ประชุมโครงการเตรียมการรองรับการประกาศ ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย แก่ผู้ที่พ้นจากราชการ วันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
แนวทางการบริหารงบประมาณ
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
กฎหมายและระเบียบ สาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง.
จรรยาบรรณ ทางวิชาชีพและ เชิงสังคม อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อ การพัฒนาเด็กและ ครอบครัว ม. มหิดล สถาบันแห่งชาติเพื่อ.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
โดยอาจารย์ฐิติพร วัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การอำนวยความเป็นธรรม ในหน้าที่ของฝ่ายปกครอง
กฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่
พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
พงษ์เดช วานิชกิตติกูล
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
แนวทางใหม่ในการบริหารงานบุคคล ลูกจ้างประจำเงินรายได้
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์การเมืองของไทย
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
กระบวนการดำเนินการทางวินัย
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
เรื่อง การใช้งานระบบ Survey license
อำนาจอธิปไตย 1.
สาเหตุที่ต้องมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน
การแจ้งขออายัดสลากเพื่อประวิงการจ่ายเงินรางวัล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
อำนาจสืบสวน สอบสวน (มาตรา 17-21)
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2400 (ปรับปรุง)
ลำปาง นายยรรยง พลสันติกุล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
คดีฟ้องให้ประกาศใช้ผังเมืองรวม จังหวัดสระบุรี
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
พรบ. ข้าราชการ กทม.ข้อบัญญัติกทม. เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ. 2535
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การจัดการความรู้ด้านงานสนับสนุน
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
การสรรหาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประชุมโครงการเตรียมการรองรับการประกาศ ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย แก่ผู้ที่พ้นจากราชการ วันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ สโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต เขต หลักสี่ กทม.

ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดย พ.ต.อ.บรรจง วิสาสะ รอง ผบก.วน.

ยกเลิกมาตรา ๙๔

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม ยกเลิก มาตรา ๙๔ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือมีกรณีที่ถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เสมือนว่า ผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม หรือกักขัง ก็ให้งดโทษนั้นเสีย

ม.๙๔ (เดิม) ๑ ปี ๓๖๐ วัน วันออกจากราชการ ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง ม.๙๔ (เดิม) วันออกจากราชการ ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ๑ ปี คณะกรรมการ ทำการสอบสวน ไม่สามารถดำเนินการสอบสวนต่อไปได้ (กฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๒๔๐/๒๕๕๕) สอบสวนให้แล้วเสร็จ ๓๖๐ วัน ผู้บังคับบัญชารับสำนวน พิจารณาสั่งการ กลับคืนสู่ฐานะเดิม จนกว่าการพิจารณาสั่งการจะเสร็จสิ้นและมีคำสั่ง ไม่มีระยะ เวลาบังคับ ม.๘๗ วรรคสอง ๒๔๐+๖๐+๖๐ วัน

ม.๙๔ (เดิม) ๓๐ วัน ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย วันออกจากราชการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมความเห็น วันออกจากราชการ ๓๐ วัน การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา วันได้รับแจ้งมติของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการพิจารณา สั่งลงโทษ

มาตรา ๙๔ (ใหม่) ภาพรวม

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคแรก “ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้น กระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของ ผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของ ทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย และ สั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้อง สั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ”

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคสอง “ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหา คดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการ ทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่ บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการ สอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่ วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๘๗ วรรคสาม จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ”

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคสาม “ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการ ดำเนินการทางวินัย มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือ วรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจ ดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี”

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคสี่ “การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวน พิจารณาปรากฎว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” วรรคห้า “ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการตำรวจซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อนตามมาตรา ๙๕”

องค์ประกอบ มาตรา ๙๔ (ใหม่)

มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (แก้ไขใหม่) มีองค์ประกอบ ดังนี้ ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย เช่น เกษียณ, ลาออก, ถูกลงโทษปลดออก/ไล่ออก ด้วยมูลกรณีอื่น (ไม่รวมกรณีถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน) ๑. มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ ก่อนออกจากราชการ - ต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น/ ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจผู้นั้นเป็นผู้กล่าวหาเอง - กล่าวหาว่า “ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นการกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง”

มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (แก้ไขใหม่) มีองค์ประกอบ ดังนี้ ๒. มีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า - ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ (รวมถึงประมาทในหน้าที่ราชการ) ผล ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการ ทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออก จากราชการ กรอบระยะเวลา - เริ่มต้น ไม่มี ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยทันที มาตรา ๘๐ วรรคสาม - สิ้นสุด ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ

ม.๙๔ วรรคหนึ่ง (ใหม่) ๓ ปี มีกรณี ๑. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ - ต่อผู้บังคับบัญชา - ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของ ทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กล่าวหาเอง ๒. ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง วันออกจากราชการ ๓ ปี การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา ไม่สามารถดำเนินการ ทางวินัยได้อีกต่อไป (มติ คกก.กฤษฎีกา คณะที่ ๒) ดำเนินการทางวินัยทันที ม.๘๐ สอบสวนพิจารณา สั่งลงโทษ

มาตรา ๙๔ วรรคสอง (แก้ไขใหม่) มีองค์ประกอบ ดังนี้ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดออกจากราชการแล้ว ผล สามารถดำเนินการทางวินัยได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ กรอบระยะเวลา ๑. ความผิดทั่วไป - เริ่มต้น เริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ - สิ้นสุด ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ

ความผิดทั่วไป ม.๙๔ วรรคสอง (ใหม่) ๓ ปี ๑ ปี วันออกจากราชการ มีกรณี ๑. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ - ต่อผู้บังคับบัญชา - ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กล่าวหาเอง ๒. ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ๓ ปี ๑ ปี ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้อีกต่อไป การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา เริ่มสอบสวน (ตั้งคณะกรรมการ) สั่งลงโทษ

มาตรา ๙๔ วรรคสอง (แก้ไขใหม่) มีองค์ประกอบ ดังนี้ กรอบระยะเวลา ๒. ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง - เริ่มต้น ไม่มี - สิ้นสุด ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ

ความผิดปรากฎชัดแจ้ง ม.๙๔ วรรคสอง (ใหม่) ๓ ปี วันออกจากราชการ มีกรณี ๑. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ - ต่อผู้บังคับบัญชา - ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กล่าวหาเอง ๒. ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ๓ ปี ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้อีกต่อไป การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา สั่งลงโทษ

มาตรา ๙๔ วรรคสาม (แก้ไขใหม่) มีองค์ประกอบ ดังนี้ ๑. - ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุด - องค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย (อ.ก.ตร.อุทธรณ์) มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ - องค์กรตรวจสอบรายงานการทางวินัย (อ.ก.ตร.วินัย) มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ ๒. ให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการ ทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผล ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการแก้ไข กรอบระยะเวลา - เริ่มต้น ไม่มี - สิ้นสุด ภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุด หรือมีมติ แล้วแต่กรณี

ม.๙๔ วรรคสาม (ใหม่) ๒ ปี วันออกจากราชการ ศาลปกครอง มีคำพิพากษาถึงที่สุด อ.ก.ตร.อุทธรณ์ มีคำวินิจฉัย อ.ก.ตร.วินัย หรือมีมติ คำสั่งลงโทษ ทางวินัย ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ๒ ปี เพิกถอนคำสั่งลงโทษเพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รายงาน ก.ตร. การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ

มาตรา ๙๔ วรรคสี่ (แก้ไขใหม่) ถ้าเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ข้าราชการตำรวจกระทำความผิดวินัย วันออกจากราชการ ภาคทัณฑ์ ตั้งคณะกรรมการ สอบสวน ทัณฑกรรม ผู้สั่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความผิด วินัยอย่างไม่ร้ายแรง งดโทษ คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสร็จ เสนอผู้สั่งตั้ง กักยาม กักขัง ตัดเงินเดือน

เพิ่มเติม มาตรา ๙๔/๑

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม มาตรา ๙๔/๑ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... “ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการตำรวจผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่าง ไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ”

