ภาพนิ่ง (Still Image)
Still Image ภาพนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว เกิดจากการวางสี เส้น และรูปทรงต่างๆ ในตำแหน่งที่เหมาะสม ปัจจุบันนิยมใช้ภาพนิ่งประกอบการนำเสนอข่าวสารหรือเชื่อมโยงเรื่องราวเข้าด้วยกันในรูปแบบของมัลติมีเดีย
ประเภทของภาพนิ่ง ภาพ 2 มิติ (2D Image) ภาพ 3 มิติ (3D Image) ภาพนิ่งที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดจากการรวมกันของจุดสีแต่ละจุดว่าพิกเซล (Pixel) คุณภาพของการแสดงผลภาพนิ่งใดๆ นั้น จะขึ้นอยู่กับความละเอียดของภาพ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น จอภาพ การ์ดจอ (Video Card) และคุณภาพของเครื่องพิมพ์ ประเภทของภาพนิ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ภาพ 2 มิติ (2D Image) ภาพ 3 มิติ (3D Image)
ภาพ 2 มิติ ภาพเวกเตอร์ (Vector Graphic) ภาพบิตแมป (Bitmapped Image) ที่สร้างและนำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 2 ประเภท ภาพเวกเตอร์ (Vector Graphic) ภาพบิตแมป (Bitmapped Image)
ภาพเวกเตอร์ (Vector Graphic) ภาพเวกเตอร์แสดงถึงภาพลักษณ์ที่มีโครงสร้างทางเรขาคณิต และสร้างด้วยหลักทางคณิตศาสตร์ จึงต้องจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของคำสั่ง
ไฟล์ภาพเวกเตอร์หลายรูปแบบ ซึ่งมีนามสกุลแตกต่างกันออกไป เช่น Al, Cdr, Cgm, Cmx, Drw, Eps,Pdf, Pct, Pic, Plt และ Wmf เป็นต้น โครงร่างของภาพเวคเตอร์ ภาพเวคเตอร์ที่ตกแต่งแล้ว
การขยายภาพเวกเตอร์ เมื่อขยายขนาดจะไม่สูญเสียความคมชัด ภาพเวกเตอร์ เป็นไฟล์ขนาดเล็ก สามารถปรับปรุงโครงร่างของภาพได้แม้จะเป็นเส้นบางๆ และสามารถย่อขยายภาพได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพ การขยายภาพเวกเตอร์ เมื่อขยายขนาดจะไม่สูญเสียความคมชัด
ภาพบิตแมป (Bitmapped Image) บิตแมปเป็นภาพที่เกิดจากการประกอบรวมกันของพิกเซล ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดที่ใช้แสดงผลบนจอภาพและในการพิมพ์ ภาพบิตแมปสามารถรองรับการแสดงสีได้มากกว่า 16.7 ล้านสี (ความละเอียดที่ 26 บิต) วิธีการสร้างภาพแบบบิตแมปที่นิยมกันสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ การนำเข้าภาพจากแหล่งข้อมูลต่างๆ การคัดลอก (Copy) ภาพที่แสดงบนจอภาพ นำเข้าภาพถ่ายผ่านทางเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) นำเข้ารูปภาพจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลหรือกล้องวีดีโอดิจิตอล
ภาพแผนที่บิตเมื่อทำการขยายจะปรากฏกรอบของจุดภาพ ภาพบิตแมปถ้าภาพมีความละเอียดน้อย เมื่อทำการขยายจะทำให้สูญเสียรายละเอียดของภาพทำให้เกิดเป็นรอยหยัก มีให้เลือกใช้งานหลายชนิด เช่น ไฟล์ที่มีนามสกุล Bmp, Cgm, Gif, Hgl, Jpeg, Pbm, Pcx Pgm, Pnm, Ppm, Psd, Rle, Tga, Tiff และ Wpg เป็นต้น ภาพแผนที่บิตเมื่อทำการขยายจะปรากฏกรอบของจุดภาพ
