กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข
Advertisements

: วัตถุประสงค์การวิจัย : การนิยามศัพท์
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การเลือกตัวอย่าง อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study Research) อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ สะท้อนธรรมชาติวิทยาศาสตร์
รหัสวิชา กระบวนทัศน์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชนในองค์กร
เศรษฐกิจพอเพียง.
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
สัปดาห์ที่ 3 เรื่อง พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลง
การวางแผนและการดำเนินงาน
Knowledge Management (KM)
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
หลักสูตรการจัดการทั่วไป
6. การควบคุมให้ปฎิบัติตามกฎ ระเบียบ และ. มาตรฐานความ ประพฤติ การควบคุมให้ปฎิบัติตามกฎ ระเบียบ และ มาตรฐานความ ประพฤติ 7. การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้
บทที่ 4 กระบวนการตัดสินใจ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
ทฤษฎีทางอาชีพ ผศ. นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
การจัดกระทำข้อมูล.
การออกแบบการวิจัย.
การเฝ้าระวังกับนโยบายสังคม
( Organization Behaviors )
“Backward” Unit Design?
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
Competency Phatthalung Provincial Center for Skill Development.
แนวคิด หลักการ ของการประเมินเพื่อการพัฒนา
1 ความลึกซึ้งของข้อมูล ข้อมูลแต่ละหัวข้อ (item) – มี หรือ ใช้ หลักทฤษฎีใด มาสนับสนุน – อ้างอิง จากแหล่งใด (คน สถานที่ เวลา) เว้นแต่ ข้อมูลซึ่งโดยปกติสามัญ.
โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Structure and Culture)
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
การสร้างข้อสอบ ตามแนวการวัดใน PISA
การเขียนรายงานการวิจัย
หน่วยที่ 7 จริยธรรมและความปลอดภัย
กระบวนการวิจัย Process of Research
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การสั่งการและ การมอบหมายงาน
สวัสดี ครับ เพื่อนพี่น้องผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน.
ทักษะการคิดวิเคราะห์
การประเมินนวัตกรรม Dr.Kulthida Nugultham.
องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สารานุกรมการศึกษา (The Encyclopedia of Education) ให้ความหมายไว้ว่า คือ “การจัดการสืบค้นอย่างมีระบบเกี่ยวกับการศึกษาและผลผลิตที่ได้รับจากการศึกษา”
สรุปบทความเรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
งานสำนักงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3.
พฤติกรรมผู้ซื้อองค์การ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่าย สคร.1-12
การเขียนรายงานผลการวิจัย
นางสาวพิชญาภา อิ่มประไพ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ (MBAC)
วิชา หลักการตลาด บทที่ 5
รายงานผลการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย อาจารย์จิตรสนา พรมสุทธิ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์

กรอบแนวคิดจะทำให้ นักวิจัยสามารถ จัดระเบียบข้อมูลได้และทำให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่าง เป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิด เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน

สมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "ปัจจัยทางสังคมบางประการ ที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ว่า "ปัจจัยทางสังคม" "การมีส่วนร่วม" และ "กิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ณ พื้นที่ที่จะเข้าไปศึกษา" นั้น มีคำอธิบายว่าอย่างไร และในการศึกษาวิจัยนี้กำหนดขอบเขตการอธิบาย ไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับ การศึกษาวิจัย

หรือสมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "การศึกษากระบวนการตัดสินใจของพนักงานเทศบาลระดับบริหาร เพื่อนำนโยบายทางการเมืองไปปฏิบัติ" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขต แน่นอน ให้กับสิ่งที่เรียกว่า "กระบวนการตัดสินใจ" ว่าอะไรบ้างที่อยู่ใน กระบวนการตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร บุคคลจะต้อง อาศัยอะไรบ้างในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดขอบเขต การอธิบายให้แน่นอน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับ การศึกษาวิจัย

หรือสมมติว่า นักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ในส่วนภูมิภาค" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน กับสิ่งที่เรียกว่า "ความพึงพอใจ" นั่นคือ นักวิจัยจะต้องค้นคว้าให้กระจ่างว่า พฤติกรรมที่เรียกว่าความ พึงพอใจ นั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่เรียกว่า "ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการทั่วไป" ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วไปค้นคว้าเพิ่มเติมว่า "คนที่รับราชการในตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์" มีภารกิจอะไรบ้าง ความยากง่าย ของงาน ความพร้อมของหน่วยงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งการกำหนด ขอบเขตขององค์ความรู้ที่กล่าวมา ก็คือ การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย ฯลฯ

