แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG โดย นางพูนทรัพย์ สกุณี ผอ.สบส. วันที่ 26 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น 21/05/62
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) ประกอบด้วยก๊าซโพรเพนประมาณ 60% และก๊าซบิวเทนประมาณ 40% ที่ถูกทำให้เป็นของเหลวโดยการเพิ่มความกดดัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน รถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม
แหล่งที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลว การกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน การแยกก๊าซธรรมชาติ ในโรงแยกก๊าซ (gas separation plant) ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
การจัดหาก๊าซปิโตรเลียมเหลว สัดส่วนการผลิต LPG ปี 2551 หน่วย: ตัน/เดือน แหล่งที่มา 2548 2549 2550 2551 โรงแยกก๊าซ 188,312 189,620 214,973 222,024 โรงกลั่นน้ำมัน 131,773 132,078 130,263 92,913 ปิโตรเคมี 16,557 18,154 19,960 20,325 รวมผลิตในประเทศ 336,642 339,853 365,196 335,262 นำเข้า - 37,673 รวมการจัดหา 372,935
วิกฤติการณ์น้ำมัน 2522 - 2524 จากวิกฤตการณ์น้ำมันโลกในปี 2522 - 2524 ทำให้ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันซึ่งรวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งในด้านราคาและปริมาณ รัฐจึงได้ตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ต่อมา รัฐได้ทยอยยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ยกเว้นก๊าซ LPG ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เดียวที่ถูกตรึงราคามาถึงปัจจุบัน
นโยบายก๊าซ LPG 2 ราคา เพื่อลดปัญหาการขยายตัวของการใช้ก๊าซ LPG ที่เกิดจากการบิดเบือนของราคา จึงจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ให้สะท้อนราคาที่แท้จริงมากขึ้น โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือน จึงมีนโยบายให้ปรับขึ้นราคาเฉพาะก๊าซ LPG ที่ใช้ในรถยนต์ และอุตสาหกรรม และเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากการจำหน่ายก๊าซ LPG ในสาขาดังกล่าว เพื่อจ่ายชดเชยการนำเข้า ซึ่งจะทำให้ในตลาดมีราคาก๊าซ LPG 2 ราคา คือ ก๊าซหุงต้มในราคาต่ำ และก๊าซ LPG รถยนต์และอุตสาหกรรม มีราคาสูงกว่า 21/05/62
มติ ครม. วันที่ 28 ม.ค. 52 ให้ชะลอการปรับราคาก๊าซ LPG ออกไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว ซึ่งจะเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน
การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ปี 2547 ปี 2551 หน่วย: ตัน/เดือน สาขาที่ใช้ 2547 2548 2549 2550 2551 ก๊าซหุงต้ม 126,097 133,676 143,431 157,028 176,964 รถยนต์ 18,751 25,215 38,227 47,654 64,632 โรงงานอุตสาหกรรม 37,478 38,279 43,393 50,923 55,276 ปิโตรเคมี 48,642 59,220 58,200 66,494 74,669 รวม 230,968 256,390 283,251 322,099 371,541
เปรียบเทียบปริมาณความต้องการใช้ LPG ปี 2551 พันตัน/เดือน Total LPG พันตัน/เดือน LPG - ก๊าซหุงต้ม 6.2% 11.8 % 3.8% 7.2 % พันตัน/เดือน พันตัน/เดือน LPG - รถยนต์ LPG - อุตสาหกรรม 7.7% 9.0% 11.3% 30.7 %
21/05/62
ปัญหา ภาระชดเชยการนำเข้า ลักลอบส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน อุปสรรคในการส่งเสริม NGV
การควบคุมการส่งออกก๊าซ LPG อำนาจตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 24 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ค้าน้ำมัน งดจำหน่ายหรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งชนิดใด หรือให้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องสำรองไว้ตามมาตรา 20 ในการนี้ อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ บทกำหนดโทษ มาตรา 47 ผู้ค้าน้ำมันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขตามมาตรา 24 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2551
สรุปสาระสำคัญของประกาศกรมฯ ผู้ส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 กรณีส่งออกก๊าซบรรจุถังหุงต้มผู้ส่งออกต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้ประทับอยู่ที่ถังก๊าซหุงต้ม
สรุปสาระสำคัญของประกาศกรมฯ ผู้ส่งออกก๊าซต้องขอหนังสือรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรในการปล่อยสินค้า การส่งออกก๊าซให้ส่งออกได้ เฉพาะที่หรือด่านศุลกากร ซึ่งส่งของออกได้ทุกประเภทตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กรณีผ่านเขตแดนทางบกให้ส่งออกได้ ณ จุดผ่านแดนถาวร เท่านั้น
นโยบายกำกับดูแลการส่งออกก๊าซแอลพีจี เงื่อนไขในการให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน 1. มีการร้องขอจากหน่วยงานรัฐในประเทศเพื่อนบ้าน 2. ปริมาณที่ส่งออกต้องเป็นการนำเข้ามาเพื่อส่งออก : ปัจจุบัน ปตท. เป็นผู้นำเข้า 3. ราคาเป็นไปตามข้อตกลงทางธุรกิจ