระบวนการ ไม่สามารถจบได้ภายใน 1 หน้า) จุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดของกระบวนการ กิจกรรมและ การปฏิบัติงาน ทิศทาง/ การเคลื่อนไหว ของงาน

ตรวจสอบหนังสือเบื้องต้น การออกแบบกระบวนการ ตัวอย่าง1 ชื่อกระบวนการ......กระบวนการรับหนังสือภายนอก................. ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ... ร้อยละของเอกสารที่รับได้ภายใน 2 วัน............ ลำดับ ผังกระบวนการ ระยะเวลา รายละเอียดงาน ผู้รับผิดชอบ 1 5 นาที บันทึกข้อมูลรับหนังสือเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่สารบรรณ 2 หัวหน้าสารบรรณ ตรวจสอบหนังสือเบื้องต้น และรวบรวมนำเสนอต่อ ผอ.สบก หัวหน้า ฝ่ายสารบรรณ 3 1 วัน ผอ.สลธ.พิจารณาหนังสือภายนอกก่อนส่งมอบให้ผุ้เกี่ยวข้อง ผอ.สบก 4 10 นาที เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลการส่งเอกสารในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และจัดส่งหนังสือไปยังสำนักเจ้าของเรื่อง เจ้าหน้าที่ธุรการของ สบก 5 เจ้าหน้าที่สำนักเจ้าของเรื่องบันทึกข้อมูลลงรับเอกสารในระบบอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่ธุรการของสำนักเจ้าของเรื่อง 6 เจ้าหน้าที่สำนักเจ้าของเรื่องจัดแฟ้มเสนอ ผอ.สำนัก พิจารณามอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ลงทะเบียนรับ ตรวจสอบหนังสือเบื้องต้น เสนอ ผอ.สลธ. จัดส่งหนังสือไปยัง สำนักที่เกี่ยวข้อง สำนักเจ้าของเรื่อง ลงรับเอกสาร เสนอ ผอ.สำนัก เจ้าของเรื่อง

เสนอ ผู้บริหารเพื่ออนุมัติโครงการ การออกแบบกระบวนการ ตัวอย่าง2 ชื่อกระบวนการ......กระบวนการจัดทำแผนงานโครงการ................. ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ... ร้อยละข้อผิดพลาดในการจัดทำแผนงานโครงการ ลำดับ ผังกระบวนการ รายละเอียดงาน มาตรฐานคุณภาพงาน ผู้รับผิดชอบ 1 สำนัก/กองศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ ปัจจัยที่ต้องนำมาวิเคราะห์ ให้ครอบคลุมในเรื่อง 1.ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2. ปัจจัยภายใน/ปัจจัยภายนอก ที่ ผลกระทบต่อการดำเนินการ 3. ความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สำนัก/กองต่างๆ 2 ผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกขอ อนุมัติโครงการ ที่ ประกอบด้วยแผนงาน โครงการ และแผนการใช้ งบประมาณ ในการจัดทำแผนงาน ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1. จัดทำแผนงานให้ครบถ้วนตามหัวข้อ การนำเสนอที่กำหนด 2. การคิดค่าใช้จ่ายต้องอยู่ภายใต้ระเบียบ ที่กำหนด 3. กิจกรรมการดำเนินการสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ที่กำหนด 3 เสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ - 4 ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ศึกษาวิเคราะห์ แนวทางการดำเนินงาน จัดทำแผนงานโครงการ No เสนอ ผู้บริหารเพื่ออนุมัติโครงการ Yes จัดซื้อจัดจ้าง

Q & A Thank you www.opdc.go.th ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning Tool Kits) “คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)” Thank you