หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม นำเสนอสังคมศึกษา ส33105 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดย สกล เที่ยงจิตต์ กลุ่มสาระฯสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
การปกครองระบอบประชาธิปไตย 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรัฐ ( รัฐ ชาติ ประเทศ รัฐชาติ ประเทศชาติ ) “รัฐ” หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
“ชาติ” หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า “ชาติไทย”
“ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ แม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา “ประเทศ” หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ ก็ได้
รัฐชาติ คือ ชุมชนของมนุษย์ที่มีการจัดการบริหารงานกันโดยมีรัฐบาลเป็นศูนย์กลางในการบริหาร มีความผูกพันร่วมกัน ประเทศชาติ คือ ดินแดนที่มีชุมชนมนุษย์มาอาศัยอยู่ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน มีความผูกพันกัน
4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) องค์ประกอบของรัฐ 1. ประชากร (Population) 2. ดินแดน (Territory) 3. รัฐบาล (Government) 4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)
1.ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติ
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ 1) จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
2) ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งไม่เป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม
3) คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ 10 อันดับประเทศที่มีประชากรมาก และน้อยที่สุดในโลก
10 อันดับประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก (ปี 2553) 1.สาธารณรัฐประชาชนจีน People's Republic of China ประชากร : 1,338,156,900 เมืองหลวง : กรุงปักกิ่ง ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
2.อินเดีย India ประชากร : 1,163,480,000 เมืองหลวง : นิวเดลี ที่ตั้ง : ทวีปเอเซีย 3.สหรัฐอเมริกา United State of America ประชากร : 306,460,000 เมืองหลวง : วอชิงตัน ดีซี ที่ตั้ง : ทวีปอเมริกาเหนือ
4.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Republic of Indonesia ประชากร : 230,227,687 เมืองหลวง : กรุงจา์กาตาร์ ที่ตั้ง : ทวีปเอเซีย 5.บราซิล Brazil ประชากร : 191,284,848 เมืองหลวง : กรุงบลาซีเลีย ที่ตั้ง : ทวีปอเมริกาใต้
6.สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน Islamic Republic of Pakistan ประชากร : 166,418,000 เมืองหลวง : กรุงอิสลามาบัด ที่ตั้ง : ทวีปเอเซีย 7.สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ People's Republic of Bangladesh ประชากร : 162,221,000 เมืองหลวง : กรุงธากา ที่ตั้ง : ทวีปเอเซีย
8. สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย Republic of Nigeria ประชากร : 154,729,000 เมืองหลวง : กรุงอาบูจา ที่ตั้ง : ทวีปแอฟริกา 9.สหพันธรัฐรัสเซีย Russia ประชากร : 141,825,000 เมืองหลวง : กรุงมอสโก ที่ตั้ง : ทวีปเอเซีย+ยุโรป = ยูเรเซีย
10.ประเทศญี่ปุ่น Japan ประชากร : 127,630,000 เมืองหลวง : กรุงโตเกียว ที่ตั้ง : ทวีปเอเซีย
ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก (ปี 2552) ที่ตั้ง ประชากร ( คน ) 1 Vatican City นครรัฐวาติกัน ยุโรป:ประเทศอิตาลี 1,000 2 Nauru นาอูรู ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ในมหาสมุทรแปซิฟิก 10,000 3 Tuvalu ตูวาลู 10,200 4 Palau ปาเลา 20,500 5 San Marino ซานมารีโน 31,000
2. ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ องค์ประกอบของรัฐ 2. ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ 1)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล
แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย องค์ประกอบของรัฐ 2) ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย
5 อันดับประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ตั้ง ขนาด (ตาราง ก.ม.) 1 รัสเซีย (Russia) ยูเรเซีย 17,075,200 2 แคนาดา (Canada) ทวีปอเมริกาเหนือ 9,984,670 3 สหรัฐอเมริกา (United States of America) 9,631,418 4 สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) เอเชียตะวันออก 9,596,960 5 บราซิล (Brazil) ทวีปอเมริกาใต้ 8,511,965
5 อันดับประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่ตั้ง ขนาด (ตาราง ก.ม.) 1 นครรัฐวาติกัน Vatican City อิตาลี ทวีปยุโรป 0.44 2 โมนาโก Monaco ทวีปยุโรป 1.9 3 นาอูรู Nauru หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก 21 4 ตูวาลู Tuvalu 26 5 ซานมารีโน่ San Marino อิตาลี ทวีปยุโรปใต้ 61.20
องค์ประกอบของรัฐ 3. รัฐบาล (Government) รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) องค์ประกอบของรัฐ 4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1.อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการ ใด ๆ ในประเทศอย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น
2.อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ องค์ประกอบของรัฐ 2.อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราช สามารถจะดำเนินความสัมพันธ์ กับประเทศอื่น ๆ หรือกล่าวกันอีกอย่างหนึ่งว่า เอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง
จุดประสงค์ของรัฐ 1. สร้างความเป็นระเบียบ 2. การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน 3. การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม 4. การส่งเสริมคุณธรรม
หน้าที่ของรัฐแล้วมีอยู่ 4 ประการ 1. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน 2. การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม 3. การพัฒนาประเทศ 4. การป้องกันการรุกรานจากภายนอก
รูปแบบของรัฐ (Forms of State) 1. รัฐเดี่ยว (Unitary State)
ข้อสังเกตลักษณะของรัฐเดี่ยว 1.1 ต้องมีรูปลักษณะการปกครองที่มีกฎหมาย ระเบียบแบบ แผน เป็นแบบอย่างเดียวกันทั้งประเทศ 1.2 มีอาณาเขตไม่กว้างขวางเท่าใดนัก 1.3 รัฐบาลกลางรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลางแห่งเดียว 1.4 ประชาชนในรัฐจะมีเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เป็นแบบอย่างเดียวกัน 1.5 ตัวอย่างประเทศที่มีลักษณะเป็นรัฐเดี่ยว ได้แก่ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ
2. รัฐรวม (Composit State) เป็นการรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป โดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกัน อาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น
ข้อสังเกตลักษณะของรัฐรวม 2.1 มีรัฐบาล2 ระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น 2.2 ส่วนใหญ่จะมีอาณาเขตกว้างขวาง 2.3 รัฐบาลกลางจะไม่มีเอกภาพในการบริหารเพราะรัฐบาล ส่วนท้องถิ่นจะวางนโยบายปกครองตนเอง 2.4 ประชาชนจะมีหลายเชื้อชาติและหลายวัฒนธรรมมาอยู่ รวมกัน 2.5 ชื่อประเทศมักจะขึ้นต้นด้วยคําว่า “สหรัฐ สหภาพ สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ”
รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ 1) สหพันธรัฐ (Federal State) สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับเดียวกันร่วมกันและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ๆ รูปแบบการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
2) สมาพันธรัฐ (Confederation State) สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของรัฐแบบสมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้ว แต่จะลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น