รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้พื้นฐานอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 6 ชั่วโมง โดยนายธิปฏพณร์ ยิ้มประเสริฐ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019
ความรู้พื้นฐานอาเซียน ประวัติความเป็นมาของอาเซียน การก่อตั้งอาเซียน สมาชิกอาเซียน การบริหารงานและขั้นตอนการดำเนินงานของอาเซียน อัตลักษณ์และสัญลักษณ์อาเซียน ปฏิญญา วิสัยทัศน์อาเซียน กฎบัตรอาเซียน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าแรก
ประวัติความเป็นมาของอาเซียน - 8 สิงหาคม 2510 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญาอาเซียน หรือปฏิญญากรุงเทพฯ - สมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยผู้แทน 5 ประเทศ ได้แก่ นายอาดัม มาลิค (รัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย) นายตุน อับดุล ราชัค บิน ฮุสเซน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติของมาเลเซีย) นายนาร์ซิโซ รามอส (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์) นายเอส. ราชารัตนัม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์) พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย) Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ประวัติความเป็นมาของอาเซียน ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2527 เวียดนาม เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ลาวและเมียนมา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 กัมพูชา เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงาน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าสำนักงาน ตั้งอยู่ที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats) เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการดำเนินงานในประเทศนั้น แต่ละประเทศจะเรียกชื่อองค์กรแตกต่างกัน ประเทศไทยมีหน่วยงานรับผิดชอบในกระทรวงการต่างประเทศ เรียกว่า กรมอาเซียน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การก่อตั้งอาเซียน วัตถุประสงค์ 1. เร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค 2. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค 3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 4. จัดให้มีความช่วยเหลือกันในรูปของการอำนวยความสะดวก การฝึกอบรม การวิจัยทางการศึกษา วิชาชีพ วิชาการ และการบริหาร 5. ร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้า 6. ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวภูมิภาค 7. ธำรงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคที่มีความมุ่งหมายและมุ่งประสงค์คล้ายคลึงกัน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การก่อตั้งอาเซียน หลักการ ด้านการเมืองและความมั่นคง - จัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ แลความเป็นกลาง - พ.ศ. 2514 จัดทำสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาค (TAC) - พ.ศ. 2519 จัดทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค (ZONE-SeanWFZ) - พ.ศ. 2538 ริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) ด้านเศรษฐกิจ - พ.ศ. 2535 ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน ด้านสังคม - มีความร่วมมือเฉพาะด้านในประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรมหลายด้าน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การก่อตั้งอาเซียน กลไกการบริหารของอาเซียน 1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยทำหน้าที่ ดังนี้ 1) ให้แนวนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ 2) สั่งการให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะกิจเพ่อพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเสาหลักต่างๆ มากกว่า 1 เสาหลัก 3) ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่ออาเซียน 4) ตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก กรณีไม่อาจหาข้อยุติในข้อขัดแย้งได้ หรือ ไม่การไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกระงับข้อพิพาท 5) ตั้งหรือยุบองค์กรอาเซียน 6) แต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การก่อตั้งอาเซียน กลไกการบริหารของอาเซียน (ต่อ) 2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ทำหน้าที่เตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานงาน 3 เสาหลัก และแต่งตั้งรองเลขาธิการอาเซียน 3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils) ประกอบด้วยผู้แทนที่แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้ง ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งในเรื่องภายใต้เสาหลักของตน เรื่องที่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเสาหลัก และเสนอรายงานและข้อเสนอแนะในเรื่องภายใต้การดูแลของตนต่อผู้นำ 4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial Ministerial Bodies) มีหน้าที่ 1) ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่มีอยู่ 2) นำความตกลงและมติของผู้นำไปปฏิบัติ 3) เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน 4) เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนที่เหมาะสม Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การก่อตั้งอาเซียน กลไกการบริหารของอาเซียน (ต่อ) 5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอาเซียน มีบทบาทในการติดตามการปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกระงับข้อพิพาทและรายงานตรงต่อผู้นำ มีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน - 2 คน มาจากการหมุนเวียนตามลำดับอักษรประเทศสมาชิก วาระคราวละ 3 ปี - 2 คน มาจากการคัดเลือกตามความสามารถ วาระคราวละ 3 ปี (ต่ออายุได้ 1 วาระ) 6. คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนเฉพาะสาขา (Committee of Permanent Representatives to ASEAN) สมาชิกจะแต่งตั้งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูต ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา (คนละคนกับเอกอัครราชทูตประจำกรุงจาการ์ตา) ทำหน้าที่แทน คณะกรรมาธิการอาเซียน มีบทบาทสำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ - การเป็นผู้แทนของประเทศสมาชิก และ การเป็นผู้แทนของอาเซียน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การก่อตั้งอาเซียน กลไกการบริหารของอาเซียน (ต่อ) 7. