การสืบสวนสอบสวน การระบาดของโรค รายวิชา: ระบาดวิทยา (Epidemiology) รหัสวิชา: ๔๑๐๒๗๐๖ อ. กมลวรรณ บุตรประเสริฐ ๑
บทที่ ๘ การสืบสวนสอบสวนการระบาดของโรค หัวข้อการบรรยาย ความหมายของการระบาดของโรค ชนิดของการระบาดของโรค ขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนการระบาดของโรค ๒
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายความหมายของการระบาดของโรคได้ถูกต้อง ๒. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายชนิดของการระบาดของโรคและแยกความแตกต่างของชนิดการระบาดได้ถูกต้อง ๓. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายความหมายและประโยชน์ของการสืบสวนทางระบาดวิทยาได้ถูกต้อง ๔. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายชนิดของการสืบสวนโรคได้ถูกต้อง ๕. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการสืบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายได้ถูกต้อง ๖. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการสืบสวนการระบาดของโรคได้ถูกต้อง ๗. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายขั้นตอนในการสืบสวนการระบาดของโรคในแต่ละขั้นตอนได้ถูกต้อง ๓
ความหมายของการระบาดของโรค (epidemics) การระบาดของโรค (epidemics) ในอดีตมักหมายถึง การเกิดโรคติดต่อจำนวนมากผิดปกติ ในเวลาอันสั้น เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น กาฬโรค โรคโปลิโอ อหิวาตกโรค ไวรัสตับอักเสบ หัดเยอรมัน เป็นต้น มักพบในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในแถบเอเชียและแอฟริกาในปัจจุบันความหมายของการระบาดของโรคได้ครอบคลุมไปถึงโรคไร้เชื้อ (non-infectious diseases) และระยะเวลาของการระบาดของโรคไม่ได้หมายเพียงแค่สองสามสัปดาห์หรือสองสามเดือน แต่อาจจะเป็นเวลานานหลายปีหรือหลายสิบปีก็ได้ เช่น โรคมะเร็งปอด อุบัติเหตุทางถนน โรคหัวใจโคโรนารี่ เป็นต้น ๔
โรคระบาด (endemic) หมายถึง การเกิดโรคเป็นประจำในท้องถิ่นนั้น เช่น ไข้ไทฟอยด์ โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส วัณโรค มักพบมีเป็นประจำในประเทศที่กำลังพัฒนาในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและตัวโฮสท์ ซึ่งสนับสนุนการแพร่ของเชื้อ จำทำให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เกิดการระบาดของโรคบางชนิดได้ เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เป็นต้น ๕
ชนิดของการระบาดของโรค (types of epidemics) ๑. การระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม (common-source epidemics) ๒ ๔ ๖ ๘ ๑๐ วันเริ่มป่วย (date of onset) วันที่ พ.ค. ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ลักษณะเส้นโค้งการระบาด (epidemic curve) ในการระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อร่วมกัน ที่มา : (ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร,๒๕๕๒) ๖
๒. การระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อกระจาย (propagated-source epidemics) ๔ ๖ จำนวนผู้ป่วย วันที่ พ.ค. ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ลักษณะการระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อกระจาย ๗
ข้อแตกต่างระหว่างการระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อร่วมกัน (common-source epidemic) และการระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อกระจาย (propagated-source epidemic) การเปรียบเทียบ การระบาดของโรคจาก แหล่งแพร่เชื้อร่วมกัน การระบาดของโรคจาก แหล่งแพร่เชื้อกระจาย ๑. ลักษณะของ epidemic curve ๒. ระยะห่างของเวลาระหว่าง ผู้ป่วยรายแรกและราย สุดท้าย ๓. วิธีการแพร่เชื้อ (method of Transmission) ๔. ระยะเวลาของการระบาด (duration of epidemic) รูประฆังหรือการกระจายแบบปกติ ห่างกันไม่เกิน ๑ ระยะฟักตัวของโรค จากน้ำ อาหาร นม และสื่อร่วมนำโรค (common vehicle-borne -transmission) มักจะสั้น จำกัดอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่เป็นรูประฆัง จับกันเป็นกลุ่มๆ ห่างกันเกิน ๑ ระยะฟักตัวของโรค จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง (person-to-person transmission) มักจะยาว ไม่จำกัดอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ๘
ขั้นตอนการสืบสวนการระบาดของโรค ๑. ตรวจสอบการวินิจฉัย (verify diagnosis) ๑.๑ การวินิจฉัยทางคลินิก ๑.๒ การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ๑.๓ ผลการตรวจทางพยาธิสภาพหรือผลการตรวจศพ ๒. ตรวจสอบว่ามีการระบาดของโรคอยู่จริง (verify the existence of an epidemic) ๙