อ่าน

นิยามเชิงปฏิบัติการ การให้กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นการกำหนดทิศทางสำหรับนักวิจัยในการปฏิบัติเหมือนกัน เข้าใจปรากฏการณ์เป็นอย่างเดียวกัน

ลักษณะทั่วไปของนิยามเชิงปฏิบัติการ 1. คุณลักษณะหรือองค์ประกอบของตัวแปร 2. พฤติกรรมที่แสดงออก เนื่องจากคุณลักษณะของตัวแปรบางชนิดมักมีคุณลักษณะแฝง ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้หรือวัดได้โดยตรง จะต้องใช้การวัดโดยอ้อม เพราะนักวิจัยมี ความเชื่อว่าคุณลักษณะภายในเหล่านั้น จะเป็นตัวกำหนดให้บุคคลหรือกลุ่มตัวอย่าง แสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาภายใต้สภาวะ หรือเงื่อนไขที่เหมาะสม 3. สถานการณ์หรือสิ่งเร้าจะเป็นเงื่อนไขหรือสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งจะนำมาเร้าคุณลักษณะ ภายในดังกล่าว ให้กำหนดหรือแสดงพฤติกรรมออกมาให้สังเกตได้หรือวัดได้ 4. เกณฑ์ที่เป็นเครื่องชี้วัด หรือเป็นดัชนีบอกพฤติกรรมของบุคคล ว่าแสดงพฤติกรรม เช่นนี้จะมีความหมายเช่นใด เป็นที่ต้องการหรือไม่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น ทัศนคติของข้าราชการที่มีต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง หมายถึง ท่าทีความรู้สึก ของบุคคล (คุณลักษณะ) ที่มีต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ซึ่งแสดงออกมา ใน 2 ลักษณะคือ ความรู้สึกในทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพบกับ การกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบในงานในหน้าที่ หรือเมื่อประสบโอกาสที่จะ สามารถกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบในงานในหน้าที่ (สิ่งเร้า) หากบุคคลนั้นมีความรู้สึกที่ดีหรือไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเสียหายก็จะไม่รีรอที่จะกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำในสิ่งที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในงานที่ทำ หากบุคคลนั้นมีความรู้สึกไม่ ดี และเห็นว่าเป็นเรื่องเสียหายไม่ถูกต้อง ถึงประสบ โอกาสหรือมีช่องทางให้ทุจริต บุคคลนั้นก็จะไม่กระทำ และในหลายคนอาจจะมี พฤติกรรมต่อต้านการกระทำทุจริตหรือประพฤติมิชอบเหล่านั้นด้วย ซึ่งความเชื่อถือได้ของการวัดพฤติกรรมเหล่านี้จะมีมากน้อยเพียงใด จึงอยู่ที่ ขั้นตอน การสร้างเครื่องมือซึ่งต้องมีความถูกต้อง และมีคุณภาพนั่นเอง

สิ่งที่ควรพิจารณาในการกำหนดกรอบแนวคิด 1. ท่านได้กำหนดความหมายของแนวคิดต่างๆ ไว้แน่นอนชัดเจนแล้วหรือไม่ 2. คำศัพท์ที่ต้องใช้ ได้มีการนิยามไว้แน่นอนชัดเจนเพียงใด 3. มีการกำหนดแนวคิดต่างๆ อย่างพอเพียงและถูกต้องหรือยัง 4. แนวคิดบางประการ จำเป็นต้องกำหนดข้อจำกัดเพิ่มอีกหรือไม่ 5. เมื่อกลุ่มที่ศึกษาเปลี่ยนไป ความหมายเปลี่ยนตามไปหรือไม่ เช่น อายุ เพศ ฯลฯ 6. ท่านกำหนดความหมายต่างๆ โดยมีอะไรเป็นพื้นฐาน

สรุปความสัมพันธ์ของแนวคิด นิยาม ตัวบ่งชี้ และคำถาม เมื่อผู้วิจัยต้องการที่จะศึกษาสิ่งใด สิ่งแรกที่ต้องกระทำก็คือ ผู้วิจัยต้องแจกแจกคุณสมบัติ หรือกำหนดความหมายของสิ่งนั้นๆ ให้แน่นอนชัดเจน และครบถ้วนตามที่ตนเห็นว่าสำคัญ โดยที่ในการแจกแจงคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด นั้น ผู้วิจัยจะต้องศึกษาให้ถ่องแท้ว่า แนวคิดเรื่องนั้นๆ มีผู้ใดที่เคยศึกษามาแล้วบ้าง และคุณสมบัติหรือความหมายที่ต้องการวัดหรือศึกษานั้นมีอะไรบ้าง มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และปัญหาอะไรที่เกี่ยวกับแนวคิดนั้น ผู้วิจัยเองจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองในการพิจารณาว่า คุณสมบัติเหล่านั้นควรจะนำมาสร้างเป็น ตัวแปรด้วยหรือไม่ และมีคุณสมบัติอะไรที่ผู้วิจัยคิดว่า ควรจะรวมอยู่ในการสร้างมาตรวัด สำหรับตัวแปรด้วย