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats) จัดตั้งโดยประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อประสานงานและสนับสนุนภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนภายในประเทศ 8. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body-AHRB) ทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค 9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) สนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ของอาเซียน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ประเทศสมาชิกอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
บรูไนดารุสซาลาม ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ เนการาบรูไนดารุสซาราม เนื้อที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน ประชากร 0.4 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ ชาวมาเลย์ ร้อยละ 70 รองลงมา ได้แก่ จีน อินเดีย และยุโรป ภาษาราชการ มาเลย์ ศาสนา อิสลาม ร้อยละ 67 รองลงมา ได้แก่ พุทธ คริสต์และอื่นๆ การปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีสมเด็จ พระราชาธิบดีเป็นประมุข ผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วันชาติ 23 กุมภาพันธ์ สกุลเงิน ดอลล่าร์บรูไน (1 ดอลล่าร์ = 24 บาท) GDP 15,533 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 38,832.5 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว (พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ อาหาร แปรรูปไม้ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ แก้ว ประกอบรถยนต์ สินค้านำเข้า เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ้นค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว ผลไม้ สินค้าส่งออก น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กัมพูชา ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ ราชอาณาจักรกัมพูชา เนื้อที่ 181,036 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง พนมเปญ ประชากร 14.7 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ ชาวเขมร ภาษาราชการ มาเลย์ ศาสนา พุทธเถรวาท การปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข วันชาติ 9 พฤศจิกายน สกุลเงิน เรียล (รีล) (1 เรียล = 0.0077 บาท) GDP 12,861 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 965.99 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว(พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม โรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้ รองเท้า น้ำตาล ปูนซีเมนต์ กระดาษ สิ่งทอ สินค้านำเข้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าส่งออก เสื้อผ้าและสิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้แปร รูป ยางพารา บุหรี่ ข้าว ข้าวโพด Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
อินโดนีเซีย ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เนื้อที่ 2,019,358 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง จาการ์ตา ประชากร 238.2 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ ชวา ซุนดา มาดูรา มาเลย์ ภาษาราชการ บาฮาซาอินโดนีเซีย ศาสนา อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู พุทธ การปกครอง ประชาธิปไตยแบบสา ธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ หัวหน้าฝ่ายบริหาร วันชาติ 17 สิงหาคม สกุลเงิน รูเปียร์ (1,000 รูเปียร์ = 3.5 บาท) GDP 845,680 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 3,550.29 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว(พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม การกลั่นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ต่อเรือ สิ่งทอ กระดาษ ไม้ขีดไฟ แก้ว จักรยาน เครื่องไม้แกะสลัก การท่องเที่ยว สินค้านำเข้า น้ำมัน เหล็ก ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก สิ่งทอ รถยนต์ เครื่องจักร อาหาร เคมีภัณฑ์ สินค้าส่งออก ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ จากไม้ สิ่งทอ ยางพารา แร่ดีบุก ชา เครื่องเทศ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ลาว ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประ ชาชนลาว เนื้อที่ 236,799 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง เวียงจันทน์ ประชากร 6.3 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ ลาวลุ่ม ลาวเทิง และลางโซ่ง ภาษาราชการ ลาว ศาสนา พุทธเถรวาท การปกครอง สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ นำโดยพรรค ประชาชนปฏิวัติลาว วันชาติ 2 ธันวาคม สกุลเงิน กีบ (256 กีบ = 1 บาท) GDP 7,891 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 1,252.54 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว(พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม โรงสีข้าว แปรรูปไม้ บุหรี่ การทอผ้าไหม การปั้นหม้อ สินค้านำเข้า รถจักรยายนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค สินค้าส่งออก ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์จากไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ หนังฟอก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ใบยาสูบ และกาแฟ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
