งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที
ผศ. ดร.บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

2 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี่ถูกหรือผิด
ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกที่มีอายุ 28 วันแรกหลังคลอด Sensory Stimuli เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการหายใจครั้งแรก Foramen ovale จะปิดอย่างสมบูรณ์เมื่อ 6 ชั่วโมง ถึง 3 เดือนหลังคลอด อาการตัวเหลืองที่ผิดปกติของทารกแรกเกิดจะตรวจพบได้ภายใน 24 ชม.หลังคลอด

3 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี่ถูกหรือผิด
4.ทารกแรกเกิดร้องเสียงดัง ปลายมือปลายเท้าเขียวเล็กน้อย ผิวสีชมพูทั่วตัว ขยับแขนขาได้ดี ร้องเสียงดัง ได้คะแนน APGAR = ทารกที่มีอุณหภูมิกาย 36 องศาเซลเซียส ต้องได้รับการดูแลพิเศษ Phimosisเป็นความผิดปกติในทารกเพศชา Erb-Duchenne paralysis Moro Reflex หายไป

4 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี่ถูกหรือผิด
club foot ถือเป็นความผิดปกติ ต้องแก้ไข Cephalhematoma คือภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกระโหลกศีรษะ

5 การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที
วัตถุประสงค์ ภายหลังการศึกษาหัวข้อนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ การจำแนกประเภท การคะเนอายุครรภ์และสรีรวิทยาของทารกแรกเกิดได้ถูกต้อง 2. อธิบายวิธีการประเมินสภาพทารกแรกเกิดโดยประเมินจากประวัติมารดา การให้คะแนน แอปการ์ และการตรวจร่างกายทารกแรกเกิดได้ถูกต้อง 3. บอกข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลทารกแรกเกิดในห้องคลอดได้ถูกต้อง 4. บอกบทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกในห้องคลอดได้ 5. ฝึกการใช้กระบวนการพยาบาลจากตัวอย่างกรณีศึกษาได้ถูกต้อง

6 การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที
การดูแลทารกแรกเกิดทันทีในห้องคลอด นับเป็นภาวะวิกฤติของมารดาและทารกขณะนั้น พยาบาลเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยให้มารดามีการเปลี่ยนผ่าน(transition) ภาวะนี้ได้อย่างประทับใจและทารกปลอดภัยพร้อมกับมีภาวะสุขภาพที่ดีในวัยต่อมาได้

7 การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทารกแรกเกิด - ความหมายและความสำคัญของทารกแรกเกิด - การจำแนกประเภททารกแรกเกิด - การคะเนอายุครรภ์ - สรีรวิทยาของทารกแรกเกิด การประเมินสภาพทารกแรกเกิด - การประเมินจากประวัติของมารดา - การประเมินคะแนนแอปการ์ - การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด การพยาบาลทารกแรกเกิดในห้องคลอด บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกในห้องคลอด กรณีศึกษา

8 ความหมายและความสำคัญ
ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่อายุในช่วง 28 วันแรกของชีวิต มีความสำคัญ - เป็นระยะเริ่มต้นที่มีความสำคัญมากต่อการมีชีวิตรอด - มีอัตราการเจ็บป่วย (morbidity) และมีอัตราการตาย (mortality - มีการเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างฉับพลัน อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทารกจะต้องทำงานเองทุกระบบเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดให้ได้ - มีการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของระบบต่างของร่างกายเพื่อการปรับตัวต่อ สิ่งแวดล้อมใหม่นอกครรภ์มารดา - ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยเป็นกลุ่มที่มีอัตราตายสูงสุด

9 การจำแนกตามน้ำหนักแรกเกิด
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1. ทารกมีน้ำหนักน้อย (low birth weight infant) 2. ทารกมีน้ำหนักปกติ ( normal birth weight infant)

10 การจำแนกตามอายุครรภ์
ตามองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ ดังนี้ 1. ทารกคลอดก่อนกำหนด (preterm infant) 2. ทารกครบกำหนด (term or mature infant) ทารกเกินกำหนด (post term)

11 การจำแนกตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
1. ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอายุครรภ์ (Small for gestation age: SGA) 2. ทารกน้ำหนักตัวเหมาะสมกับค่าเฉลี่ยของอายุครรภ์ (Appropriate for gestation age: AGA) 3. ทารกน้ำหนักตัวมากกว่าค่าเฉลี่ยของอายุครรภ์ (Large for gestation age: LGA)

12 แหล่งที่มาNichols, & Zwelling, 1997: 1099

13 การคะเนอายุครรภ์ของทารกแรกเกิด
การประเมินอายุครรภ์ทารกอย่างรวดเร็วสามารถประเมินจากลักษณะภายนอกของทารกตามวิธีของยูชเชอร์ โดยดูจาก ลายเท้า เส้นผ่าศูนย์กลาง ตุ่มนม เส้นผม ใบหู อัณฑะและถุงอัณฑะ

