งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม บอกวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัยได้ สามารถตรวจสอบสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัยได้

2 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย
ความตรง Validity ระดับความสามารถของเครื่องมือในการวัดสิ่งที่ต้องการวัด (Polit & Hungler,1999) เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัด (ยุวดี และคณะ, 2537)

3 ประเภทของความตรง(Type of Validity)
ความตรงตามเนื้อหา (content validity) 2. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ criterion-related validity 2.1 ความตรงตามสภาพปัจจุบัน (concurrent validity) 2.2 ความตรงตามการพยากรณ์ (predictive validity) 3. ความตรงตามโครงสร้าง (construction validity)

4 ความตรงตามเนื้อหา content validity
ความตรงตามเนื้อหา หมายถึง คำถามในแบบสอบถามมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับมโนทัศน์ของตัวแปร หรือคำถามในแบบสอบถามมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดหรือทฤษฎีของตัวแปร การตรวจสอบ : ใช้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ 3-5 ท่าน ความตรงที่ได้เป็นความเห็นพ้องต้องกันของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน

5 ความตรงตามเนื้อหา content validity
สามารถคำนวณหาจาก ค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index หรือ CVI) CVI = จำนวนคำถามที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้ความคิดเห็นในระดับ 3 และ 4 จำนวนคำถามทั้งหมด อ่านต่อในเอกสารแนบ หน้า 224, 225 ดร. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล โดยมีข้อสังเกตุคือ ระดับ 1,2 คือ ไม่เห็นด้วย : ระดับ 3,4 คือ เห็นด้วย และต้องมีคนเห็นด้วย(3,4)เกินครึ่งจึงจะบอกได้ว่าข้อคำถามนั้นผ่าน เช่นคำถามข้อที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญ 4 คนไม่เห็นด้วยให้ระดับ (1,2) ส่วนคนที่เห็นด้วยให้ระดับ (3) มีเพียงคนเดียวดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไม่ เห็นด้วยกับข้อคำถามนี้ ดังนั้นคำถามข้อ 3 นี้ไม่ผ่าน ส่วนคำถามข้ออื่นผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นไปในทางเดียวกัน ดังนั้นคำถามที่ผ่านจึงมีเพียง 1,2,4,6,7,9,10,11,12,13,14 และ 15 ***

6 ความตรงตามเนื้อหา content validity
หน้า ดร.ประกาย จิโรจน์กุล

7 ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ criterion-related validity
การประเมินความตรงโดยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับเกณฑ์มาตรฐาน แบ่งออกได้ 2 ชนิด 1. ความตรงตามสภาพปัจจุบัน (concurrent validity) 2. ความตรงตามการพยากรณ์ (predictive validity)

8 ความตรงตามสภาพปัจจุบัน concurrent validity
ความตรงตามสภาพปัจจุบัน เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดคุณลักษณะที่ศึกษาได้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดในปัจจุบัน วิธีการคือ นำแบบวัด 2 ฉบับซึ่งวัดในคุณลักษณะเดียวกันหรือวัดตัวแปรเดียวกัน โดยแบบวัดฉบับหนึ่งเป็นฉบับที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบวัดอีกฉบับหนึ่งเป็นแบบวัดมาตรฐาน ไปให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันตอบ นำข้อมูล 2 ชุดมาวิเคราะห์หาค่า สหสัมพันธ์ หากค่าสหสัมพันธ์มีค่าสูง คือแบบวัดที่พัฒนาขึ้นมีความตรงตามสภาพปัจจุบัน การตรวจสอบ : นำค่าคะแนนที่ได้ไปหา ค่า สปส.สหสัมพันธ์ (r) กับเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน ถ้าค่า r สูง (เข้าใกล้ 1) แสดงว่าเครื่องมือนั้นมีความตรงตามสภาพสูง

9 2. ความตรงตามการพยากรณ์ (predictive validity)
ความตรงตามการพยากรณ์ เป็นคุณลักษณะของเครื่องมือที่สามารถวัดคุณลักษณะที่ศึกษาได้ตรงตามเกณฑ์พยากรณ์ของคุณลักษณะนั้นๆ ในอนาคต คสพ.ของสิ่งที่เครื่องมือวัดได้ในปัจจุบัน กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การตรวจสอบ : เกณฑ์ เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นตามมา (อนาคต) ถ้าเหตุการณ์ถูกต้องมาก ความตรงจะมีค่าสูง ถ้าถูกต้องน้อย ความตรงก็ต่ำ สถิติที่ใช้ สปส. สหสัมพันธ์ ถ้า r> .45 อยู่ในเกณฑ์ดี เช่น แบบวัดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ จะทดสอบความเที่ยงตรงตามการพยากรณ์ ได้ ต้องศึกษาติดตามบุคคลกลุ่มนั้น ว่าป่วยเป็นโรคหัวใจในอนาคต สอดคล้องกับผลการวัดในขณะนี้หรือไม่

