Statistical Method for Computer Science วิธีการทางสถิติสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ ประวิทย์ พิมพิศาล http://prawitp.reru.ac.th
เหตุผลของการตรวจสอบเครื่องมือวัด 1. ความเชื่อถือได้ (Reliability) ตรวจสอบความสม่ำเสมอ แน่นอน คงที่ ของเครื่องมือวัด 2. ความตรง (Validity) วัดในสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือไม่ ถูกต้อง ตรงประเด็น และครบถ้วนเพียงใด 3. ความเป็นปรนัย (Objectivity) ตรวจสอบความชัดเจนของคำถาม ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน มีความชัดเจนในการแปรความหมาย 4. อำนาจจำแนก (Discrimination) ตรวจสอบว่าเครื่องมือวัดนั้นสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างในเรื่องที่ศึกษาได้ 5. ความยากง่าย (Difficulty) เป็นการตรวจสอบโดยเน้นเฉพาะเครื่องมือวัดที่เป็นแบบทดสอบ เช่น แบบวัดความถนัด วิธีที่ได้รับความนิยม
ความเชื่อถือได้ เครื่องมือวัดมีความสม่ำเสมอ คงที่ แน่นอน มากน้อยเพียงใด เครื่องมือวัดมีความน่าเชื่อถือสูง ถ้าให้ผลการวัดที่คงที่ ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตาม เครื่องมือวัดมีความน่าเชื่อถือต่ำ ถ้าผลการวัดแต่ละครั้งไม่มีความแน่นอน ถ้าเครื่องมือไม่มีความน่าเชื่อแล้วเครื่องมือนั้นมักจะไม่มีความตรงด้วย
ความเชื่อถือได้ การทดสอบความเชื่อถือได้ ค่าความเชื่อมั่นมีค่าระหว่าง 0-1 ค่าที่มากแสดงว่า เครื่องมือวัดมีความน่าเชื่อถือสูง ค่าสูงสุดคือ 1 แสดงว่าเครื่องมือวัดนั้นมีความน่าเชื่อถืออย่างสมบูรณ์
ความเชื่อถือได้ วิธีการวัดความน่าเชื่อถือ แบบวัดซ้ำ (Test-Retest) เป็นการทดสอบเครื่องมือวัดกับคนกลุ่มเดียวกันสองครั้ง ในเวลาต่างกัน ลักษณะการคำนวณจะเป็นการนำคะแนนที่ได้จากสองชุดมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูง แสดงว่าเครื่องมือนั้นมีความน่าเชื่อถือสูง ในการทดสอบไม่ควรทิ้งระยะเวลากันห่างเกินไป เพราะผู้ตอบอาจมีความเห็นเปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การสรุปความเชื่อถือค่าที่ต่ำเกินจริง
ความเชื่อถือได้ วิธีการวัดความน่าเชื่อถือ แบบคู่ขนาน (Parallel Form) เป็นการใช้เครื่องมือวัด 2 ชุด ที่มีวัตถุประสงค์ในการวัดสิ่งเดียวกัน ทั้งสองชุดสามารถทดแทนกันได้ ทั้งสองชุดมีค่าความแปรปรวนของคำถามและความคลาดเคลื่อนที่เท่ากัน มีขั้นตอนการทดสอบเหมือนกับ แบบวัดซ้ำ แต่เป็นการแก้ปัญหาการทิ้งช่วงเวลาในการทดสอบออกไปให้เหลือเพียงขั้นตอนเดียว
ความเชื่อถือได้ วิธีการวัดความน่าเชื่อถือ แบบสอดคล้องภายในชุดเดียวกัน (Internal Consistency) เป็นการวัดเพียงครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาจากกรณีที่ผู้ตอบไม่ได้ให้ความร่วมมือ หรือหาผู้ตอบคนเดิมไม่ได้ มีสองวิธีคือ แบบแบ่งครึ่ง (Split-Half) เป็นการแบ่งเครื่องมือออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะคู่ขนานที่มีข้อคำถามคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน โดยแต่ละส่วนหรือแต่ละชุด ให้คำนวณหาคะแนน แล้วนำคะแนนสองชุดนี้ไปหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบ Cronbanch’s Alpha เป็นค่าที่ใช้วัดความสอดคล้องภายในคำตอบของเครื่องมือวัด เป็นวิธีที่ใช้กันมากเพราะ ไม่ต้องวัดซ้ำหรือแบ่งครึ่ง
ความเชื่อถือได้ การเตรียมข้อมูลก่อนการทดสอบความเชื่อถือได้ การให้คะแนนกับคำตอบต่างๆ จะพบว่าลักษณะหรือระดับข้อมูลของคำตอบจะมีทั้งต่างและเหมือนกัน ซึ่งจะต้องใช้วิธีการทดสอบความเชื่อถือได้ที่แตกต่างกันด้วย ดังนี้ กรณีคะแนนที่ให้กับข้อคำถาม มีหน่วยเหมือนกัน ให้พิจารณาข้อคำถามบางข้ออาจจะต้องสลับคะแนน เช่นคำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจ คำถามแง่บวก 54321 : มากที่สุด น้อยที่สุด คำถามแง่ลบ 12345 : มากที่สุด น้อยที่สุด กรณีคะแนนที่ให้กับข้อคำถาม มีหน่วยไม่เหมือนกัน จะต้องปรับหน่วยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก่อนด้วย Z-Score จึงทำการทดสอบความเชื่อถือได้
