เขตแดน และ เขตอำนาจรัฐ หน่วยที่ 3 เขตแดน และ เขตอำนาจรัฐ
เขตแดนของรัฐ แนวคิด ความสำคัญ เครื่องกำหนดเขตและการใช้อำนาจ กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิ หน้าที่ อำนาจอธิปไตย
การแบ่งเขต หลัก : รัฐมีอำนาจอธิปไตยเด็ดขาดเพียงหนึ่งเดียวในดินแดนตน ข้อยกเว้น : ทฤษฎีคอนโดมิเนียม ความยินยอม ให้เช่า การให้สิทธิแก่รัฐอื่น สหพันธรัฐ หรือ สหรัฐ ดินแดนทีอยู่ในภาวะปกครองของรัฐอื่นที่มีอำนาจปกครอง(แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของดินแดนนั้น)
องค์ประกอบของดินแดนรัฐ ส่วนพื้นดิน พื้นน้ำ และทะเลอาณาเขต น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต น่านน้ำในหมู่เกาะ แม่น้ำ ทะเลสาบหรือ ทะเลปิด คลอง อ่าว และ อ่าวประวัติศาสตร์ ช่องแคบ
องค์ประกอบของดินแดนรัฐ(ต่อ) ส่วนเขตแดนทางอากาศ บริเวณอากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน น่านน้ำภายใน และ ทะเลอาณาเขต
การกำหนดเส้นเขตแดน ลักษณะการกำหนด ทางบก = อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ทางน้ำ กำหนดในแผนที่ (พิกัดภูมิศาสตร์) 2. กำหนดเขตแดนธรรมชาติ ทางบก = อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ทางน้ำ ตลิ่งของรัฐหนึ่ง หรือ ของแต่ละรัฐ เส้นมัธยะฐาน(กึ่งกลาง) ร่องน้ำลึก ทางอากาศ = เท่ากับพื้นดินพื้นน้ำ
การได้มาของดินแดนรัฐ รับโอนจากรัฐอื่น การครอบครอง การงอกของแผ่นดินเดิม หรือ ส่วนต่อเนื่อง การเข้ายึดหรือผนวกดินแดน การครอบครองปรปักษ์ หรือ ได้มาโดยอายุความ
การสูญเสียดินแดนรัฐ โอนดินแดนให้รัฐอื่น ละทิ้งดินแดนโดยสิ้นเชิง ถูกผนวกดินแดน ถูกครอบครองปรปักษ์ ถูกปฏิวัติเปลี่ยนแปลงดินแดนเป็นรัฐใหม่
เขตอำนาจรัฐ ความหมาย : อำนาจตามกฎหมายของรัฐเหนือบุคคล ทรัพย์สิน และ เหตุการณ์ต่างๆ สร้างกฎหมาย พิพากษาคดี บังคับใช้กฎหมาย มูลฐานการใช้อำนาจ (1) หลักดินแดน (2) หลักสัญชาติ (3) หลักสากล (4) หลักป้องกัน (5) หลักผู้ถูกกระทำ
เขตอำนาจตามหลักดินแดน รัฐมีอำนาจสมบูรณ์เหนือ บุคคล ทรัพย์สิน หรือ เหตุการณ์ต่างๆที่ปรากฎหรือเกิดขึ้นภายในดินแดนของรัฐ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติบุคคล ข้อยกเว้น ความคุ้มกันต่อผู้แทนทางการทูต ความคุ้มกันต่อเจ้าหน้าที่กงศุล ความคุ้มกันต่อเจ้าพนักงานองค์การะหว่างประเทศ ความคุ้มกันของรัฐต่างประเทศ
เขตอำนาจรัฐตามหลักสัญชาติ คำนึงถึงความเชื่อมโยงที่แท้จริงโดยอาศัยหลักดินแดน และ การสืบสายโลหิต ในการให้สัญชาติ กรณีนิติบุคล จะพิจารณา สถานที่จดทะเบียน ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และ สัญชาติของผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ สาระสำคัญ : สัญชาติเป็นสิ่งเชื่อมโยงที่ทำให้รัฐสามารถใช้เขตอำนาจเหนือบุคคลซึ่งถือสัญชาติของรัฐ ตลอดจนทรัพย์สินที่มีสัญชาติของรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงที่อยู่ของบุคคลหรือที่ตั้งของทรัพย์สิน
เขตอำนาจรัฐตามหลักผู้ถูกกระทำ สาระสำคัญ : รัฐมีเขตอำนาจเหนือคนต่างด้าวซึ่งกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลสัญชาติของรัฐนั้น แม้ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นภายนอกดินแดนก็ตาม ข้อโต้แย้ง มีโอกาสใช้หลักเรื่องนี้อย่างจำกัด คนที่มีสัญชาติใดก็จะมีความคุ้มครองของรัฐนั้นติดตัวไปด้วย เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
เขตอำนาจรัฐตามหลักป้องกัน สาระสำคัญ : รัฐสามารถใช้เขตอำนาจของตนเหนือบุคคลผู้กระทำการอันเป็นภัย หรือ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ แม้ผู้กระทำจะไม่ได้มีสัญชาติของรัฐนั้น หรือ การกระทำจะเกิดนอกเขตรัฐ
เขตอำนาจรัฐตามหลักสากล ในกรณีที่เป็นอาชญากรรมที่มีส่วนได้เสียในระดับสากล กฎหมายระหว่างประเทศจะให้สิทธิแก่รัฐในการใช้เขตอำนาจของตนเหนือการกระทำผิดดังกล่าวได้ แม้ว่าการกระทำความผิดนั้นได้เกิดขึ้นนอกดินแดนของรัฐ ผู้กระทำความผิดหรือผู้เสียหายนั้นมิใช่คนสัญชาติของรัฐนั้นก็ตาม ตัวอย่าง (1) โจรสลัด (2) อาชญากรรมสงคราม