14 ตัวอย่างการประเมินอายุครรภ์
ทารกแรกเกิดมี ลายเท้าถึงสองในสามของส่วนหน้า ตุ่มนมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ม.ม. เส้นผมมีลักษณะเป็นเส้นละเอียดๆ อ่อนนุ่ม ใบหูมีรูปทรงชัดเจนมีกระดูกอ่อนบ้าง อั ณฑะลงมาที่ถุงอัณฑะแล้วและถุงอัณฑะมีรอยย่นชัดเจน จงคะเนอายุครรภ์ทารกแรกเกิด

15 การคะเนอายุครรภ์ (ต่อ)
แสดงว่าทารกมีอายุครรภ์ระหว่าง สัปดาห์

16 สรีรวิทยาของทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระบบ ต่าง ๆ ดังนี้ ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ระบบการหายใจ ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ระบบเลือด ระบบขับถ่ายปัสสวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท

17 สิ่งกระตุ้นการหายใจ 1) การกระตุ้นด้วยสารเคมี (chemical stimuli)
2) การกระตุ้นด้วยประสาทสัมผัส (sensory stimuli) 3) การกระตุ้นด้วยอุณหภูมิ คือ ความเย็น (thermal stimuli) 4) การกระตุ้นด้วยกลศาสตร์ (mechanical stimuli)

18 ระบบประสาท มีการทำหน้าที่และการพัฒนาของระบบประสาทมีดังนี้ - การได้ยิน
7.1 การทำหน้าที่ของประสาทรับความรู้สึก (sensory function) มีการทำหน้าที่และมีพัฒนาการดังนี้ - การได้ยิน - การเห็น - การได้กลิ่น - การรู้รส - การสัมผัส

19 7.2 การทำหน้าที่ของประสาทรีเฟล็กซ์ (primitive reflex) ที่สำคัญ มีดังนี้
- Moro reflex - Tonic neck reflex - Dancing or Stepping reflexes - Crawling reflex - Blinking or Corneal reflex - Pupillary reflex - Sneezing reflex - Coughing reflex - Gag reflex - Rooting reflex - Sucking reflex - Extrusion reflex - Yawn reflex - Palmar grasping reflex - Plantar หรือ Babinski reflex

20 การประเมินสภาพทารกแรกเกิด
การประเมินจากประวัติของมารดา การใช้ระบบการให้คะแนนแอปการ์ การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด

21 การประเมินสภาพทารกแรกเกิด
มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ประเมินภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของทารกแรกเกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรืออาจเกิดขึ้นระหว่างการคลอด 2. ประเมินสุขภาพทารกแรกเกิดให้ได้ว่ามีความปกติหรือผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดอย่างไร 3. ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดได้ตรงตามภาวะสุขภาพ 4. เป็นเกณฑ์สำหรับเปรียบเทียบในการรักษาพยาบาลหรือติดตามการเจริญเติบโตของทารกต่อไป 5. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสอน การให้คำปรึกษา การให้คำแนะนำและตอบคำถามปัญหาแก่บิดา-มารดา- ญาติ

22 วิธีการประเมินคะแนนแอปการ์
ประเมินในระยะเวลาอันสั้น การประเมินแต่ละครั้งไม่เกิน 20 – 30 วินาที ประเมินจากลักษณะ สีผิวหนัง การหายใจ การเต้นของหัวใจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาเมื่อถูกรบกวน

23 การแปลผลคะแนนแอปการ์
1. ภาวะปกติ (no asphyxia) มีคะแนนรวม 8 – 10 2. ภาวะที่ทารกถูกกดการหายใจเล็กน้อย (mild asphyxia) มีคะแนนรวม 5 –7 3. ภาวะที่ทารกถูกกดการหายใจปานกลาง (moderate asphyxia) มีคะแนนรวม 3 – 4 4. ภาวะที่ทารกถูกกดการหายใจรุนแรง (severe asphyxia) มีคะแนนรวม 0 – 2

24 การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดเป็นการประเมินสภาพทารกแรกเกิด เพื่อการตรวจหาความผิดปกติให้ได้แต่เนิ่นๆและให้การดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้อง และช่วยให้ระบุได้ว่าทารกปกติหรือผิดปกติ

25 การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อตรวจหาความพิการหรือความผิดปกติต่างๆ 2. เพื่อเป็นเกณฑ์สำหรับเปรียบเทียบและติดตามอาการทารกครั้งต่อไป 3. เพื่อวางแผนและให้การพยาบาลได้ถูกต้อง 4. เพื่อให้คำแนะนำและตอบคำถามแก่มารดาและญาติได้ตรงประเด็น