ความตรง ความตรงหรือความถูกต้อง เป็นการทดสอบเครื่องมือวัดว่าสามารถวัดได้ ตรงตามที่ต้องการศึกษาหรือไม่ ความตรงที่นิยมใช้กับแบบสอบถามคือ ความตรงตามเนื้อหา (Content Va lidity) เป็นการวัดความสอดคล้องของเนื้อหาในแบบสอบถามกับสิ่งที่ต้องการ ศึกษา การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ อาจตรวจสอบเองโดยพิจารณาจาก สิ่งที่ต้องการศึกษา หรืออาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ การให้คะแนนของผู้ชาญแบ่งเป็น 4 ระดับคือ 1 คำถามไม่สอดคล้องกับคำนิยามเลย 2 คำถามจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงอย่างมาก 3 คำถามจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงเล็กน้อย 4 คำถามมีความสอดคล้องกับนิยาม การคำนวณ CVI (Content Validity Index) คำนวณจากจำนวนของ คำถามที่ได้คะแนน 3 และ 4 หารด้วยจำนวนข้อทั้งหมด และควรมีค่า 0. 8 ขึ้นไป
การใช้ SPSS ในการตรวจสอบเครื่องมือวัด คำสั่งที่โปรแกรม SPSS ใช้สำหรับการวิเคราะห์ความเชื่อถือนั้น จะเรียกผ่านคำสั่ง Analyze Scale Reliability Analysis..
การใช้ SPSS ในการตรวจสอบเครื่องมือวัด Alpha เป็นวิธีแบบ Cronbanch’s Alpha Split-half เป็นวิธีการแบ่งครึ่ง Guttman เป็นการคำนวณค่าต่ำสุดของความเชื่อถือได้ที่แท้จริง Parallel เป็นวิธีแบบคู่ขนาน Strictly parallel เป็นวิธีที่คล้ายกับ Parallel แต่เพิ่มเงื่อนไขที่ค่าเฉลี่ยของแต่ละคำถามต้องเท่ากัน
การใช้ SPSS ในการตรวจสอบเครื่องมือวัด แสดงค่าความแปรปรวนร่วมและสัมประสิทธิ์สหพันธ์ แสดงค่าสถิติพรรณนาของแต่ละข้อคำถาม แสดงตาราง ANOVA สรุปค่าสถิติในภาพรวม คำนวณค่าสถิติทดสอบ
ตัวอย่างที่ 1 แบบทดสอบวิชาคอมพิวเตอร์มี 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน และจำนวนผู้เข้าสอบมี 10 คน คะแนนสอบที่ได้เป็นดังตาราง ให้ทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดโดยใช้วิธี Cronbach’s Alpha และให้คำนวณหาค่าสถิติเชิงพรรณนาในภาพรวม ให้ตรวจสอบว่า คำถามข้อใดเมื่อตัดออกแล้วจะทำให้ความเชื่อถือของแบบทดสอบสูงขึ้น
ตัวอย่างที่ 2 บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ออนไลน์ ต้องการเข้ามาสอบถามข้อคิดเห็นของลูกค้าเกี่ยวกับความพึงพอใจ โดยหัวข้อคำถามมีดังนี้ คุณภาพของสินค้า (p1) ราคาสินค้า (p2) การรับประกันคุณภาพของสินค้า (p3) ความหลากหลาย (p4) ความรวดเร็วในการสั่งซื้อ (p5) ความปลอดภัยในการชำระเงิน (p6) กิจกรรมส่งเสริมการขาย (p7) ระดับความพึงพอใจมี 5 ระดับคือ 5 มากที่สุด, 4 มาก, 3 ปานกลาง, 2 น้อย, 1 น้อยมาก
ตัวอย่างที่ 2 (ต่อ) จากรายละเอียดของแบบสอบถาม หลังจากเก็บรวมรวมข้อมูลของลูกค้าได้ทั้งหมด 18 คน ผลการสำรวจเป็นไปดังตาราง จงทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดโดยใช้วิธี Cronbach’s Alpha และหาความสัมพันธ์ของแต่ละข้อโดยใช้คำสั่ง Correlations
การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ (Reliability Analysis) การวัดความเชื่อถือได้โดยวิธี Cronbach’s Alpha จะไม่มีค่าตายตัวที่บอกว่าค่าเท่าใด ถึงจะเชื่อถือได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนของข้อที่ต้องการคำนวณ แต่สามารถสรุปได้ดังนี้ ค่าความเชื่อถือได้ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ 0.8 ขึ้นไป สามารถใช้บ่งบอกได้ว่า เครื่องมือวัดนั้นมีความน่าเชื่อถือสูง ค่าสัมประสิทธิ์ correlation มีค่าเป็นบวกหมด จะแสดงแต่ละข้อมีความสัมพันธ์กัน ในทิศทางเดียวกัน