องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร หลักนิเทศศาสตร์ บทที่ 4 องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร อาจารย์วิชชา สันทนาประสิทธิ์ 1
บทที่ 4 องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร องค์ประกอบพื้นฐานหลัก รวม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้ส่งสาร คู่สื่อสาร ผู้รับสาร สาร ช่องสารและสื่อ องค์ประกอบอื่นซึ่งมีความสำคัญและช่วยเสริมสร้างให้เกิดความหมาย ที่ชัดเจนหรือการรับรู้ความหมายร่วมกันระหว่างคู่สื่อสาร 5 องค์ประกอบ ได้แก่ บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร สิ่งรบกวนการสื่อสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ ผลของการสื่อสาร จริยธรรมในการสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 1. ผู้ส่งสาร คำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ผู้ส่งสาร” แหล่งกำเนิดสาร (source/ communication source/information source/ originator) หมายถึง บุคคลที่ต้องการส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้เข้ารหัส (encoder) หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสารหรือสาระที่ต้องการสื่อสารให้อยู่ในรูปของรหัสหรือสัญลักษณ์ซึ่งสามารถสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง วัตถุสิ่งของ เป็นต้น ผู้สื่อสาร (communicator) หมายถึง ผู้ทำการสื่อสาร ซึ่งอาจหมายถึงทั้งผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ส่วนคำว่า ผู้ส่งสาร (sender) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเป็น ผู้ริเริ่ม หรือเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งสารไปยังผู้รับสาร
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 2. ผู้รับสาร คำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ผู้รับสาร” ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับสารซึ่งส่งมาจากผู้ส่งสาร หรืออีกนัยหนึ่งผู้รับสารก็คือ จุดหมายปลาย ของสาร (destination) นั่นเอง นอกจากนั้นยังมีคำในภาษาอังกฤษซึ่งมีความหมาย ใกล้เคียงและใช้แทนที่คำว่า receiver ได้ เช่นคำว่า recipient perceiver communicatee audience และ public เป็นต้น ส่วนคำว่า decoder หรือผู้ถอดรหัสสาร หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ ในการแปลงรหัสหรือสัญลักษณ์ที่ผู้ส่งสารส่งมาให้กลับเป็นสาร ที่เข้าใจได้
ข้อสังเกต ในทรรศนะหรือมุมมองของนักนิเทศศาสตร์ซึ่งมอง กระบวนการสื่อสารในเชิงปฏิสัมพันธ์แบบต่อเนื่องระหว่าง คู่สื่อสาร (transactional communication) เห็นว่าในกระบวนการสื่อสารนั้น ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างทำหน้าที่เข้ารหัสและถอดรหัสพร้อมกันไปในเวลาเดียวกันต่อเนื่องกันไป และต่างมีอิทธิพลต่อกันและกันตลอดกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นจึงเรียกบุคคลทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับ การสื่อสารในภาพรวมว่า “คู่สื่อสารหรือผู้สื่อสาร(communicator)”
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร ปัจจัยที่ควรพิจารณามี 5 ประการ ดังนี้ 1.1 ทักษะในการสื่อสาร (Communication skills) หมายถึงความสามารถในการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ 1.1.1 ทักษะในการสื่อสารด้วยวัจนภาษา (Verbal communication skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 3 ประการ ดังนี้ 1.1.1.1 ทักษะในการเข้ารหัส ได้แก่ ความสามารถในการเขียนและการพูด 1.1.1.2 ทักษะในการถอดรหัส ได้แก่ ความสามารถในการอ่าน และการฟัง 1.1.1.3 ทักษะในการคิดและการใช้เหตุผล ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความสามารถในการเข้ารหัสและถอดรหัส
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร 1.1.2 ทักษะในการสื่อสารด้วยอวัจนภาษา (Nonverbal communication skills) หมายถึง ความสามารถในการใช้อวัจนภาษา เช่น ภาษาท่าทางหรือภาษากาย การสัมผัส ปริภาษา ฯลฯ ซึ่งใช้เสริมความหมาย หรือแทนความหมายของวัจนภาษา
