การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เศรษฐศาสตร์มหภาค EC 312 บทนำ: Introduction
Advertisements

Specific Factor Model ดร.วิธาดา อนกูลวรรธกะ
Principles of Agricultural Marketing By AJ.Nithicha Thamthanakoon
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นในวิชาเศรษฐศาสตร์
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
รศ.ดร. ชวินทร์ ลีนะบรรจง
สัมนาเศรษฐกิจสมดุลใหม่ ทำไมต้องเศรษฐกิจสมดุลใหม่
การบริโภค การออม และการลงทุน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์
1. Free flow of goods สินค้าเข้าออกประเทศเสรี -Tariff 0% and non-tariff barriers ลดอุปสรรค -Rules of origin (ROO) ผลิต สินค้าได้ตามเงื่อนไข -Trade facilitation.
LOGO. ส่วนประกอบของบัญชี รายได้ประชาชาติ NI Y = GDP GNPNNPNIGDPGNPNNPNI.
1 สาขาธุรกิจสุขภาพในประเทศไทย (Health care Business in Thailand) น. พ. สุรพงศ์ อำพันวงษ์ เครือ ร. พ. เกษมราษฎร์ สมาคม ร. พ. เอกชน หอการค้าไทย สภาหอการค้าไทยแห่ง.
Demand in Health Sector
แนวคิดเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่สำคัญ
ลงทุนอย่างไรดีในปี 53 บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด : 23 ธ.ค. 53
ศ.432 ทฤษฎีและนโยบายการเงิน
การแข่งขันทาง การตลาด และตัวแปรทาง เศรษฐกิจ. การแข่งขันทางการตลาด (Competition) พฤติกรรมของผู้บริโภคไทยได้มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ในช่วง.
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Foundations of Economic Thinking:
บทที่ 2 กระบวนการและการวางแผนจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Planning ดร. อัญภัคร์ ประพันธ์เนติวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน
แนวความคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศ concept and policy of development
เอกสารประกอบการบรรยาย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย อุตสาหกรรม 4
การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ
การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่...
บทนำ 1 ความหมายของการตลาด แนวความคิดหลักทางการตลาด
การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ
บทที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารคลังสินค้า.
EEC : EASTERN SPECIAL ECONOMIC CORRIDOR อีอีซี : เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก.... กรณีศึกษา : มิติการลงทุนและการจ้างงาน โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย.
บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์
กำหนดการสัมมนา CIO วันที่ 26 ธค.49 ณ MICT ชั้น ICT3 ห้องประชุม 1
ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium)
1. การสอบกลางภาค วันที่ 6 ตุลาคม เวลา น. เก็บ 40 % 2
เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Economics for Everyday Life)
คู่มือวิชาโดยสังเขป ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม EC 261 3(3-0-6)
การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
การจัดการการเงินการคลังท้องถิ่น
Human Capital Management & Human Capital Investment
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
บทที่ 4 การจัดการสินค้าคงคลัง
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ (Business Strategic Planning)
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมอนามัย
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Techniques Administration
คณะบริหารธุรกิจ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท bu.ac.th
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
Welcome! ภาคการศึกษา 2 /2546 วิชา การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) ผู้สอน ดร. ลักคณา วรศิลป์ชัย 4/10/2019.
สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม
การผลิตและการจัดการการผลิต
กฎหมายและ โลกสมัยใหม่
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ผศ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างกิจการใหม่
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management
พืชเกษตรอย่างครบวงจรในระดับพื้นที่
1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้
บทที่ 1 หลักเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น
แนวคิดและตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ เพื่อการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ
อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด
บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์
Topic 13 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ
การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์ การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์

เก้าอี้ 4 ขา ทางรัฐประศาสนศาสตร์ คือ วิชาหลัก 4 สาขา ในการศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration : PA) ประกอบด้วย Human Resource (HR) Organization Public Policy Public Finance or Fiscal and Budgeting Management

ศัพท์สำคัญในการศึกษาวิชาการคลัง

วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) วิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาสังคมศาสตร์ เพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับคนหรือสังคม ในเรื่องของ การตัดสินใจว่าจะเลือก (Choices) ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างไร เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนในสังคมที่มีไม่สิ้นสุด (Unlimited Wants) ซึ่งความต้องการในมิติที่วิชาเศรษฐศาสตร์สนใจ ก็คือ ความต้องการในเชิงของวัตถุ ไม่ใช่ความต้องการเชิงจิตใจ ความต้องการนี้ ทำให้เกิดปัญหาที่ทำให้ต้องนำวิชาเศรษฐศาสตร์ มาช่วยในการตัดสินใจ เพราะทรัพยากรทุกอย่างที่นำมาใช้ในการผลิตนั้นมีจำกัด

