แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล พันธะเคมี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 1. แรงลอนดอน (London force) หรือ แรงแผ่กระจาย (Dispersion force) โมเลกุลที่ไม่มีขั้วดึงดูดกันได้เพราะโมเลกุลถูกเหนี่ยวนำให้มีขั้วขึ้นชั่วคราว (induced dipole/ temporary dipole) แรงลอนดอนจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของโมเลกุล และน้ำหนักโมเลกุล สารที่มีมวลโมเลกุลสูงจะมีแรงลอนดอนมากกว่าพวกที่มีมวลโมเลกุลต่ำ แรงลอนดอนจะขึ้นอยู่กับการจัดเรียงตัวของโมเลกุล แรงลอนดอนมีผลต่อจุดเดือด จุดหลอมเหลว เช่นเดียวกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคชนิดอื่นๆ แต่มีค่าน้อยกว่า และจะมีผลมากต่อโมเลกุล โคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล พันธะเคมี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 2. แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่มีขั้ว โมเลกุลโคเวเลนต์ชนิดมีขั้ว นอกจากจะยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงลอนดอนแล้วยังยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างขั้ว (dipole forces) แรงลอนดอน กับแรงดึงดูดระหว่างขั้ว รวมกันเรียกว่า แรงวันเดอร์วาลส์ ขนาดของแรงวันเดอร์วาลส์ ขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุลของสาร เมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น ค่าของแรงวันเดอร์วาลส์จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล พันธะเคมี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 3. พันธะไฮโดรเจน เป็นแรงระหว่างโมเลกุลแบบมีขั้ว ระหว่างโมเลกุลซึ่งประกอบด้วย H และ อะตอมอื่นที่มีค่า EN สูงมาก และมีขนาดเล็ก เช่น F O หรือ N ทำให้ โมเลกุลมีสภาพขั้วสูงกว่าโมเลกุลปกติ พันธะไฮโดรเจนเป็นแรงที่มีค่ามากกว่า แรงที่เกิดจาก แรงดึงดูดระหว่างขั้ว ส่งผลให้สารที่มีพันธะไฮโดรเจนมี จุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูงกว่าสารโคเวเลนต์ทั่วๆไป
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล พันธะเคมี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
สารโคเวเลนต์โครงผลึกร่างตาข่าย พันธะเคมี สารโคเวเลนต์โครงผลึกร่างตาข่าย เพชร แกรไฟต์ ซิลิคอนไดออกไซด์
พันธะเคมี พันธะโลหะ พันธะโลหะ คือ แรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกกับ เวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบๆก้อนโลหะ เกิดจากอะตอมของโลหะใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอน ร่วมกัน เวเลนซ์อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ไป ทุกอะตอมได้ทั่งทั้งก้อนโลหะ อะตอมของโลหะอยู่ในสภาพไอออนบวก วาเลนซ์อิเล็กตรอนของโลหะเคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ อิเล็กตรอนอิสระทำหน้าที่ดึงดูดนิวเคลียสของอะตอมต่างๆเข้าด้วยกัน
การเลื่อนไถลของอะตอมโลหะเมื่อถูกแรงกระทำ พันธะเคมี สมบัติของพันธะโลหะ พันธะโลหะทำให้โลหะมีสมบัติต่างๆ ดังนี้ นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี มีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะเป็นเงาและมีความวาวเมื่อถูกแสง สามารถดึงเป็นเส้น ตีเป็นแผ่น หรือบิดงอได้ การเลื่อนไถลของอะตอมโลหะเมื่อถูกแรงกระทำ