ครูปฏิการ นาครอด.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

สถานการณ์และการเตรียมความพร้อม การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
สถานการณ์และการเตรียมความพร้อม การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
โครเมี่ยม (Cr).
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย 2547
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2561
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
พฤติกรรม (Behavior) สิ่งเร้า ภายนอก ภายใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Autosome
World Time อาจารย์สอง Satit UP
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
บทที่ 11 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
รายวิชา การบริหารการศึกษา
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
ระบบย่อยอาหาร.
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?
ขดลวดพยุงสายยาง.
Structure of Flowering Plant
ศาสนาเชน Jainism.
การแบ่งเซลล์ (CELL DIVISION)
กราฟการเติบโตของสิ่งมีชีวิต
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
วัฏจักรของน้ำ + พายุหมุนเขตร้อน
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ครูปฏิการ นาครอด

ระบบ สืบพันธุ์ (Reproductive system )

การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์

ความสำคัญของการสืบพันธุ์ 1.ทำให้เกิดหน่วยของสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ ทดแทนชีวิตเดิมที่ตายไป 2.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทำให้เกิด ความผันแปรของลักษณะ ซึ่งเป็นกลไกของการดำรงชีวิต 3.การสืบพันธุ์เป็นตัวตัดสินว่าอะไรเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่

ประเภทของการสืบพันธุ์ การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ 1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction) 2.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) สัตว์บางชนิดสามารถสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ เช่น ไฮดรา การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดราจะใช้วิธีการแตกหน่อ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูงได้แก่ 1.) การแตกหน่อ (Budding) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ

2.) การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย

3.) พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำ

4.) การงอกใหม่ (Regeneration) ได้แก่ ดาวทะเล พลานาเรีย

5.) การสร้างสปอร์ (Spore Formation) ได้แก่ เชื้อราไฮฟรา

6.) การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation) เช่น สาหร่ายทะเล(สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ผลิตสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยการรวมตัวของหน่วยพันธุกรรมการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์เรียกว่าปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นเซลล์เริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป

อสุจิ (Sperm) มีขนาดเล็กกว่าไข่มาก ส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ หัว (head) ลำตัว (body) และหาง (tail) ส่วนหัวจะมีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ เคลื่อนที่โดยใช้หางตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่ ไข่ (Egg) ลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ ไข่ของสัตว์มักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อเลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายในไข่เซลล์ไข่ส่วนมากมักจะมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม

เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิด การปฏิสนธิ (Fertilization) ขึ้นการปฏิสนธิ (Fertilization) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.) การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization) ตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมีย ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง

2. )การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization)

การสืบพันธุ์ของคน การสืบพันธุ์ของคนมีการรวมตัวกันของอสุจิกับเซลล์ไข่ในร่างกายของเพศหญิงเกิดเป็นไซโกต จากนั้นไซโกตจึงเริ่มแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอ เอ็มบริโอทีมีอายุเข้าสู่เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์และเมื่อครบ 9 เดือน จะคลอดออกมาเป็นทารก

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย 1. อัณฑะ (Testis) เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุม ลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น การมีหนวดเครา เสียงห้าว เป็นต้น ภายในอัณฑะจะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminiferous Tubule) มีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ ขดไปขดมาอยู่ภายใน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ หลอดสร้างตัวอสุจิมีข้างละประมาณ 800 หลอด แต่ละหลอดมีขนาดเท่าเส้นด้ายขนาดหยาบ และยาวทั้งหมดประมาณ 800 เมตร

2. ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งตัวอสุจิจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส 3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ยาวประมาณ 6 เมตร ขดทบไปมา ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิจนตัวอสุจิเติบโตและแข็งแรงพร้อมที่จะปฏิสนธิ

4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ 5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น และสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ 6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ

7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper gland) ทำหน้าที่หลั่งสารหล่อลื่นในท่อปัสสาวะ 8. ลึงค์หรือองคชาติ (Penis) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากร่างกาย อยู่ระหว่างอัณฑะทั้ง 2 ข้าง ภายในมีท่อปัสสาวะ มีช่องเปิดสำหรับขับน้ำอสุจิและน้ำปัสสาวะออกมา

โดยทั่วไปเด็กชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นประมาณ 12-13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ตัวอสุจิประกอบด้วยด้านส่วนหัวซึ่งภายในมีนิวเคลียสและส่วนหางที่ยาวช่วยในการเคลื่อนที่ ในการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้ง จะมีน้ำอสุจิประมาณ 3-4 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวอสุจิประมาณ 350-500 ล้านตัว ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่อยู่ในร่างกายเพศหญิงได้ประมาณ 2 วันหรือ 48 ชั่วโมง

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

อวัยวะที่สำคัญของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย 1. รังไข่ (Ovary) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2-36 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม และมี 2 อันอยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างทำหน้าที่ ดังนี้ 1.1 ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่ง เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากรังไข่ทุกรอบเดือนเรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือ เมตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาร 24 ชั่วโมง

1.2 สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ •  อีสโทรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก ตะโพกผาย หน้าอกและอวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น •  โพรเจสเทอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับอีสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับเกี่ยวกับการเจิญ ของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว

2. ท่อนำไข่ (Oviduct) หรือปีกมดลูก (Fallopian Tube) เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ภายในกลวง มีส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนาดปกติเท่ากับ เข็มถักไหมพรมยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมรปลายข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ เรียกว่า ปากแตร (Funnel) บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้นๆ ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกมาจาก รังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่

3. มดลูก (Uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู หรือรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกราน ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ภายในเป็นโพรง ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์ 4. ช่องคลอด (Vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางออกของทารก เมื่อครบกำหนดคลอด และยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาด้วย

ประจำเดือน (Menstruation)

การตั้งครรภ์และการคลอด การตกไข่ คือ การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน ถ้านับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ วันที่ 13-15 เมื่อไข่ได้รับการผสม จะมีการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันจะเคลื่อนที่จากท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งผนังมดลูกมีลักษณะที่หนามากขึ้นเพื่อเตรียมตัวสำหรับรับไข่ที่ได้รับการผสม เมื่อเอ็มบริโอฝังตัวกับผนังมดลุกแล้วนั้น ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่ง มีอายุได้ 8 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับคน และกระดูกในร่างกายจะเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็งอายุ 38 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน คลอดออกมาเป็นทารก

https://www. youtube. com/watch. v=1zPRu3rQdV0https://www. youtube https://www.youtube.com/watch?v=1zPRu3rQdV0https://www.youtube.com/watch?v=xxo54wfoFhU https://www.youtube.com/watch?v=zzZxUpcFU0A

ลักษณะของการเจริญเติบโตในสัตว์ อะเมทามอโฟซิส Ametamorphosis หมายถึง การเจริญเติบโตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

เมตามอร์โฟซีส (metamorphosis) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างหลังจากที่ออกมาจากไข่หรือออกมาจากช่องสืบพันธุ์เพศเมียแล้ว โดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่างจากพ่อแม่เป็นขั้น ๆ จนเป็นตัวเต็มวัย มีการเกิดอวัยวะใหม่ หรือบางส่วนหายไป ได้แก่ ตั๊กแตน แลงสาป ชีปะขาว ผีเสื้อ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ ชีปะขาว

เมตามอร์โฟซีสแบบสมบูรณ์ (Completemetamorphosis) เช่น ผีเสื้อ