มาตรา ๙๔/๑ วรรคแรก (แก้ไขใหม่) มีองค์ประกอบ ดังนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. /คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลความผิด ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา ๙๘ - พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา ๔๐, ๔๑ กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งลงโทษให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่ได้รับแจ้งมติ และไม่อยู่ภายใต้กรอบระยะเวลา ๓ ปี ตามมาตรา ๙๔ ที่แก้ไขใหม่ ๔. ถ้าเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้งดโทษ

ม.๙๔/๑ (ใหม่) ๓๐ วัน วันออกจากราชการ ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง คณะกรรมการ ป.ป.ช. /ป.ป.ท. ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมความเห็น ๓๐ วัน การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา วันได้รับแจ้งมติของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ พิจารณาสั่งลงโทษ

ยกเลิก มาตรา ๙๖ เดิม

บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม มาตรา ๙๖ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ “ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการ กระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายในห้าปี ให้ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป”

ข้อดีของ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...

เป็นการอุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ป. ป. ช. หรือ ป เป็นการอุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. และทำให้ส่วนราชการ สามารถพิจารณาโทษแก่ข้าราชการที่ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดได้ แม้ผู้นั้นจะพ้นจากราชการไป แล้วก็ตาม การกำหนดเงื่อนเวลาเริ่มต้นในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้พ้นจากราชการไปแล้วให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม ย่อมทำให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการทางวินัยและลงโทษผู้กระทำความผิดซึ่งพ้นจากราชการไปแล้ว อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบราชการไทยให้แก่ประชาชนและสังคม การกำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว นอกจากจะเป็นธรรมต่อ ผู้ถูกกล่าวหาในการเข้าถึงพยานหลักฐานสำหรับใช้ต่อสู้คดี และผู้ถูกกล่าวหาไม่ต้องรอคอยการดำเนินการ ที่ไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดแล้ว ยังมีผลให้ส่วนราชการไม่ต้องรับภาระเกินจำเป็น ทั้งในแง่บุคลากรและงบประมาณ ที่จะต้องใช้ไปในการสอบสวนวินัยที่ยาวนานเกินสมควร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการตำรวจ ตามร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... www.royalthaipolice.go.th www.saranitet.police.go.th www.discipline.police.go.th ๑. แจ้งประกาศและให้แสดง ความคิดเห็นผ่าน Website ๒. ๓.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการตำรวจ ตามร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... สำรวจความคิดเห็นโดยมอบหมายให้ บช. และ บก. ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำรวจ ความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจในสังกัด

ท่านเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไข พ. ร. บ. ตำรวจแห่งชาติ พ. ศ ท่านเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๙๔ และมาตรา ๙๖ หรือไม่

ท่านเห็นด้วยในประเด็นที่มีการ แก้ไขตามร่าง พ. ร. บ ท่านเห็นด้วยในประเด็นที่มีการ แก้ไขตามร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... หรือไม่

ผลของการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๙๔ และมาตรา ๙๔/๑ และยกเลิกมาตรา ๙๖ ผลของการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๙๔ และมาตรา ๙๔/๑ และยกเลิกมาตรา ๙๖

Q: ผลทางกฎหมายเมื่อร่าง พ. ร. บ A : มีผลย้อนไปถึงข้าราชการที่ออกจากราชการไปก่อนวันที่ร่าง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ และรวมไปถึงการดำเนินการทางวินัยที่ดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ

Q: ใช้เกณฑ์อะไรในการกำหนดกรอบระยะเวลา ๓ ปี? A : กำหนดเวลา ๓ ปี เป็นการกำหนดโดยพิจารณาจากสถิติและข้อมูลการดำเนินการทางวินัยที่ผ่านมาว่าผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยสามารถดำเนินการและสั่งลงโทษให้แล้วเสร็จไม่เกิน ๓ ปี เว้นแต่เป็นเรื่องที่มีผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมาก หรือมีความสลับซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยก็สมควรเร่งรัดการดำเนินการและ สั่งลงโทษให้แล้วเสร็จโดยเร็วโดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลา ๓ ปี