ทรัพยากรการผลิต (Productive Factors) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ Man-made capital คือ สิ่งที่เราสร้างขึ้น เพื่อจะนำไปใช้ผลิตอย่างอื่น และ Natural-made capital ก็คือ สิ่งที่ธรรมชาติให้มา เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมีจำกัด (Scarcity) จึงมีการพูดถึงคำว่า ‘ขาดแคลน’ ซึ่งการจะดูว่า สิ่งใดขาดแคลนหรือไม่ เราดูที่ความต้องการกับจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ ถ้าความต้องการ ยังมีน้อยกว่าจำนวนที่มันมี ก็ถือว่ายังไม่ขาดแคลน

ทรัพยากรการผลิต (Productive Factors) การที่เราจะตัดสินใจเพื่อนำทรัพยากรมาผลิตสินค้าและบริการ (Goods and Services) ตัวของสินค้าและบริการเอง มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก ถ้าเป็นสินค้าและบริการ ที่เกิดจากการใช้ปัจจัย การผลิต เราเรียกว่า เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) เนื่องจากปัจจัยการผลิตอันนั้นมี ‘ต้นทุน’ อยู่ เมื่อมีการนำมาใช้ผลิตสินค้า จึงต้องมี ‘ราคา’ ถ้าเราอยากได้

เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสินค้าเอกชนกับสินค้าสาธารณะ ก็คือ เรื่องของ ‘ความเป็นเจ้าของ’ ถ้าเอกชนผลิต แสดงว่า เอกชนเป็นเจ้าของ หากอยากจะใช้ของเขา ก็ต้องจ่าย และถ้าอะไรก็ตามที่เราเป็นเจ้าของเอง เราก็สามารถแยกคนที่ ไม่จ่ายเงิน ไม่ให้มาใช้บริการของเราได้ หรือเราเรียกว่า สามารถ กีดกันคนอื่นออกไปได้ ในขณะที่ถ้าเป็นสินค้าสาธารณะจะไม่สามารถทำได้ เช่น ไฟสาธารณะที่ติดตามถนน จะไปบอกว่าให้มันส่องสว่าง อยู่หน้าบ้านเรา ให้เราเดินคนเดียว ก็ทำไม่ได้ เป็นต้น

ทรัพยากรการผลิต (Productive Factors) ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นสินค้าและบริการที่เราเรียกว่า ทรัพย์เสรี (Free Goods) คือ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติจัดไว้ให้ เช่น แม่น้ำ อากาศ ออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องจ่ายเงิน

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงกระบวนการในการตตัดสินใจดำเนินชีวิตธุรกิจของปัจเจกบุคคล (Individual) หรือกลุ่มบุคคล เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมในการกำหนดราคาของผู้ผลิต พฤติกรรม ในการบริโภคของบุคคล เป็นต้น

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตมวลรวม (National Product) รายได้ประชาชาติ (National Income) การจ้างงาน(Employment) ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Economics Growth) เป็นต้น

Microeconomics & Macroeconomics ถึงแม้จะแบ่งออกเป็น 2 แขนงใหญ่ๆ แต่ทั้ง 2 แขนงก็มีความเกี่ยวของสัมพันธ์กัน เช่น รายได้ของ แต่ละคน ซึ่งเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์จุลภาค แต่เมื่อนํามารวมกันจะได้เป็นรายได้ประชาชาติ (เศรษฐศาสตร์มหภาค) การผลิตและการบริโภค (เศรษฐศาสตร์จุลภาค) จะได้รับผลกระทบเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ (เศรษฐศาสตร์มหภาค) การออมของบุคคลมีผลต่อการลงทุนของประเทศ เป็นต้น

อุปสงค์ (Demand) คือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ (จำนวนหรือปริมาณของสินค้าและบริการ) ของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ณ ระดับราคาที่แตกต่างกันของสินค้า ชนิดนั้น หรือ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ของผู้บริโภค หรือ ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

อุปสงค์ (Demand) อุปสงค์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคต้องมี มีความสามารถทางการเงินเพียงพอที่จะซื้อได้ (Purchasing Power or Ability to Pay) มีความต้องการที่จะซื้อ (Willingness to Pay) ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไป จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์

อุปสงค์ (Demand) ขนาดของอุปสงค์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 6 ปัจจัย คือ ระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น ระดับรายได้ของผู้ซื้อ ระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รสนิยมของผู้ซื้อ ขนาดของประชากร การคาดคะเนเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคต

