ชื่อโครงงาน : การอนุรักษ์พลังงานของระบบควบคุมแรงดันน้ำ Inside Outside ชื่อโครงงาน : การอนุรักษ์พลังงานของระบบควบคุมแรงดันน้ำ Inside Outside ของบริษัท Cargill Meats (Thailand) Limited สาขาโชคชัย ชื่อสถานประกอบการ : บริษัท Cargill Meats (Thailand) Limited สาขาโชคชัย จัดทำโดย : นายเฉลิมรัชต์ สุวัฒนวนิช และ นายนฤทธิ์ ขามกระโทก Lncen มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา สาขาวิชา : วิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ บทนำ วัตถุประสงค์ ระบบปั๊มน้ำล้างซากไก่ อินไซด์ เอาท์ไซด์ ระบบเดิมมีการควบคุมแบบ ON-OFF ควบคุมระดับแรงดันน้ำด้วยการปรับ Pressure reducing vale ขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 kW จำนวน 2 ตัว มีการสลับกันทำงานทุกๆ 2 สัปดาห์ ตำแหน่งนี้นับว่าเป็นจุด CCP (Critical control point) จุดที่ 1 โดยข้อกำหนดของแผนก QA นั้นจะต้องรักษาระดับแรงดันให้ได้อย่างน้อย 2 บาร์และมีอัตราการไหลไม่ต่ำกว่า 1.5 ลิตรต่อซากไก่ 1 ตัวที่ผ่านเข้ามาในระบบ บางครั้งพบว่าจะเกิดปัญหาแรงดันน้ำต่ำกว่าที่กำหนดไว้ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่มีการใช้น้ำในจุดอื่นๆ พร้อมๆ กัน ทำให้แรงดันน้ำในท่อหลักของทางเข้าปั๊มน้ำลดลงหรือเกิดจากปัญหาอื่นๆ เช่น การอุดตันทางด้านดูดของระบบส่ง หรือ Pressure reducing vale ขัดข้อง เป็นต้น ระบบปั้มนี้มีการสิ้นเปลืองพลังงานสูงเนื่องจากในขณะที่ปั้มทำงานเต็มพิกัดจะมีน้ำส่วนหนึ่งไหลผ่าน Pressure reducing vale คืนกลับไปยังทางดูดของปั้มจึงทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสำหรับขับมอเตอร์ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงทำการออกแบบระบบควบคุมแรงดันน้ำโดยออกแบบให้มีการควบคุมแรงดันน้ำซึ่งมีอุปกรณ์หลักที่ต้องเพิ่มขึ้นจากระบบเดิม คือ Inverter และ Pressure Transmitter ทั้งนี้ยังสามารถใช้ระบบเดิมที่ใช้ Pressure reducing vale ปรับรักษาระดับแรงดันน้ำเป็นระบบสำรองหาก Inverter มีปัญหาโดยฝ่ายผลิตไม่หยุดการผลิต สำหรับระบบที่ใช้ Inverter จะทำการตั้งค่า Set point ของแรงดันน้ำที่ต้องการโดยปรับตั้งค่าได้ที่ตัว Inverter ส่วน Pressure Transmitter ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงดันน้ำเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า 4-20 mA แล้วส่งให้กับ Inverter เพื่อเปรียบเทียบกับค่า Set point ที่ได้ตั้งไว้แล้วจึงส่งพลังงานไฟฟ้าให้ปั้มเพื่อปรับเปลี่ยนความเร็วรอบให้สัมพันธ์กับแรงดันน้ำในระบบและในระบบนี้สามารถรักษาแรงดันน้ำในระบบได้คงที่ ส่งผลให้สามารถลดพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับปั้มและยังช่วยลดค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของระบบอีกด้วย 1. เพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าสอดคล้องกับ พ.ร.บ การอนุรักษ์พลังงาน 2. เพื่อรักษาแรงดันน้ำในระบบให้คงที่ตามค่า Set point 3. เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ทางกลและทางไฟฟ้า วิธีปฏิบัติงาน 1. ศึกษาและวิเคราะห์ระบบปั๊มน้ำล้างซากไก่ อินไซด์ เอาท์ไซด์ ควบคุมแบบ ON-OFF โดยใช้ Pressure reducing vale 2. ออกแบบและติดตั้งระบบควบคุมแรงดันน้ำคงที่ด้วย Inverter และ Pressure Transmitter ดังรูปที่ 1 3. ทดสอบการทำงานและปรับตั้ง Set point ของแรงดันน้ำที่เหมาะสมของระบบปั๊มน้ำ 4. วิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าและปริมาณน้ำของระบบปั๊มน้ำก่อนและหลังการปรับปรุง ผลการทดสอบการปรับตั้งระดับแรงดันน้ำที่เหมาะสม คือ 2.7 บาร์ โดยมีผลการดำเนินงานคือ ก่อนการติดตั้ง พลังงานไฟฟ้าสูงสุด 3.50 KW หลังการติดตั้ง พลังงานไฟฟ้าสูงสุด 2.25 KW อัตราประหยัดทำงานไฟฟ้าได้ 1.50 kW คิดเป็น 42.85% สรุปผลการปฏิบัติงาน ผลการทดสอบ หลังจากติดตั้งระบบควบคุมความดันน้ำให้คงที่ด้วย Inverter และ Pressure Transmitter ของบริษัท คาร์กิลล์ มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด สาขาโชคชัย จังหวัดนคราชสีมา พบว่า การปรับตั้งความดันน้ำที่ 2.7 บาร์ ทำให้ปริมาณน้ำลดลง 9.18% ดังรูปที่ 2 และประหยัดพลังงานไฟฟ้าลงได้ 42.85% ดังรูปที่ 3 ผลการลงทุนดังกล่าวจะมีระยะคืนทุนที่ 4.86 เดือน และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 45% ของค่าการใช้พลังงานทั้งหมดและยังลดการใช้ปริมาณน้ำในระบบล้างซากไก่ (Inside-Outside Pump) ได้วันละประมาณ 20,000 ลิตร ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 8,000 บาทต่อเดือน พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยืดอายุการใช้งานของระบบปั้มน้ำสำหรับล้างซากไก่ด้วย Inverter และที่สำคัญยังเป็นโครงงานที่สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานของ บริษัท คาร์กิลล์ มีทส์ ไทยแลนด์ จำกัด รูปที่ 1 ระบบควบคุมแรงดันน้ำคงที่ด้วย Inverter และ Pressure Transmitter รูปที่ 2 ปริมาณน้ำที่ใช้ล้างไก่ รูปที่ 3 พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ของระบบปั๊ม