พฤติกรรมการสื่อติดต่อ (Communication behavior)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การอบโอโซน ประจำเดือน กรกฎาคม 2555 เวลา 20.00/22.00 – น. ของทุก วัน.
Advertisements

การอบโอโซน ประจำเดือน พฤษภาคม 2555 เวลา 20.00/22.00 – น. ของทุก วัน.
การอบโอโซน ประจำเดือน สิงหาคม 2554 เวลา – น. ของทุกวัน.
Automatic Photo Maker This program will produce a photo of you by using the data you insert, describing your facial features.
บทที่ 1 Signal Space and Gram-Schmidt Orthogonalization Procedure.
2.
Structural, Physical and Chemical properties of Grains
วัยเจริญพันธุ์และพฤติกรรมทางเพศ (Puberty & Sexual Behavior)
Supportive Counseling How to support client’s emotion
Gene expression and signal transduction (4 hr)
แมลงสังคม แมลงชนิดเดียวกันมีการอาศัยในรังเดียวกัน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( วว.)
(blood group) หมู่เลือด B+ AB- O- A+ B- AB+ O+ A-
มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล ( ร้อยละ 60) ระดับความสำเร็จใน การบรรลุเป้าหมาย  KPI 1. : ระดับกระทรวง และกรม มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการ ให้บริการ ( ร้อยละ 10)
กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ e- meeting วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555.
Idea Awards “ ALARM ATG TO POS” By: Thanakorn Kaewtae ขป.สกน.
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : การรักษาความปลอดภัยข้อมูล Part1 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
Overview Task and Concept of Sensor Part TESA TopGun Rally 2010 Quality Inspection for Smart Factory: Bottled Water ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ อ.นุกูล.
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์
นิเทศทัศน์ Visual communication.
จำแนกประเภท ของสาร.
การบำบัดน้ำเสีย อ.วีระศักดิ์ สืบเสาะ.
การบริการงานอาชีวเวช ภายนอกโรงพยาบาล
การเขียนบทสำหรับสื่อ
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เครื่องวัดแบบชี้ค่าแรงดันกระแสสลับ AC Indicating Voltage Meter
บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์
รายวิชา นาฏยศิลป์ไทยปริทัศน์ (Introduction To Thai Dance)
ทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ และสิ่งแวดล้อม เหมือนและต่างกันอย่างไร
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 7 การจัดการสุกร.
Visual Communication for Advertising Week15-16
งานจัดการเรียนการสอน
หลักการจัดการแมลงศัตรู
ความหมายของการสื่อสาร
อาชีวอนามัย บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.
SERVICE MARKETING พฤติกรรมลูกค้าในตลาดบริการ • กระบวนการตัดสินใจซื้อสำหรับผลิตภัณฑ์บริการ • บทบาทของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในการบริการ.
นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
ข้อมูลประกอบการประชุมผู้บริหารระดับสูง
เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
การบริหารจัดการทางการศึกษา (106402)
รายวิชา วรรณกรรมนาฏยศิลป์พื้นเมือง Literature of Folk Dance
การสร้างบุคลิกภาพในงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
โครงการ “อบรมการปฏิบัติงานด้านงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ”
ดร. อำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 27 มกราคม 2562
รูปแบบการท่องเที่ยว.
การถ่ายทอดพลังงานของระบบนิเวศ
Advanced Visual Arts 2 2/2559.
โครงการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ขั้นสูง Terminal Project in Advanced Visual Arts 
การจัดทำแผน และนำแผนไปใช้
การจัดทำแผน และนำแผนไปใช้
ก๊าซธรรมชาติ.
พฤติกรรมนิเวศ (Ecological behavior)
บทที่ 10 พฤติกรรม (Behavior) supreecha swpy 2006.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ครูปฏิการ นาครอด.
การจัดการความเจ็บปวด
ความหมาย ความสำคัญของการให้การศึกษา และแนะแนวผู้ปกครอง
กิจกรรมที่ 9 การสร้างตัวแปร ใน Scratch.
ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะต่อการ พัฒนาตัวชี้วัด
ตลาดบริการ และ ลูกค้าเป้าหมาย วิชาการจัดการธุรกิจบริการ
ศิลปวัฒนธรรมไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพ Aerobic dance into culture
นิเทศทัศน์ Visual communication.
การทำความสะอาด (Cleaning)
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ประติมากรรม (sculpture)
ศัพท์บัญญัติ.
บทที่ 3 พฤติกรรมลูกค้าในตลาดบริการ • กระบวนการตัดสินใจซื้อสำหรับผลิตภัณฑ์บริการ • บทบาทของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในการบริการ.
การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พฤติกรรมการสื่อติดต่อ (Communication behavior) 1. เมื่อสัตว์มารวมอยู่เป็นหมู่พวก ย่อมมีการแสดงพฤติกรรมที่เข้าใจกันในระหว่างพวกของตนพฤติกรรมดังกล่าวเรียกว่า พฤติกรรมทางสังคม เช่น พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีเมื่อจะผสมพันธุ์ พฤติกรรมการเตือนภัย หรือการบอกแหล่งอาหาร เป็นต้น 2. พฤติกรรมที่ใช้เป็นสื่อ ในการติดต่อซึ่งกันและกันภายในฝูงสัตว์หรือต่างชนิดกัน อาจมีพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น :- 2.1 การสื่อด้วยท่าทาง (Visual signal) เป็นการแสดงท่าทางและการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่างๆ ซึ่งใช้เป็นสัญญาณในการสื่อสารระหว่างกัน มีหลายประเภท เช่น