อุปทาน (Supply) คือ ความต้องการขายสินค้าและบริการ (จำนวนหรือปริมาณของสินค้าและบริการ) ของผู้ขายหรือผู้ผลิต ณ ระดับราคาที่แตกต่างกันของสินค้าชนิดนั้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

อุปทาน (Supply) ขนาดของอุปทานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 7 ปัจจัย คือ ขนาดของอุปทานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 7 ปัจจัย คือ ระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น เทคโนโลยีในการผลิต ราคาของปัจจัยการผลิต (ต้นทุนการผลิต) ระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวนผู้ขายในตลาด สภาวะดินฟ้าอากาศ การคาดคะเนเหตุการณ์ต่างๆในอนาคต

ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium)

ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium) ราคาสินค้าจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานตลาดของสินค้านั้น (ผ่านทางกลไกราคา) โดยราคาดุลยภาพ (Price Equilibrium) และปริมาณดุลยภาพ (Quantity Equilibrium) จะเกิดพร้อมกันตรงระดับที่ปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขายพอดี เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า ดุลยภาพตลาด (Market Equilibium) และที่จุดดุลยภาพนี้ จะไม่มีสินค้าเหลือในตลาด

การปรับตัวของระดับราคา เมื่อปริมาณของอุปสงค์ตลาดกับปริมาณของอุปทานตลาดไม่เท่ากัน (ความต้องการซื้อไม่เท่ากับความต้องการขาย) ระดับราคาจะทำการปรับตัวโดยอัตโนมัติเพื่อปรับให้ปริมาณของอุปสงค์ตลาดเท่ากับปริมาณของอุปทานตลาด (สมมติให้ปัจจัยอื่น ๆที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานคงที่) เราเรียกกระบวนการปรับตัวของระดับราคาโดยอัตโนมัตินี้ว่า “กลไกราคาหรือกลไกตลาด (Price Mechanism or Market Mechanism)” หรือที่ อดัม สมิธ เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand)”

รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปจะประมาณ 1 ปี ความรู้เรื่องกระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ ถือเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติกล่าวคือ ระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิตโดยมีเงินทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นเงินจะถูกเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ และเมื่อเงินถูกหมุนเวียนเปลี่ยนมือมากครั้งเท่าใด รายได้รวมของทั้งระบบเศรษฐกิจและผลผลิตรวมของประเทศก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย

รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) ระบบเศรษฐกิจใดๆ ก็ตามจะมีโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ คือ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ

1. ภาคครัวเรือน (Houshold Sector) มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 1.1 เป็นเจ้าของปัจจัยผลิต ซึ่งได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และการประกอบการ 1.2 ขายหรือให้บริการปัจจัยการผลิตแก่ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ 1.3 นำรายได้ที่ได้จากการขายปัจจัยการผลิตไปซื้อสินค้าและบริการ

2. ภาคธุรกิจ (Business Sector) มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 2.1 เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ โดยซื้อปัจจัยการผลิต จากภาคครัวเรือน 2.2 ขายสินค้าและบริการให้ภาคครัวเรือน ภาครัฐบาลและภาคต่างประเทศ

3. ภาครัฐบาล (Public or Government Sector) มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 3.1 ออกกฎหมาย (โดยฝ่ายนิติบัญญัติ) 3.2 ตัดสินคดีความ (โดยฝ่ายตุลากร) 3.3 จัดหาหรือผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ สำหรับบริการประชาชน (โดยฝ่ายบริหาร) 3.4 จัดหารายได้

4. ภาคต่างประเทศ (Foreign Sector) มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญ คือ 4.1 การซื้อขายสินค้าและบริการ 4.2 การเคลื่อนย้ายทุนและปัจจัยการผลิตอื่นๆ

ปัจจัยการผลิต (Factors of Production) สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ได้แก่ ที่ดิน (Land) ใช้เป็นตัวแทนของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน แร่ธาตุ ป่า แรงงาน (Labor) หมายถึงตัวมนุษย์ คุณภาพในมนุษย์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ฯลฯ ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตและการทำงานได้ แรงงานแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ แรงงานร่างกาย และ แรงงานสมอง ทุน (Capital) หมายถึง สินค้าที่มนุษย์ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหรือวิธีการผลิต สินค้าประเภทนี้อาจเรียกว่า สินค้าทุน (Capital Goods) เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์

