ดาวอังคาร (Mars)
ดาวอังคารห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่สี่และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับเจ็ด
Mars หรือในภาษากรีก เรียกว่า Ares เป็นเทพแห่งสงคราม สาเหตุที่ดาวเคราะห์ได้ชื่อดังกล่าวอาจเนื่องจากสีแดงของดาวเคราะห์ ดาวอังคารในบางครั้งก็เรียกว่าดาวเคราะห์แดง
ดาวอังคารเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ก่อนถึงยุคของการสำรวจนักดาราศาสตร์ เชื่อกันว่าดาวอังคารสามารถเป็นที่อาศัยของสิ่งที่มีชีวิตได้ และยังได้สังเกตเห็นเส้นต่างๆตัดกันบนพื้นผิวของดาวอังคาร ที่ทำให้เชื่อว่าเป็นระบบคลองชลประทานที่ถูกสร้างขึ้น ทั้งยังพบการเปลี่ยนแปลงสีบนพื้นผิวของดาวอังคารตามฤดูกาลต่างๆ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดหวังที่จะพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
เดือนกรกฎาคม ปี 1965 ยานอวกาศ Mariner 4 ได้ไปเก็บภาพพื้นผิวของดาวอังคาร จึงพบว่าบนพื้นผิวของดาวอังคารมีหลุมอุกาบาตมากมายและร่องน้ำที่ไม่แสดงหลักฐานว่าเป็นร่องน้ำที่สร้างขึ้นหรือมีการไหลของน้ำ
วงโคจรของดาวอังคารเป็นวงรี ี่ทำให้อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงได้มาก อุณหภูมิเฉลี่ยของดาวอังคารประมาณ 218 K (-55 C) บริเวณ พื้นผิวดาวอังคารมีอุณหภูมิประมาณ 140 K (-133 C) ที่บริเวณ winter pole หรือประมาณ 300 K (27 C) ที่ด้านกลางวันของฤดูร้อน
พื้นผิวโดยทั่วไปของดาวอังคารมีอายุเก่าแก่และเต็มไปด้วยหลุมอุกาบาต แต่ก็มีบางบริเวณที่เป็นหุบเขา เป็นสันเขา หรือที่ราบ ที่มีอายุน้อย
โครงสร้างภายในของดาวอังคารได้จากการสำรวจข้อมูลที่ผิวดิน แกนกลางซึ่งมีความหนาแน่นสูงมีรัศมีประมาณ 1700 กิโลเมตร ส่วนของ mantle ซึ่งหลอมเหลวอาจมีความหนาแน่นมากกว่า mantle ของโลก และมีชั้นเปลือกที่บาง เมื่อเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆแล้ว ดาวอังคารเป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย ซึ่งอาจบ่งบอกว่าแกนกลางของดาวอังคารอาจมีปริมาณกำมะถันปนอยู่กับเหล็กสูง
มีหลักฐานที่ชัดเจนแสดงให้เห็นถึงการเกิด การกัดกร่อน (erosion) ในหลายบริเวณ รวมทั้งการเกิดน้ำท่วม และระบบทางน้ำเล็กๆ ดาวอังคารในอดีตอาจเคยมีทางน้ำไหลอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคาร
ในช่วงแรกของการเกิดดาวอังคาร คาดว่าดาวอังคารน่าจะมีลักษณะที่คล้ายกับโลก โดยที่บรรยากาศประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และเกิดการรวมตัวกลายเป็นหินคาร์บอเนต ทำให้ไม่เกิดการหมุนเวียนของคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวอังคารต่ำกว่าบนโลก
ดาวอังคารมีชั้นบรรยากาศที่เบาบางมาก ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ (95.32%) ไนโตรเจน (2.7%) อาร์กอน (1.6%) ออกซิเจน (0.13%) น้ำ (0.03%) และ นีออน (0.00025%) ความดันเฉลี่ยบนพื้นผิวดาวอังคารประมาณ 7 ล้านมิลิบาร์ (น้อยกว่า 1% ของบนพื้นโลก) แต่ค่าความดันนี้เปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นอยู่กับระดับความสูง
ดาวอังคารมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ที่ขั้วทั้งสองของดาว ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์หรือน้ำแข็งแห้งเป็นส่วนใหญ่ ขั้วน้ำแข็งนี้แสดงลักษณะโครงสร้างที่เป็นชั้นซึ่ง
การสำรวจสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดาวอังคารโดยยานอวกาศ Viking ในปี 1976 มีหลักฐานที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร แต่ก็เป็นเพียงการเก็บตัวอย่างเล็กๆ 2 ตัวอย่างเพื่อทำการศึกษา และอาจเป็นตำแหน่งที่ยังไม่เหมาะสมก็ได้
เดือนสิงหาคม 1996 David McKey และคณะได้ศึกษาอุกาบาตที่เชื่อว่ามาจากดาวอังคารและพบสารประกอบอินทรีย์ และเมื่อศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับลักษณะของแร่ต่างๆที่พบในหิน อาจเป็นหลักฐานที่อาจเชื่อได้ว่าเป็นสารชีวภาพขนาดเล็ก (microorganisms) ของดาวอังคารในอดีต แต่หลักฐานดังกล่าวก็ยังไม่สามารถที่จะใช้ยืนยันได้ว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นนอกโลก
ดาวอังคารมีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความเข้มสูง แต่พบเฉพาะแห่ง ซึ่งอาจเป็นสนามแม่เหล็กคงค้างของสนามแม่เหล็กที่เคยมีอยู่ในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่มีแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจช่วยในการศึกษาถึงโครงสร้างภายในของดาวอังคาร บรรยากาศในอดีต และ ความเป็นไปได้ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตในอดีต
ดาวอังคารมีดาวบริวาร 2 ดวงคือ Phobos และ Deimos