1. การแสดงท่าอ่อนน้อม เคารพ ยอมแพ้ เอาอกเอาใจ (Greeting หรือ Submissive behavior) เช่น ในสัตว์ที่ต่อสู้กัน เมื่อฝ่ายใดรู้สึกว่าตัวเองแพ้ ก็จะแสดงลักษณะท่าทางยอมแพ้ อ่อนน้อม ทำให้อีกฝ่ายลดความโกรธลง เช่น สุนัข และงูกะปะ ภาพ ก. ลักษณะการขู่ในสุนัขโดยการที่มีขนพอง ข. แสดงพฤติกรรม Submissive ในสุนัขป่าตัวที่แพ้จะเข้าไปเลียปากและนอนหงายท้อง

2. การแสดงออกโดนใช้ท่าทางและสีหน้า (Facial expression) เมื่อเวลาคิด โกรธ ตกใจ ร่าเริง เช่น ในสุนัข แมว คน และลิงชิมแพนซี 3. พฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสี (Courtship behavior) ในการอยู่ร่วมกันของสัตว์จะมีช่วงหนึ่งเมื่อถึงวัยและฤดูผสมพันธุ์สัตว์ต้องใช้สัญลักษณ์เฉพาะเพื่อเข้าไปใกล้กันก่อนการผสมพันธุ์ แบบแผนของพฤติกรรมจะเกิดขึ้นสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น

 ในนกกระเรียน (Crowned cranes) ใช้การเต้นรำแสดงการเกี้ยวเหมือนคนป่าแถบแอฟริกาที่ใช้เต้นรำส่วยตัวไปมาในพิธีต่างๆ  ในนกแกนเนท (Gannet) ที่อาศัยอยู่ทางแอตแลนติกเหนือ จะแสดงพฤติกรรมการเกี้ยวที่มีแบบแผนเฉพาะดังรูป