สินค้า (Goods or Commodity) ในทางเศรษฐศาสตร์ คือ สิ่งของหรือบริการที่เพิ่มอรรถประโยชน์ (utility) ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ แบ่งเป็น Primary Goods = สินค้าเกษตร Secondary Goods = สินค้าอุตสาหกรรม Tertiary Goods อุตสาหกรรมการบริการ เช่น ขนส่ง บันเทิง ธนาคาร ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) GDP คือ ผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้ภายในประเทศ ในรอบระยะเวลาหนึ่งซึ่งปกติคือ 1 ปี คำว่ามูลค่าได้จากการใช้ราคาตลาดของสินค้าและบริการคูณกับจำนวนของสินค้าและบริการแต่ละชนิดแล้วนำมารวมกัน ซึ่งถ้าจะเรียกเต็มๆ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ตามราคาตลาด

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) GDP มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. มูลค่าในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง ปริมาณสินค้าเปลี่ยนแปลง หรือทั้งราคาสินค้าและปริมาณสินค้าเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 อย่าง GDP ในแต่ละปี จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อบอกถึงความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการว่าดีขึ้นหรือลดลงจากปีก่อนๆ หรือไม่ จึงเป็นปัญหาในการวัดความกินดีอยู่ดีของคนในประเทศซึ่งวัดจากปริมาณของสินค้าและบริการต่อคน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) 2. GDP ของปีใด ต้องคำนวณจากสินค้าและบริการที่ผลิตในปีนั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นการขายสินค้าเก่า เช่น รถยนต์มือสอง บ้านเก่า จึงไม่นับรวม 3. สินค้าและบริการที่นำมาคำนวณต้องเป็นสินค้าและบริการ ขั้นสุดท้ายเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการนับซ้ำ 4. สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่นำมาคำนวณจะต้องผลิตภายในอาณาเขตของประเทศเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าจะผลิตโดย ในขณะที่สินค้าและบริการที่ผลิตโดยคนไทยแต่ผลิตในต่างประเทศจะไม่นำมาคำนวณ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) 5. สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่นำมาคำนวณต้องผ่านกระบวนการตลาด (มีการซื้อ-ขาย) และไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้น การซื้อขายยาบ้า สุราเถื่อน บ่อนการพนัน โสเภณี การปลูกพืชผักไว้กินเอง แม่บ้านทำงานบ้านเอง จึงไม่นำมารวมใน GDP นอกจากนี้กิจกรรมที่ไม่มีการบันทึกเพื่อการหลบเลี่ยงภาษี เช่น การซื้อขายสินค้าไม่มีใบเสร็จ แม้จะถูกกฎหมายแต่ก็ไม่สามารถนำมารวมใน GDP ได้

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) GNP คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตโดยทรัพยากรของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปกติคือ 1 ปี ดังนั้น GDP กับ GNP จึงแตกต่างกันตรงที่ GDP ยึดอาณาเขตในขณะที่ GNP ยึดทรัพยากร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการคลัง ในช่วงระยะแรกๆ คือ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐบาลในฐานะผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ยังคงมีบทบาทหรือภารกิจไม่มากนัก ได้แก่ การป้องกันประเทศและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศเท่านั้น ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ (ค.ศ. 1760 – 1830) นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์ของสำนักคลาสสิคหรือทุนนิยม โดยเฉพาะ Adam Smith (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์) ได้อธิบายว่า ภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือผันแปร มีการเคลื่อนไหว ขึ้นๆลงๆ ตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ (economic cycle) รัฐบาลควรปล่อยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดำเนินไปอย่างเสรีตามกลไกราคา

แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ทำให้เกิดแนวคิดเสรีนิยม แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของอดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิด ทางเศรษฐศาสตร์ ในแง่ของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น

แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรี มูลค่าของสิ่งของ จะเท่ากัน ต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตจะได้รับผลตอบแทนเท่ากันในทุกอาชีพ แนวคิดของอดัม สมิธ ยังคงมีอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน เช่น แนวคิดเรื่อง ความมั่งคั่งของประเทศ การแข่งขันเสรี และการคลัง

แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคเป็นแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย อดัม สมิธ และคณะ ลัทธิเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคได้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตกในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งหลักการพื้นฐานของสำนักคลาสสิค มีดังนี้

แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค 1. เสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) ตามหลักการนี้ บุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพในการที่จะประกอบธุรกิจ และหน่วยธุรกิจก็มีเสรีภาพในการที่จะเข้าหรือออกจากอุตสาหกรรม นอกจากนี้บุคคลแต่ละคนก็ยังมีเสรีภาพในการ ที่จะแสวงหางานตามแต่ที่เขาจะหาได้ และออกจากงานเมื่อเขาปรารถนา

แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค 2. ความสนใจในผลประโยชน์ของตนเอง (self interest) ความสนใจในผลประโยชน์ของตนเองเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้โดยความคิดที่เชื่อกันตามที่ อดัม สมิธ กล่าวไว้ว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนย่อมเท่ากับถูกชักนำโดย “มือที่มองไม่เห็น” (invisible hands) ก่อให้เกิดสวัสดิการแก่เพื่อนร่วมชาติ ดังนั้น ในการที่ แต่ละบุคคลดำเนินการสิ่งใดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเขา ก็เท่ากับได้ช่วยเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้แก่ประเทศชาติเป็นส่วนรวมไปโดยปริยาย

แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค 3. การแข่งขัน (competition) ในโลกที่มีการค้าเสรีและมีความสนใจในผลประโยชน์ของตนเอง การแข่งขันเป็นตัวควบคุมระบบเศรษฐกิจ การแข่งขันช่วยบังคับไม่ให้เกิดการผูกขาดเกิดขึ้น การที่อุปทานของสินค้ามาจากผู้ขายเป็นจำนวนมาก ย่อมช่วยควบคุมมิให้หน่วยธุรกิจใดหน่วยธุรกิจหนึ่งตั้งราคาสินค้าสูงเกินไป การแข่งขันยังช่วยป้องกันมิให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง ยิ่งกว่านั้นการแข่งขันยังเป็นพลังที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม (innovation) และทำให้ผู้บริโภค มีสินค้าใหม่ๆ บริโภคในราคาถูกลง และช่วยทำให้ไม่เกิดภาวะสินค้า ชนิดใดชนิดหนึ่งล้นตลาดหรือขาดตลาด โดยกลไกที่ผ่านการปรับปรุง ในราคาและผลิตผล

แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค 4. การดำเนินการโดยเสรี (laissez faire) ในโลกซึ่งทุกคน มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ มีความสนใจในผลประโยชน์ของตนเองและ มีการแข่งขันนั้น บทบาทของรัฐบาลก็ควรจะเป็นบทบาทที่น้อยมาก โดยรัฐบาลควรปล่อยให้เอกชนดำเนินงานโดยเสรี คือ รัฐบาลควรปล่อยให้เอกชนดำเนินงานไปโดยลำพัง และปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปตาม ที่เป็นอยู่ (let alone, let be) นอกเหนือไปจากการออกตัวบทกฎหมาย การให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน การป้องกันประเทศและ การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแล้ว รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซง ในการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการคลัง อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อมา สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน ความต้องการของประชาชนต่อรัฐมีมากขึ้น รัฐจึงต้องผลิตสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย รัฐบาลเริ่มมีความจำเป็นที่จะต้องหาแหล่งเงิน เพื่อเป็นรายได้ในการดำเนินการ ทรัพยากรอันเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาลมีไม่มากนักและเริ่มจำกัดลง ในช่วง ค.ศ. 1929 – 1933 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 7) ได้มีนักเศรษฐศาสตร์การเมืองคนสำคัญ คือ John Meynard Keynes ได้เสนอแนวคิดที่สำคัญ

เศรษฐศาสตร์ในสำนักเคนส์ ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต่างๆ มักจะใช้นโยบายงบประมาณแบบสมดุล คือ กำหนดงบประมาณรายจ่ายเท่ากับประมาณการรายได้ แต่ภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 (ประมาณ ค.ศ.1929) เกิดภาวะการว่างงาน อันเนื่องมาจากภาวะสงคราม ทำให้รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหา โดยการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

เศรษฐศาสตร์ในสำนักเคนส์ John Maynard Keynes และนักเศรษฐศาสตร์ในสำนักเคนส์ มีความเห็นว่า ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จำต้องขาดเสถียรภาพ เช่น ถ้าหากการผลิตชะลอตัวลงและมีการว่างงานเกิดขึ้น ทำให้รายได้ของประชาชนทั้งผู้อุปโภคบริโภคและผู้ผลิตลดลง ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนลดลง เป็นผลให้ภาวะเศรษฐกิจซบเซามากขึ้น และการว่างงานมากขึ้น

เศรษฐศาสตร์ในสำนักเคนส์ ในการแทรกแซงนั้นสำนัก Keynes เห็นว่า รัฐบาลควรจะดำเนินนโยบายการคลังมากกว่านโยบายการเงิน เพราะมีประสิทธิผลกว่า กล่าวคือ ในกรณีที่เศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลควรจะกระตุ้นโดยดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลัง คือ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือลดอัตราภาษี หรือทั้งสองอย่างรวมกัน แต่หากเศรษฐกิจมีภาวะเฟื่องฟูหรือขยายตัว มากเกินไป จนเกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลก็สามารถแทรกแซงด้วยนโยบายเกินดุลทางการคลัง เพื่อลดอุปสงค์ โดยการลดการใช้จ่ายหรือเพิ่มภาษี