ชื่อโครงงานการทำขนมไหว้พระจันทร์ จัดทำโดย กลุ่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กทม.
ที่มาโครงงาน เนื่องจากเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลสำคัญของไทยเราเทศกาลหนึ่ง และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ เทศกาลนี้ก็คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งทุกวันนี้มีหลากหลายประเภท หลากหลายรสชาติให้เราได้เลือกซื้อ และเลือกทานกันอย่างแพร่หลาย ทำให้กลุ่มเราคิดว่าอยากลองฝึกทำ ขนมไหว้พระจันทร์ เพื่อรับประทาน ในครอบครัว
ขนมไหว้พระจันทร์รสชาติต่างๆ ไส้งาดำ ชาเขียว ไส้ถั่วเขียว ไส้ทุเรียนหมอนทองไข่
รู้จักขนมไหว้พระจันทร์หลากหลายรสชาติ ไส้พุทราจีน ไส้ไข่เค็ม ไส้ขนมเปี๊ยะหิมะไส้ถั่วแดง
วิธีทำขนมไหว้พระจันทร์ไส้โหงวยิ้ง หมายถึงไส้ที่ประกอบไปด้วยถั่ว 5 อย่าง 1. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อบพอเหลือง ทิ้งไว้ให้เย็น สับให้มีขนาดเล็ก 2. เอ่งยิ้ง รูปร่างคล้ายอัลมอนด์ล้างด้วยน้ำเปล่าใส่ตระกร้าพักให้แห้ง 3. เม็ดแตงโม แกะเอาแต่เนื้อ 4. หนามยิ้ง รูปร่างรีๆ สีขาว 5. ฮะโถ รูปร่างคล้ายดอกไม้แห้ง นำส่วนผสมทั้งห้าอย่างนี้มาคลุกให้เข้ากัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่น้ำตาลทรายคลุกเคล้าให้น้ำตาลทรายละลายจน ได้ลักษณะเหนียวใส่ แป้งโก๋ คลุกจนจับติดมือเป็นก้อนได้อาจใส่มะนาวเชื่อม ฟักเชื่อม งาขาวอบ ใบมะกรูด บดละเอียดก็ได้ไส้รสนี้ต้องมีการปรุงรสด้วยผงพะโล้ พริกไทย เกลือ เหล้าจีนเล็กน้อย และน้ำมันงา ซึ่งจะเติมก่อน ใส่แป้งโก๋
วิธีทำ 1. ปั้นไส้เป็นก้อนกลม และปั้นแป้งเป็นก้อนกลมขนาดเท่ากันกับไส้เวลาจะห่อ ตีแป้งให้เป็นแผ่นบาง ใส่ไส้แล้วห่อ ให้มิด แล้วใช้แห้งสาลีลูบก้อนขนมที่ห่อแล้ว เพื่อป้องกันการติดพิมพ์ 2. ใส่แป้งหมี่ในพิมพ์แล้วเคาะออก เพื่อให้ตัวพิมพ์ล่อน อัดก้อนขนมใส่ลงในแป้นพิมพ์ให้แน่น (ขั้นตอนนี้คงต้อง อาศัยเวลาฝึกฝนสักเล็กน้อย)เคาะขนมออกมาใส่ถาด นำเข้าเตาอบ อุณหภูมิ 200-250 องศาเซลเซียส ใช้เวลาราว 15-20 นาที 3. ก่อนอบตีไข่ไก่หรือไข่เป็ดให้ขึ้นฟู กรอง แล้วใช้น้ำไข่ทาทั่วขนมเพื่อให้เกิดความมัน เงา และสวยงามขนมไหว้ พระจันทร์ที่ดี ผิวนอกจะมันเงา แต่ไม่ดำ ไส้ขนมหวานแต่ไม่หวานจัด เปลือกที่หุ้มไส้จะต้องนุ่มและบาง
แหล่งอ้างอิง http://student.nu.ac.th/moonfestival/dessert.html http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx? NewsID=9550000112806&TabID=3&