กาพย์เห่เรือ
ผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ ( เจ้าฟ้ากุ้ง ) พระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นกวีเอกในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผลงาน ทางคดีธรรม มี 2 เรื่อง คือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง ทางคดีโลก มี กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง และ กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท
การเห่เรือของไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. การเห่เรือหลวง 2 การเห่เรือของไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. การเห่เรือหลวง 2. การเห่เรือเล่น การเห่เรือ
2. การเห่เรือเล่น เป็นการเห่สำหรับเล่นเรือเที่ยวเตร่กัน 1. การเห่เรือหลวง มี 3 จังหวะ ดังนี้ 1.1 ช้าลวะเห่ มีทำนองช้า ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่า 1.2 มูลเห่ มีทำนองเร็ว ใช้เห่ต่อจากช้าลวะเห่ และ เมื่อเรือพายทวนน้ำ 1.3 สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือเทียบท่า 2. การเห่เรือเล่น เป็นการเห่สำหรับเล่นเรือเที่ยวเตร่กัน มี 2 จังหวะ คือ จังหวะจ้ำ และจังหวะปกติ
เมื่อขึ้นเนื้อเรื่องตอนใหม่ ก็ต้องแต่งโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งนำเสมอ ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง คือ นำด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วย กาพย์ยานี 11 หลายบท เมื่อขึ้นเนื้อเรื่องตอนใหม่ ก็ต้องแต่งโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งนำเสมอ
เนื้อเรื่องโดยสังเขป มีการดำเนินเรื่องด้วยการเห่ชมเรือ เช้า เห่ชมกระบวนเรือพยุหยาตรา สาย เห่ชมปลา บ่าย เห่ชมไม้ เย็น เห่ชมนก ค่ำ เห่ครวญ ถึงนางที่รัก การพรรณนาความตั้งแต่ ตอนชมปลาเป็นต้นไป จะมีการพรรณนาพาดพิง ไปถึงนางผู้เป็นที่รัก เข้าลักษณะนิราศ
ให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ชื่อพันธุ์ไม้ พันธุ์นก คุณค่าที่ได้รับ ให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ชื่อพันธุ์ไม้ พันธุ์นก สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยมของคนไทย มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 1. ใช้รูปแบบกาพย์เห่เรือเหมาะสมกับ เนื้อหาที่เกี่ยวกับการเสด็จประพาส ทางชลมารค
คุณค่าด้านวรรณศิลป์(ต่อ) 2. ใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ ที่ก่อให้เกิดอารมณ์สุนทรี เข้าถึงความงดงามของธรรมชาติ และก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ดังนี้ - สัทพจน์ (เลียนเสียงธรรมชาติ) พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา - เล่นคำ นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา - ซ้ำคำ เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ
- ซ้ำคำเล่นคำ. รอนรอนสุริยโอ้. อัสดง เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง - ซ้ำคำเล่นคำ รอนรอนสุริยโอ้ อัสดง เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว รอนรอนจิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่ เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว - อัพภาส (การซ้ำอักษรหน้าศัพท์ เช่น ยิ้ม - ยะยิ้ม) เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงแก้วพี่หรือเสียงใคร - สรรคำให้เกิดภาพ สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
- โวหารภาพพจน์ กวีใช้โวหารภาพพจน์เพื่อก่อให้เกิดจินตภาพ เช่น อุปมา : สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา อุปลักษณ์ : น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง สัญลักษณ์ : เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว 3. แทรกความคิดเชิงสร้างสรรค์ไว้หลายตอน เช่น ความคิดเกี่ยวกับ ความงามของสตรี ว่าต้องงามพร้อมทั้งรูป วาจา หน้าตายิ้มแย้ม และกิริยามารยาทงดงาม
คุณค่าด้านสังคม สะท้อนภาพชีวิต วัฒนธรรม ค่านิยมของคนไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังนี้ 1. ในสมัยนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญ 2. มีประเพณีที่เกิดจากการคมนาคมทางน้ำ คือ การเห่เรือ และศิลปะที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการที่พระมหากษัตริย์เสด็จประพาส ทางชลมารค คือ วรรณศิลป์ (กาพย์เห่เรือ) สังคีตศิลป์ (ลำนำการเห่เรือ) เป็นต้น 3. วัฒนธรรมการแต่งกายของหญิงชาววังในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เช่น คิดอนงค์องค์เอวอร ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
4. สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับกรรมสนองกรรม เช่น เวรามาทันแล้ว 4. สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับกรรมสนองกรรม เช่น เวรามาทันแล้ว จึงจำแคล้วแก้วโกมล และค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรี เช่น งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล 5. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ชื่อปลา ชื่อไม้ ชื่อนก เช่น นวลจันทร์ คางเบือน แก้มช้ำ / นางแย้ม จำปา ลำดวน / สร้อยทอง สาลิกา แขกเต้า แก้วฟ้า ความรู้เกี่ยวกับเทพนิยาย เช่น ครุฑยุดนาค - พาหนะของพระนารายณ์ คือ ครุฑ
งานที่มอบหมาย ให้นักเรียนเลือกบทประพันธ์ที่ชอบจากเรื่องกาพย์เห่เรือมา 4-8 บท หรือจนจบเนื้อหาตอนที่ชอบ บอกเหตุผลที่ชอบ วิเคราะห์คุณค่า 3.1 ด้านวรรณศิลป์ 3.2 ด้านสังคม ทำในกระดาษ A4 ในรูปแบบแผ่นพับ 3 ตอน ส่งภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากที่เรียนเรื่องนี้จบ