กฎหมายทางการแพทย์ End-of-life Care
กรณีศึกษาที่ 1 นาย สม อายุ 60 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ผู้ป่วยได้รับการให้ยาเคมีบำบัดในเบื้องต้นแต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ขณะนี้ไม่สามารถติดต่อญาติได้ นาย สม เคยกล่าวกับพยาบาลในหอผู้ป่วยว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป และไม่อยากให้แพทย์ทำอะไร แพทย์ได้เคยพูดคุยกับบุตรนายสมถึงเรื่องการพยากรณ์โรค ญาติได้บอกกับแพทย์ว่าขอให้หมอ สู้เต็มที่ 1 สัปดาห์ต่อมา นายสมมีไข้สูง ไอ และหอบตรวจพบเป็นปอดบวม อาการหอบเป็นมากขึ้นจนนายสมไม่สามารถหายใจเองได้ และเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย ขณะนี้ไม่สามารถติดต่อญาติได้
แพทย์ได้บอกพยาบาลเตรียมใส่ท่อช่วยหายใจ พยาบาลได้ทักท้วงหมอว่า นายสมเคยบอกว่าไม่อยากให้การรักษาอะไรที่เป็นการยื้อชีวิต แพทย์ได้บอกพยาบาลว่าไม่มีการเซ็นต์เป็นลายลักษณ์อักษร กลัวปํญหาที่จะเกิดขึ้น จึงให้ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจไว้ก่อน
Discussion
กรณีศึกษาที่ 2 นาย ศักดิ์ อายุ 40 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพื่อรับเคมีบำบัด เมื่อคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยาแล้วตกลงกันว่าไม่ให้เคมีบำบัดและรักษาแบบประคับประคอง โดยการรักษาอาการเจ็บปวด ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจหากเกิดอาการแย่ลง
1สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการไข้ ซึม หายใจหอบ ไปโรงพยาบาลเอกชนได้รับการวินิจฉัย ปอดอักเสบติดเชื้อ แพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ยาปฏิชีวนะและส่งตัวมาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้ป่วยยังมีอาการซึมมากแต่ญาติรับรู้ว่าผู้ป่วยตื่นขึ้น บางครั้งจำญาติได้ ผู้ป่วยนอนที่ ICU และไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ แพทย์เจ้าของไข้ได้คุยในแง่พยากรณ์โรค ความจำกัดของทรัพยากรโรงพยาบาล ซึ่งญาติเข้าใจและยินยอมให้แพทย์ถอดท่อช่วยหายใจ
การถอดท่อช่วยหายใจใน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ? การถอดท่อช่วยหายใจใน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
กรณีศึกษาที่ 3 นางสาว สมจิตร อายุ 30 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดและมีการกระจายไปทั่วปอดรวมถึงกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ขณะนี้มีอาการปวดบริเวณหลังอย่างมาก ผู้ป่วยได้ยาแก้ปวดหลายขนานแต่ไม่สามารถคุมอาการปวดได้ และมีอาการหอบหายใจลำบาก ต้องได้รับออกซิเจนตลอดเวลา
ท่านสามารถช่วยผู้ป่วยได้หรือไม่ ?