26 การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
ขั้นตอนการตรวจร่างกายทารกดังนี้ ขั้นตอนก่อนตรวจ ขั้นตอนการตรวจตามระบบ ขั้นตอนหลังการตรวจ

27 ขั้นตอนก่อนตรวจ การหายใจ การเต้นของหัวใจ สะดือ
ตรวจความปลอดภัยของชีวิตทารกก่อนทุกครั้งดังนี้ การหายใจ การเต้นของหัวใจ สะดือ

28 ขั้นตอนการตรวจตามระบบดังนี้
1. ผิวหนัง (Skin) ผิวหนังทารกแรกเกิดมีได้หลายลักษณะดังนี้ 1.1 ผิวหนังลายหรือเป็นจ้ำสีขาวซีดสลับกับสีคล้ำ (marble skin or cutis marmorata) 1.2 อาการเขียวเฉพาะมือปลายเท้า (peripheral cyanosis or acrocyanosis) 1.3 ผิวหนังแดงครึ่งซีกและขาวครึ่งซีก (harlequin colour change) 1.4 ผิวหนังซีด (pallor) 1.5 ตัวเหลือง (jaundice)

29 ผิวหนัง (Skin) 1.7 จุดเลือดออก (petechiae) 1.8 จ้ำเขียว (ecchymosis)
1.6 บวม (edema) 1.7 จุดเลือดออก (petechiae) 1.8 จ้ำเขียว (ecchymosis) 1.9 ผิวหนังลอก (desquamation of the skin) 1.10 ปานเขียว (mongolian spots) 1.11 ปานแดง (hemangiomas) 1.12 ตุ่มนูนสีขาว (milia) 1.13 ตุ่มพองใสเล็กๆ (miliaria crystallina หรือ sudamina rash) 1.14 ผื่นสีชมพู (erythema toxicum หรือurticaria neonatorum) 1.15 ผิวหนังที่ความยืดหยุ่นและตึงตัวดี (elasticity) หรือ ผิวเหี่ยว (turgor)

30 2. ศีรษะ (Head) ตรวจดูว่าศีรษะทารกมีขนาดและรูปร่างเป็นปกติหรือไม่ โดยประคองศีรษะทารกอย่างนุ่มนวลและตรวจดู ดังนี้ 2.1 Suture 2.2 Molding 2.3 Caput succedaneum 2.4 Cephalhematoma 2.5 Subgalial hematoma 2.6 Erythema, bleb, abrasion 2.7 Anterior fontanel 2.8 Posterior fontanel 2.9 Skull fracture 2.10 Intracranial hemorrhage

31 3. ตา (Eyes) การตรวจดูตาดังนี้
3.1 ตรวจรูม่านตา (Pupil) 3.2 ตาดำ (Cornea) 3.3 เลือดออกบริเวณใต้เยื่อบุตาขาว (subconjunctival and retinal hemorrhage)

32 จมูก (Nose) และ หู (Ears)
4. จมูก (Nose) ตรวจดูรูปร่างและขนาดของจมูก ภาวะรูจมูกปิดตัน (choanal atresia) ตรวจดู ผนังกั้นรูจมูก (septum) 5. หู (Ears) ต้องตรวจดูรูปร่างที่ตั้ง และการได้ยินว่าปกติหรือไม่ ตามปกติขอบบนของใบหูจะอยู่ระดับเดียวกับหางตา ดูใบหูตั้งอยู่ต่ำกว่าหางตา ( low set ears) จะต้องตรวจดูความผิดปกติอย่างอื่นว่ามีภาวะ Down’s syndrome หรือไม่

33 6. ใบหน้า ( Face) ทารกแรกเกิดอาจมีอาการหน้าบวมคล้ำ (congestion of face) เกิดจาก cervical clamp และจะหายได้เอง ไม่ต้องรักษา

34 ใบหน้า ( Face) ตรวจ ดังนี้
6.1 Mouth 6.2 Gum cyst 6.3 Neonatal teeth 6.4 Sucking blister 6.5 Epstein’s pearl (epithelial pearl) 6.6 Thrush (oral moniliasis)

35 ใบหน้า ( Face) ตรวจ ดังนี้
6.7 Tongue-tie 6.8 Cleft lip หรือ Cleft palate 6.9 Facial nerve palsy 6.10 Recess chin 6.11 Tracheo – esophageal fistula 6.12 ตรวจ reflex ของใบหน้า

36 7. คอ (Neck) โดยคลำเบาๆ ตามแนวหลอดลม จะคลำได้เป็นแนวตรง ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ลักษณะผิดปกติที่ตรวจพบ มีดังนี้ 7.1 Sternomastoid tumur 7.2 Webbing neck 7.3 Enlargement of thyroid 7.4 Short neck

