เท้าปุก (Club foot) อ.นภิสสรา ธีระเนตร
เท้าปุก (Club foot) เป็นความผิดปกติของเท้า โดยมีลักษณะความผิดรูปแบบข้อเท้าจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึ้น โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ทำให้มีรูปร่างเหมือนไม้กอล์ฟ อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
สาเหตุ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดา กรรมพันธุ์ กระดูกเท้าถูกสร้างมาผิดรูป, กล้ามเนื้อ ควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและเท้าไม่ สมดุลกัน ยาและสารเคมีบางชนิดเช่นยา Thaliamide ทำให้การเจริญผิดปกติ
อุบัติการณ์ เกิดขึ้น 1 : 1,000 ของเด็กทารกที่คลอดใหม่ (in USA) มักพบในบุตรคนแรก เด็กผู้ชาย : เด็กผู้หญิง = 2 : 1 เท้าขวาพบบ่อยกว่า เป็นสองข้าง = เป็นข้างเดียว
เท้าปุกเทียม/ เท้านิ่ม ประเภทของเท้าปุก เท้าปุกเทียม/ เท้านิ่ม เท้าปุกแท้/ เท้าแข็ง เท้าบิดเข้าด้านในและจิกเท้าลง โดยรูปร่างเท้าไม่ได้บิดมาก ใช้มือจับดัดเบาๆ สามารถดัดเท้าให้เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง เท้าบิดเข้าด้านในโค้งงอชัดเจน ด้านข้างเท้าเป็นเส้นโค้ง ด้านในจะเห็นร่องเนื้อเป็นเส้นบุ๋มลงไป ตรงกลางและด้านหลังเท้า เป็นเส้นซอกลึกเข้าไป
เท้าปุกเทียม เท้าปุกแท้ (ต่อ) เท้าปุกเทียม เท้าปุกแท้ (ต่อ) ถ้าไม่ได้รักษา เท้าจะบิดแข็ง มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กโตขึ้นจะใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักเวลาเดิน ซึ่งทำให้เดินลำบาก ทรงตัวยาก เจ็บปวดได้บ่อย ใส่รองเท้าทั่วไปไม่ได้ ไม่มีความผิดปกติที่โครงสร้างเท้า เกิดจากเด็กขดตัวแน่นอยู่ในครรภ์ เท้าถูกกดอยู่ในท่าบิดเข้าด้านในเป็นเวลานาน อาจทำให้เอ็นเท้าด้านในตึง ในขณะที่เอ็นเท้าด้านนอกหย่อน พบได้บ่อย
การแบ่งชนิดของเท้าปุก ตามลักษณะของความผิดปกติ Talipes varus: Turn inward รูปตัว J Talipes valgus: Rotate outward รูปตัว L Talipes equino ปลายเท้าปักพื้นยกส้นเท้า Talipes calcaneus ปลายเท้าพ้นพื้นดิน เดินด้วยส้นเท้า
ตามระยะการเกิด Congenital club foot Acquired club foot may be poliomyelitis or inflammatory processes and traumas of the foot and leg.
ตามสาเหตุ Positional club foot เกิดจากการขดตัวของทารกในครรภ์ ทำให้เท้าบิดเข้าด้านใน Teratologic club foot เกิดจากกระดูกเท้าเรียงตัวผิดปกติ มีการผิดรูปของกระดูกเท้าบางชิ้น
การรักษา อธิบายให้บิดา-มารดาเด็กเข้าใจในแผนการรักษา ตลอดจนผลดีในการรักษาตั้งแต่แรกเกิด*** เพราะเนื้อเยื่อของเท้าเด็กแรกเกิดอ่อนยืดหดได้ง่าย
การรักษา (ต่อ) การรักษาตั้งแต่แรกเกิด การรักษา (ต่อ) การรักษาตั้งแต่แรกเกิด เท้าปุกเทียม นวดด้วยน้ำอุ่นๆ ค่อยๆดัดและเขี่ยข้างเท้า*** ทำทุก 4 ชม. ก่อนให้นมจนเด็กอายุ 2 ขวบหรือจนกว่าผลเป็นที่น่าพอใจ
การรักษา (ต่อ) เท้าปุกแท้ แพทย์มักจะเข้าเฝือกโดยเพื่อแก้ไขความผิดปกติ ใส่เฝือกอย่างน้อย 6 wks
การรักษา (ต่อ) Denis Brown Splint (Brace and shoes correction) เป็นรองเท้าสำหรับจัดเท้าและขณะใส่เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วย (มักใช้ต่อจากการเข้าเฝือก เมื่อจัดรูปร่างเท้าได้พอสมควรแล้ว) การสวมใส่ มักต้องใส่ตลอดเวลา ถอดเฉพาะเวลาอาบน้ำ เมื่อเด็กเริ่มหัดเดิน รองเท้านี้จะใส่เฉพาะเวลากลางคืน ใส่นาน 1 ปี หรือมากกว่านั้นเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีก***
การรักษา (ต่อ) Orthopedic shoes เป็นรองเท้าพิเศษที่เสริมพื้นรองเท้าให้สูง ช่วยในการดัดเท้าเด็กใช้จนอายุ 3 ปี ร้อยละ 60 ได้ผลดีภายใน 3 เดือนแรก ร้อยละ 40 ไม่ค่อยได้ผลจาก ญาติไม่ให้ความร่วมมือหรือเห็นความสำคัญ
การรักษา (ต่อ) Soft tissue operation เมื่อการดัดและจัดไม่ได้ผลมักทำผ่าตัดโดย Tendo-Achilles Lenghtening โดยทำเอ็นร้อยหวายให้ยาวขึ้น แล้วเข้าเฝือกแก้การผิดรูป Capsulotomy ของเท้าแล้วเข้าเฝือกแก้การผิดรูป
การพยาบาล ให้การดูแลเหมือนเด็กเข้าเฝือกทั่วๆไป ในรายที่ทำผ่าตัดจะต้องให้การดูแลเหมือนเด็กหลังผ่าตัดและเข้าเฝือก เน้นการรักษาความสะอาดของร่างกายเด็กเป็นสิ่งสำคัญ อาหารและการขับถ่าย การออกกำลังกายของข้อต่างๆ Observe อาการผิดปกติต่างๆนั้นต้องดูอย่างใกล้ชิดเพราะเด็กไม่สามารถบอกได้
การดูแลเฝือก เปลี่ยนเฝือกทุก 1-2 สัปดาห์ สังเกตปลายนิ้วบ่อยๆ ปกติควรเป็นสีชมพูและคลำได้อุ่นๆ ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรมาพบแพทย์ : ปลายนิ้วบวม ผิวหนังที่บริเวณปลายเฝือกแดง ถลอก เฝือกแน่นมาก เปียกชื้น แตก หรือมีกลิ่นเหม็นออกมาจากภายในเฝือก