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร 1.2 ทัศนคติ (Attitudes) หมายถึง ความรู้สึกที่มีต่อบุคคล วัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ทัศนคติของผู้ส่งสารแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.2.1 ทัศนคติที่คู่สื่อสารมีต่อตนเอง (Attitude toward self) หมายถึง การประเมินตนเองของคู่สื่อสารทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งมีผลต่อการสื่อสารของคู่สื่อสาร หากคู่สื่อสารประเมินตนเองในด้านบวก เช่น คิดว่า ตนมีความสามารถและรอบรู้ในเรื่องที่จะสื่อสารก็จะทำให้เกิดความมั่นใจและประสบความสำเร็จในการสื่อสาร หากประเมินตนเองในทางตรงกันข้าม ก็จะทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ดังนั้นทัศนคติจึงส่งผลต่อวิธีการสื่อสาร สารที่สร้างขึ้น และลักษณะของปฏิสัมพันธ์ของคู่สื่อสารด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร 1.2.2 ทัศนคติต่อเรื่องที่จะสื่อสาร (Attitude toward subject matter) หมายถึง ความรู้สึกที่มีต่อเรื่องหรือประเด็นที่จะสื่อสาร หากคู่สื่อสาร มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่จะสื่อสารก็จะทำให้เกิดความมั่นใจ และสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่จะพูดหรือฟัง แต่ต้องพูดหรือฟังเรื่องนั้นในเชิงเห็นด้วยก็จะทำให้เกิดความลำบากใจ ในการสื่อสาร 1.2.3 ทัศนคติต่อคู่สื่อสาร (Attitude toward communicator) หมายถึง ความรู้สึกที่มีต่อผู้รับสาร กล่าวคือหากผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ก็จะส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร การเลือกภาษา ถ้อยคำ และการแสดงออกในการสื่อสาร รวมทั้งระดับความสัมพันธ์ ที่มีต่อกันด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร 1.3 ความรู้ (Knowledge) ความรู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับคู่สื่อสาร ประกอบด้วย 1.3.1 ความรู้ในเรื่องที่จะสื่อสาร (Knowledge of subject matter) หมายถึง ระดับความรู้ความเข้าใจที่มีต่อเรื่องที่จะสื่อสาร หากคู่สื่อสารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้นอย่างดี ก็จะส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการสื่อสาร และทำให้คู่สื่อสารต่างเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร 1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร (Knowledge of the communication process) หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสาร รวมทั้งความสามารถในการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ในกระบวนการสื่อสาร ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรม ในขณะสื่อสารและประสิทธิผลในการสื่อสารของคู่สื่อสาร 1.4 สถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรม (Position within a social-cultural system) หมายถึง สถานภาพทางสังคมของ คู่สื่อสาร เช่น การเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ซึ่งรวมเรียกว่า ภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรม (social- cultural background) ของคู่สื่อสาร
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร 1.5 ขอบเขตประสบการณ์ (Field of experience) หมายถึง ประสบการณ์หรือการเรียนรู้ของคู่สื่อสาร ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดระดับความสอดคล้องต้องกันของสารและความหมายที่ส่งผ่านระหว่างคู่สื่อสาร หากคู่สื่อสารมีประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ ร่วมกันก็จะช่วยให้เข้าใจความหมายของสารได้ตรงกัน หรือสอดคล้องกัน
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 3. สาร สาร (Message) หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการเข้ารหัสของ คู่สื่อสารเพื่อส่งผ่านระหว่างกัน และกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง ในการศึกษาองค์ประกอบนี้ มีประเด็นควรพิจารณา 2 ประเด็น ได้แก่ 3.1 การแบ่งประเภทของสาร แบ่งตามเกณฑ์ 3 เกณฑ์ในเอกสาร 3.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาร 3.2.1 รหัสของสาร (Message code) หมายถึง กลุ่มของสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนหรือให้หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ วัจนภาษา ซึ่งหมายถึงภาษาเขียน และภาษาพูด รหัสของสารประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนได้แก่
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 3. สาร 3.2.1.1 ส่วนประกอบย่อย (Elements) หมายถึง ส่วนที่ประกอบรวมกันเป็นสาร เช่น ส่วนประกอยย่อยของภาษาพูด ได้แก่เสียง พยางค์ และคำ เป็นต้น ส่วนประกอบย่อยของภาษาเขียน ได้แก่ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ฯลฯ หรือส่วนประกอบย่อยของดนตรี ได้แก่ ตัวโน้ต และจังหวะ เป็นต้น 3.2.1.2 โครงสร้าง (Structure) หมายถึง การนำส่วนประกอบย่อยของรหัสมารวมกัน เป็นคำที่ใช้แทน หรือให้หมายถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น นำพยัญชนะ “ก” มารวมกันกับสระ “า” เป็นคำว่า “กา” หมายถึง สัตว์ปีกประเภทหนึ่ง หรือกริยาอย่างหนึ่งของมนุษย์ เป็นต้น
