การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (Exercise for the Elderly) โดยสิทธิพร เสียงใหญ่ รหัสนิสิต 5414652627 นิสิตปริญญาโท สาขาสุขศึกษา ภาคพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
วัตถุประสงค์สำคัญของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 1. เพิ่มความแข็งแรงหรือสมรรถภาพของระบบหัวใจและหายใจ 2. เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3. เพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ
การทดสอบก่อนการออกกำลังกาย มี 2 ระดับ กล่าวคือ ทดสอบเต็มความสามารถใช้สำหรับผู้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายค่อนข้างแข็งแรง ทดสอบต่ำกว่าความสามารถสูงสุด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังมาก่อน
ข้อบ่งชี้ในการหยุดทดสอบการออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ 1. มีอาการแน่นหน้าอก 2. เหนื่อยมาก หรือผู้ทดสอบขอหยุดการทดสอบ 3. วิงเวียนศีรษะ หน้าซีด จะเป็นลม 4. ความดันซีสโตลิกลดลงในขณะเพิ่มความหนักในการออกกำลัง
ข้อควรระวัง ข้อจำกัด และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ . 1. ผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีการออกกำลังกายมาก่อน ให้เริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ ค่อยๆ เพิ่มความหนักของการออกกำลังอย่าง ช้าๆ 2. ควรมีระยะอุ่นเครื่อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อ 3. ระยะผ่อนคลาย เป็นช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกาย เพื่อคืนสู่สภาวะปกติ 4. ไม่อาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย
สรุปหลักการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 1. เริ่มทำจากน้อยไปมาก ตามความสามารถของแต่ละบุคคล 2. ทำอย่างถูกวิธี ทั้งขนาด ระยะเวลา และความถี่ของการออกกำลังกาย 3. อย่าลืมระยะอุ่นเครื่องเมื่อจะเริ่มออกกำลังกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมร่างกาย 4. ห้ามหยุดออกกำลังกายทันที อันตราย อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ ต้องมีระยะผ่อนคลายเสมอ 5. เลือกชนิดการออกกำลังให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้นั้น
เอกสารอ้างอิง 1. ปราโมทย์ ประสาทกุล. ประชากรผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2543. ประชากรและการพัฒนา สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2543 : 4 - 5. 2. Clark GS, Siebens HC. Geriatric rehabilitation. In : Delisa JA, Gans BM, eds. Rehabilitation Medicine : principles and practice. Philadelphia : Lippincott - Raven 1998: 963-95.
สวัสดี