4. การสื่อด้วยท่าทางของผึ้งงาม เมื่อผึ้งไปหาอาหาร และพบแหล่งอาหารจะบินกลับมาแสดงการเต้นรำ (Special dance) เพื่อบอกถึงแหล่งอาหารให้พรรคพวกเดียวกันทราบ คือ 4.1 การเต้นแบบวงกลม (Round dance) 4.2 การเต้นแบบเลขแปด (Waggle dance) การเต้นแบบวงกลม แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ใกล้ ห่างจากรังไม่เกิน 70 เมตร การแสดงเริ่มจากเดินไปข้างหน้า แล้ววิ่งเป็นเลขแปด โดยวิ่งเป็นวงกลมมาจึงเริ่มต้นแล้ววิ่งไปข้างหน้าอีก หมุนตัวเป็นวงกลมไปอีกทิศทางหนึ่ง การเต้นแบบเลขแปด แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ไกลเกินกว่า 70 เมตร การแสดงเริ่มจากเดินไปข้างหน้า แล้วิ่งเป็นเลขแปด โดยวิ่งเป็นวงกลมมาจึงเริ่มต้นแล้ววิ่งไปข้างหน้าอีก หมุนตัวเป็นวงกลมไปอีกทิศทางหนึ่ง

การเต้นทั้ง 2 แบบนี้จะส่ายท้องไปด้วย ความเร็วในการส่ายท้องจะบอกปริมาณอาหาร ถ้าส่ายเร็วมากแสดงว่ามีอาหารมาก ถ้าส่ายช้าแสดงว่ามีอาหารน้อย ภาพพฤติกรรมการเต้นแสดงท่าของผึ้ง ภาพการสื่อสารโดยใช้ท่าทางของห่าน ภาพการสื่อสารในปลาซิชลิด

ประโยชน์ของการสื่อสารด้วยท่าทางเฉพาะ 1. ถ้าการสื่อสารนั้นเกิดขึ้นเพื่อการผสมพันธุ์เฉพาะสัตว์ใน สปีชีส์เดียวกันเท่านั้นที่จะสนองตอบ ทำให้เกิดการผสมพันธุ์ภายในสปีชีส์เดียวกัน ทำให้ดำรงพันธุ์อยู่ได้ 2. มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในด้านความปลอดภัยและอื่นๆ เช่น การแสดงท่าอ่อนน้อม ยอมแพ้ ทำให้อีกฝ่ายลดความก้าวร้าวลง

2.2 การสื่อด้วยเสียง (Sound signal) เสียงของสัตว์ใช้เป็นสื่อติดต่อระหว่างกัน และก่อให้เกิดปฏิกิริยาตามชนิดของเสียงนั้น ถือว่าเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในธรรมชาติสัตว์มักส่งเสียงเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ กัน หลายอย่าง เช่น 1. เสียงเรียกเตือนภัย (Warning calls) เป็นเสียงเตือนให้เพื่อนร่วมชนิดรู้ว่ามีศัตรูมา เช่น กระรอกและนกจะส่งเสียงร้องก่อนที่จะหนี  พวกกระแตในฟิลิปปินส์ จะส่งเสียงเป็นสัญญาณให้กันและกัน มีการตอบโต้ไปมาทำให้ผู้ล่า (Predator) เช่น งู ไม่ทราบแน่ว่าเหยื่ออยู่ที่ใด

 ในไก่ เมื่อมีภัยอันตราย แม่ไก่จะส่งเสียงร้องเรียกลูกไก่เข้ามาอยู่ใต้ปีก เพื่อให้พ้นอันตราย (การส่งเสียงร้องของแม่ไก่ เป็นรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง ส่วนลูกไก่วิ่งเข้าหาเสียงร้องของแม่ไก่เป็นพฤติกรรมแทกซิส) 2. เสียงเรียกติดต่อ (Contact calls) ใช้เป็นสัญญาณให้เกิดการรวมกลุ่มกัน เช่น ในพวกแกะ นก และสิงโตทะเล

3. เสียงเป็นสื่อแสดงความโกรธ การขู่ ความกลัว บอกการเป็นเจ้าของสถานที่ เช่น ในนก Black bird จะใช้เสียงดึงดูดตัวเมีย และในขณะเดียวกันก็จะใช้เสียงอันเดียวกันนี้ไล่ตัวผู้อื่นๆ ให้ออกจากอาณาเขตที่เป็นเจ้าของ (Territory) ถ้ามีนกตัวอื่นรุกล้ำเข้าไป ตัวที่เป็นเจ้าของสถานที่จะแสดงพฤติกรรมข่มขู่โดยชูคอขึ้น จะงอยปากอ้า ขนที่หัวเรียบ หางตกพร้อมทั้งผึ่งออกทั้งหางและปีก แต่ตัวบุกรุกจะแสดงการอ่อนน้อม โดยการหมอบตัวลง ยกหางขึ้น ขนตั้งชัน