Q: หากผู้บังคับบัญชาไม่ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายใน ๑ ปี หรือไม่สั่งลงโทษให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี จะมีผลเช่นไร? A : แยกเป็น ๒ กรณี ๑. ผลต่อบุคคลที่ถูกดำเนินการทางวินัย ไม่สามารถเอาผิดทางวินัยแก่ข้าราชการผู้นั้นได้อีก แต่ก็ยังคงมีความรับผิดในทางอาญาหรือทางแพ่งภายใต้เงื่อนไขเรื่องอายุความ ๒. ผลต่อผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย/ผู้มีอำนาจลงโทษ (ผู้บังคับบัญชา) - หากมีผู้หนึ่งผู้ใดหยิบยกขึ้นร้องเรียนกล่าวหาก็สามารถดำเนินการทางวินัยได้ - หากไม่มีผู้ใดหยิบยกก็คงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ แต่ก็อาจมีความรับผิดทางอาญาตามมาตรา ๑๕๗ ได้

Q: อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การดำเนินการทางวินัยใช้เวลาเกินกว่า ๓ ปี คืออะไร? A : อุปสรรคสำคัญ คือ การรอฟังผลคดีอาญา รวมถึงผลการชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. - หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๙๐๕/ว๔ ลง ๑๘ มี.ค.๐๙ - หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๙๐๕/ว๙ ลง ๖ ต.ค.๐๙ - คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๔๒/๒๕๔๙ “การดำเนินการทางวินัยไม่ต้องรอผลคดีอาญา และผลของคดีอาญาจะเป็นประการใดไม่ผูกมัดผู้ดำเนินการทางวินัยที่จะเห็นแตกต่างได้ หากได้กระทำไปโดยสุจริตและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว” - คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๗๗๓/๒๕๕๖ “ในการรับฟังพยานหลักฐานทางปกครองเป็นการดําเนินการคนละกระบวนการกับกระบวนการทางอาญาจึงไม่มีผลผูกพัน ที่จะต้องรอ ผลคดีอาญาให้ถึงที่สุดก่อนแต่อย่างใด”

Q: หากผู้บังคับบัญชาสั่งยุติเรื่องโดยไม่รอฟังผลคดีอาญา ภายหลังปรากฏว่ามีคำพิพากษาลงโทษ จะมีผลเช่นไร? A : การดำเนินการทางวินัยไม่จำต้องรอฟังผลทางคดีอาญาแต่อย่างใด เพราะถึงแม้เรื่องนั้น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจะมีความเห็นแตกต่างไป ผู้พิจารณาโทษทางวินัย ก็หาต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ (หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๙๐๕/ว๔ ลง ๑๘ มี.ค.๐๙ ) เนื่องจากโทษทางวินัยเป็นเพียงมาตรการทางการปกครองซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าโทษทางอาญา กระบวนการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงมีความเข้มงวดน้อยกว่าการดำเนินคดีอาญา โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. 849/2555 ) หากปรากฏภายหลังว่าข้าราชการผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก ผลของการได้รับโทษจำคุกเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งลงโทษปลดออกไล่ออกได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. 67/2547)

Q: ทำไมออกจากราชการไปแล้วยังคงต้องมีความรับผิดทางวินัย? A : โดยหลักคนที่ออกจากราชการไปแล้วไม่ควรถูกดำเนินการทางวินัย แต่เนื่องจากการกระทำความผิดวินัยบางกรณีเป็นเรื่องที่มีพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือก่อความเสียหายให้ทางราชการอย่างร้ายแรง หากมีการกระทำความผิดระหว่างรับราชการหรือถูกกล่าวหาก่อนออกจากราชการ ก็ควรถูกดำเนินการทางวินัย

Q: หากยกเลิกมาตรา ๙๖ ไปแล้ว หากข้าราชการตำรวจชิงลาออกก่อนถูกดำเนินการทางวินัย แล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่จะทำให้การดำเนินการทางวินัยมีช่องว่างหรือไม่ ? A : ไม่มีช่องว่าง เนื่องจากเมื่อข้าราชการตำรวจกลับเข้ารับราชการก็ย่อมมีสถานะเป็นข้าราชการที่สามารถถูกดำเนินการทางวินัยได้อยู่แล้ว ประกอบกับหลักเกณฑ์มาตรา ๙๔ ที่แก้ไขใหม่ ก็ทำให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยผู้นั้นเสมือนยังมิได้ออกจากราชการอีกด้วย