การเสริมสร้างพลังอำนาจ ในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย รศ.ดร.ดาราวรรณ ต๊ะปินตา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Gibson (1991) กล่าวถึงการเสริมสร้างพลังอำนาจว่า เป็นแนวคิดที่อธิบาย กระบวนการทางสังคม การส่งเสริม การพัฒนาและเสริมสร้าง ความสามารถของบุคคลในการตอบสนองความต้องการของตนเอง และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่จำเป็น ในการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองและรู้สึกว่า ตนเองมีอำนาจสามารถควบคุมความเป็นอยู่หรือวิถีชีวิตของตนเอง ได้ รวมถึงการแสดงถึงการยอมรับและชื่นชม
(Nanette Page & Cheryl E. Czuba 1999) การเสริมสร้างพลังอำนาจ หมายถึง กระบวนการทางสังคม ในหลายๆมิติ ที่จะช่วยให้บุคคลเพิ่มความสามารถในการ ควบคุมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นกระบวนการที่ผลักดัน ให้บุคคลเป็นผู้ดูแลตนเอง โดยใช้ศักยภาพที่บุคคลมีอย่าง เต็มที่มาแก้ปัญหาที่บุคคลให้คุณค่า
ความสำคัญของการมีพลังอำนาจในผู้ดูแล ให้ความรู้สึกพอใจในสิ่งที่บุคคลกระทำ การรู้สึกหมดพลังอำนาจจะทำให้เกิดอาการ burnout เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล ทำให้มีความอดทนในการเผชิญปัญหาได้มากขึ้น ทำให้สามารถตัดสินใจในการดูแลได้ดีขึ้น มีอิสระในการดูแล เชื่อมั่นในตนเอง รับรู้ปัญหาด้วยความมั่นคง
ปัจจัยที่จะช่วยให้พยาบาลสามารถสร้างเสริม พลังอำนาจให้กับผู้ดูแล ปัจจัยที่จะช่วยให้พยาบาลสามารถสร้างเสริม พลังอำนาจให้กับผู้ดูแล สัมพันธภาพที่ดี ความไว้วางใจและความเข้าใจ ข้อตกลง พันธสัญญา ความมีพลังอำนาจในตัวของพยาบาล
พลังอำนาจประกอบด้วย พลังความรู้และทักษะ พลังใจ พลังจิตวิญญาน พลังเศรษฐกิจ พลังการสนับสนุน
วิธีการเสริมพลังอำนาจให้กับผู้ดูแล สร้างสัมพันธภาพแห่งความไว้วางใจ ให้ความรู้ / ฝึกทักษะที่จำเป็น เป็นที่ปรึกษาเรื่องเศรษฐกิจ สนับสนุนให้ได้รับการสนับสนุนทางสังคม ชวนคิดถึงสิ่งที่ทำให้กำลังใจและจิตวิญญานลดลง ความคิดอัตโนมัติทางลบ ความหมายของชีวิตที่แท้และความตาย ความหวังที่ผิด
คิดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง (All or none thinking) ตัวอย่างลักษณะความคิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ที่บิดเบือน (ความคิดอัตโนมัติทางลบ) คิดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง (All or none thinking) คิดมากกว่าความเป็นจริงแบบเหมารวม (Overgeneralization) คิดคาดเดาไปล่วงหน้า (Catastrophizing /fortune telling) การแปลความหมายโดยปราศจากเหตุผล (Emotional reasoning) การตีตรา (Labeling)
ตัวอย่างลักษณะความคิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ (ความคิดอัตโนมัติทางลบ) การคิดต่อเหตุการณ์ต่างๆว่า ควร หรือ ต้อง (Should and must statement) การเลือกที่จะเชื่อหรือคิดในสิ่งที่ตนเองคิดหรือมีความ เชื่อ(Mental filter) การคิดเกี่ยวกับตนเองจากเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับ ตนเอง(Personalization) การขยายต่อเติมหรือตัดทอนเรื่องราว (Magnification/minimization) การคิดเดาใจผู้อื่น (Mind reading)