แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory บทที่ 2 แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
แนวความคิดทางการจัดการ 1. แนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Approach) 2. แนวความคิดพฤติกรรมมนุษย์ (Behavioral Approach) 3. แนวความคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) 4. แนวความคิดการจัดการสมัยใหม่ (Modern Approach) แนวความคิดการจัดการสมัยใหม่ แนวความคิดเชิงปริมาณ แนวความคิดพฤติกรรมมนุษย์ แนวความคิดแบบดั้งเดิม 1880 1890 1900 1910 1920 1930 1940 1950 1960 1970 1980 1990 2000 2010 รูปที่ 2.1 แนวความคิดการจัดการแต่ละยุค
1. แนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Approach) 1.1 การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) 1.2 แนวความคิดหลักการบริหาร (Administrative Management Approach) 1.3 แนวความคิดแบบตามระบบราชการ (Bureaucracy Approach) 2. แนวความคิดการบริหารเชิงพฤติกรรมมนุษย์ (Behavioral Approach) 3. แนวความคิดการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) 4. แนวความคิดการจัดการสมัยใหม่ (Modern Approach) 4.1 ทฤษฎีระบบ (System Theory) 4.2 ทฤษฎีสถานการณ์ (Situation Theory) 4.3 ทฤษฎี Z (Z Theory) 4.4 การรื้อปรับระบบ (Reengineering) 4.5 องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้
1. แนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Approach) 1.1 การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเลอร์ (Frederick Winslow Taylor) บิดาการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ (Father of Scientific Management) การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study)
หลักการที่สำคัญของการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. ต้องพัฒนา “ศาสตร์” (Science) ของงานแต่ละงานประกอบด้วย วิธีการเคลื่อนไหว มาตรฐานการปฏิบัติงานสภาพการทำงานที่เหมาะสม จะทำให้ค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด (One Best Way) ของการทำงานได้ 2. ต้องสรรหาคัดเลือกพนักงานที่มีความสามารถให้เหมาะสมกับงาน 3. ต้องทำการฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจวิธีการทำงานและมีการจ่ายผลตอบแทนตามสัดส่วนของการทำงาน ผู้ที่ทำงานมากก็จะได้ผลตอบแทนที่มาก หรือเรียกว่า ระบบการจ่ายตามชิ้นงาน (A Piece Rate System) 4. ต้องสนับสนุนพนักงานด้วยการวางแผนการทำงานและมีการแบ่งงานกันทำ (Division of Work) ทำให้คนงานเกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง (Specialization) Ex. Ford and Scientific Management
รูปที่ 2.2 จุดเน้นแนวความคิดของเฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเลอร์ งานที่ทำให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร วิธีการทำงาน คนงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ ฯ เป็นปัจจัยประกอบในการทำงาน ให้ความสำคัญกับ รูปที่ 2.2 จุดเน้นแนวความคิดของเฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเลอร์
ปัญหา แนวความคิดนี้สนใจเฉพาะการใช้เงินอย่างเดียวจูงใจให้คนทำงาน แต่ไม่ได้คำนึงถึงด้านสังคมและจิตวิทยา 2. งานที่ทำจะเป็นงานที่จำเจ ซ้ำซาก จนคนงานเบื่อหน่าย ทำให้การผลิตมีคุณภาพงานที่ต่ำ 3. สหภาพแรงงานต่อต้านอย่างรุนแรง เพราะเชื่อว่าฝ่ายบริหารปฏิบัติต่อคนเหมือนเครื่องจักร 4. ไม่ให้ความสำคัญความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสังคม และปัจจัยภายนอกอื่นๆ
ผู้สนับสนุนแนวความคิดการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ 1. เฮนรี่ แอล แกนท์ (Henry L.Gantt) พัฒนาระบบการจ่ายผลตอบแทนใหม่ ประกันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่คนงานจะได้รับ แม้ว่าจะทำงานไม่ถึงมาตรฐานก็ตาม แต่ถ้าทำงานได้ถึงมาตรฐานก็จะได้รับโบนัส
รูปที่ 2.4 แผนผังการทำงานของแกนท์ (Gantt chart) กิจกรรม 1 กิจกรรม 2 กิจกรรม 3 กิจกรรม 4 ตุลาคม มกราคม เมษายน มิถุนายน รูปที่ 2.4 แผนผังการทำงานของแกนท์ (Gantt chart) *
2. แฟรงค์ และ ลิเลียน กิลเบอริ์ธ (Frank and Lillian Gilbreth) ศึกษาการเคลื่อนไหวและลดความเหนื่อยและให้สนใจการปรับปรุงสวัสดิการคนงาน ศึกษาการเคลื่อนไหวจากภาพยนตร์ที่ได้บันทึกจากช่างเรียงอิฐ เธอร์บลิก (Therblig) Ex.Bricklaying Ergonomics
1.2 แนวความคิดหลักการบริหาร (Administrative Management Approach) อองรี ฟาโยล (Henry Fayol) กำหนดหน้าที่ทางการจัดการ 5 หน้าที่และหลักการบริหาร 14 ข้อ หน้าที่ทางการจัดการ 5 หน้าที่ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดองค์การ (Organizing) 3. การสั่งการ (Commanding) 4. การประสานงาน (Coordinating) 5. การควบคุม (Controlling)