37 8. แขน (Arms) มีการตรวจดังนี้
8.1 Clavicle fracture 8.2 Brachial plexus paralysis หรือ Erb’s paralysis 8.2.1 Erb-Duchenne paralysis 8.2.2 Klumpke paralysis 8.3 Fracture humerus 8.4 มือ (hand)

38 9. ทรวงอก (chest) ตรวจดู 9.1 Breast engorgement 9.2 Sternum

39 10. ท้อง (Abdomen) การตรวจท้องต้องดูลักษณะทั่วไปก่อน ตามปกติท้องของทารกจะค่อนข้างกลมและยื่นออกมาเล็กน้อย ให้ดูว่าท้องอืดหรือ มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหรือไม่ จากการตรวจท้องทารกอาจพบความผิดปกติ ดังนี้ 10.1 Diaphragmatic hernia 10.2 Visceral injury

40 ตรวจ ดู อีกครั้งว่ามีเลือดออกหรือไม่
11. ตรวจ ดู สะดือ (cord) ตรวจ ดู อีกครั้งว่ามีเลือดออกหรือไม่

41 12. ตรวจขา (legs) ควรตรวจตามขั้นตอนดังนี้
12.1 จับ Pulse ที่ femoral artery ตรวจกระดูกต้นขา 12.3 ตรวจดูขาและเท้า อาจพบลักษณะนิ้วเกิน (polydactyly) นิ้วติดกัน(syndactyly) เท้าปุก(club foot) เป็นความผิดปกติของเท้าและข้อเท้าที่ผิดรูปไป มี 4 ลักษณะ ดังนี้ - ชนิดเท้าบิดเข้าด้านใน (talipes varus) - เท้าปุกชนิดเท้าบิดออกด้านนอก (talipes valgus) - เท้าปุกชนิดเท้ากระดกขึ้น หัวแม่เท้ายันกันพื้น ส่วนส้นเท้าลอยสูงกว่าพื้น (talipes equinus) - เท้าปุกชนิดเท้ากระดกขึ้น หัวแม่เท้าอยู่สูงกว่าพื้น ส่วนส้นเท้ายันกับพื้น (talipes calcanus)

42 Spend time with your good friends.

43 13. อวัยวะเพศตรวจดูดังนี้
13. อวัยวะเพศตรวจดูดังนี้ 13.1 ทารกเพศหญิง 13.2 ทารกเพศชาย

44 14. Back (หลัง) โดยตรวจดู ดังนี้
14.1 ดูแนวของกระดูกสันหลัง 14.2 ดูว่ามีรูเปิด (dimple) ที่บริเวณก้นกบหรือไม่ 14.3 ทวารหนัก (anus) ดูว่ามีรูทวารหนักหรือไม่

45 ขั้นตอนหลังการตรวจ 1. ชั่งน้ำหนัก และวัดความยาวลำตัว วัดรอบศีรษะ-รอบอก
หลังการตรวจร่างกายตามระบบแล้วจะทำการวัดขนาดรูปร่างของทารกและทำความสะอาดร่างกายส่วนที่ยังไม่สะอาดและบันทึกสิ่งที่ตรวจพบ ดังรายละเอียด ดังนี้ 1. ชั่งน้ำหนัก และวัดความยาวลำตัว วัดรอบศีรษะ-รอบอก 2. ทำความสะอาดร่างกาย 3. การบันทึกสิ่งที่ตรวจพบ

46 การพยาบาลทารกแรกเกิดในห้องคลอด
จุดเน้นที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิดทันทีในห้องคลอด คือการดูแลที่ส่งเสริมให้ทารกสามารถปรับตัวกับชีวิตภายนอกครรภ์มารดาให้ได้

47 หลักการดูแลทารกแรกเกิดทันทีที่สำคัญ
1. การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและได้รับออกซิเจนเพียงพอ 2. การป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย 3. การทำสัญลักษณ์ทารกแรกเกิด 4. การป้องกันการติดเชื้อ 5. การป้องกันอันตรายในกรณีทารกที่มีปัญหาสุขภาพ 6. การป้องกันภาวะเลือดออกในทารกแรกเกิด 7. การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดาและทารกแรกเกิด

48 ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1. การป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล คือ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1 ทารกมีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติเนื่องจากการสูญเสียความร้อนของร่างกายและการปรับตัวยังไม่ดี (โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่พิจารณาจาก การวัดอุณหภูมิกาย สังเกตมือเท้าซีดเขียว เย็น ตัวเย็น ศีรษะเปียกชื้น)

