บทที่ 2 อุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผล (Input & Output Devices) โดย คณาจารย์สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผล เพื่อให้นิสิตเข้าใจและอธิบายถึงหน่วยรับข้อมูล และอุปกรณ์รับข้อมูล เพื่อให้นิสิตเข้าใจและอธิบายถึงหน่วยแสดงผล และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล เพื่อให้นิสิตเข้าใจและอธิบายถึงประเภทของอุปกรณ์รับข้อมูล เพื่อให้นิสิตเข้าใจและอธิบายถึงประเภทของอุปกรณ์แสดงผล
เนื้อหา 2.1 บทนำ 2.2 อุปกรณ์รับข้อมูล 2.3 อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล 2.4 บทสรุป 2.5 แบบฝึกหัด 2.6 กรณีศึกษา
2.1 บทนำ จากบทที่ 1 ได้กล่าวถึงหน่วยประมวลผลกลาง มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งข้อมูลหรือชุดคำสั่งจะมีหน่วยรับข้อมูลเข้าเพื่อนำข้อมูลเข้า หรือรับข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำ และมีหน่วยแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลาง การที่มีหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูลนั้น ถือว่าเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ สำหรับหน่วยรับข้อมูลจะทำหน้าที่โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลที่ผู้ใช้ใส่เข้าไปเพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผล โดยจะมีอุปกรณ์แสดงผลทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ส่งไปแสดงผลให้ผู้ใช้ในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจได้ ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์นั่นคือ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Device)
2.2 อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล โดยผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล หรือ Input Devices อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูล คำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
ประเภทของอุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แบบกด (Key Devices) อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices) อุปกรณ์สแกนภาพและอ่านภาพ (Scanning and Reading Devices) อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Devices)
2.2.1อุปกรณ์แบบกด (Key Devices) อุปกรณ์แบบกด (Key Devices) อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการรับข้อมูลตัวอักษรและตัวเลขต่างๆซึ่งคีย์บอร์ดจะประกอบด้วยคีย์ย่อยๆ หลายคีย์ แต่ละคีย์จะส่งข้อมูลเป็นรหัสของตัวอักษรที่แตกต่างกันส่งให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าในขณะนั้นๆ ผู้ใช้กำลังกดตัวอักษรตัวใด หน้าที่ของคีย์บอร์ดคือ แปลงตัวเลข อักขระ หรือเครื่องหมายพิเศษต่างๆ ที่มนุษย์เข้าใจให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสัญญาณนี้จะถูกส่งไปประมวลผลต่อไป
โครงสร้างคีย์บอร์ดมาตรฐาน Function keys Cursor control keys Numeric keypad Alphanumeric keys
โครงสร้างคีย์บอร์ดมาตรฐาน คีย์บอร์ดสำหรับเครื่องพีซี (PC: Personal Computer) คีย์ตัวอักขระ (Alphanumeric Keys) คีย์ตัวเลข (Numeric Keypad) คีย์ฟังก์ชัน (Function Keys) คีย์เคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ (Cursor Movement Keys) คีย์พิเศษที่ทำหน้าที่เฉพาะ ได้แก่ คีย์ Esc , คีย์ Print Screen, คีย์ Scroll Lock และ คีย์ Pause
ปัจจุบันมีการพัฒนาคีย์บอร์ดในหลายลักษณะ คีย์บอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุค คีย์บอร์ดสำหรับแท็ปเล็ต
2.2.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices) คืออุปกรณ์รับข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถชี้หรือวาดรูปแทนการคีย์หรือพิมพ์ เนื่องจากการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเน้นแบบกราฟิก มีการใช้ภาพหรือสัญลักษณ์ขนาดเล็กซึ่งไม่เหมาะในการใช้คีย์บอร์ดเลือกภาพหรือสัญลักษณ์ดังกล่าว จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการชี้หรือเลือกตำแหน่ง
1.เมาส์ (Mouse) เมาส์ที่ใช้โดยทั่วไปมี 3 ประเภทคือ เมาส์แบบใช้แสง (Optical Mouse) เมาส์แบบเลเซอร์ (Laser mouse)
2. แทร็กบอล (Trackball) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งที่มีลูกบอลยางมาไว้ด้านบน ลูกบอลจะมีขนาดเท่ากับลูกปิงปอง การใช้งานสามารถทำได้โดยการใช้นิ้วกลิ้งลูกบอลเพื่อให้กลิ้งไปตามทิศทางที่ต้องการ เหมาะกับการใช้งานบนโต๊ะทำงานที่มีพื้นที่จำกัด อุปกรณ์ชนิดนี้ผสานคุณสมบัติการทำงานของลูกบอล และ เมาส์มาไว้ด้วยกัน
3. แผ่นสัมผัส (Touch Pad) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมในแนวระนาบ นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา มีวงจรรับสัญญาณภายในวางไว้บริเวณหน้าคีย์บอร์ด (ที่พักมือ)เมื่อต้องการสั่งงานเพียงแต่นำปลายนิ้วเลื่อนไปบนแผ่นเรียบในทิศทางที่ต้องการ สามารถคลิกเบาๆ บนแผ่นเรียบเพื่อสั่งการได้ หรือใช้ปุ่มกดข้างๆ บริเวณแผ่นเรียบได้
4. จอยสติ๊ก (Joystick) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายเมาส์ แต่มีรูปทรงแปลกตาโดยมีก้านควบคุมอยู่ด้านบน ซึ่งก้านควบคุมนี้จะสามารถเคลื่อนที่ได้เหมือนคันโยก ทำให้สามารถควบคุมการเลื่อนตำแหน่งได้สะดวก บางรุ่นจะเพิ่มปุ่มฟังก์ชันพิเศษ นิยมใช้กับเกมคอมพิวเตอร์และควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
5. จอสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษ ที่มีหน้าจอชั้นนอกเป็นลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกใส ภายในจะประกอบด้วยลำแสงอินฟราเรดที่มองไม่เห็น จากหลักการออกแบบนี้ทำให้สามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้โดยผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วสัมผัสลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการแทนการใช้ เมาส์ หรือ คีย์บอร์ด โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำงานให้ตามนั้น ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
6. สไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ประเภทปากกาป้อนข้อมูลชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ แท็บเล็ตพีซี หรืออาจพบเห็นในสมาร์ทโฟนบางรุ่น ผลิตมาเพื่อใช้เขียนหนังสือด้วยลายมือหรือวาดเส้นลงบนหน้าจออุปกรณ์ได้โดยตรง
2.2.3 อุปกรณ์สแกนภาพและอุปกรณ์อ่านภาพ (Scanning and Reading Devices) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงข้อมูลประเภทตัวอักษะและรูปภาพ หรือวัตถุใดๆ ให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลที่สามารถนำไปประมวลผลและแสดงบนจอภาพได้ อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องอ่านอักขระและเครื่องหมาย เครื่องอ่านบัตร เครื่องอ่านไบโอเมตริก
1. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือ สแกน (Scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟิกก็ได้ สแกนเนอร์สามารถแบ่งตามวิธีใช้งานได้ 3 ประเภท คือ แบบพกพา แบบแท่นนอน และ แบบสแกนเอกสาร
สแกนเนอร์แบบพกพา (Portable Scanners) เป็นสแกนเนอร์ขนาดเล็กที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ เหมาะกับการพกพา ผู้ใช้สามารถเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพ
สแกนเนอร์แบบแท่นนอน (Flatbed Scanners) เป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ผู้ใช้เพียงวางกระดาษต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ มีวิธีการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้ใช้งานง่ายและสะดวก จะสามารถสแกนเอกสารได้ทีละครั้งเท่านั้น สแกนเนอร์รุ่นนี้เหมาะสำหรับใช้งานที่บ้านหรือที่ทำงาน
สแกนเนอร์แบบสแกนเอกสาร (Document Scanners) คล้ายกับสแกนเนอร์แบบแท่นนอนแต่สามารถสแกนเอกสารเอกสารได้ทีละหลายหน้าในครั้งเดียวกัน โดยผู้ใช้สามารถนำเอกสารที่ต้องการวางไว้บนถาด เครื่องจะทำการโหลดเอกสารเข้าไปและสแกนให้โดยอัตโนมัติ สแกนเนอร์รุ่นนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือสำนักงานที่ต้องใช้การสแกนเอกสารจำนวนมากต่อครั้ง
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์ สำหรับวิธีอ่านข้อมูลของเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะใช้วิธียิงลำแสงไปที่รหัสบาร์โค้ดที่ติดกับสินค้าหรืออุปกรณ์ใดๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ นิยมใช้กับงานขายสินค้าและบริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า ห้องสมุด ฯลฯ
QR Code คิวอาร์โค้ด (QR Code) คือรหัสชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขาวดำ นิยมใช้เก็บข้อมูลสินค้า เช่น ชื่อสินค้า ราคาสินค้า เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และชื่อเว็บไซต์ คิวอาร์โค้ด เป็นการพัฒนามาจาก บาร์โค้ด ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ เดนโซ และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code “QR" ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นคำนิยามจากผู้คิดค้นที่พัฒนาให้คิวอาร์โค้ดสามารถถูกอ่านได้อย่าง รวดเร็ว การอ่าน คิวอาร์โค้ด นิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือ รุ่นที่มีกล้องถ่ายภาพ และสามารถติดตั้งซอฟแวร์เพิ่มเติมได้ เครื่องอ่านบาร์โค้ดในปัจจุบันถูกออกแบบให้อ่านค่าจากบาร์โค้ดทั้งแบบเส้นแถบ และ แบบ 2 มิติ
3. เครื่องอ่านอักขระและเครื่องหมาย (Character and Mark Recognition Devices) เป็นอุปกรณ์กวาดข้อมูลที่สามารถอ่านอักขระและเครื่องหมายชนิดพิเศษได้ และเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงานเฉพาะด้าน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ เครื่องอ่าน MICR เครื่องอ่าน OMR เครื่องอ่าน OCR เครื่องอ่านบัตร เครื่องอ่านไบโอเมตริก
เครื่องอ่าน MICR (Magnetic Ink Character Recognition Reader) เป็นอุปกรณ์เพื่อรับข้อมูลและประมวลผลข้อความหรือเครื่องหมายที่พิมพ์ด้วยหมึกแม่เหล็ก (magnetic ink) นิยมใช้ในงานธนาคารเพื่ออ่านตัวเลขบนเช็คและสมุดบัญชี โดยมีอุปกรณ์พิเศษที่ เรียกว่า เครื่องอ่าน /เครื่องเรียงลำดับ (Reader/Sorted) อ่านตัวเลขเหล่านั้นเป็นข้อมูลเข้าเพื่อนำไปประมวลผลกับบัญชีของลูกค้าได้
เครื่องอ่าน OMR (Optical Mark Recognition Reader) โอเอ็มอาร์ หรือ อุปกรณ์ตรวจจับเครื่องหมาย (Mark sensing) เป็นเครื่องที่ใช้อ่านและประมวลผลเครื่องหมาย ซึ่งจะใช้หลักการอ่านสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ที่ระบายด้วยดินสอดำลงในตำแหน่งที่กำหนด เช่น ใช้สำหรับการตรวจข้อสอบแบบปรนัยในสถานศึกษาทั่วไป เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสัญญาณการรับรู้เครื่องหมายบนแผ่นกระดาษที่มีผงคาร์บอนอยู่ แล้วแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไป
เครื่องอ่านอักขระ OCR (Optical Character Recognition Reader) เครื่องอ่าน OCR เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักขระบนเอกสารประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารจากลายมือ เอกสารที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การทำงานของ OCRจะอ่านลักษณะรูปร่างของอักขระและนำไปเปรียบเทียบกับรูปร่างของอักขระที่บันทึกไว้แล้วในหน่วยความจำ จากนั้นจะแปลงอักขระนั้นๆ ให้เป็นรหัสคอมพิวเตอร์ และทำการแปลงข้อมูลแบบดิจิตอลที่อ่านได้ไปเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ โอซีอาร์ อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์เฉพาะสำหรับแปลงเอกสารเข้าสู่คอมพิวเตอร์ หรืออาจหมายถึงซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ตัวอักษรจากข้อมูลที่ได้จากสแกนเนอร์
OCR Software เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ อักขระของข้อมูลที่ได้จากการอ่านเอกสารด้วยสแกนเนอร์และสามารถนำไปเพิ่ม ลบ แก้ไข ได้ ด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ เช่น word processor ได้
เครื่องอ่านบัตร (Card Reader) เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Card Reader) เครื่องอ่านบัตรความถี่คลื่นวิทยุ (Radio Frequency Card Reader)
เครื่องอ่านไบโอเมตริก (Biometirc Readers) ไบโอเมตริก เป็นเทคโนโลยีที่นำอุปกรณ์มาตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคล ที่มีคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละคน เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และม่านตา เป็นการนำมาใช้เพื่อป้องกันความปลอดภัยขั้นสูง เป็นการพิสูจน์ตัวตนของแต่ละบุคคล
2.2.4 อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Devices) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลด้านมัลลติมีเดียจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภทคือ 1. อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง และ 2.อุปกรณ์บันทึกภาพ
อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Sound Input Devices) ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับเสียง ซึ่งเสียงที่ได้จากไมโครโฟนจะถูกส่งไปแปลงสัญญาณในซาวด์การ์ด (Sound Card) เพื่อเก็บลงในคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์บันทึกภาพ (Recording Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างภาพหรือบันทึกภาพจากภาพจริง แล้วแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัล เช่น กล้องวิดีโอดิจิตอล เว็บแคม กล้องถ่ายภาพดิจิตอล สมาร์ทโฟน แทปเล็ต
2.3 อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Device) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการนำข้อมูลหรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้จะรับรู้สารสนเทศผ่านทางอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์แสดงผลทางเสียง
1. จอภาพ (Monitor) จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่มีการใช้งานและมีความจำเป็นมากที่สุด สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผลมาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
ชนิดของจอภาพ จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) จอแอลอีดี (Light Emitting Diodes :LED) จอโอแอลอีดี (Organic Light Emitting Diodes: OLED)
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพและความคมชัดของการแสดงผล ความละเอียดของจอภาพ (Resolution) ระยะห่างของจุด (Dot Pitch) ค่าความสว่าง (Brightness) ค่าความคมชัด (Contrast Ratio) ระยะเวลาในการตอบสนองภาพ (Response Time)
พอร์ทเชื่อมต่อจอภาพ
พอร์ทเชื่อมต่อจอภาพ
พอร์ทเชื่อมต่อจอภาพ
พอร์ทเชื่อมต่อจอภาพ
พอร์ทเชื่อมต่อจอภาพ
2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact printer) เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Non-impact printer)
เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer) เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์สำเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อนาที (lpm-line per minute)
เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Non impact Printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าเครื่องพิมพ์แบบกระทบ สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนาได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที (PPM-Page Per Minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท เครื่องพิมพ์ออลอินวัน และ เครื่องพิมพ์เทอร์มอล
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์ที่พบในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสงไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกราดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษ
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) การทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์
เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีพ่นน้ำหมึกลงไปบนวัตถุงาน โดยหมึกจะถูกฉีดออกจากรูขนาดเล็กบนหัวพิมพ์ ซึ่งหมึกที่ใช้จะเป็นแม่สี3 สี คือ แดง เหลือง และน้ำเงิน บางเครื่องจะใช้ 2 กล่อง คือ น้ำหมึกสีดำกับตัวแม่สี หน่วยวัดการพิมพ์คือจำนวนแผ่นต่อนาที PPM (Page Per Minute) เช่น เครื่องพิมพ์รุ่นนี้ พิมพ์ที่ความเร็ว 9 PPM หมายถึง พิมพ์งานได้ 9 แผ่นต่อนาที
เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) การทำงานของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท
เครื่องพิมพ์ออลอินวัน (All-in-One Printer) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน (Multifunction) เป็นการผสมผสานฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์หลายๆ ส่วนในชุดเดียวกัน ประกอบไปด้วย เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร และ เครื่องสแกนเนอร์ ในเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันแต่ละรุ่น อาจจะมีประส่วนประกอบแตกต่างกันออกไป บางรุ่นใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท หรือ เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์เลเซอร์
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) หรือ Rapid Prototype (RP) สำหรับเทคนิคพื้นฐานในการสร้างชิ้นงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จะเริ่มจากการนำวัสดุมาขึ้นรูปทีละชั้นตามแบบที่กำหนดในไฟล์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดและสั่งพิมพ์ในปริมาณที่ต้องการได้ทันที ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการสั่งผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมแบบเดิม นอกจากนี้ เทคนิคการสร้างชิ้นงานด้วยการเติมวัสดุของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ยังทำให้สูญเสียวัตถุดิบน้อยกว่าการผลิตแบบทั่วไป
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) 3D Printer สามารถสร้างชิ้นงานที่เป็นวัตถุจับต้องได้แบบ 3มิติ มีความกว้าง-ลึก-สูง ไม่เหมือนเครื่องพิมพ์แบบ 2D ที่ใช้โดยทั่วไปที่พิมพ์หมึกสีลงบนกระดาษ เช่น หากพิมพ์ภาพการ์ตูนบนกระดาษ(2D) จะได้กระดาษที่มีรูปการ์ตูนเท่านั้น แต่หากพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3D จะได้ตัวการ์ตูนที่จับต้องได้
เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal Printer) ใช้ความร้อนในการละลายสีและถ่ายเทหมึกสีจากแผ่นหมึกไปบนผิวหน้าของกระดาษที่ไวต่อความร้อนเพื่อสร้างภาพ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับเครื่องถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) เครื่องฝากเงินอัตโนมัติ เครื่องรูดบัตรเครดิต เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ
เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษที่ทำมาเฉพาะงาน การทำงานของพล็อตเตอร์ จะรับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ควบคุมการเลื่อนปากกาไปบนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พลอตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Second : IPS) การใช้งานพลอตเตอร์เหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม และงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท วาดเส้นและรูปทรงเป็นสี ๆ ได้ โดยการฉีดหมึกลงบนกระดาษ เครื่องพล็อตเตอร์ฉีดหมึกนิยมใช้กับงานด้านวิศวกรรม และงานออกแบบยานยนต์ งานพิมพ์ขนาดใหญ่มีหน้ากว้าง เหมาะสำหรับทำงานด้านป้ายหรือโฆษณาขนาดใหญ่ที่ต้องการความคมชัด เช่นพิมพ์ป้ายไวนิล
3. อุปกรณ์แสดงผลทางเสียง (Audio Output Devices) ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลเสียงในรูปแบบดิจิตอลให้เป็นเสียงที่มนุษย์รับฟังได้ อุปกรณ์ในการส่งออกเสียงที่นิยมใช้ คือ หูฟัง และ ลำโพง อุปกรณ์นี้จะเชื่อมต่อกับการ์ดเสียงในคอมพิวเตอร์ ซึ่งการ์ดเสียงทำหน้าที่ในการบันทึกและส่งออกเสียง
บทสรุป การทำงานของคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการนั้น จำเป็นต้องมีการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยต้องใช้อุปกรณ์นำเข้าหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ซึ่งมีอุปกรณ์หลากหลายชนิด อุปกรณ์รับข้อมูล แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. อุปกรณ์แบบกด (Key Devices) ได้แก่ คีย์บอร์ด 2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices) ได้แก่ เมาส์ แทร็คบอล แผ่นสัมผัส จอยสติ๊ก จอสัมผัส และ สไตลัส
บทสรุป 3. อุปกรณ์สแกนภาพและอ่านภาพ (Scanning and Reading Devices) ได้แก่ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องอ่านอักขระและเครื่องหมาย เครื่องอ่านบัตร และ เครื่องอ่านไบโอเมตริก 4. อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Devices) ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูลทางเสียง และ อุปกรณ์บันทึกภาพ
บทสรุป เมื่อข้อมูลถูกนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) แล้วข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปผ่านกระบวนการประมวลผลตามวิธีการทำงานของคอมพิวเตอร์ และขั้นตอนต่อมาคือการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วออกมาแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ได้ตรวจสอบซึ่งต้องผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์แสดงผลทางเสียง