ภาพโครงร่างพื้นฐานของภาพ 2 มิติและภาพ 3 มิติ ภาพ 3 มิติ (3D Image) เป็นภาพประเภทหนึ่งของภาพเวกเตอร์ ซึ่งมีลักษณะมุมมองของภาพที่เหมือนจริง อยู่ในรูปทรง 3 มิติ (3D) มีพื้นฐานการสร้างมาจากภาพ 2 มิติ (มีเพียงแกน X และ Y ) โดยเพิ่มความลึกให้กับภาพที่สร้าง (เพิ่มแกน Z) ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ ภาพโครงร่างพื้นฐานของภาพ 2 มิติและภาพ 3 มิติ
โปรแกรมออโตแคด สำหรับการสร้างภาพสามมิติ ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการทำงานด้าน 3 มิติ เช่น AutoCad, 3d Studio Max และ Extreme 3d เป็นต้น โปรแกรมออโตแคด สำหรับการสร้างภาพสามมิติ
รูปแบบไฟล์ข้อมูลภาพ (Image File Format) โปรแกรมสนับสนุนในระบบ Macintosh ส่วนใหญ่จะสามารถนำเข้า (Import) และ ส่งออก (Export) ไฟล์ภาพที่มีนามสกุล Pict ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทแอปเปิ้ล ตัวอย่างโปรแกรม เช่น โปรแกรม Illustrator หรือ Freehand ส่วนบนระบบ Windows ใช้รูปแบบ Dibs (Device-Independent Bitmaps) ซึ่งบันทึกไฟล์ในรูปแบบ Bmp โดยที่ Dibs นั้นสามารถซ่อนอยู่ในไฟล์ Riff(Resource Interchange File Format) ได้ Riff เป็นรูปแบบไฟล์ที่รองรับไฟล์ได้หลายชนิดบนระบบ Windows เช่น ไฟล์ภาพบิตแมปชนิดต่างๆ ไฟล์ Midi และรูปแบบตัวอักษร ส่วนใหญ่การบันทึกข้อมูลรูปภาพแบบบิตแมปบนระบบ Windows จะเป็นไฟล์ Dib, Bmp, Pcx และ Tiff แต่มีบางบริษัทสร้างรูปแบบไฟล์ภาพของตัวเองขึ้นมา เช่น บริษัท Adobe สร้างรูปแบบไฟล์ Psd สำหรับโปรแกรม Photoshop และไฟล์ Ai สำหรับโปรแกรม Illustrator
การสร้างภาพดิจิตอล จากเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จากกล้องดิจิตอล (Digital Camera) โปรแกรมที่ใช้ในการแก้ไขภาพ เช่น Adobe Photoshop
ภาพใหม่หลังจากการแปลง (พลิกภาพ) เทคนิคการปรับแต่งภาพ Transformation ภาพเดิมก่อนการแปลง ภาพใหม่หลังจากการแปลง (พลิกภาพ) การ Transformation
การ Rendering ด้วยโปรแกรม 3D Studio Max เป็นการเพิ่มพื้นผิวใกล้กับภาพซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับภาพ 3 มิติ เนื่องจากการสร้างภาพ 3 มิติทำได้เพียงโครงร่างของภาพ การ Rendering ด้วยโปรแกรม 3D Studio Max
การทำงานของแสงสีร่วมกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากดวงตาของมนุษย์ไวต่อสีหลัก 3 สี คือ สีแดง (Red) เขียว (Green) และน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการผสมแสงสีเข้าด้วยกันเพื่อได้ได้สีต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเห็นวัตถุสีส้ม จะเกิดจากการรวมกันของแสงสีเขียว และสีแดง เป็นต้น ด้วยความต้องการให้สีบนจอภาพเหมือนกับสีที่มองเห็นจากดวงตามนุษย์ จึงนำลักษณะการรวมสีของดวงตามนุษย์มาประยุกต์ใช้กับการแสดงผลของจอภาพคอมพิวเตอร์ สำหรับเครื่องพิมพ์นอกจากใช้ 3 สีข้างต้นแล้ว ต้องมีการใช้สีเพิ่มคือ สีคราม (Cyan) สีม่วง (Magenta) สีดำ และสีเหลือง ในทางตรงข้ามกันจอภาพคอมพิวเตอร์จะใช้ปฏิกิริยาทางเคมีของสารฟอสฟอรัสรวมจุดสีหลัก 3 สี (แดง น้ำเงิน เขียว ) ผสมเป็นแสงสีที่แตกต่างกันบนจอภาพ สื่อมัลติมีเดียปัจจุบันแสดงผลบนจอภาพได้อย่างน้อย 640X480 พิกเซล 256 สีขึ้นไป ถ้าจอภาพแสดงผลแสงสีได้มากก็สามารถสร้างภาพที่ละเอียดได้มากขึ้น