10 ความตรงตามโครงสร้างหรือความตรงตามทฤษฎี
Construct validity ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง หมายถึง เครื่องมือนั้นสามารถวัดได้สอดคล้องกับโครงสร้างหรือคุณลักษณะตามทฤษฏีของสิ่งนั้น ความตรงตามโครงสร้าง หมายถึงคำถามในแบบสอบถามวัดได้ตรงกับมิติของมโนทัศน์ตัวแปร และครอบคลุมมโนทัศน์ของตัวแปรในทุกมิติ คสพ. ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบสอบถาม/ แบบวัด กับคะแนนที่ได้จากการวัดตามที่กำหนดไว้ในทฤษฎี

11 วิธีการหาความตรงตามโครงสร้าง มีวิธีต่างๆ ดังนี้
เทคนิคการทดสอบกับกลุ่มที่รู้จัก known group method ทำได้ง่าย เป็นที่นิยม วิธีการ : นำเครื่องมือไปทดสอบกับกลุ่มที่รู้จักดีอยู่แล้ว ว่ามีลักษณะที่ต้องการจะวัด คะแนนที่ได้จะบอกให้ทราบว่า เครื่องมือนั้นๆ มีความตรงหรือไม่

12 2. วิธีการตรวจสอบภายใน intratest method
ศึกษาโครงสร้างของคำถามในเครื่องมือว่าวัดคุณลักษณะเดียวกันหรือหลายอย่าง เป็นการวัดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน homogeneous วิธีการคำนวณ : คูเดอร์ ริชาร์ดสัน Kuder-Richardson ครอนบาค แอลฟา Cronbach’s alpha

13 3.วิธีตรวจสอบภายนอก intertest method
หา คสพ. ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบวัดที่สร้างขึ้นกับแบบวัดอื่น ซึ่งวัดในทฤษฎีเดียวกัน และต้องเป็นแบบวัดที่ได้มาตรฐาน 4. เทคนิคการวิเคราะห์ตัวประกอบ Factor Analysis Technique

14 ความเชื่อมั่นหรือความเที่ยง (Reliability)
ความคงเส้นคงวา (consistency) & ความคงที่ (stability) ของการวัด ระดับความคงที่ของการวัดในสิ่งที่ต้องการวัด ระดับความคงที่ของคะแนนจากการวัดเรื่องเดียวกันไม่ว่าในเวลาใดก็ตาม

15 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
การวัดความคงที่ measures of stability หรือ การวัดความคงเส้นคงวา measures of external consistency การวัดความสอดคล้องภายใน measures of internal consistency การเลือกวิธีการหาค่าความเชื่อมั่นขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของแต่ละวิธี

16 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
1. วิธีการหาค่าความคงที่ภายนอก 1.1 วิธีการทดสอบซ้ำ test-retest method ใช้แบบวัด 1 ชุดเดียวกัน ทดสอบกับบุคคลกลุ่มเดียวกันจำนวน 2 ครั้ง ในระยะเวลาต่างกัน แล้วนำคะแนนที่ได้จากการวัดทั้ง 2 ครั้งมาหาค่า คสพ. โดยการคำนวณค่า สปส. สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Peason Product Moment Correlation Coeffient) ถ้าค่าที่คำนวณได้สูง แสดงว่าคะแนนจากการวัดทั้ง 2 ครั้งมี คสพ. กันสูง ระยะเวลาในการทดสอบครั้งแรกกับครั้งที่สองไม่ควรห่างกันมากนัก

17 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
สูตรการคำนวณ rxy= Nxy - (x) (y) [N x2 (x)2 ] [ N y2 (y) 2 ] rxy หมายถึง ค่า สปส.สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน X หมายถึงคะแนนที่ได้จาการตอบแบบวัดครั้งที่ 1 Y หมายถึงคะแนนที่ได้จาการตอบแบบวัดครั้งที่ 2 N หมายถึง จำนวนคนที่ตอบแบบวัด

18 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
ระยะเวลาในการทดสอบ : ไม่ควรเกิน 6 เดือน ในทางปฏิบัติโดยมากใช้ช่วง 1 วัน –1 สัปดาห์ ถ้าเป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ ควรห่างกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แต่ไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์ สาเหตุที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน ผู้ตอบจำข้อคำถามได้จากการตอบครั้งแรก ระยะเวลาที่ห่าง เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้เรียนรู้เพิ่มเติม องค์ประกอบอื่น เช่น สถานที่ บรรยากาศ และเวลาที่ทำการตอบ