หลักการบริหาร 14 ข้อ 1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Work) 2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 3. ความมีระเบียบวินัย (Discipline) 4. การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว (Unity of Command) 5. การมีเป้าหมายเดียวกัน (Unity of Direction) 6. ผลประโยชน์ส่วนตนมีความสำคัญน้อยกว่าผลประโยชน์ขององค์การ (Subordination of Individual to the General Interest) 7. การจ่ายค่าตอบแทน (Remuneration and Method)
หลักการบริหาร 14 ข้อ (ต่อ) 8. การรวมอำนาจ (Centralization) 9. สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain) 10. ความมีระเบียบ (Orders) 11. หลักความเสมอภาค (Equity) 12. ความมั่นคงในการทำงาน (Stability of Tenure) 13. ความคิดริเริ่ม (Initiative) 14. ความสามัคคี (Esprit de Corp)
ผู้สนับสนุนแนวความคิดหลักการบริหาร แมรี่ ปารค์เกอร์ ฟอลเลท (Mary Parker Follette) ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของพนักงานในองค์การ เน้นการประสานงานของผู้ปฏิบัติงาน
1.3 แนวความคิดแบบตามระบบราชการ (Bureaucracy Approach) แม็กซ์ เว็บเบอร์ (Max Weber) องค์การต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์การขนาดใหญ่ ควรมีการบริหารงานอย่างโปร่งใสทุกด้าน และมีระเบียบแบบแผนในการทำงานอย่างชัดเจน Ex. Max Weber
2. แนวความคิดการบริหารเชิงพฤติกรรมมนุษย์ (Behavioral Approach) เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เริ่มเห็นความสำคัญและคุณค่าของมนุษย์มากขึ้น การทดลองฮอร์ธอร์น (Hawthorne Experiment) 1. การศึกษาในห้องทำงาน (Room Studies) 2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ (Interview Studies) 3. การศึกษาจากการสังเกต (Observation Studies) ผู้บริหาร คนงาน งานที่ทำให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการทำงาน เครื่องจักร วัตถุดิบฯ เป็นปัจจัยประกอบในการทำงาน ให้ความสำคัญกับ
การให้รางวัลทางใจที่จับต้องไม่ได้ (Non-economic Rewards) เช่น เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น จะทำให้การทำงานดีขึ้น ”เงิน” ไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด
ผู้สนับสนุนแนวความคิดการบริหารเชิงพฤติกรรมมนุษย์ 1. อับราฮัม แมสโลว์ (Abraham Maslow) * ความต้องการทางด้านความสำเร็จ (Self-Actualization Needs) ความต้องการทางด้านการยกย่อง (Esteem Needs) ความต้องการทางสังคม (Sociological Needs) ความต้องการทางด้านความปลอดภัยและมั่นคง (Safety and Security Needs) ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
ตารางที่ 2.1 พฤติกรรมตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y 2. ดักลาส แมกเกรเกอร์ (Douglas McGregor) ทฤษฎี X ทฤษฎี Y 1. ต้องมีผู้ควบคุมดูแลจึงจะทำงาน 2. คนมักไม่มีความทะเยอทะยาน 3. คนมักไม่ชอบรับผิดชอบ 4. คนมักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 5. ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ 1. ชอบที่จะทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ ได้รับมอบหมาย 2. มีเป้าหมายและกระตือรือร้น 3. คนมีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบ 4. มีเหตุผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 5. รู้จักควบคุมพฤติกรรมตนเอง ตารางที่ 2.1 พฤติกรรมตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y
3. แนวความคิดการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) เฮอร์เบอดร์ เอ. ไซมอนด์ (Herbert A. Simon) * บิดาการจัดการด้านการตัดสินใจ (Father of Decision Making) การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณประกอบด้วยแนวความคิดที่สำคัญ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operation Research) 2. การจัดการด้านดำเนินงาน (Operation Management) 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
4. แนวความคิดการจัดการสมัยใหม่ (Modern Approach) 4.1 ทฤษฎีระบบ (System Theory) ภายนอกองค์การ : สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ตลาด (Market) ภายในองค์การ ปัจจัยนำเข้า (Input) คน (Man) เครื่องจักร (Machine) เงิน (Money) วัตถุดิบ (Material) กระบวนการ (Process) การจัดการ(Management) ผลลัพธ์ (Output) สินค้า (Product) บริการ (Service) รูปที่ 2.15 ระบบของธุรกิจ พิจารณาองค์การในฐานะเป็นระบบ (System) ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยองค์การจะมีกลุ่มงานย่อย (Subsystem) ที่เกี่ยวข้องและต้องการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดขององค์การจะมีผลกระทบต่อส่วนงานอื่นๆ ของระบบ ผู้บริหารควรมองภาพรวมของระบบ