รูปแบบของแสงสีที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบที่แตกต่างกัน แบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น HSB (Hue, Saturation, Brightness) เป็นแสงสีที่ตอบสนองการมองเห็นของสายตาของมนุษย์ RGB (Red, Green, Blue) เป็นแสงสีที่ใช้งานกับจอภาพคอมพิวเตอร์ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, Black) เป็นแสงสีที่ใช้งานกับเครื่องพิมพ์ Lab เป็นมาตรฐานการรองรับแสงสีทั้งสามรูปแบบข้างต้น
แสงสีหลักๆ ที่เปลี่ยนแปลง ณ ตำแหน่งองศามาตรฐาน HSB HSB ประกอบขึ้นด้วยลักษณะของแสงสี 3 ประการ คือ Hue, Saturation และ Brightness Hue เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉดสีที่แตกต่างจากแสงหลักทั้งสาม (แดง เขียว น้ำเงิน) ตามมาตรฐานที่เรียกว่า “Standard Color Wheel” โดยเปรียบเทียบกับองศาต่างๆ บนวงกลม ซึ่งเป็นการนำองศาของวงกลมใช้แบ่งความแตกต่างของแสงสีตั้งแต่ 0-360 องศา ตามการผสมแสงสีมาตรฐานหลัก 3 แสง สี คือ แดง เหลือง และน้ำเงิน ซึ่งแต่ละแสงสีจะมีค่าองศาที่แตกต่างกัน ดังนี้ แสงสีแดงมีค่าเป็น 0 และ 360 แสงสีเหลืองมีค่าเป็น 120 และแสงสีน้ำเงินมีค่าเป็น 240 แสงสีหลักๆ ที่เปลี่ยนแปลง ณ ตำแหน่งองศามาตรฐาน
Saturation เป็นค่าความเข้มของแสงสีที่อยู่ในช่วงแสงสีจางจนถึงแสงสีเข้ม จะเป็นสัดส่วนของแสงสี Hue ที่มีอยู่ในโทนสีเทา โดยวัดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 0% (แสงสีเทา) จนถึง 100% (ค่าความเข้มของแสงสีมากที่สุด) เช่น การปรับ Saturation ของแสงสีน้ำเงิน จะสามารถปรับได้จากแสงสีน้ำเงินเทา (0%) จนถึงแสงสีน้ำเงินเทาเข้ม (100%) Brightness ค่าความสว่างของแสงสี คือค่าของแสงสีดำไล่ระดับสว่างขึ้นเรื่อยๆ จนถึงแสงสีขาวซึ่งวัดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์จาก 0% (แสงสีดำ) จนถึง 100% (แสงสีขาว)
saturation ของแสงสีน้ำเงิน
การไล่ระดับของ brightness
แสงสีต่างๆ ของ HSB
RGB เกิดจากการรวมแสงของแสงสีหลักคือ แสงสีแดง (Red) เขียว (Green) และน้ำเงิน(Blue) ซึ่งจะได้แสงสีแตกต่างกันตามสัดส่วนความเข้มของแสงสี RGB ที่มาผสมกัน โดยแสงสีหลักทั้ง 3 จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255 เมื่อข้อมูลแสงและสี RGB เปลี่ยนไป ความเข้มของแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน บนจอภาพจะปรับเปลี่ยนตามไปด้วย การแสดงแสงสีชนิด RGB
CMYK เกิดจากการซึมซับหมึกพิมพ์ลงบนกระดาษ โดยมีสีพื้นฐาน คือ สีน้ำเงินเขียว (Cyan) สีแดงม่วง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) แต่อย่างไรก็ตาม มีบางสีที่ CMYK ไม่สามารถผสมให้เกิดสีได้ เช่น สีน้ำตาล เป็นต้น จึงได้มีการเพิ่มสีดำ (Black) ลงไปด้วย เป็นผลให้เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์สีได้ครอบคลุมทุกสีที่เกิดจากการผสมสีของ CMYK