19 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
1.2 การใช้แบบวัดคู่ขนาน ( parallel form method) การประมาณค่าความเท่าเทียมกันของการใช้เครื่องมือ 2 ฉบับที่สร้างขึ้นให้มีคุณสมบัติเหมือนกัน เมือนำไปวัดคนกลุ่มเดียวกันในเวลาเดียวกัน คะแนนที่ได้จาก 2 ฉบับมี คสพ. กันสูง : มีความเที่ยงสูง คะแนนที่ได้จาก 2 ฉบับไม่สัมพันธ์กัน : 2 ฉบับไม่เท่าเทียมกันใช้แทนกันไม่ได้ ในทางปฏิบัติ ไม่นิยมใช้ เนื่องจากการสร้างเครื่องมือคู่ขนานทำได้ยากมาก

20 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
2. วิธีการวัดความสอดคล้องภายใน 2.1 เทคนิคการแบ่งครึ่ง (split half technique) สูตร r1 = 2r 1+r r1 หมายถึง ค่า สปส. ความเที่ยงของฉบับเต็ม r หมายถึง ค่า สปส. ความเที่ยงของครึ่งฉบับ

21 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
2. การหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร คูเดอร์- ริชาร์ดสัน (kuder-Richardson แบบวัดที่จะนำมาหาความเที่ยงด้วยวิธีนี้ ต้องมีการให้คะแนนเป็น 0 และ 1 หรือเป็นการวัดที่มีการแจกแจงเพียง 2 ลักษณะเท่านั้น สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน มี 2 สูตร คือ KR-20 และ KR-21

22 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน KR-20 rtt = n pq n st2 ค่าความเชื่อมั่นที่คำนวณด้วย KR-21 จะต่ำกว่าที่คำนวณณจาก KR-20 KR-21 rtt = n x(n-x) n nst2

23 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
Rtt = ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง n = จำนวนข้อคำถามของแบบวัด P = สัดส่วนของคนที่ตอบถูกในแต่ละข้อ q = สัดส่วนของคนที่ตอบผิดในแต่ละข้อ s2 = ความแปรปรวนของคะแนนทั้งหมด x = ค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งหมด

24 วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
2.3 การหาความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) α = n n-1 1- Si2 St2 α คือค่าความสอดคล้องภายใน n คือจำนวนข้อคำถามในแบบสอบถาม Si2 คือผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ St2 คือความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ  ต้องมีค่า 0.7 ขึ้นไป ( รศ ดร. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล : 236 ) ***

25 ระดับความยากง่าย (difficulty level)
จำนวนคนที่ตอบข้อคำถามข้อนั้นถูก ความยาก p = จำนวนคนที่ตอบทั้งหมด ค่าที่ใช้ได้ควรอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.8 ค่า p เข้าใกล้ 1 จะเป็นข้อที่ง่าย เข้าใกล้ 0 จะเป็นข้อที่ยาก ให้นิสิตแก้ไขจากเนื้อหาเดิมจาก 0.6เป็น 0.8 ***

26 ค่าอำนาจจำแนก Power of discrimination
การหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ คือการหาข้อคำถามที่มีประสิทธิภาพ มีความไวต่อการทดสอบ เช่น สามารถแยกกลุ่มเก่ง-อ่อน ทัศนคติทางบวก-ลบ ออกจากกันได้

27 วิธีการหาค่าอำนาจจำแนก ใช้การทดสอบ ค่า t (t-test) ดังนี้
นำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง หาคะแนนรวมของแต่ละคน เรียงคะแนนจากน้อยไปหามาก ตัด 25% บนและล่าง จะได้คะแนนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสูง และกลุ่มต่ำ คำนวณหาค่าอำนาจจำแนก

28 สูตรอำนาจจำแนก t= ค่าอำนาจจำแนก Xh= คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มสูง sh2 + sl2
xl = คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ sh2 = ความแปรปรวนของกลุ่มสูง sl2 = ความแปรปรวนของกลุ่ม nh= จำนวนกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มสูง nl= จำนวนกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มต่ำ t = xh - xl sh2 + sl2 nh nl

29 แบบฝึกหัด หาค่าความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค แอลฟา

30 การหาค่าความเที่ยงโดยวิธี KR
คนที่\ ข้อที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 åX 28 29 30 จำนวนคนถูก P q pq

31 การหาค่าความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค
คนที่\ ข้อที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 X 27 28 29 30 åx åC s

32 สอนวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554


ดาวน์โหลด ppt การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google