49 การป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย
วัตถุประสงค์ ทารกสามารถคงไว้ซึ่งอุณหภูมิปกติของร่างกายได้ เกณฑ์การประเมินผล ทารกมีอุณหภูมิร่างกายวัดทางทวารหนักอยู่ที่ องศาเซลเซียสหรือวัดทางรักแร้ที่ องศาเซลเซียส (Lowdermilk., Perry. & Bobak, 2000)

50 กิจกรรมการพยาบาล 1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการให้ความอบอุ่นให้พร้อม และปรับอุณหภูมิห้องคลอดให้อยู่ในระดับ 28 – 30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ก่อนคลอดทารก 2. เช็ดศีรษะและลำตัวด้วยผ้าแห้งนุ่มและอุ่นทันทีที่ทารกคลอดออกมาทั้งตัวแล้ว เพื่อลดการสูญเสียความร้อนจากการระเหย (evaporation) 3. ให้ทารกนอนภายใต้เครื่องแผ่รังสีความร้อน (radiant warmer) บนผ้านุ่มและอุ่นขณะที่สังเกตการหายใจ และสีผิวทารก และระวังไม่ให้ทารกสัมผัสกับลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรงหรืออยู่ใกล้ผนังที่มีความเย็น 4. เช็ดตัวทารกด้วยน้ำมันพืชและสวมหมวกไหมพรมให้ทารกทันทีที่เช็ดไขแล้ว และนำผ้าที่เปียกออกจากตัวทารกโดยเร็วเพื่อลดการสูญเสียความร้อนจากการนำ

51 กิจกรรมการพยาบาล 5. ให้ทารกนอนบนอกมารดาโดยเร็วและปิดตัวทารกไว้ด้วยผ้าอุ่นขณะทำ bonding 6. วัดอุณหภูมิร่างกายทารก โดยหล่อลื่นปรอทก่อนประมาณ 1 นิ้ว สอดเข้ารูทวารประมาณ 2 ซม. นาน 2-3 นาที ขณะวัดปรอทต้องปิดร่างกายทารกให้ความอุ่น ถ้าต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส ต้องให้ความอบอุ่น ถ้าทารกได้รับการดูแลป้องกันการเสียความร้อนอย่างเหมาะสมทารกจะมีอุณหภูมิคงที่ประมาณ 4 ชั่วโมงหลังคลอด 7. การสัมผัสทารก ต้องทำและเครื่องมือต่างๆให้อุ่นก่อนเสมอ 8. บันทึกอาการและการปฏิบัติการพยาบาลต่อเนื่องเหมาะสมเพื่อใช้เป็นหลักฐานการปฏิบัติพยาบาล 9. ระวังการสูญเสียความร้อนขณะส่งทารกไปยังห้องเด็กอ่อนด้วยการห่อตัวทารกด้วยผ้าอุ่น 2 ชั้นพร้อมหมวกไหมพรม

52 ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาลดังนี้
2. การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและได้รับออกซิเจนเพียงพอ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอเนื่องจากทางเดินหายใจยังไม่โล่ง มีสิ่งคัดหลั่งอุดกั้น ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ดีพอ (โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่สามารถพิจารณาได้จากลักษณะการหายใจเช่นมีเสียงเสมหะอยู่ในลำคอ การหายใจช้า( ≤ 25 ครั้ง/นาที) การหายใจเร็ว ( ≥60 ครั้ง/นาที) การหายใจลำบาก (Lowdermilk., Perry. & Bobak, 2000) และคะแนนแอปการ์)

53 3. การทำสัญลักษณ์ทารกแรกเกิด
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลคือ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3 ทารกมีโอกาสเสี่ยงต่อการสับเปลี่ยนสลับคู่มารดากับทารกคนอื่นเนื่องจากมีการคลอดหลายคนในเวลาเดียวกัน (โดยมีข้อมูลสนับสนุน มารดาคลอดพร้อมกันหลายคน)

54 4. การป้องกันการติดเชื้อ
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การติดเชื้อที่สะดือและตา คือ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4 เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สะดือ เนื่องจาก สะดือเป็นแผลเปิดและระบบภูมิคุ้มกันทารกแรกเกิดยังไม่สมบูรณ์ดี โดยมีข้อมูลสนับสนุนได้แก่ สะดืออักเสบ บวมแดง มีไข้ มีอาการซึม

55 4. การป้องกันการติดเชื้อ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 5 เสี่ยงต่อการติดเชี้อที่ตา เนื่องจากการคลอดผ่านช่องคลอดมารดาที่อาจมีเชื้อ แบคทีเรียที่อันตรายต่อตาและระบบภูมิคุ้มกันของทารกแรกเกิดยังไม่สมบูรณ์ดี (โดยมีข้อมูลสนับสนุน ได้แก่ ตามีอาการอักเสบ ติดเชื้อ ตาบวม แดง มี discharge ที่ตา หรือทารกมีไข้ เป็นต้น)