Lab พัฒนาขึ้นโดย Cie (Commission International De I’eclairage) ข้อมูลแสงสีของ Lab ประกอบด้วยค่าต่างๆ ได้แก่ ค่าระดับความเข้มของแสงสว่าง (Luminance Model (L)) ค่าแสดงการไล่แสงสีจากสีเขียวไปยังแสงสีแดง (แทนด้วยตัวอักษร A) และค่าแสดงการไล่แสงสีจากแสงสีน้ำเงินไปยังแสงสีเหลือง (แทนด้วยตัวอักษร B) สำหรับสนับสนุนการใช้งานกับจอภาพ พรินเตอร์ และสแกนเนอร์ จากการพัฒนาส่งผลให้ Lab กลายเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้งานครอบคลุมแสงสีทุกแสงสีในรูปแบบ RGB และ CMYK อีกทั้งยังใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ใดๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกน และรูปภาพบนจอภาพคอมพิวเตอร์และโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่แสดงให้เห็นได้ชัดก็คือ โปรแกรม Photoshop ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้สีในรูปแบบอื่นๆ ให้เหมาะกับงานที่ต้องการสร้าง
คุณภาพของรูปภาพ ความละเอียดของภาพ (Image Resolution) การพิจารณาว่าภาพที่ได้มานั้นจะมีคุณภาพหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก 2 สิ่ง คือ ความละเอียดของกล้องดิจิตอล ความละเอียดของ Video Monitor หรือ ตัว Printer
การบีบอัดขนาดของรูปภาพ (Image Compression) การบีบอัดขนาดแบบ RLE (Run Length Encoding) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด Software จะสร้างไฟล์ขึ้นมาจากการอ่านค่าในแต่ละพิกเซลของภาพ แล้วบันทึกไว้ ถ้าพิกเซลที่อ่านได้มีความต่อเนื่องกันจะทำการบันทึกเพียงจำนวนพิกเซลที่มีความต่อเนื่องกันเท่านั้น วิธีการบีบอัดไฟล์แบบ RLE
การบีบอัดขนาดแบบ LZW มีความยุ่งยากกว่าแบบ RLE โดยการใส่รหัสของ LZW นั้นจะขึ้นอยู่กับการค้นหา และการบันทึกแพตเทิร์นในโครงสร้างของภาพ LZW โดยจะอ่านค่าพิกเซลสำหรับภาพบิตแมปและสร้างตารางรหัสซึ่งแทนค่าแพตเทิร์นที่ซ้ำๆ กันของพิกเซลที่พบ ภาพที่ถูกสแกนมาหรือภาพที่ไม่ค่อยมีแพตเทิร์นที่เหมือนกันจะไม่ค่อยได้ประโยชน์มากนั้นสำหรับวิธีการบีบอัดแบบนี้ การบีบอัดข้อมูลภาพดิจิตอลนั้นแบ่งการบีบอัดออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ การบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล (Lossless) การบีบอัดแบบสูญเสียข้อมูล (Lossy)
การบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล (Lossless) เป็นการบีบขนาดที่ข้อมูลเดิมไม่มีการสูญเสียเลย โดยภาพจะถูกบีบขนาดและถูกขยายกลับคืนแบบพิกเซลต่อพิกเซลเหมือนกับภาพดั้งเดิม ไฟล์ภาพที่ได้จะมีความละเอียดสูง แต่จะมีขนาดใหญ่ทำให้เปลืองพื้นที่ของหน่วยเก็บข้อมูล การบีบอัดแบบ Lossless ที่นิยมใช้ในกล้องดิจิตอลคือการบันทึกเป็นไฟล์ .TIFF ตัวอย่างเช่น ไฟล์ BMP เป็นไฟล์ที่สามารถเก็บสีได้สูงสุด 16.7 ล้านสี เลือกบีบอัดได้ในแบบ RLE ซึ่งเป็นการบีบอัดแบบ Lossless ใช้ได้กับรูปที่มีสีน้อย กรณีที่ภาพมีสีมากบีบอัดได้ไม่ดี ไฟล์ PNG เป็นไฟล์บิตแมปที่มีการบีบอัดแบบ Lossless ให้สี True Color ได้สูงสุด 48 บิตต่อพิกเซล ไฟล์ PNG นับได้ว่าเป็นรูปแบบไฟล์ภาพที่ดีชนิดหนึ่งเนื่องจากสามารถบีบอัดข้อมูล โดยไม่เสียข้อมูลภาพ ทำให้เหมาะสำหรับจับเก็บไฟล์ต้นฉบับ นอกจากนั้นไฟล์ภาพ PNG ยังเล็กกว่าไฟล์แบบ LZW และ TIF
การบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล (Lossless) ไฟล์ Tiff เป็นไฟล์บิตแมปที่มีคุณภาพสูง และมีความเป็นมาตรฐานยอมรับได้ในหลายโปรแกรมแม้เครื่องต่างระบบ โดยจะเก็บความลึกของสี RGB ได้สูงสุด 48 บิต และ CMYK 32 บิตสามารถเลือกการบีบอัดได้หลายรูปแบบ เช่น LZW, Packbits, JPEG และ RLE การเก็บข้อมูลของ Tiff จะถูกแบ่งออกเป็น สำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่อง PC/Windows เนื่องจากระบบการเก็บตัวเลขของ CPU ของ Motorola กับ Intel มีการจัดเก็บตัวเลขกลับกัน แต่ในปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดภาพต่างก็แก้ไขปัญหานี้ได้หมดแล้ว ทำให้ Tiff หรือ Tif สามารถเปิดได้ทั้งบน Macintosh และ Windows อย่างไม่มีปัญหา
การบีบอัดแบบสูญเสียข้อมูล หรือ Lossy เป็นการบีบอัดข้อมูลภาพในลักษณะที่มีการตัดทอนข้อมูลภาพออกไปบางส่วน เพื่อให้ไฟล์ภาพมีขนาดเล็กลง แต่ก็ทำให้สูญเสียข้อมูลบางอย่างไป และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ การบันทึกแบบ Lossy ที่นิยมใช้ในกล้องดิจิตอลคือการบันทึกแบบ JPEG ตัวอย่างเช่น ไฟล์ JPEG เป็นไฟล์บิตแมปที่มีการบีบอัดเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เก็บความลึกสีได้สูงสุด 32 Bit เนื่องจาก Jpeg เป็นการบีบอัดแบบ Lossy ซึ่งมีการสูญเสียรายละเอียดบางส่วนของภาพไปจึงทำให้สามารถบีบอัดภาพได้มาก ไฟล์ JPG การบีบอัดไฟล์ Jpg ที่เหมาะสมก็คือ 75-80% ของ Quality โดย Quality คือการเลือกว่าจะให้มีคุณภาพของภาพเหลือเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไร ดังนั้นยิ่งเปอร์เซ็นต์มาก ยิ่งมีการบีบอัดน้อยลง หรือ 20-25% ของ Compression ซึ่ง Compression หมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการบีบอัดไฟล์ ยิ่งมีการบีบอัดมาก และส่งผลให้คุณภาพของภาพลดต่ำลง หากกำหนดค่าต่ำหรือสูงเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อคุณภาพของภาพได้โดยตรง และสามารถมองเห็นข้อบกพร่องได้ด้วยตาเปล่า เช่น ภาพอาจไม่ชัดเจน หรือมีสีผิดเพี้ยน เป็นต้น
การวาดภาพโดยใช้ดินสอหรือจากสีชนิดต่างๆ แหล่งที่มาของรูปภาพ Original Art คือภาพที่เกิดจากการวาดโดยจิตรกร อาจวาดโดยใช้ดินสอ หรือสีชนิดต่างๆ หากต้องการนำภาพนั้นมาแสดงผลในคอมพิวเตอร์สามารถทำได้โดยการสแกนภาพด้วยเครื่องสแกนเนอร์ หรืออาจใช้วิธีถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล การวาดภาพโดยใช้ดินสอหรือจากสีชนิดต่างๆ