มาเลเซีย ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ มาเลเซีย ชื่ออย่างเป็นทางการ มาเลเซีย เนื้อที่ 333,403 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กัวลาลัมเปอร์ ประชากร 28.9 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ มาเลย์ ชนพื้นเมือง จีน อินเดีย ภาษาราชการ มาเลย์ ศาสนา อิสลาม พุทธ คริสต์ ฮินดู การปกครอง ประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีสมเด็จ พระราชาธิบดีเป็นประมุข วันชาติ 31 สิงหาคม สกุลเงิน ริงกิต ( 1 ริงกิต = 10 บาท) GDP 278,680 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 9,642.90 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว(พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากยางพารา น้ำมันปาล์ม ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ อุปกรณ์อิเล็ก ทรอนิกส์ ปุ๋ยเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่อเรือ รถยนต์ เครื่องจักร สินแร่เหล็ก สบู่ รองเท้า ผ้าบาติก เครื่องจักสาน สินค้านำเข้า ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์การขนส่ง โลหะ และ อาหาร สินค้าส่งออก เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซ ธรรมชาติเหลว ยางพารา ไม้ เหล็ก และ แร่ดีบุก Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
เมียนมา ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เนื้อที่ 678,034 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง เนปิดอว์ ประชากร 54 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ พม่า ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ฉาน ชิน ภาษาราชการ พม่า ศาสนา พุทธ การปกครอง สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล วันชาติ 4 มกราคม สกุลเงิน จ๊าด (1 จ๊าด = 0.045 บาท) GDP 51,925 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 961.57 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว (พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม สิ่งทอ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์จากไม้ สินค้า เกษตรแปรรูป น้ำตาล กระดาษ กลั่น น้ำมัน เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ ต่อเรือ สินค้านำเข้า เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมัน สำเร็จรูป สินค้าส่งออก ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก ไม้แปรรูป ข้าว เมล็ดพืช ถั่ว Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ฟิลิปปินส์ ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เนื้อที่ 299,536 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง มะนิลา ประชากร 95.7 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ คริสต์มาเลย์ ภาษาราชการ ฟิลิปปิโน อังกฤษ ศาสนา คริสต์โรมันคาทอลิก การปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มี ประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้า รัฐบาล วันชาติ 12 มิถุนายน สกุลเงิน เปโซ (1 เปโซ = 0.7 บาท) GDP 213,129 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 2,227.05 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว(พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม สิ่งทอ เสื้อผ้า การแปรรูปอาหาร ไม้แปร รูป เยื่อกระดาษ ปูนซีเมนต์ ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ถุงเท้าและรองเท้า เคมีภัณฑ์ สินค้านำเข้า เครื่องจักร เหล็ก เชื้อเพลิง สิ่งทอ และอุปกรณ์การขนส่ง สินค้าส่งออก เนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะพร้าว น้ำตาล ผ้าพื้นเมือง ไม้แกะสลัก เครื่องประดับ เครื่องเงิน ป่าน และแร่ โครไมต์ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
สิงคโปร์ ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เนื้อที่ 583 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง สิงคโปร์ ประชากร 5.2 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ จีน มาเลย์ อินเดีย ภาษาราชการ จีน มาเลย์ อังกฤษ และทมิฬ ศาสนา พุทธ อิสลาม คริสต์ และอิ่นๆ การปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มี ประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล วันชาติ 9 สิงหาคม สกุลเงิน ดอลล่าร์สิงคโปร์ (1 ดอลล่าร์ = 24 บาท) GDP 259,849 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 4 9,970.96 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว (พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม กลั่นน้ำมัน ต่อเรือ เหล็กและเหล็กกล้า ยาง รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ กระดาษ การพิมพ์ เสื้อผ้า สินค้านำเข้า เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ และอาหาร สินค้าส่งออก เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้า Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ไทย ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ ราชอาณาจักรไทย ชื่ออย่างเป็นทางการ ราชอาณาจักรไทย เนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร ประชากร 64.1 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ ไทย ไทยเชื้อสายจีน ภาษาราชการ ไทย ศาสนา พุทธเถรวาท อิสลาม การปกครอง ประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข วันชาติ 5 ธันวาคม สกุลเงิน บาท GDP 345,649 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 5,392.34 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว(พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม เกษตรแปรรูป ยางพารา สิ่งทอ เหล็ก ดีบุก แปรรูปไม้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปูนซีเมนต์ น้ำตาล และท่องเที่ยว สินค้านำเข้า น้ำมัน ยายนต์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า ฝ้าย ปุ๋ย และพลาสติก สินค้าส่งออก ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด น้ำตาล ยางพารา ดีบุก อาหารทะเล เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า ไม้สัก ใบยาสูบ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