56 5. การป้องกันอันตรายในกรณีทารกที่มีปัญหาสุขภาพ
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล คือ ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 6 ทารกอาจได้รับอันตรายจากการมีก้อนโนที่ศีรษะเนื่องจากการทำหัตถการด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเพื่อการคลอด (โดยมีข้อมูลสนับสนุนได้แก่ มีก้อนโนที่ศีรษะขนาด 4 x 5 ซม. กดไม่บุ๋ม ไม่ข้ามรอยต่อกระดูกกะโหลกศีรษะ)

57 6. การป้องกันภาวะเลือดออกในทารกแรกเกิด
6. การป้องกันภาวะเลือดออกในทารกแรกเกิด มีความจำเป็นเพราะทารกแรกเกิดทุกคนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก (hemorrhagic disorder of newborn) ได้ง่าย เนื่องจากตับยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีสารช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดต่ำ จึงต้องป้องกันภาวะเสี่ยงนี้ทุกราย ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลคือ ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 7 ทารกอาจได้รับอันตรายจากการมีก้อนโนที่ศีรษะเนื่องจากการทำหัตถการด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเพื่อการคลอด (โดยมีข้อมูลสนับสนุนได้แก่ มีก้อนโนที่ศีรษะขนาด 4 x 5 ซม. กดไม่บุ๋ม ไม่ข้ามรอยต่อกระดูกกะโหลกศีรษะ)

58 7. การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดาและทารกแรกเกิด
7. การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดาและทารกแรกเกิด ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล คือ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ เสี่ยงต่อการเกิดความผูกพันเริ่มต้นที่ไม่เหนียวแน่น ไม่ต่อเนื่องระหว่างมารดาและทารกเนื่องจากมารดาอ่อนเพลียเหนื่อยล้าจากการคลอดยาก (โดยมีข้อมูลสนับสนุนได้แก่ มารดามีภาวะการคลอดยาวนาน เบ่งนาน มีเหน็ดเหนื่อยมาก มารดาไม่มีความพร้อม)

59 การปฏิบัติการพยาบาลในระยะแรกคลอดในช่วง 5 นาทีแรก
1. การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและได้รับออกซิเจนเพียงพอ 2. การป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย 3. การทำสัญลักษณ์ทารกแรกเกิด 4. การป้องกันการติดเชื้อ 5. การป้องกันอันตรายในกรณีทารกที่มีปัญหาสุขภาพ 6. การป้องกันภาวะเลือดออกในทารกแรกเกิด 7. การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดาและทารกแรกเกิด

60 การปฏิบัติการพยาบาลในระยะแรกคลอดภายหลัง 5 นาที
1. การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและได้รับออกซิเจนเพียงพอ 2. การป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย 3. การทำสัญลักษณ์ทารกแรกเกิด 4. การป้องกันการติดเชื้อ 5. การป้องกันอันตรายในกรณีทารกที่มีปัญหาสุขภาพ 6. การป้องกันภาวะเลือดออกในทารกแรกเกิด 7. การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดาและทารกแรกเกิด

61 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกในห้องคลอด
ประเมินความพร้อมของทารก ประเมินสภาพและความพร้อมของมารดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และบอกมารดาให้ทราบว่าจะอุ้มทารกมาให้มารดาอุ้มและฝึกดูดนม ส่งเสริมให้มารดาและทารก (หรือบิดาร่วมด้วยถ้าเป็นไปได้) ได้อยู่ด้วยกันทันทีหลังคลอดที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพร้อมประเมินความพร้อมของทารก ส่งเสริมให้มารดาและทารก (หรือบิดาร่วมด้วยถ้าเป็นไปได้) ได้อยู่ด้วยกันทันทีหลังคลอดที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีความพร้อม

62 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกในห้องคลอด
ให้การสนับสนุน ความเข้าใจและให้เวลามารดา อุ้มทารกวางไว้บนหน้าอกมารดา โดยให้มีการสัมผัสของผิวหนังมารดาและบุตรโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง (skin to skin contact) ส่งเสริมให้มารดาและทารกมีการมองสบตากัน (eye to eye contact)

63 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกในห้องคลอด
ส่งเสริมให้มีการตอบสนองโดยใช้เสียงของกันและกัน ช่วยให้ทารกดูดนมมารดาโดยเร็วโดยยืดหลัก “ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี” แนะนำให้มารดากอดรัด สัมผัสทารก