2.5 แบบฝึกหัด 1.อุปกรณ์รับข้อมูล คืออะไร มีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป 2.อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล คืออะไร มีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป 3.เครื่องอ่านอักขระและเครื่องหมาย มีกี่ชนิด อะไรบ้าง และให้อธิบายหลักการทำงานมา 1 ชนิด 4.เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ คืออะไร มีอะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป 5.เครื่องอ่านบัตรมีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป 6.อุปกรณ์บันทึกภาพ คือ อะไร มีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป 7.อธิบายถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพและความคมชัดของการแสดงผล มีอะไรบ้าง 8.พอร์ตเชื่อมต่อกับจอภาพมีอะไรบ้าง อธิบายแต่ละชนิดพอสังเขป 9.อุปกรณ์สแกนภาพและอ่านภาพ มีอะไรบ้าง แต่ละชนิดเหมาะกับการทำงานลักษณะใดบ้าง ?
2.6 แบบฝึกหัด 10. นิสิตได้รับมอบหมายให้จัดชื้อเครื่องพิมพ์ (Printer) มาเพื่อใช้ในสำนักงาน จำนวน 2 เครื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นงานเอกสารที่ต้องพิมพ์หนังสือราชการ และจดหมายทั่วไป โดยไม่เน้นรูปภาพและสีสันในการพิมพ์ แต่ต้องการเอกสารที่มีความคมชัดและมีความคงทนของเอกสาร (เนื่องจากต้องจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการ) ในบางครั้งอาจจะต้องมีการจัดส่งหนังสือออกไปภายนอกหน่วยงานด้วย ในการจัดซื้อเครื่องพิมพ์ครั้งนี้ทางหน่วยงานได้จัดตั้งงบประมาณไว้อย่างเพียงพอ นิสิตจะเลือกเครื่องพิมพ์ประเภทใด เพราะเหตุใด จงอธิบายประกอบ 11. นิสิตได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านเอกสารของหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการรับเข้าหนังสือจากหน่วยงานภายนอกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน นิสิตจะมีวิธีการดำเนินการเพื่อส่งหนังสือหรือเอกสารที่รับเข้าให้กับผู้รับที่มีจำนวน 100 คน อย่างไรบ้าง ซึ่งหนังสือหรือเอกสารที่เข้ามาบางเรื่องต้องส่งให้เฉพาะหน่วยหรือแผนก ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และในปัจจุบัน การจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษ อาจจะไม่สะดวกในการจัดเก็บและนำมาใช้งาน นิสิตคิดว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง? ที่สามารถทดแทนการจัดเก็บในกระดาษ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บและเรียกใช้งานเอกสารนั้นๆ ให้นิสิต นำเสนอแนวทางและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยระบุเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงเลือกแนวทางและอุปกรณ์นี้
กรณีศึกษา 1 ในการประชุมหัวหน้างานของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์) จะมีกระดาษแปะไว้หน้าห้องหนึ่งแผ่นเป็นเอกสารการประชุมในรูป QR Code ใครจะเข้าห้องก็สแกน QR Code นี้ เอกสารประชุมก็จะปรากฎบนมือถือ ทำให้ประหยัดเวลาและกระดาษได้มาก ขณะนี้การใช้ QR Code ระบาดไปไกลขนาดขอทานในเซี่ยงไฮ้ขอเงินผ่าน QR Code เราได้ยินมานานเรื่องโค้ดนี้ มันคืออะไร มาจากไหน เอามาใช้ทำอะไรได้บ้าง ฯลฯ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องน่าฉงน หน้าตาของ QR Code คือ ภาพหรือตราขนาดเท่าแสตมป์ดวงใหญ่ มีตารางขาวดำสลับ ไปมาเราเห็นอยู่ทุกแห่งหนในปัจจุบัน ตั้งแต่หน้าร้านขายของ บนตัวสินค้า บนธนบัตร บนเหรียญ หรือแม้แต่บนใบ Visa ของบางประเทศ
กรณีศึกษา 1 QR Code ย่อมาจาก Quick Response Code เป็นลักษณะหนึ่งของ barcode 2 มิติ ดังที่เรียกว่า matrix barcodes สารพัดข้อมูลบรจุอยู่ในตราช่องตารางสี่เหลี่ยม ข้างในคล้ายตาหมากรุกดำบ้างขาวบ้าง บ้างก็มีเส้นเป็นมุมฉากขาวดำแทรกอยู่ แท้จริงแล้วมันก็คือ barcode ชนิดหนึ่ง (barcode คือ “ตรา” ที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้ว่ามีข้อมูลใดอยู่ในสินค้าที่แนบมา) ที่เราเห็นบนสติ๊กเกอร์บนสินค้า barcode มิติเดียว เป็นเส้นตรงลากยาวลงมาโดยแถบความหนาต่าง ๆ กัน และมีตัวเลขอยู่ตรงข้างล่าง บางตราก็เป็นเส้นตรงคล้ายคลื่นวิทยุ เป็นแท่งตามแกนนอนก็มี เป็นสีๆ ก็มี หลากหลายกันไปตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ ปัจจุบันbarcodeที่เป็นมาตรฐานของ UPC (Universal Product Code)ระหว่างประเทศก็คือแถบยาวลงมา หนากว้างสลับกันไปมา และมีเลขกำกับอยู่ใต้เส้นที่เป็นแถบ เราเห็นติดอยู่ตัวสินค้าเพื่อประโยชน์ในการอ่านราคา ข้อมูลที่มา ฯลฯและคิดเงินกับเราได้อย่างรวดเร็ว
กรณีศึกษา 1 อย่างไรก็ดี barcode ปัจจุบันซึ่งเป็นที่นิยมคู่กับ barcode แบบดั้งเดิมก็คือ QR Code ซึ่งประยุกต์ใช้ได้ในหลายเรื่อง เริ่มแรก QR Code ใช้กันในอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่น ซึ่ง code แต่ละอันมาจากการผสมปนเปอย่างเป็นระบบของ 4 ข้อมูล คือ (1) ตัวเลข (2) ตัวหนังสือ (3)byte หรือ binary คือ ระบบตัวเลข 0 และ 1 (4) ตัวอักษร Kanji ของญี่ปุ่น ระบบ QR Code ได้รับความนิยมนอกวงการรถยนต์ญี่ปุ่นก็เพราะสามารถอ่านได้รวดเร็ว อีกทั้งมีความสามารถในการเก็บข้อมูลได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบ UPC QR Codeสามารถอ่านโดยเครื่องมือที่รับภาพได้ เช่นกล้องถ่ายรูป โทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง เครื่องอ่านฯลฯ ตราแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับเวอร์ชั่นของมัน รูปแบบการวางข้อมูล(format) แบบแผนฃึ่งกำหนดไว้เช่นในเรื่องตำแหน่งของข้อมูล ระยะเวลา การปรับวางข้อมูล ฯลฯ และสุดท้ายคือบริเวณขอบของตราที่เป็น zone ให้รู้ว่าเป็นเขตสิ้นสุด