เวียดนาม ข้อมูลพื้นฐาน หน้าหลัก หน้าแรก ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เนื้อที่ 337,912 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง ฮานอย ประชากร 87.9 ล้านคน (พ.ศ. 2554) ชาติพันธุ์ เวียดนาม ภาษาราชการ เวียดนาม ศาสนา พุทธ การปกครอง สังคมนิยม วันชาติ 2 กันยายน สกุลเงิน ด่อง ( 666 ด่อง = 1 บาท) GDP 122,722 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พ.ศ. 2554) รายได้ประชาชาติ 1,396 ดอลล่าร์สหรัฐ /หัว (พ.ศ. 2554) อุตสาหกรรม ทอผ้า ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปุ๋ยเคมี การแปรรูปอาหาร น้ำตาล กระดาษ โรงสีข้าว สินค้านำเข้า น้ำมันสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใย และเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าส่งออก สิ่งทอและเสื้อผ้า น้ำมันดิบ อาหาร ทะเล ข้าว ยางพารา กาแฟ และ รองเท้า Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงานของอาเซียน ประธานอาเซียน 1. ให้หมุนเวียนตำแหน่งประธานอาเซียนทุกปี ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2. หนึ่งปีปฏิทิน อาเซียนจะมีตำแหน่งประธานคนเดียว โดยประเทศสมาชิกที่รับตำแหน่งประธานจะต้องทำหน้าที่เป็นประธานของ 1) การประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง 2) คณะมนตรีประสานงานอาเซียน 3) คณะมนตรีประชาคมอาเซียนทั้งสามคณะ 4) องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม 5) คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงานของอาเซียน บทบาทของประธานอาเซียน 1. ส่งเสริม เพิ่มพูนผลประโยชน์ และความเป็นอยู่ที่ดีของอาเซียน 2. ทำให้แน่ใจถึงความเป็นศูนย์รวมของอาเซียน 3. ทำให้แน่ใจถึงการตอบสนองต่อประเด็นเร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติ 4. เป็นผู้แทนอาเซียนส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนภายนอกภูมิภาค 5. ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่อื่นที่อาจได้รับมอบหมาย ภาษาที่ใช้ในอาเซียน ภาษาอังกฤษ Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์อาเซียน อัตลักษณ์ของอาเซียน อาเซียนต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในหมู่ประชาชนของตน เพื่อให้บรรลุชะตา เป้าหมาย และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน คำขวัญของอาเซียน One Vision, One Identity, One Community หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม วันอาเซียน 8 สิงหาคม ขอทุกปี อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์อาเซียน ธงอาเซียน ธงอาเซียนแสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน สีของธง ได้แก่ นำเงิน แดง ขาว และเหลือง แสดงถึงสีหลักในธงชาติของประเทศสมาชิก สีน้ำเงิน หมายถึง เสถียรภาพ และสันติภาพ สีแดง หมายถึง ความกล้าหายและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง รวงข้าว หมายถึง ความใฝ่ฝันของผู้ก่อตั้งอาเซียน ให้มีอาเซียนที่ประกอบไปด้วยบรรดาประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผูกพันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว วงกลม หมายถึง เอกภาพอาเซียน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์อาเซียน ดวงตราอาเซียน ดวงตราอาเซียนแสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน สีของธง ได้แก่ นำเงิน แดง ขาว และเหลือง แสดงถึงสีหลักในธงชาติของประเทศสมาชิก สีน้ำเงิน หมายถึง เสถียรภาพ และสันติภาพ สีแดง หมายถึง ความกล้าหายและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง รวงข้าวสีเหลือง 10 รวงมัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน และรวงข้าว หมายถึง ความใฝ่ฝันของผู้ก่อตั้งอาเซียน ให้มีอาเซียนที่ประกอบไปด้วยบรรดาประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผูกพันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว วงกลม หมายถึง เอกภาพอาเซียน อักษรย่อ asean สีน้ำเงินใต้รวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์อาเซียน เพลงประจำอาเซียน (สากล) เพลง The ASEAN Way ประพันธ์โดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) Raise our flag high, sky high. Embrace the pride in our heart. ASEAN we are bonded as one. Looking out to the world. For peace our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream, We care to share. Together for ASEAN. We dare to dream, We care to share for it's the way of ASEAN. อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง http://www.youtube.com/watch?v=TcpoRAA-kCg&feature=player_embedded Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์อาเซียน เพลงประจำอาเซียน (ภาษาไทย) เพลง The ASEAN Way ประพันธ์โดย สุรักษ์ สุขเสวี พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ วันที่เรามาพบกัน อาเซียนเป็นหนึ่ง ดังที่ใจเราปรารถนา เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น หล่อหลอมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=M37yE1ZLSd0 Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ปฏิญญา วิสัยทัศน์อาเซียน ปฏิญญาอาเซียน ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) หรือฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนาม เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่วังสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานครมีสาระสำคัญกล่าวถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเวียนในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อวางรากฐานความรุ่งเรืองให้กับอาเซียน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