64 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกในห้องคลอด
ควรหาคำพูดชมเชยทารกให้มารดาฟัง พยาบาลอยู่ใกล้ชิดกับมารดาเพื่อช่วยในการ ส่งเสริมสัมพันธภาพ เช่น ช่วยในการเปิดผ้าเด็กออก ช่วยประคับประคองให้เกิดความคุ้นเคยกัน ให้ทารกมาอยู่กับมารดาไม่ควรแยกบุตรจากมารดาโดยไม่มีเหตุผลจำเป็น ประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกโดยประเมินพฤติกรรมของมารดา

65 ความสำคัญสำหรับการดูแลทารกแรกเกิดทันทีในห้องคลอด
ความปลอดภัยในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับทารกตั้งแต่แรกเกิดที่ ระบุถึงความผิดปกติให้กับทารกพร้อมทั้งให้การช่วยเหลืออย่างได้รวดเร็วและสามารถวางแผนการพยาบาลได้ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมพร้อมในระยะก่อนคลอด ระยะแรกคลอด การสร้างสัมพันธภาพระยะแรกคลอดจนเกิดความผูกพันที่แน่นแฟ้นและมีสุขภาพดีในวัยต่อมา

66 ความสำคัญสำหรับการดูแลทารกแรกเกิดทันทีในห้องคลอด
สิ่งสำคัญที่ควรเน้นเพิ่มคือ การปฏิบัติงานที่นุ่มนวลแม้ว่าจะเป็นเวลาช่วงสั้นๆ ที่รีบเร่ง ก็จะต้องปฏิบัติการพยาบาลต่อทารกอย่างนุ่มนวล ด้วยใจเมตตากรุณา คำนึงถึงสิทธิและให้เกียรติความเป็นบุคคลของทารกด้วยทั้งทารกปกติหรือผิดปกติก็ตาม ตั้งแต่การพูดด้วยน้ำเสียงไพเราะอ่อนโยนกับทารก การพยายามช่วยให้ทารกได้ดูดนมมารดาทุกรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

67 กรณีศึกษา แก้วใส ทารกเพศหญิง คนแรก มารดามาฝากครรภ์ 10 ครั้ง คลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ แรกเกิดตัวแดงดี ร้องเสียงดัง เขียวตามปลายมือปลายเท้า (Acrocyanosis) Heart Rate 120 ครั้ง/นาที ขาเคลื่อนไหวได้ดี พยาบาลรีบเช็ดตัวแก้วใสให้แห้งทันที พยาบาลดูดเสมหะให้อีกครั้งเพราะมีเสมหะในลำคอมาก พยาบาลผูกและตัดสายสะดือด้วยหลักการปลอดเชื้อ ผูกป้ายข้อมือที่มารดาได้อ่านแล้วและผูกก่อนที่อุ้มทารกออกจากเตียงคลอด อุ้มทารกให้มารดาดูเพศทารกอีกครั้งก่อนพาทารกไปเช็ดตัว ประเมินคะแนนแอปการ์ที่ 1 นาทีได้ 9 คะแนน ตรวจร่างกายทารกอย่างรวดเร็วภายใต้เครื่องแผ่รังสีความร้อน

68 กรณีศึกษา ผลการตรวจร่างกาย พบว่าแก้วใส Active ดี หายใจไม่สม่ำเสมอ 40 ครั้ง/นาที อัตราการเต้นของหัวใจ 140 ครั้ง/นาที ค่อนข้างสม่ำเสมอ อุณหภูมิกายเท่ากับ 36.3 องศาเซลเซียส(วัดทางทวาร) สายสะดือไม่มีเลือดออก มีเส้นเลือด 3 เส้น คือ Artery 2 เส้น และ Vein 1 เส้น มีเขียวตามปลายมือปลายเท้า พบก้อนโนที่ศีรษะมีขนาด 3x4 ซม. กดบุ๋ม ข้ามแนว suture ตรวจหูพบว่า อยู่ในตำแหน่งปกติ ใบหู ปาก คอและจมูกปกติ ไม่พบ Choanal Atersia ไม่พบก้อนที่คอ และขนาดท้องปกติ ไม่มีภาวะท้องอืด แขน ขา ปกติ กระดูกสันหลังตรง อวัยวะเพศปกติ

69 กรณีศึกษา ชั่งน้ำหนักได้ 3,000 กรัม ความยาว 51 ซม. เส้นรอบศีรษะเท่ากับ 34 ซม และเส้นรอบอกวัดได้ 32 ซม.และอุ้มทารกมาให้ดูดนมมารดาที่เตียงคลอด เสร็จจากนี้พาทารกมาป้ายตาด้วย Terramycin ointment 1% และให้วิตามินเค ก่อนส่งทารกไปนอนที่ห้องเด็กอ่อนได้อุ้มทารกไปให้มารดากอดอีกครั้ง มารดากลับมีสีหน้าวิตกกังวลและถามเกี่ยวกับก้อนโนที่ศีรษะว่าเกิดจากอะไร หายเมื่อไร ดูแลอย่างไร