กรณีศึกษา 1 ระบบQR Codeประดิษฐ์โดย Denso Wave ของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1994 โดยมีวัตถุประสงค์ในตอนแรกเพื่อติดตามรถคันที่ผลิตในกระบวนการว่าไปถึงจุดใดแล้วโดยเน้นการอ่านที่รวดเร็ว เมื่อเห็นว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพก็มีการนำเอามาใช้นอกอุตสาหกรรมและข้ามประเทศ (ผลงานเด่น ๆ ของญี่ปุ่นในรอบ 10-20 ปี เห็นกันทุกวันนี้อย่างเป็นรูปธรรมก็คือหลอด LED / Line ที่เราส่งกันทุกค่ำเช้า / QR Code / การใช้พลังงานของรถยนต์ ฯลฯ) ประโยชน์ของ QR Code ก็คือให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าถึง URL หรือ email address ตลอดจนอีเมล์หรือข้อความ ส่วนผู้ใช้ก็สามารถสร้างตราของ QR Code ขึ้นเพื่อให้คนอื่น scan ดาวโหลดข้อมูลและแอพพลิเคชั่นได้เช่นเดียวกัน ในการประชุมนั้น เพียงscanตรา QA Code ผู้ร่วมประชุมก็สามารถดาวน์โหลดเอกสารการประชุมได้ทั้งหมด การแปะ QR Code ประกอบไว้ในเอกสารก็เป็นทางเลือกของผู้อ่านที่จะดาวโหลดเอกสารเพิ่มเติม
กรณีศึกษา 1 ขอทานไม่ต้องวางกระป๋องขอเงิน เพียงหงายโทรศัพท์มือถือและเปิด QR Code ไว้ ผู้คนที่ผ่านไปมาหากต้องการให้ก็เพียง Scan QR Code ด้วยโทรศัพท์มือถือ หากทั้งสองอยู่ในระบบการจ่ายเงินเดียวกัน (เซี่ยงไฮ้ส่วนใหญ่เป็น AliPay หรือ UnionPay) เพียงกดตัวเลขที่ต้องการให้ เงินก็จะโอนเข้าบัญชีขอทานทันที เรื่องที่บรรยายนี้เกิดขึ้นจริงที่เซี่ยงไฮ้ และจะมีมากขึ้นทั่วโลก บนตั๋วรถเมล์รถไฟในต่างประเทศหรือบัตรที่นั่ง บนเครื่องบินในบ้านเรา ก็มีQR Codeทั้งนั้น ผู้เขียนเห็นคนจีนนั่งเล่นไพ่กัน ต่างคนต่างมีโทรศัพท์มือถือที่มี QR Code ได้เสียก็โอนกันตรงนั้นเลย ได้ยินมาว่าในบางหอพักในมหาวิทยาลัยจีนที่ต้องการเก็บเงินจากนักศึกษาชนิดให้ตระหนักในคุณค่าของน้ำและไฟฟ้า ทุกครั้งที่ใช้น้ำต้อง Scan QR Code ของก๊อกน้ำ โคมไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ้นเดือนก็จะรู้ว่าแต่ละคนใช้น้ำใช้ไฟฟ้าเป็นเงินเท่าใด
กรณีศึกษา 1 ร้านค้าในจีนแม้แต่ในตลาดจะติด QR Code ไว้หน้าร้าน เวลาจ่ายเงินก็ให้ QR Code ของร้านและของผู้ฃื้อมาจับคู่กันและโอนเงินผ่านมือถือ บางร้านอาหารหากเป็นสมาชิกและมาเติมเงินที่ร้าน เขาก็จะแถมเงินเข้าบัญชีให้อีกร้อยละ 10 ด้วย ในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ เราจะเห็น QR Code อยู่เต็มไปหมดเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งสะดวกมากเพราะเพียง scan ตราก็เข้าถึงข้อมูลแล้ว ในเดือนมิถุนายน 2011 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่ออกเหรียญมี QA Code บนเหรียญเพื่อฉลองครบ 100 ปีของ Royal Dutch Mint เมื่อใช้โทรศัพท์มือถืออ่านก็จะเข้าถึงเว็บไซต์พิเศษที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการออกแบบเหรียญ
กรณีศึกษา 1 ในปี 2015 ธนาคารกลางของรัสเซียพิมพ์ธนบัตร 100 รูเบิลที่มี QR Code เพื่อฉลองการจัดตั้ง (ยึด) แหลมไครเมีย หนังสือปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน ทุกเล่มมี QR Code เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับผู้เขียนหรือเรื่องราวที่เกี่ยวพัน การต้องพิมพ์ URL เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคทั่วไปไม่ชอบเพราะไม่สะดวกเท่ากับการ Scan QR Code ดังนั้นในเชิงการตลาดมันจึงมีความสำคัญ แต่ก็อาจลดลงในอนาคตเมื่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเข้าถึง URL ได้ง่าย ๆ ด้วยคำสั่งที่เป็นเสียง QR Code มีอันตรายเช่นกัน การทิ้ง QR Code ซึ่งบรรจุข้อมูลส่วนตัวบนบัตรหรือตั๋วเป็นสิ่งไม่ควรทำ เช่นเดียว กับการ Scan QR Code อย่างเลอะเทอะ เพราะอาจนำไปสู่การนำไวรัสที่เลวร้ายเข้ามาในเครื่องได้ ที่มา : “หมดสงสัยกับ QR Code” ดร.วราภรณ์ สามโกเศส, คอลัมน์ “อาหารสมอง” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอังคารที่ 6 มิ.ย. 2560
กรณีศึกษา 2 เป็นการประยุกต์ใช้ QR Code เพื่อการประชาสัมพันธ์ ที่ผ่านมา เราเห็นการใช้ QR Code ในสิ่งพิมพ์ เช่น McDonald ที่พิมพ์ QR Code ลงในถุงและถ้วยแก้วเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสารอาหารแก่ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ แต่ยังไม่เคยมีใครนำภาพ QR Code มาตกแต่งเป็นกระเบื้องโมเสสไว้ที่ทางเท้าเลย มิติใหม่ของ QR Code นี้เกิดขึ้นที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ของบราซิล ภาพรหัสแท่ง 2 มิติสีขาวและดำของ QR Code ถูกนำมาปรับเป็นลวดลายเพื่อให้ช่างปูนเรียงกระเบื้องไว้บนทางเท้าริมถนน ซึ่ง QR Code เหล่านี้สามารถทำงานเป็นไกด์ที่มีประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวได้อย่างเหลือเชื่อ หากนักท่องเที่ยวนำสมาร์ทโฟนมาสแกน QR code ริมทางเท้าเหล่านี้ด้วยแอพพลิเคชันพิเศษ ก็จะพบข้อมูลภาษาโปรตุเกส สเปน