หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นางสาวดวงมณี นารีนุช ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี
หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กระทำพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูล กระทำพร้อมๆ กันไปตลอด ระยะเวลาของการเก็บรวบรวมข้อมูล อาศัยข้อมูลที่เป็นบริบทของปรากฏการณ์นั้นๆ เป็นแนวทางในการ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความเข้าใจถึงความหมายและความสัมพันธ์ คำนึงถึง ทัศนะคนใน หมายถึง ผู้ที่ให้ข้อมูลที่อยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ ทัศนะคนนอก หมายถึง มุมมองของผู้วิจัย
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มี 2 วิธีหลักๆ ดังนี้ วิธีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป มี 3 ชนิด คือ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic Induction) ตีความสร้าง ข้อสรุปจากสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ที่มองเห็น การวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) มี 2 วิธี คือ แบบใช้ทฤษฎี แยกชนิดในเหตุการณ์นั้นๆ โดยการยึดทฤษฎีเป็นกรอบ แบบไม่ใช้ทฤษฎี จำแนกข้อมูลที่จะวิเคราะห์ตามความเหมาะสมกับข้อมูล วิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล (Constant Comparison) สังเกต รวบรวมข้อมูล หลายๆ อย่าง นำมาแยกตามชนิดและนำมา เปรียบเทียบกัน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป (ต่อ) การถอดเทปข้อมูล การจัดเตรียมข้อมูล การให้รหัส (coding) จัดหมู่ข้อมูล (Category) ทำดัชนีข้อมูล ทำข้อสรุปชั่วคราว ตัดทอนข้อมูล ลองเขียนข้อสรุปแต่ละเรื่อง เสนอข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ประมวลและสรุปข้อเท็จจริง พิสูจน์บทสรุป
วิธีที่ 2 การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) บรรยายเนื้อหาของข้อความหรือเอกสารโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณอย่าง เป็นระบบ และเน้นความเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) อิงกรอบทฤษฎี การ บรรยายจะเน้นเนื้อหาตามที่ปรากฏไม่เน้นการตีความหรือการหาความหมายที่ ซ่อนไว้
ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา (ต่อ) ตั้งกฎเกณฑ์สำหรับคัดเลือกเอกสาร และหัวข้อ วางเค้าโครงของข้อมูล คำนึงถึงบริบท หรือสภาพแวดล้อมประกอบของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ วิเคราะห์เนื้อหา ตามเนื้อหาที่ปรากฏ (Manifest Content) ใน เอกสารมากกว่ากระทำกับเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ (Latent Content)