70 กรณีศึกษา ให้นักศึกษาฝึกประเมินปัญหาและเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลพร้อมวางแผนการพยาบาล ดังตัวอย่าง ปัญหาทางการพยาบาล 1. มีอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติเนื่องจากมีการสูญเสียความร้อนไปกับสิ่งแวดล้อม 2. เสี่ยงต่อการการเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจไม่โล่งพอ 3. มีก้อนโนที่ศีรษะและมีถลอกที่หนังศีรษะ 4. เสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ 5. มารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกเนื่องจากมีก้อนโนที่ศีรษะ

71 กรณีศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ ทารกมีอุณหภูมิกายต่ำกว่าระดับปกติเนื่องจากมีการสูญเสียอุณหภูมิไปกับสิ่งแวดล้อมและศูนย์ควบคุมอุณหภูมิยังทำงานไม่สมบูรณ์

72 กรณีศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2. การหายใจยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ เนื่องจากทางเดินหายใจไม่โล่ง

73 กรณีศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3.
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ก้อนโนที่ศีรษะเนื่องจากมีรอยถลอกที่หนังศีรษะ

74 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4.
กรณีศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อที่สะดือเนื่องจากสะดือเป็นแผลเปิดและระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ดี

75 กรณีศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 5.
มารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกเนื่องจากทารกมีมีก้อนโนที่ศีรษะ

76 สรุปกรณีศึกษา แก้วใสเป็นทารกแรกเกิดปกติ มีอายุครรภ์ครบกำหนด ได้รับการทำหัตถการช่วยคลอด เมื่อประเมินภาวะสุขภาพก่อนคลอดไม่พบภาวะเสี่ยง และเมื่อประเมินเมื่อแรกคลอดมีลักษณะเป็นทารกที่มีอายุครรภ์ครบกำหนด มีคะแนนแอปการ์อยู่ในระดับคะแนนปกติ การพยาบาลที่พยาบาลปฏิบัติคือ พยาบาลรีบเช็ดตัวแก้วใสให้แห้งเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการระเหยและห่อผ้าให้อบอุ่น ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการดูดเสมหะให้อีกครั้งเนื่องจากมีมีเสมหะในลำคอมาก

77 สรุปกรณีศึกษา ผลการตรวจร่างกาย เมื่อตรวจร่างกาย อาการเขียวตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ในทารกแรกเกิด อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอุณหภูมิกายต่ำ สายสะดือปกติ ไม่มีเลือดออก พบก้อนโนที่ศีรษะคือ Caput succedaneum และมีรอยถลอกที่หนังศีรษะ ส่วนหู ใบหู ปาก คอ จมูก แขน ขา ปกติ ท้องมีขนาดปกติ กระดูกสันหลังตรง อวัยวะเพศปกติ ไม่พบความผิดปกติที่เป็นอันตราย ช่วงแรกเกิดแก้วใสจึงต้องการพยาบาลตามหลักการดูแลทารกแรกเกิดทันทีในห้องคลอด

78

79 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:686

80 แหล่งที่มาDickason, Silverman & Kaplan , 1998: 451

81 แหล่งที่มาLowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:683

82 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1105

83

84 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 452

85 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:686

86 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1101

87 แหล่งที่มาLowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:684

88 Don‘t be so fastidious about your life.
Be always full of gratitude...

89 แหล่งที่มาLowdermilk, Perry & Bobak, 2000: 684

90 แหล่งที่มาDickason, Silverman & Kaplan , 1998: 443

91 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 443

92 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998 :453

93 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998 :453

94 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998:455

95 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998:455

96 แหล่งที่มาLowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:709

97 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1115

98 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1115

99 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:689

100

101 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 443

102 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1116

103 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1116

104 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1117

105 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 440

106 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1093

107 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 443

108 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 443

109 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 445

110 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 445

111 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 453

112 แหล่งที่มา Dickason, Silverman & Kaplan , 1998: 454

113 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:684

114

115 แหล่งที่มาLowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:687

116 แหล่งที่มาLowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:687

117 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:691

118 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:690

119 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:690

120 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:692

121 แหล่งที่มา Lowdermilk, Perry S.E. & Bobak, 2000:692

122 แหล่งที่มาNichols, & Zwelling, 1997:1092

123 แหล่งที่มาNichols, & Zwelling, 1997:1093

124 แหล่งที่มาNichols, & Zwelling, 1997: 1094

125 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1094

126 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1096

127 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1101

128 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1102

129 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1120

130

131

132 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1109

133 แหล่งที่มา Nichols, & Zwelling, 1997: 1110

134 Be healthy. A healthy body brings you happy feelings


ดาวน์โหลด ppt การพยาบาลทารกแรกเกิดทันที

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google