Clip Art กฤตศิลป์จาก Microsoft Clip Gallery กฤตศิลป์จากอินเทอร์เน็ต เปรียบเสมือน Library สำหรับเก็บงานทางด้าน Graphic ที่สามารถนำมาแทรกไว้ในเอกสาร ถูกจัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ในรูปของ Cd-Rom หรือในเว็บไซต์ต่างๆ เช่น ภาพ Drawing ภาพ Photograph แผนที่ ไดอะแกรม แผนภูมิ และภาพลายเส้นต่างๆ เป็นต้น ส่วนมากมีการนำ Clip Art มาใช้ในงาน Graphic Program การใช้ภาพจาก Clip Art จะต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ กฤตศิลป์จาก Microsoft Clip Gallery กฤตศิลป์จากอินเทอร์เน็ต
รูปภาพบนเว็บ ชนิดไฟล์ภาพ คำอธิบาย ไฟล์ GIF เป็นไฟล์บิตแมปที่ใช้สีได้สูงสุด 256 สี นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า Gif Animation เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่มีขนาดของไฟล์เล็ก ทั้งนี้ เนื่องจากไฟล์ชนิดนี้ได้มีการบีบอัดข้อมูลแบบ LZW ทำให้ขนาดของไฟล์เล็กลง ส่งผลให้การส่งผ่านข้อมูลไปยังระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถรองรับโหมดสีแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Bitmap-Mode, Grayscale หรือแม้แต่ Indexed-Color Gif ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลจากค้นคิดและพัฒนาโดยบริษัท Compuserve อย่างไรก็ตามแม้ว่าไฟล์ชนิดนี้ จะเป็นที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่ยังคงมีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องคุณภาพของสีที่ลดลง ไฟล์ JPEG เป็นไฟล์ภาพที่แสดงผลแบบ Indexed-Color สามารถรองรับโหมดสีแบบ CMYK, RGB, Grayscale Color ได้เป็นอย่างด แต่ไม่รองรับคุณสมบัติการโปร่งแสง (Alpha Channel) นิยมนำมาใช้บนไฟล์เอกสาร Html ไฟล์ JPG เป็นไฟล์ภาพที่ได้จากแหล่งเก็บภาพถ่ายและการสแกนภาพ สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้ เนื่องจากขนาดของไฟล์เล็กมากเป็นพิเศษ นิยมนำมาใช้เพื่อแลกเปลี่ยนภาพผ่านทางอีเมล์และใช้เป็นส่วนประกอบของภาพในไฟล์เอกสาร Html เช่นกัน ไฟล์ PNG เป็นไฟล์บิตแมปอีกชนิดหนึ่ง ที่มีการบีบอัดข้อมูลแบบ Lossless สามารถให้สีชนิด True Color ได้สูงสุดถึง 48 Bit/Pixel ทั้งนี้ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนไฟล์ไฟล์ Gif นั่นเอง แม้ว่าไฟล์ PNG จะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าไฟล์ Gif อยู่หลายประการก็ตาม แต่ความนิยมของผู้ใช้ยังคงชมชอบใช้ไฟล์ Gif มากกว่า อย่างไรก็ตาม นักออกแบบเว็บไซต์สมัยใหม่กำลังให้ความสนใจและจะนำไฟล์ชนิดนี้มาใช้งานเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถรองรับโหมดสีต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น โหมดสีแบบ Grayscale และ RGB (ที่มี Single Alpha Channel)โหมดสีแบบบิตแมป(Bitmap)ชนิดIndexed-Color(ที่ไม่มีAlpha Channel) รวมถึงขนาดของไฟล์ที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงกันกับไฟล์ GIF แต่ก็ให้คุณภาพของสีที่ดีกว่า