เมื่อกำหนดคุณสมบัติ หรือความหมายของแนวคิดได้แล้ว ผู้วิจัยจะต้องระบุสิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ของคุณสมบัติหรือนิยามแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้าง คุณสมบัติหรือนิยามหนึ่งลักษณะอาจจะมีตัวบ่งชี้ 1 ตัว หรือหลายตัวก็ได้ ในทำนอง เดียวกันตัวบ่งชี้ 1 ตัว อาจบ่งชี้คุณสมบัติหรือนิยามได้มากกว่า 1 คุณสมบัติหรือนิยาม

C = แนวคิด (Concept) I = ตัวบ่งชี้ (Indicant) ของคุณสมบัติ P = คุณสมบัติ (Property) หรือนิยามของแนวคิด S = สิ่งเร้าตัวบ่งชี้ (Stimulus) Q = คำถาม (Question) ที่นำไปสู่ตัวบ่งชี้

ข้อมูลตัวบ่งชี้แต่ละตัว ซึ่งคุณสมบัติของแนวคิดที่ต้องการศึกษานั้นจะได้มา โดยการทดลอง การสังเกตหรือการซักถามหรือที่เรียกรวมๆ ว่า สิ่งเร้า (Stimulus) ที่กระตุ้นให้หน่วยที่ต้องการศึกษานั้นแสดงออกซึ่งตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ 1 ตัว อาจต้อง ใช้สิ่งเร้าตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เมื่อได้ข้อมูลมาจากการใช้สิ่งเร้า และผู้วิจัยนำข้อมูล นั้นมารวมกันโดยอาศัยกฎเกณฑ์บางอย่างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เราก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า มาตรวัด

ตัวอย่างที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นเรื่องของมาตรวัดความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม (Group Solidarity) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้กันมากในวงการรัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และจิตวิทยาสังคม ในการวัดความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม ........… ผู้วิจัยจะต้องระบุคุณสมบัติสำคัญ (หรือให้คำนิยาม) ของแนวคิดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง สมมติว่าผู้วิจัยระบุว่า ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม => ขึ้นอยู่กับ=> การที่สมาชิกของกลุ่มมีภาระผูกพันซึ่งกันและกัน (Obligations) และความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม => ขึ้นอยู่กับ=> การที่สมาชิกปฎิบัติตามกฎกติกาของกลุ่ม (Compliance)

หลังจากระบุคุณสมบัติแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ กำหนดตัวบ่งชี้ของแต่ละคุณสมบัติ โดยผู้วิจัยระบุว่า สิ่งที่บ่งชี้ => ภาระผูกพันของสมาชิก => คือ => การพึ่งพิงของสมาชิก จะเห็นได้ว่า การพึ่งพิงของสมาชิก ยังเป็นคุณสมบัติที่เป็นนามธรรม ผู้วิจัยจึงต้องระบุตัวบ่งชี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิมโดยกำหนดสิ่งบ่งชี้ต่อไปว่า สิ่งบ่งชี้ => การพึ่งพิงของสมาชิก => คือ => 1. อุปทานของสิ่งที่ทดแทนกันได้ สิ่งบ่งชี้ => การพึ่งพิงของสมาชิก => คือ => 2. การขาดข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือก สิ่งบ่งชี้ => การพึ่งพิงของสมาชิก => คือ => 3. ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย สิ่งบ่งชี้ => การพึ่งพิงของสมาชิก => คือ => 4. ความผูกพันส่วนบุคคล

ในส่วนของการปฏิบัติตามกติกาของกลุ่มก็เช่นเดียวกัน ผู้วิจัยจะต้องกำหนดสิ่งบ่งชี้ ภาพของการปฏิบัติตามให้แน่นอน โดยกำหนดสิ่งบ่งชี้ต่อไปว่า สิ่งที่บ่งชี้ => การปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่ม => คือ => การยอมรับกติกาของกลุ่ม หรือการฝ่าฝืนกติกาของกลุ่ม สิ่งที่บ่งชี้ => การปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่ม => คือ => พฤติกรรมที่แสดงออกเกี่ยวกับกติกาของกลุ่ม