และอังกฤษ ซึ่งไม่เพียงข้อมูลการท่องเที่ยว ผู้ใช้จะได้เห็นแผนที่ในบริเวณนั้นเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) รายงานระบุว่า QR code เหล่านี้จะถูกติดไว้ที่ทางเท้าบริเวณแหล่งท่องเที่ยวของบราซิล โดย QR Code แรกของโครงการนี้ถูกติดตั้งไว้ที่หาด Arpoador ซึ่งเป็นแหล่งเล่นเซิร์ฟบอร์ดชื่อดังของแดนแซมบ้า ซึ่งภายในจะประกอบด้วยเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์พร้อมกับข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการเดินทาง จากที่ได้มีการนำเทคโนโลยี QR Code มาใช้เพื่อให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ผสมผสานด้วยการนำเอกลักษณ์ของเมืองริโอ เดอ ที่มีหลายภาษา รวมถึงยังโชว์แผนที่ของสถานที่ใกล้เคียงนั้นด้วย ถือเป็นอีกทางหนึ่งในการดึงคนจากจาเนโรที่ขึ้นชื่อเรื่องการปูกระเบื้องทางเท้ามาใช้ เมื่อส่องดูผ่านแอพพลิเคชั่นก็จะลิงค์ไปสู่เว็บไซต์ออฟไลน์ไปออนไลน์
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) การประยุกต์ใช้ QR Code ในทางธุรกิจสามารถแบ่งออกได้หลากหลาย เช่น QR CODE กับอุตสาหกรรม ในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า การส่งสินค้า ปริมาณสินค้าที่จะส่ง รหัสของสินค้า และข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้สำหรับการสั่งซื้อและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ที่ได้รับก็คือ ผู้รับหรือผู้ส่งเองไม่จำเป็นจะต้องทำการ สแกนหลายๆครั้งเพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆให้มากมาย ทำให้ลดระยะเวลาการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายและข้อผิดพลาดในการตรวจสอบสินค้าลดลง
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิก QR CODE ถูกใช้ในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวันที่ในการผลิต สายการผลิต หมายเลขของสินค้า และข้อมูลอื่นๆที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการต่างๆและการตั้งค่าอัตโนมัติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบันทึกประวัติและควบคุมการผลิต ทำให้บริษัทสามารถวางแผนการผลิตในอนาคต หรือแม้กระทั่งในด้านการขนส่ง เช่น อุตสาหกรรมด้านอาหาร QR CODE สามารถบันทึกรหัสของสินค้า วันหมดอายุ วันที่ผลิต สถานที่การผลิตและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นประโยชน์ต่อระบบ FIFO อย่างมากในการควบคุมวันหมดอายุ อีกทั้งยังสามารถที่จะปรับปรุงและติดตามประวัติการผลิตได้อีกด้วย
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) QR CODE กับการสื่อสารการตลาด สามารถนำ QR CODE ไว้บนนามบัตร หรือไปติดตามบรรจุภัณฑ์ของถุงขนม หนังสือ นิตยสาร ป้ายโฆษณาข้างทางและบิลบอร์ด ต่างๆเพื่อเป็นการสื่อสารที่ส่งถึงมือผู้รับได้โดยตรงและยังสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันทีผ่าน Link ใน QR CODE ได้ด้วย
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน การส่งสารของ QR CODE ได้ถูกนำมาใช้จากการสแกนด้วยเครื่องกลายมาเป็นสแกนได้ด้วยโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายภาพได้ ก็จะสามารถรับรู้ถึงโปรโมชั่น รายละเอียดสินค้า สถานที่แนะนำ ข้อความ หรือ URL คุณสามารถทำ QR Code เป็น E-Coupon เช่นให้ Download QR Code จากเว็บไซต์ลงใน โทรศัพท์มือถือแล้วนำมาเป็นส่วนลด ณ จุดขาย
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) บทวิเคราะห์ QR Code จะเห็นได้ว่าเราสามารถนำเทคโนโลยีที่มีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประโยชน์ในเชิงธุรกิจและในด้านการใช้ชีวิต QR CODE ไม่ได้ถูกนำมาใช้แค่ในอุตสาหกรรมแต่ยังสามารถนำมาใช้ในด้านการตลาด และการท่องเที่ยวได้อีกด้วย ทั้งยังช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนได้ในหลายๆทาง ในการนำ QR Code มาประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลการท่องเที่ยวรวมถึงเป็นแผนที่บอกทางถือว่าทำออกมาได้ดี สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวได้ ที่ปัจจุบันการให้ข้อมูลผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกที่ผ่านทาง Smart Phone หรือ Tablet จะสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจและการตอบรับสื่อนั้นเป็นอย่างดี ทั้งนี้อาจจะเกิดปัญหาในเรื่องของความไม่ชัดเจนของ QR Code เพราะ QR Code นี้ได้ถูกติดตั้งที่พื้นทำให้มีฝุ่นจับหรือสกปรกได้ง่าย จะส่งผลทำให้เวลาสแกน QR Code อาจจะไม่สามารถสแกนได้หรือข้อมูลผิดพลาด ซึ่งควรจะต้องมีการทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการติดตั้ง QR Code บ่อยๆ รวมถึงเวลาที่มีการอัพเดทข้อมูลก็จะทำได้ยากเพราะจะต้องมารื้อกระเบื้องเก่าออกและติดตั้งกระเบื้องใหม่เข้าไปแทน เพราะการทำ QR Code แต่ละครั้งรูปภาพจะแตกต่างกันออกไปถ้าจะมีการอัพเดทก็ต้องทำ QR Code ขึ้นมาใหม่ไม่สามารถใช้ QR Code เดิมได้