4. เสียงเรียกคู่ (Mating calls) เป็นเสียงส่งสัญญาณให้สัตว์อื่นๆ ที่เป็นชนิดเดียวกันรู้ ทำให้เกิดการค้นหาเพื่อการผสมพันธุ์ เสียงนั้นจะบอกชนิดของเจ้าของเสียง เพราะสัตว์แต่ละสปีชีส์จะมีเสียงเรียกคู่เฉพาะ เช่น 4.1 ในพวกยุงลาย ตัวผู้จะสนใจเสียงขยับปีกของยุงตัวเมียชนิดเดียวกัน และจะบินตามเสียงนี้เมื่อพบตัวเมียก็จะผสมพันธุ์กัน 4.2 ในพวกจิ้งหรีด ตัวผู้จะสีปีกเข้าด้วยกันทำให้เกิดเสียงที่ดึงดูดจิ้งหรีดตัวเมียให้มาหา และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม ผสมพันธุ์

4.3 กบตัวผู้มีถุงที่ทำให้เกิดเสียง (Vocal sac) สำหรับเรียกตัวเมียมาผสมพันธุ์กับตัวเมียที่มีฮอร์โมนเพศอยู่ในเลือดระดับสูง และมีไข่อยู่เต็มท้อง จะตอบสนองต่อเสียงของกบตัวผู้โดยการเคลื่อนที่เข้าหาเพื่อการผสมพันธุ์ 4.4 ในนก จะใช้เสียงเพลงเป็นสื่อความหมายโดยมีเสียงเพลงที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละสปีชีส์ซึ่งมีผลทำให้ดึงดูดตัวเมียและในเวลาเดียวกันก็ใช้เป็นเสียงไล่ตัวผู้อื่นๆ ด้วย นกตัวใดที่ร้องเพลงได้ดังที่สุดจะมีอาณาบริเวณใหญ่ที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อการสืบพันธุ์ในระยะต่อมา เช่น ในนกกระจอกชนิดหนึ่ง (Song -sparow) 5. เสียงกำหนดสถานที่ของวัตถุ (Echolocation) เช่น ในปลาโลมา ค้างคาว สามารถกำหนดสถานที่ของแหล่งอาหารโดยรับเสียงสะท้อนกลับ

2.3 การสื่อด้วยการสัมผัส (Physical contact) การสัมผัสเป็นสื่อสำคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น พฤติกรรมการเลี้ยงลูกของลิง ซึ่งมีการสัมผัสซึ่งกันและกันมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางอารมณ์ของลูกอ่อน เช่น การลดพฤติกรรมการก้าวร้าว เกิดความมั่นใจ ไม่มีความหวาดกลัว ลิงที่ขาดการเลี้ยงดูโดยแม่มักจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมาเสมอ เช่น ฮาร์โลว์ (1962) ทดลองเลี้ยงลิงรีซัส (Rhesus monkey) ไว้โดยไม่มีแม่ พบว่าเมื่อโตขึ้น ลิงตัวเมียไม่ค่อยแสดงพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกของมัน บางครั้งยังแสดงการข่มขู่อีกด้วย

การใช้สื่อสัมผัสในสัตว์ จะแสดงความหมายและวัตถุประสงค์ต่างกันหลายลักษณะ เช่น 1. การสัมผัส เป็นสื่อบอกถึงความเป็นมิตรหรืออ่อนน้อม เช่น สุนัข จะเข้าไปเลียปากให้กับตัวที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือลิงชิมแพนซีจะยื่นมือให้ลิงตัวที่มีอำนาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ

2. การสัมผัสเป็นสื่อเพื่อขออาหาร เช่น ลูกนกนางนวลบางชนิด (Herring gull) ใช้จะงอยปากจิกที่จุดสีแดงบริเวณจะงอยปากของแม่เพื่อกระตุ้นให้ตัวแม่ไปหาอาหารมาให้ ภาพลูกนกนางนวลจิกที่จุดสีแดงที่ปากแม่เพื่อขออาหาร ภาพแสดงการที่ลูกนกนางนวลใช้จะงอยปากจิกที่จะงอยปากของแม่

2.4 การสื่อด้วยสารเคมี (Chemical signal) สารเคมีที่สัตว์สร้างขึ้นมาสามารถใช้เป็นสื่อติดต่อเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ สัตว์บางชนิดใช้ฟีโรโมนเป็นสื่อเพื่อสื่อให้พวกเดียวกันแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น 1. ใช้ดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex attractant) เช่น พวกผีเสื้อกลางคืนตัวเมียสามารถปล่อยฟีโรโมนออกมาจากร่างกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถกระตุ้นให้ผีเสื้อกลางคืนตัวผู้ที่อยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตรบินมาหาได้ถูก ในแมลงสาบตัวเมียขณะที่รังไข่เจริญเต็มที่ ผิวลำตัวจะหลั่ง ฟีโรโมนออกมาเพื่อไปกระตุ้นให้ตัวผู้มาเกี้ยวพาราสีและจะหลั่งฟีโรโมนอีกครั้ง แต่จะหยุดหลั่งเมื่อได้รับการผสมพันธุ์เรียบร้อย

2. ใช้แสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขต (Territory) เช่น กวางบางชนิดเช็ดสารที่หลั่งจากต่อมบริเวณหน้า (Facial gland) ป้ายตามต้นไม้ตามทาง 3. ใช้บอกแหล่งอาหาร เช่น ในมดจะปล่อยฟีโรโมนที่เป็นสารเคมีพวกกรดฟอร์มิกไว้ตามทางเดิน (Trail pheromone) จากแหล่งอาหารจนถึงรัง ทำให้มดสามารถเดินตามกลิ่นนั้นไปยังแหล่งอาหารได้ แต่ถ้าไม่พบอาหารก็จะปล่อยสารฟีโรโมนออกมา เวลาเดินกลับรัง

4. การเตือนเหตุ (Alarm substance) เช่น  ปลาบางชนิดเมื่อได้รับบาดเจ็บ สารเคมีที่สะสมอยู่ที่เซลล์ผิวหนังจะแพร่กระจายไปในน้ำเป็นสารเตือนภัย ไม่ให้พรรคพวกเข้ามาในแหล่งน้ำแหล่งนั้น โดยสารเคมีนั้นสามารถออกฤทธิ์อยู่นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน  ผึ้ง เมื่อต่อยศัตรูมันจะปล่อยสารเคมีออกไปเพื่อใช้บอกตำแหน่งของศัตรู และชักนำให้ผึ้งงานซึ่งอยู่ใกล้บินมาช่วย

5. ใช้นำทาง เช่น สุนัขและสัตว์ปีก ใช้ปัสสาวะ อุจจาระหรือสารเคมีจากต่อมพิเศษบอกเส้นทางเดิน 6. ใช้สำหรับการรวมกลุ่ม (Aggregated pheromone) เช่น ด้วงเจาะไม้ ตัวเมียจะเข้าเจาะต้นไม้ก่อน แม้จะมียางต้นไม้ไหลออกมา สารระเหยจากยางต้นไม้จะเสริมฤทธิ์ ฟีโรโมนจากตัวเมียดึงดูดตัวผู้ให้มารวมกลุ่ม เมื่อมีแมลงมารวมกันมากขึ้น ตัวผู้จะสร้างฟีโรโมนออกมาห้ามทั้ง ตัวผู้และตัวเมียไม่ให้มาเกาะที่ต้นนั้นอีก ทำให้แมลงเหล่านั้นไปเจาะต้นอื่นเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของแมลงได้รวดเร็ว