ปัญหาสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราที่มีปริมาณมากมายมหาศาลสุดที่จะนับได้ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ พืช สัตว์ คน และสารต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น แต่ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ได้แก่ พลังงานต่าง ๆ เช่น พลังงานความร้อน แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหา หมายความว่า สภาพของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินที่กล่าวกันว่า ดินเสีย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ และแสง เสียงเป็นพิษ
สภาวะที่เป็นพิษและที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 1. อากาศที่หายใจไม่บริสุทธิ์ มีเขม่า ควัน ปะปนมา ตลอดจนมีกลิ่นเหม็น และมีก๊าซที่ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์ 2. น้ำท่วมไร่นา บ้านเรือน ถนน เสียหายโดยฉับพลัน 3. น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูง และไหลเข้ามาปนกับน้ำจืดใน แม่น้ำลำคลองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนและพืชที่ปลูกไว้ริมน้ำ 4. ฝนเป็นกรด ทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทำลายดิน ทำให้ปลูกพืชไม่งอกงาม 5. โลกจะร้อนขึ้น 6. ฤดูกาลจะแปรปรวน 7. ชั้นโอโซนถูกทำลาย และไม่ช่วยกรองรังสีอันตราย ทำให้ตาเป็นต้อ และผิวหนังเป็น มะเร็ง
สารมลพิษ หมายถึงสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน ในน้ำ และในอากาศ มีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ พืชและสัตว์ ถ้าแยกประเภทสารมลพิษออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ 1. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจน และคลอรีน เป็นต้น 2. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์ 3. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น เขม่า ควัน สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้ว สลายตัวยาก เช่น ถุงพลาสติก โฟม และไฟเบอร์ เป็นต้น ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไป
อากาศไม่บริสุทธิ์.... สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ กำมะถัน ไนโตรเจน และคลอรีน เป็นต้น
น้ำท่วม.. ผลกระทบจากป่าไม้ที่ถูกทำลาย....
น้ำแข็งละลาย เพราะอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น จากการทำอุตสาหกรรม...
ภาวะโลกร้อน สัณญานอันตราย https://www.youtube.com/watch?v=wVcVMD9KdeM
การอุตสาหกรรม.... หมายถึง การแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นผลผลิตที่สามารถใช้ ประโยชน์ได้ ซึ่งกระบวนการแปรรูปของวัตถุดิบด้วยเทคโนโลยีระดับ ต่างๆ ตั้งแต่การผลิต วัตถุดิบ จนถึงผลผลิตขั้นสุดท้าย ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่เป็นสารเคมีที่เป็นพิษ โลหะหนัก สารฆ่าแมลง เชื้อโรคในรูปของน้ำ เสีย อากาศเสีย หมอก ควัน ฝุ่นละออง ความสั่นสะเทือน ความร้อน
สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้ว สลายตัวยาก เช่นถุงพลาสติก โฟม และไฟเบอร์ .... ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไป
การตัดไม้ทำลายป่า.... 1.เพราะต้องการไม้ที่นับวันจะหายาก 2.ต้องการพื้นที่ทำการเกษตร 3.ต้องการพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัย หรือ สร้างถนน เนื่องจากประชากรมาก
อากาศเป็นพิษ ใน กทม https://www.youtube.com/watch?v=FZ3z--mNCjM
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด 2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก 3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก 4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสีย ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน 5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น 6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน
Rethink หรือการเปลี่ยนความคิด Reuse หรือการใช้ซ้ำ Reduce หรือการลดการใช้ Return หรือการตอบแทน Rethink หรือการเปลี่ยนความคิด Repair หรือการซ่อมแซม Recycle หรือ การนำกลับมาใช้ใหม Refuse หรือการปฏิเสธ เราต้องรู้จักการปฏิเสธสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายโลกของเรา
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม..... 1.องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) 2.องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) 3.องค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (International Tropical Timber Organization: ITTO) 4.คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) 5.โครงการสิ่งแวดล้อมล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) 6.โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP)
7.องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization: UNIDO) 8.องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) 9.องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) 10.ธนาคารโลก (World Bank) 11.ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) 12.กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund: WWF) 13.องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)
ภัยธรรมชาติของโลก และของไทย https://www.youtube.com/watch?v=T2ZRlHVOVDM
การพัฒนาแบบยั่งยืน ปัญหา สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาเศรษฐกิจโดยต้องพิจารณาว่าจะเกิดปัญหาแวดล้อมตามมาหรือไม่ สร้างความตระหนัก แก่ประชาชน และหน่วยงาน ในโลก ไม่มีฟรี มีราคาของมัน การพัฒนาเศรษฐกิจ จะมีต้นทุนด้านสิ่งปวดล้อม คนไทย จะสร้างสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเศรษฐกิจ ให้สมดุลกันได้อย่างไร
เราต้องเปลี่ยนชีวิต เป็นโจทย์สำคัญของนักเศรษฐศาสตรืที่ต้องคิด สำหรับเรา ทำได้อย่างไร https://www.youtube.com/watch?v=sgmeWm94_Qc นาที่ ที่ 1.24