4.2 ทฤษฎีสถานการณ์ (Situation Theory) ทฤษฎีนี้ผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนมากย่อมต้องหาวิธีการจัดการที่ดี นำมาใช้แก้ไข ในสถานการณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันไป *
รูปที่ 2.16 วิลเลียม จี อูชิ (William G. Ouchi) 4.3 ทฤษฎี Z (Z Theory) รูปที่ 2.16 วิลเลียม จี อูชิ (William G. Ouchi) ทฤษฎี A เป็นแนวความคิดการจัดการแบบอเมริกัน ทฤษฎี J เป็นแนวความคิดการจัดการแบบญี่ปุ่น ทฤษฎี Z เป็นแนวความคิดการจัดการที่ผสมผสานระหว่าง แนวความคิดแบบอเมริกันและแบบญี่ปุ่น
4.4 การรื้อปรับระบบ (Reengineering) รูปที่ 2.17 ไมเคิล แฮมเมอร์ (Michael Hammer) และเจมส์ แชมปี (James Champy) ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างถอนรากถอนโคน(Radical Change) โดยมีการปรับการดำเนินงานจาก การบริหารงานตามหน้าที่เป็นการบริหารงานตามกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management)
หลักการของการรื้อปรับระบบ 1. พยายามคิดทบทวนกระบวนการทำงานด้วยความคิดใหม่ โดยไม่ยึดติดรูปแบบเดิม 2.มีการออกแบบกระบวนการทำงานและวิธีการทำงาน โดยพิจารณานำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้ 3.ได้รับการสนับสนุนโดยผู้บริหาร โดยลดการควบคุมและกำกับและเสริมอำนาจ การปฏิบัติงานตามกระบวนการธุรกิจมากขึ้น
รูปที่ 2.18 ปีเตอร์ เอ็ม เซนเก้ (Peter M. Senge) 4.5 องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ * รูปที่ 2.18 ปีเตอร์ เอ็ม เซนเก้ (Peter M. Senge) เสนอความคิดในการมองภาพรวมขององค์การที่ต้องมีการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ที่ดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)
วินัย 5 ประการขององค์การเรียนรู้ วินัยประการที่ 1 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) วินัยประการที่ 2 รูปแบบวิธีคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Models) วินัยประการที่ 3 การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Shares Vision) วินัยประการที่ 4 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) วินัยประการที่ 5 ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ (Systems Thinking)
เชื่ออีก 10 ปีจีน-อินเดียจะมีอิทธิพลต่อโลกเทียบเท่าสหรัฐฯ ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 จากผลสำรวจชาวแคนาดาส่วนใหญ่ (67 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าอิทธิพลของจีนและอินเดียในโลกใบนี้ จะก้าวขึ้นมาทาบสหรัฐอเมริกา ภายในทศวรรษหน้า ขณะเดียวกันมีชาวแคนาดาอีกกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อว่านัยสำคัญที่กำลังเติบโตขึ้นของจีนและ อินเดียในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ คือ โอกาสอันดีต่อแคนาดา มากกว่าที่จะเป็นภัยคุกคาม โพลของสถาบันอันกัสรีดระบุว่า 36 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม 2,659 ราย มองว่า จีนสามารถครอบงำศักยภาพการส่งออกของแคนาดาเกือบทั้งหมด เปรียบเทียบกับสหรัฐฯ คู่ค้าใหญ่ที่สุดของแคนาดาที่มีเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม มีเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ของชาวแคนาดาที่เชื่อว่าการนำเข้าสินค้าจากจีนมีความปลอดภัย ทั้งนี้ 66 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวแคนาดายังบอกว่าความเติบโตทางกองทัพของจีน อาจเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปรียบเทียบกับ 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 2 ปีก่อนและมีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์ ที่เชื่อว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจีนดีขึ้นกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ลดลงจาก 63 เปอร์เซ็นต์ ของการสำรวจครั้งก่อนในปี 2006 คำถาม ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการที่จีนและอินเดียจะขึ้นมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจเทียบเท่าสหรัฐฯ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จงอธิบายเหตุผล และถ้าแนวโน้มนี้เป็นจริง ผู้บริหารควรมีการปรับตัวและใช้ทฤษฎีการจัดการใดบ้าง เพื่อใช้ในการบริหาร อันจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าต่อไป
Any Problem ???