กรณีศึกษา 2 (ต่อ) จากการที่ QR Code ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และผลการศึกษาจากการนำ QR Code มาใช้พบว่าสัดส่วนการใช้งาน QR Code ได้ลดลงหรือไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุที่ทำให้การใช้ QR Code ลดลงเนื่องมากจากการจัดวางในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมอาจจะมีการวางในตำแหน่งที่สูงเกินไปหรือจุดที่มองไม่เด่นหรือไม่ชัดเจน ฯลฯ รวมถึงวัสดุหรือพื้นผิวที่ได้มีการติดตั้ง QR Code ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสแกน QR Code เท่าไหร่นัก เพราะข้อจำกัดของการสแกน QR Code นั้นคือพื้นผิวจะต้องเรียบถ้ามีการบิดของพื้นผิวหรือโค้งงอก็จะไม่สามารถสแกน QR Code นั้นๆได้ ดังนั้นถ้าเราจะนำ QR Code มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นจะต้องศึกษาถึงปัญหาและความเป็นไปได้ว่า QR Code มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ยกตัวอย่าง Tesco Homeplus ที่ประเทศเกาหลีได้นำ QR Code มาใช้ได้ตรงจุดและเข้าถึงลูกค้าทำให้ลูกค้าสนใจและสามารถเพิ่มยอดขายได้หลายเท่าตัว นี้ถือเป็นตัวอย่างการนำ QR Code มาใช้จนประสบความสำเร็จ ที่มา : “บราซิลฝัง QR Code ที่ทางเท้าเพื่อให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว” , January 30, 2013 จากhttp://y34.wikidot.com/it-report01-026
จากกรณีศึกษา 1.ให้นิสิตวิเคราะห์และอภิปรายถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง 2.ให้นิสิตวิเคราะห์และอภิปรายถึงแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในธุรกิจหรือในประเทศเราอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง 3.ให้นิสิตยกตัวอย่างและอธิบายการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันของนิสิต อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
กรณีศึกษา 3 Internet of things ตัวอย่าง นักศึกษาไทยทำเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ Smart cat feeder โปรเจกต์เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ ผลงานของนายดนุภัทร พานวงศ์ จากสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดทำเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติขึ้นเพราะ ผู้จัดทำเป็นคนที่ชอบแมว และที่บ้านเลี้ยงแมวด้วยเช่นกัน เรื่องที่เป็นอยู่เป็นประจำคือ เจ้าของแมวมักลืมให้อาหารจนเจ้าเหมียวที่เลี้ยงไว้นั้นมักส่งเสียงร้องอยู่เป็นประจำ อีกทั้งความคิดที่ว่า แมวเป็นหนึ่งในสัตว์ที่คนนิยมเลี้ยงในปัจจุบันเป็นอย่างมาก การให้อาหารแมวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนเลี้ยงแมวต้องทำในทุก ๆ วัน แต่หากมีวันใดวันหนึ่งที่เจ้าของแมวอาจไม่อยู่บ้าน หรืออาจติดธุระทำให้ไม่สามารถที่จะมาให้อาหารแมวได้ แม้กระทั่งอาหารแมวที่ใส่ไว้ในชามอาหารหมด ทำให้แมวไม่มีอาหารกิน ดังนั้นหากมีเครื่องที่สามารถให้อาหารแมวได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถแสดงจำนวนครั้งการให้อาหาร และวันเวลาที่แมวที่เลี้ยงไว้ได้มากินอาหารผ่านทางหน้าจอสมาร์ทโฟนของเจ้าของแมว ทำให้เจ้าของแมวสามารถทราบได้ว่า แมวที่เลี้ยงไว้ในบ้านนั้นมีการกินอาหารอย่างปกติดีหรือไม่ และควรต้องเติมอาหารชุดใหม่ให้หรือยัง
กรณีศึกษา 3 (ต่อ) คุณสมบัติของ Smart Cat Feeder 1. สามารถให้อาหารแมวได้โดยได้ 2. สามารถแสดงจำนวนครั้งการให้อาหารแมวผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ 3. สามารถระบุวันเวลาการให้อาหารแมวผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ 4. สามารถทำให้เจ้าของแมวคาดการณ์การให้อาหารแมวครั้งต่อไปได้ 5. แก้ปัญหาของคนเลี้ยงแมวแต่ไม่มีเวลาให้อาหารแมว
กรณีศึกษา 3 (ต่อ) เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ใช้ โปรแกรมและบริการที่ใช้ 1. Arduino IDE 2. CloudMQTT 3. Line Notification อุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อวงจร 1.ESP8266 Node MCU 2. DC Motor 3. L298N Dual H-Bridge Motor Controller 4. Micro Lever Switch
กรณีศึกษา 3 (ต่อ) การออกแบบส่วนภาชนะเก็บอาหารและแท่นวางปุ่มกด สำหรับส่วนของภาชนะเก็บอาหารและแท่นวางปุ่มกดสำหรับแมวที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัตินั้นได้ใช้ 3D Printer ในการทำขึ้นมา โดยใช้โปรแกรม Solid work ในการออกแบบ มีรายละเอียดรวมถึงขนาดสเกลต่าง ๆ แสดงดังภาพ
กรณีศึกษา 3 (ต่อ) ส่วนของเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัตินั้นได้ใช้ 3D Printer ในการทำขึ้นมาดังภาพ
กรณีศึกษา 3 (ต่อ) ส่วนของหน้าจอส่วนการแสดงจำนวนครั้ง และวันเวลาที่แมวมากินอาหารผ่านทาง Web Application โดยใช้ jQuery Mobile ในการเขียน รวมถึงการแจ้งเตือนผ่าน Line Application เสมือนแมวสามารถเล่น Line Application ได้โดยใช้วิธีการของ Line Notification โดยเมื่อแมวกินอาหารจะส่งข้อความมาแจ้งเตือนทันทีว่า “กินข้าวแล้วนะเหมี๊ยว” เพื่อที่เจ้าของแมวจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงแมวว่าได้กินอาหารบ้างแล้วหรือยัง อีกทั้งสามารถทราบจำนวนครั้งที่มีการเทอาหาร เพื่อคาดเดาปริมาณอาหารว่าใกล้หมดแล้วหรือยัง ดังภาพ
กรณีศึกษา 3 (ต่อ)
กรณีศึกษา 3 (ต่อ) จากกรณีศึกษา 3 1.ให้นิสิตวิเคราะห์และอภิปรายถึงการนำแนวคิด Internet of Things (IOT) มาประยุกต์ใช้ในด้านใดบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 2.ให้นิสิตยกตัวอย่างการใช้อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) ในชีวิตประจำวันของนิสิต พร้อมยกตัวอย่าง 3.จากข้อ 2 ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้กับเทคโนโลยี IOT อย่างน้อย 3 อุปกรณ์
Questions