ขั้นตอนการสืบสวนการระบาดของโรค ๓. ประเมินผลอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด (rapid evaluation of epidemiologic potentialities) ๓.๑ การมีประสบการณ์ร่วมกัน (common experience) ๓.๒ สิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ป่วย ๑๐
๔. การรวบรวมข้อมูล (collection of data) ๔.๑ วางกฎเกณฑ์การเลือกและการจัดกลุ่ม (define criteria of selection and classification) ๔.๒ การค้นหาผู้ป่วยและลักษณะของผู้ป่วย (identification of affected persons and their characteristics) ๔.๓ การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม (search for additional cases) ๔.๔ การค้นหาประสบการณ์ที่พบร่วมกันในกลุ่มผู้ป่วย (identification of a common experience shared only by the cases) ๔.๕ การศึกษาสภาวะสิ่งแวดล้อมขณะมีการระบาดของโรคและเปรียบเทียบกับสภาวะก่อนมีการระบาด (study of the environmental conditions at the time of the outbreak and comparison with previous conditions) ๑๑
๕. การวิเคราะห์ข้อมูล (analysis of data) ๕.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับเวลา ๕.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ (place) ๕.๒.๑ แผนที่จุดผู้ป่วยหรือแผนที่จุด (spot map) ๕.๒.๒ อัตราป่วยตามเขต (attack rate area) ๕.๓ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล (person) ๕.๓.๑ อัตราป่วยจำเพาะโรคตามอายุและเพศ (age-sex specific attack rate) ๕.๓.๒ อาชีพ (occupation) ๑๒
๖. การตั้งสมมุติฐาน (formulation of hypotheses) ๗. การทดสอบสมมุติฐาน (testing of hypotheses) ๘. การจัดการเกี่ยวกับการระบาดของโรค (management of epidemic) ๙. การรายงานผลการสืบสวนสอบสวน (report of the investigation) ๑๓
สรุป การระบาดของโรคเป็นลักษณะของการที่มีโรคเกิดขึ้นจำนวนมากผิดปกติในชุมชน ชนิดของการระบาดของโรค แบ่งออกได้เป็นสองชนิด คือ ๑. การระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม ๒. การระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อกระจาย มีความแตกต่างกันในเรื่องของ ลักษณะของ Epidemic curve ระยะห่างของเวลาระหว่างผู้ป่วยรายแรกและรายสุดท้าย วิธีการแพร่เชื้อ และระยะเวลาของการระบาด ๑๔
การสืบสวนการระบาดของโรค เป็นกิจกรรมทางระบาดวิทยา ที่ครอบคลุมการบรรยายลักษณะการเกิดโรค และประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งบรรยายลักษณะการเกิดโรคและประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ผลการสอบสวนโรคระบาดนั้นจะสามารถนำไปสู่มาตรการควบคุมการแพร่กระจายของโรค และการป้องกันการระบาดของโรค ๑๕
ขั้นตอนการสืบสวนการระบาดของโรคประกอบด้วย ๑ ขั้นตอนการสืบสวนการระบาดของโรคประกอบด้วย ๑. ตรวจสอบการวินิจฉัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางที่จะได้ศึกษาการระบาดของโรคที่ถูกต้อง และเพื่อได้จำนวนผู้ป่วยที่ถูกต้อง ๒. ตรวจสอบว่ามีการระบาดของโรคอยู่จริง ๓. ประเมินผลอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด ๔. การรวบรวมข้อมูล ๕. การวิเคราะห์ข้อมูล ๖. การตั้งสมมุติฐาน ๗. การทดสอบสมมุติฐาน ๘. การจัดการเกี่ยวกับการระบาดของโรค ในขั้นตอนสุดท้ายจะต้องมีการเขียนรายงานเกี่ยวกับสาเหตุการระบาดของโรค และข้อเสนอแนะในการป้องกันการระบาดครั้งต่อไป ๑๖
คำถามทบทวน ๑. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของการระบาดของโรค ๒. ให้นักศึกษาอธิบายชนิดของการระบาดของโรคและแยกความแตกต่างของชนิดการระบาด ๓. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายและประโยชน์ของการสืบสวนทางระบาดวิทยา ๔. ให้นักศึกษาอธิบายชนิดของการสืบสวนโรค ๕. ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายชนิดของการระบาดของโรค และการนำไปประยุกต์ใช้ ๖. ให้นักศึกษาอธิบายขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ๑๗
เอกสารอ้างอิง ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร.(๒๕๕๒) ระบาดวิทยา พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. (๒๕๕๐). เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา PB ๓๐๕๓ เรื่องการสืบสวนสอบสวนการระบาดของโรค. สมุทรปราการ:สาขาวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (ไม่ได้ตีพิมพ์) วินัย โอษะคลัง, เนื่อง พจน์ฉีมพลี, สามิตร บุญทีไธสง และชาญชัย เจริญสุข. (๒๕๔๘).รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ. ค้นเมื่อ กรกฎาคม ๒,๒๕๕๙, จากwww.boe.moph.go.t ๑๘