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 3. สาร 3.2.2 เนื้อหาของสาร (Message content) หมายถึง ข้อความ ที่ต้องการจะใช้สื่อความหมายแก่คู่สื่อสาร ประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้ 3.2.2.1 ส่วนประกอบย่อย (Elements) หมายถึง กลุ่มคำซึ่งยังไม่ได้เรียบเรียงตามโครงสร้าง และหน้าที่ทางไวยากรณ์ 3.2.2.2 โครงสร้าง (Structure) หมายถึง การเรียบเรียงลำดับของคำตามหลักไวยากรณ์
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 3. สาร 3.2.3 การเลือกและการจัดลำดับของข่าวสาร หรือการจัดสาร (Message treatment) หมายถึง การตัดสินใจเลือกและจัดลำดับของรหัสสารและเนื้อหา ซึ่งได้แก่ ข่าวสาร ที่จะนำเสนอให้เหมาะสมและสนองวัตถุประสงค์ ในการสื่อสารได้ เช่น การพาดหัวข่าวหน้า 1 เพื่อสร้างความน่าสนใจ เป็นต้น การเลือกและจัดลำดับของข่าวสาร หรือการจัดสารประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ 3.2.3.1 ส่วนประกอบย่อย (Elements) ได้แก่ รูปแบบ วิธีการ หรือเทคนิคในการนำเสนอสาร 3.2.3.2 โครงสร้าง (Structure) หมายถึง การจัดหรือการเรียงลำดับ ของรหัสสาร และเนื้อหา ซึ่งหมายถึงสารที่ต้องการส่งให้สอดคล้องกับเทคนิคการนำเสนอที่คู่สื่อสารใช้ หรือเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ หรือให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของอีกฝ่าย เป็นต้น
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 4. ช่องสารและสื่อ 4.1 ความหมายของ “ช่องสารและสื่อ” : ศึกษาจากเอกสารหน้า 79 4.2 ความหมายของ “ช่องสารและสื่อ” ในกระบวนการสื่อสาร 4.2.1 ตัวกลางในการนำสารจากผู้ส่งสารมายังผู้รับสาร ได้แก่ คลื่นแสง คลื่นเสียง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 4.2.2 พาหนะของสิ่งที่นำสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ของมนุษย์ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส ตัวอย่างเช่น อากาศซึ่งเป็นตัวนำคลื่นเสียงไปสู่ประสาทรับการได้ยิน 4.2.3 วิธีการเข้ารหัสและถอดรหัสสาร (Mode of encoding and decoding) เช่น การใช้วิธีพูด หรือวิธีเขียน เป็นต้น
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 4. ช่องสารและสื่อ เนื่องจากช่องสารและสื่อเป็นสิ่งที่ต้องประกอบกันในกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ในที่นี้จะใช้คำว่า “สื่อ” เป็นคำหลัก โดยให้สื่อความหมายถึงพาหนะในการนำพาข่าวสาร 4.3 การแบ่งประเภทของสื่อ: ศึกษาจากเอกสารหน้า 80-81 4.4 สรุปปัจจัยในการเลือกใช้สื่อ 1) ความน่าเชื่อถือและความนิยมของสื่อในสายตาของผู้สื่อสาร 2) ศักยภาพของสื่อในการเข้าถึงผู้สื่อสารทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ
องค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ: 4. ช่องสารและสื่อ 4.4 สรุปปัจจัยในการเลือกใช้สื่อ 3) โอกาสในการมีส่วนร่วมของคู่สื่อสารเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลในการรับรู้ และช่วยให้เกิดความเข้าใจความหมายของสาร 4) โอกาสในการเกิดและลักษณะของปฏิกิริยาตอบกลับที่ต้องการ 5) ความสามารถของสื่อในการส่งสารและเก็บรักษาสาร 6) ความคุ้มค่าโดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดจากสื่อกับค่าใช้จ่าย 7) ศักยภาพของสื่อในการสร้างอิทธิพลเหนือผู้รับสารเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
5. บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร องค์ประกอบอื่น: 5. บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร โดยปกติกระบวนการสื่อสารไม่ได้เกิดขึ้นในสภาวะสุญญากาศ แต่เกิดในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในการสื่อสารนั้นเรียกว่า “บริบทของการสื่อสาร” ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งช่วยให้เข้าใจกระบวนการสื่อสารและความหมายของสารได้ชัดเจนขึ้น
5. บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร องค์ประกอบอื่น: 5. บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร บริบทของการสื่อสารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1) บริบททางกายภาพ (Physical context) หมายถึง สถานที่ที่เกิดการสื่อสารและสภาวะแวดล้อมในสถานที่นั้น 2) บริบททางสังคม (Social context) หมายถึง ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร บทบาทหน้าที่และสถานภาพทางสังคม บรรทัดฐาน และค่านิยม 3) บริบทที่เกิดจากเหตุการณ์การสื่อสารที่ผ่านมา(Historical context) หมายถึง เหตุการณ์หรือประสบการณ์การสื่อสารที่ผ่านมา หรือภูมิหลังของคู่สื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร
5. บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร องค์ประกอบอื่น: 5. บริบทของการสื่อสารหรือสิ่งแวดล้อมทางการสื่อสาร 4) บริบททางจิตวิทยา (Psychological context) หมายถึง อารมณ์และความรู้สึกของคู่สื่อสารซึ่งเกิดขึ้นในสถานการณ์ของการสื่อสาร และส่งผลต่อพฤติกรรมการสื่อสาร และความสัมพันธ์ระหว่างกัน 5) บริบททางวัฒนธรรม (Cultural context) หมายถึงค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานของกลุ่มคนที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ซึ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านความรู้สึกและพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างกัน
องค์ประกอบอื่น: 6. สิ่งรบกวนการสื่อสาร สิ่งรบกวนสื่อสารแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) สิ่งรบกวนทางกายภาพ (Physical noise) หรือสิ่งรบกวนภายนอก (External noise) หมายถึง สิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นภายนอก ตัวผู้สื่อสาร หรือสภาวะแวดล้อมในการสื่อสาร ได้แก่ ระดับเสียงบริเวณที่เกิดการสื่อสาร หรือสภาพอากาศ เป็นต้น 2) สิ่งรบกวนทางจิตใจ (Psychological noise) หรือสิ่งรบกวนภายใน (Internal noise) หมายถึง สิ่งรบกวนที่เกิดภายใน ตัวผู้สื่อสาร ได้แก่ สภาพจิตใจ อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเกิดพฤติกรรมการสื่อสาร
องค์ประกอบอื่น: 6. สิ่งรบกวนการสื่อสาร 3) สิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นในสื่อหรือในช่องสาร (Media/Channel noise) หรือสิ่งรบกวนด้านเทคนิค (Technical noise) หมายถึง สิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นภายในสื่อหรือช่องสาร เช่น คลื่นรบกวน ภาพซ้อน ขนาดของตัวอักษรที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น 4) สิ่งรบกวนที่เกิดจากภาษา (Semantic noise) หมายถึง ความแตกต่างระหว่างความหมายของสารที่ผู้ส่งตั้งใจส่ง กับความหมายของสารที่ผู้รับสาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเข้ารหัส การถอดรหัส หรือการแปลความหมายสาร เช่น การใช้คำที่ยาก มีความหมายกำกวม หรืออาจเกิดจากการเรียบเรียงถ้อยคำและประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ฯลฯ
องค์ประกอบอื่น: 7. ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาตอบกลับหรือการสื่อสารกลับ (feedback) หมายถึง ปฏิกิริยาหรือสารซึ่งผู้รับสารแสดงตอบกลับไปยังผู้ส่งสารหลังจากที่ได้รับสาร ถอดรหัส และแปลความหมายของสารแล้ว ปฏิกิริยาตอบกลับแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยอาศัยเกณฑ์ ต่าง ๆ ซึ่งศึกษาได้จากตารางที่ 4.2 หน้า 86 ปฏิกิริยาตอบกลับส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสาร 2 ประการ ศึกษาได้ที่หน้า 86
องค์ประกอบอื่น: 8. ผลของการสื่อสาร ผลของการสื่อสาร (communication effect) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง หรือความแตกต่างซึ่งเกิดขึ้นกับผู้สื่อสารหลังจากได้รับสาร การพิจารณาผลของการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ 1) การเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่าง คือการพิจารณา การเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างซึ่งเกิดขึ้นกับคู่สื่อสาร ในขณะสื่อสารและสิ้นสุดการสื่อสาร
องค์ประกอบอื่น: 8. ผลของการสื่อสาร 2) อิทธิพลที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สื่อสาร ในกระบวนการ สื่อสารนั้น คู่สื่อสารต่างพยายามสร้างอิทธิพลต่อกันและกัน ด้วยวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย ดังนั้นผลของการสื่อสาร จึงหมายถึงอิทธิพลที่เกิดจากการสื่อสารด้วยเช่นกัน 3) สัมฤทธิผลหรือประสิทธิผลของการสื่อสาร หมายถึง ความสอดคล้องต้องกันระหว่างความหมายของสารที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อไปยังผู้รับสารกับความหมายของสารที่ผู้รับสารได้รับนั้น การแบ่งประเภทของผลที่เกิดจาการสื่อสาร สามารถแบ่งได้โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่สรุปไว้ในตารางที่ 4.3 หน้า 89
*** อ่านข้อความในย่อหน้าที่ 3 หน้า 91 *** องค์ประกอบอื่น: 9. จริยธรรมในการสื่อสาร จริยธรรมในการสื่อสาร (communication ethics) หมายถึง การใช้ความเชื่อ ค่านิยม และหลักศีลธรรมในการกำกับหรือควบคุมพฤติกรรมการสื่อสาร *** อ่านข้อความในย่อหน้าที่ 3 หน้า 91 ***
The “7Cs of communication” 1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility) 2. เนื้อหาสาระ (content) 3. บริบทหรือสภาพแวดล้อมในการสื่อสาร (Context) 4. ความชัดเจน (Clarity) 5. ความต่อเนื่องและความสอดคล้อง (Continuity and consistency 6. ช่องสาร (Channel) 7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of audience)