ปฏิญญา วิสัยทัศน์อาเซียน วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) กำหนดเป้าหมายหลัก 4 ประการ ที่มุ่งหวังว่าภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020) อาเซียนจะเป็น 1. วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต 3. มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก 4. ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน ความหมายและความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน กฎบัตรอาเซียน (The ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่กำหนดกรอบทางกฎหมาย โครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกที่สำคัญต่างๆ ภายในอาเซียน จัดทำขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ.2007) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 ประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่ อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน ความหมายและความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการ (ข้อ 1-2) หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย (ข้อ 3) หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (ข้อ 4-6) หมวดที่ 4 องค์กร (ข้อ7-15) หมวดที่ 5 องค์ภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน (ข้อ 16) หมวดที่ 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ (ข้อ 17-19) หมวดที่ 7 การตัดสินใจ (ข้อ 20-21) หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท (ข้อ 22-28) อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน ความหมายและความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน (ข้อ 29-30) หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน (ข้อ 31-34) หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ (ข้อ 35-40) หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก (ข้อ 41-46) หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย (ข้อ 47-55) อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน ความหมายและความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน โดยมีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่ 1. การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 2. การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำความตกลงของประเทศสมาชิก 3. การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก 4. การให้ผู้นำตัดสินดำเนินการต่อประเทศผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอาเซียนอย่างร้ายแรง 5. การเปิดช่องให้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ 6. การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิก 7. การเพิ่มบทบาทประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที 8. การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น 9. การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน ความมุ่งประสงค์ 1. เพื่อธำรงรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ 2. เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวยืดหยุ่นสู่สภาวะปกติของภูมิภาค 3.เพื่อธำรงรักษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และปราศจากอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูงอื่นๆ ทุกชนิด 4. เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชาชนและประเทศสมาชิกของอาเซียนอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ โดยสันติในสภาวะที่เป็นธรรม มีประชาธิปไตย และมีความปรองดองกัน 5. เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง มีความสามารถในการแข่งขันสูง 6. เพื่อบรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาภายในอาเซียน 7. เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย เพิ่มพูนธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรม อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน ความมุ่งประสงค์ (ต่อ) 8. เพื่อตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักตามความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ 9. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 10. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11. เพื่อเพิ่มพูนความเป็นอยู่ที่ดีและการดำรงชีวิตของประชาชนอาเซียน 12. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มั่นคง และปราศจากยาเสพติด สำหรับประชาชนของอาเซียน 13.เพื่อส่งเสริมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง 14. เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน 15. เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์รวมและบทบาทเชิงลุกของอาเซียน ในความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน หลักการ 1. ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุความมุ่งประสงค์ตามข้อ 1 อาเซียนและประเทศสมาชิก อาเซียนยืนยันและยึดมั่นในหลักการพื้นฐานที่ปรากฏในปฏิญญา ความตกลง อนุสัญญา ข้อตกลง สนธิสัญญา และตราสารอื่นๆ ของอาเซียน 2. ให้อาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้ 1) การเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งปวง 2) ความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่นคงของภูมิภาค 3) การไม่ใช้การรุกรานและการข่มขู่ 4) การอาศัยการระงับข้อพิพาทโดยสันติ อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน หลักการ (ต่อ) 5) การไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก 6) การเคารพสิทธิของประเทศสมาชิก 7) การปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน 8) การยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ 9) การเคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม 10) การยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยอมรับ อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน หลักการ (ต่อ) 11) การละเว้นจากการมีส่วนร่วมในนโยบายหรือกิจกรรมใดๆ รวมถึงการใช้ดินแดนของตน คุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน หรือ เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน 12) การเคารพในวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน 13) ความเป็นศูนย์รวมของอาเซียนในความสัมพันธ์ภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 14) การยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียนซึ่งมีกฎเป็นพื้นฐาน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน ระบบการตัดสินใจ การปรึกษาหารือและฉันทามติ 1. โดยหลักการพื้นฐาน ให้การตัดสินใจของอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและฉันทามติ 2. หากไม่สามารถหาฉันทามติได้ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอาจตัดสินว่าจะทำการตัดสินใจเฉพาะเรื่องนั้นอย่างไร 3. ไม่มีความใดในวรรค 1 และ 2 ของข้อนี้กระทบถึงวิธีการตัดสินใจที่ระบุอยู่ในตราสารทากฎหมายของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง 4. ในกรณีที่มีการละเมิดกฎบัตรอาเซียนอย่างร่ายแรง หรือการไม่ปฏิบัติตาม ให้ เสนอเรื่องดังกล่าวไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อการตัดสินใจ อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การอนุวัติการและขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะบัญญัติกฎว่าด้วยขั้นตอนการดำเนินงานของตนเอง 2. ในการอนุวัติการตามข้อผูกพันด้านเศรษฐกิจ อาจนำรูปแบบการเข้าร่วมแบบยึดหยุ่น รวมถึงรูปแบบอาเซียนที่ไม่รวมสมาชิกบางประเทศมาใช้ หากมีฉันทามติ อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การระงับข้อพิพาท หลักการทั่วไป 1. ประเทศสมาชิกต้องพยายามที่จะระงับข้อพิพาททั้งปวงอย่างสันติให้ทันท่วงทีโดยผ่านการสนทนา การปรึกษาหารือ และการเจรจา 2. ให้อาเซียนจัดตั้งและธำรงไว้ซึ่งกลไกการระงับข้อพิพาทในทุกสาขาความร่วมมือของอาเซียน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน คนกลางที่น่าเชื่อถือ การประนีประนอม และการไกล่เกลี่ย 1. ประเทศสมาชิกที่เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทอาจจะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ที่จะใช้คนกลางที่น่าเชื่อถือ การประนีประนอม หรือการไกล่เกลี่ย เพื่อระงับข้อพิพาทภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน 2. คู่กรณีในข้อพิพาทอาจร้องขอให้ประธานอาเซียน หรือเลขาธิการอาเซียนทำหน้าที่โดยตำแหน่งเป็นคนกลางที่น่าเชื่อถือ ประนีประนอม หรือไกล่เกลี่ย อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน กลไกระงับข้อพิพาทตามตราสารเฉพาะ 1.ให้ระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับตราสารเฉพาะของอาเซียนโดยกลไกและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในตราสารนั้นๆ 2. ให้ระงับข้อพิพาทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้ตราสารอาเซียนใดๆ โดยสันติตามสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเยตะวันออกเฉียงใต้และตามกฎการดำเนินงานของสนธิสัญญาดังกล่าว 3. ในกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะ ให้ระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้ความตกลงทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามพิธีสารว่าด้วย กลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาท ในกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะ ให้มีการจัดตั้งกลไกระงับข้อ พิพาทที่เหมาะสม รวมถึง อนุญาโตตุลาการ สำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการตีความหรื การใช้กฎบัตรอาเซียนและตราสารอาเซียนอื่นๆ ข้อพิพาทที่มิอาจระงับได้ ให้เสนอข้อพิพาทนั้นไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อตัดสิน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
กฎบัตรอาเซียน สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาท การปฏิบัติตาม 1.เลขาธิการอาเซียนโดยการช่วยเหลือจากสำนักเลขาธิการอาเซียน หรือองค์กร อาเซียนอื่นๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งต้องสอดส่องดูแลการปฏิบัติตามผลการวินิจฉัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อตัดสินใจซึ่งเป็นผลจากกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน และเสนอ รายงานไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียน 2. ประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามผลการวินิจฉัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลจากกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน อาจส่งเรื่อง ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อตัดสิน อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Saturday, September 14, 2019Saturday, September 14, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก