ฟิสิกส์ ว ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การแตกแรง และ การรวมแรงมากกว่า 2 แรง
Advertisements

กลศาสตร์ควอนตัมมี postulates 5 ข้อ คือ
นายสุวรรณ ขันสัมฤทธิ์
Force Vectors (1) WUTTIKRAI CHAIPANHA
Frictions WUTTIKRAI CHAIPANHA Department of Engineering Management
Chapter 3 Equilibrium of a Particle
วิชา ว ฟิสิกส์ 3 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
พลังงาน (Energy) เมื่อ E คือพลังงานที่เกิดขึ้น        m คือมวลสารที่หายไป  และc คือความเร็วแสงc = 3 x 10 8 m/s.
Lecture 9 Oscillatory Motion. Outline 10.1 The Ideal Spring and Simple Harmonic Motion spring constant Units: N/m ออกแรงภายนอกด้วยมือที่กระทำกับสปริง.
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
ชนิดของคลื่น ฟังก์ชันคลื่น ความเร็วของคลื่น กำลัง, ความเข้มของคลื่น
ครูปพิชญา คนยืน. ทักษะ กระบวนการ ทาง คณิตศาสตร์ หน่วยการ เรียนรู้ที่ 8.
วัตถุมวล 10 kg วางอยู่บนพื้นที่มีสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน สถิตย์ 0.8 และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ kg µ s = 0.8 µ k = 0.3 จงเขียนโปรแกรมซึ่งรับค่าขนาดของ.
Present Continuous.
KINETICS OF PARTICLES: Work and Energy
ครูปพิชญา คนยืน. ทักษะ กระบวนการ ทาง คณิตศาสตร์ หน่วยการ เรียนรู้ที่ 8.
Overview Task and Concept of Sensor Part TESA TopGun Rally 2010 Quality Inspection for Smart Factory: Bottled Water ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ อ.นุกูล.
6. สนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก
หน่วยที่ 1 ปริมาณทางฟิสิกส์ และเวกเตอร์
ชุดที่ 7 ไป เมนูรอง.
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
อุปกรณ์จับยึด และปะเก็นกันรั่ว
Chapter Objectives กฎสี่เหลี่ยมด้านขนาน (Parallelogram Law)
อนุพันธ์ (Derivatives)
ฟิสิกส์ (Physics) By Aueanuch Peankhuntod.
แรงแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. แรงสัมผัส ( contact force )
อาจารย์ รุจิพรรณ แฝงจันดา
Chapter Objectives Concept of moment of a force in two and three dimensions (หลักการสำหรับโมเมนต์ของแรงใน 2 และ 3 มิติ ) Method for finding the moment.
ความร้อนและอุณหภูมิ (Heat and Temperature)
สมดุล Equilibrium นิค วูจิซิค (Nick Vujicic).
Nakhonsawan school create by rawat saiyud
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
Chapter Objectives Chapter Outline
สสารและสมบัติของสาร Witchuda Pasom.
ระบบหน่วยและมาตรฐานของการวัด System of Units & Standard of Measurements ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
วัตถุประสงค์ ปริมาณพื้นฐาน และการจำลองสำหรับกลศาสตร์ (Basic quantities and idealizations of mechanics) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน และการโน้มถ่วง (Newton’s.
บทที่ 3 แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่
กลศาสตร์ของไหล Fluid Mechanics
หน่วยที่ 1 ปริมาณทางฟิสิกส์ และเวกเตอร์
โมเมนตัมและการชน อ.วัฒนะ รัมมะเอ็ด.
พลังงาน (Energy).
บทที่ 6 งานและพลังงาน 6.1 งานและพลังงาน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต้นทุน – ปริมาณ – กำไร
EET2503-Wind Energy Technology
ทบทวน สนามแม่เหล็ก.
นางสาวเพ็ญศรี ท่องวิถี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
งานและพลังงาน.
บทที่ 6 ความร้อนและอุณหพลศาสตร์
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
ฟิสิกส์ ว ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
การวัด และหน่วย อ.รัตนสุดา สุภดนัยสร โดย
เวกเตอร์และสเกลาร์ พื้นฐาน
งานและพลังงาน (Work and Energy) Krunarong Bungboraphetwittaya.
งาน (Work) คือ การออกแรงกระท าต่อวัตถุ แล้ววัตถุ
Calculus I (กลางภาค)
งานและพลังงาน.
บทที่ 6 : อัตราส่วนตรีโกณมิติ
การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
โมเมนตัม (Momentum).
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
บทที่ 3 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
นิยาม แรงลอยตัว คือ ผลต่างของแรงที่มาดันวัตถุ
1.ศุภิสรายืนอยู่บนพื้นสนามราบ เขาเสริฟลูกวอลเล่บอลขึ้นไปในอากาศ ลูกวอลเล่ย์ลอยอยู่ในอากาศนาน 4 วินาที โดยไม่คิดแรงต้านของอากาศ ถ้าลูกวอลเล่ย์ไปได้ไกลในระดับ.
อินทิกรัลของฟังก์ชัน
แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่
Determine the moment about point A caused by the 120 kN
เมื่อออกแรงผลักวัตถุ แล้วปล่อยให้วัตถุไถลไปตามพื้นราบในแนวระดับ
กลศาสตร์และการเคลื่อนที่ (1)
เงินนอกงบประมาณ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านบัญชีในระบบ GFMIS (กระทรวงสาธารณสุข) นายธราธิป หนูเจริญ นักวิชาการคลังชำนาญการ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ฟิสิกส์ ว 40203 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง งานและพลังงาน อ.ปิยะพงษ์ ทวีพงษ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ความสำเร็จจะมีกับผู้ที่ใฝ่และขยัน แต่จะไม่มีสำหรับผู้ที่รอคอยโอกาส

ปริมาณทางฟิสิกส์ ปริมาณสเกลาร์ (Scalar Quantity) เป็นปริมาณที่บอกเพียงขนาดอย่างเดียวก็สามารถที่จะสื่อและเข้าใจความหมายได้อย่างสมบูรณ์ เช่น มวล(mass) ความยาว(length) เวลา(time) ปริมาตร(volume) ความหนาแน่น(density) อัตราเร็ว(speed) เป็นต้น ปริมาณเวกเตอร์ (Vector Quantity) เป็นปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง ต้องบอกว่ามีขนาดเท่าใดและเคลื่อนที่ไปทางใด ใช้เครื่องหมาย อยู่เหนืออักษร เช่น ความเร็ว(velocity) แรง(force) ความเร่ง(acceleration) การขจัดหรือการกระจัด(displacement) โมเมนตัม(momentum) เป็นต้น

เวกเตอร์ (Vector) ปริมาณเวกเตอร์นั้น เราจะแทนได้ด้วยส่วนของเส้นตรงที่ระบุทิศทาง ซึ่งความยาวของส่วนของเส้นตรงจะแทนขนาด และใช้หัวลูกศรเพื่อบอกทิศทาง ดังภาพ a b a คือ จุดเริ่มต้น b คือ จุดสิ้นสุด ดังนั้น ความยาว ab คือ ขนาดของเวกเตอร์ หรือเขียนแทนด้วย หรือ หรือ หรือ

ปริมาณในทางฟิสิกส์ 2 ปริมาณ มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่างเช่นการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ซึ่งเรามักจะพูดคำนี้เสมอว่า ระยะทาง เช่น จากกรุงเทพฯไปจันทบุรี ระยะทางกี่กิโลเมตร (สัมพันธ์กับปริมาณสเกลาร์) หากจะพูดต่อไปอีกว่า จังหวัดจันทบุรีนั้นอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย (สัมพันธ์กับปริมาณเวกเตอร์) เป็นต้น

สภาพสมดุล สภาพสมดุล คือ อะไร ? ตัวอย่าง วัตถุอยู่นิ่งๆ วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ วัตถุที่ไม่หมุน วัตถุที่กำลังหมุนด้วยอัตราเร็วเชิงมุมคงที่ จากกฎข้อที่ 1 กล่าวได้ว่า การที่วัตถุไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่หรือรักษาสภาพการเคลื่อนที่ เราเรียกว่า สมดุล แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สมดุลสถิต และสมดุลจลน์

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน "วัตถุจะคงสภาพอยู่นิ่ง หรือ สภาพการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวในแนวตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ซึ่งมีค่าไม่เป็นศูนย์มากระทำ"

สมดุล 1. สมดุลของวัตถุที่ไม่มีการเคลื่อนที่(วัตถุอยู่นิ่ง) การพิจารณาสมดุลของวัตถุในกลศาสตร์ 1 นั้น เราแบ่งการพิจารณาเป็น 2 แบบ หลักๆ ที่นักเรียนจะต้องทราบคร่าวๆ ดังนี้คือ 1. สมดุลของวัตถุที่ไม่มีการเคลื่อนที่(วัตถุอยู่นิ่ง) 2. สมดุลของการเลื่อนตำแหน่งวัตถุ(วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว)

กรณีที่วัตถุอยู่บนพื้นราบธรรมดา (วัตถุอยู่นิ่งโดยที่ไม่มีแรงภายนอกใดๆ มากระทำ) ดังนั้น แรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้เกิดสมดุลนั้นจะมีแรงต่างๆ ดังนี้ N จะเห็นได้ว่า วัตถุมีแรงมากระทำเพียง 2 แรง ซึ่งได้แก่ แรง N (แรงปฏิกิริยาที่พื้นกระทำต่อวัตถุในแนวตั้งฉาก) และ w (น้ำหนัก หรือแรงที่โลกดึงดูดวัตถุมีขนาดเท่ากับ mg จะมีทิศพุ่งสู่ใจกลางโลก) m w = mg จากกฎข้อที่ 1 วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ ; ∑F = 0 ภาษาพูดเราจะบอกว่า แรงขึ้น = แรงลง แรงที่ว่านี้ได้แก่ N = w ดังนั้น สมดุลที่กล่าวมานี้ คือ N = mg

ข้อสังเกต หากพิจารณาตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตันแล้ว N และ mg เป็นคนละแรงกัน อาจจะไม่เท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ตามสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งถ้าวัตถุอยู่ในสภาพสมดุล จะเท่ากันตามสมการ ∑F = 0 แต่ในกรณีที่เป็นพื้นลิฟท์ที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่งด้วยความเร่ง ค่าแรงปฏิกิริยา N จะไม่เท่ากับแรงดึงดูด mg แต่จะเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ตามสมการ ∑F = ma

กรณีที่วัตถุอยู่บนพื้นราบธรรมดา (วัตถุเคลื่อนที่และมีแรงเสียดทานที่พื้น) แรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้เกิดสมดุลนั้นจะมีแรงต่างๆ ดังนี้ N พิจารณาในแนวตั้งฉากจะพบว่าวัตถุอยู่ในตำแหน่งสมดุล ∑F = 0 N = mg F m f = µ N w = mg พิจารณาในแนวระดับจะพบว่าวัตถุอยู่ในตำแหน่งสมดุลเช่นกัน ∑F = 0 แรงทางขวา = แรงทางซ้าย F = f

การประยุกต์ใช้กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน (สำหรับวัตถุที่เคลื่อนที่) การหาแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุนั้นจะต้องรวมสมดุลของแรงต่างๆ ทั้งในแนวระดับและตั้งฉากออกมาให้ได้ โดยให้ยึดหลักว่า แรงที่กระทำต่อวัตถุนั้น เป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยคิดที่จุดศูนย์กลางมวลดังนี้ จากกฎการเคลื่อนที่ ; ∑F = ma ดังนั้น F – f = ma F = ma + f F = ma + µ N จะได้ F = ma + µmg

ตัวอย่าง สมมุติออกแรงดึง F กระทำต่อมวล m แล้ว พื้นมีแรงเสียดทาน f ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง a ฉะนั้น ถ้ามีแรงมากระทำต่อวัตถุให้เกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นไปตามกฎข้อที่ 2 ของนิวตัน จะได้ว่า m F f จากกฎการเคลื่อนที่ ; ∑F = ma ดังนั้น F – f = ma F = ma + f F = ma + µ N

ตัวอย่างโจทย์ที่นักเรียนจะพบได้ 1. หนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่บนเบาะรถยนต์ที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว 30 m/s ถ้าค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างหนังสือกับเบาะเท่ากับ 0.25 จงคำนวณหาระยะทางสั้นที่สุดที่รถหยุดด้วยความเร่งคงที่โดยที่หนังสือบนเบาะไม่ลื่นไถล วิธีทำ วาดรูปตามโจทย์ จะเห็นว่า เมื่อรถเบรก ตัวรถจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้หนังสือเกิดความพยายามที่จะไถลไปข้างหน้า ทำให้เกิดแรงเสียดทานสวนกลับไปข้างหลัง โจทย์ต้องการระยะสิ้นสุด แสดงว่า แรงเสียดทานสูงสุดที่เกิดขึ้น คือ fs = µ N N u = 30 m/s m f w = mg

พิจารณาแรงที่กระทำต่อหนังสือ จะพบสมดุลในแนวดิ่ง คือ N = mg ……..(1) พิจารณาในแนวราบซึ่งมีการเคลื่อนที่ ∑F = ma f = ma ……(2) แต่ f = µ N = µmg แทนค่า (1) ใน (2) จะได้ µmg = ma 0.25(m)10 = ma a = 2.5 m/s2

เนื่องจาก แรงเสียดทานมีทิศต้านการเคลื่อนที่ ความเร่งที่จะทำให้วัตถุหยุด(ความหน่วง)จึงมีทิศต้านการเคลื่อนที่ด้วย นั่นคือ a = -2.5 m/s2 จาก v2 = u2 + 2as 0 = (30)2 + 2(-2.5)s S = 180 m ดังนั้น รถจะต้องหยุดในระยะทางสั้นที่สุด 180 m หนังสือจึงไม่ไถล

จะเห็นว่า พื้นไม่มีความฝืด ; f = 0 และพบว่า วัตถุเคลื่อนที่ในแนวราบ 2. ชายคนหนึ่งลากกระเป๋ามวล 5 กิโลกรัม ให้เลื่อนไปตามพื้นราบที่ไม่มีความฝืดด้วยแรง 40 นิวตัน โดยแรงนี้ทำมุม 37 องศา กับแนวราบ กระเป๋าจะเลื่อนไปตามพื้นราบด้วยความเร่งเท่าใด วิธีทำ วาดรูปตามโจทย์ จะเห็นว่า พื้นไม่มีความฝืด ; f = 0 และพบว่า วัตถุเคลื่อนที่ในแนวราบ ∑F = ma Fcos37 = ma 40 (4/5) = 5a a = m/s2 Fsin37 N F = 40 37 m Fcos37 f = 0 w = mg

3. หัวจักรรถไฟคันหนึ่งลากโบกี้รถอีก 2 ตู้ ถ้าไม่คิดค่าแรงเสียดทาน จงหาว่าแรงดึงระหว่างหัวรถจักรกับโบกี้แรกจะมีค่าเป็นกี่เท่าของแรงดึงของโบกี้ที่ 2 วิธีทำ วาดรูปตามโจทย์ สมมุติโบกี้ทั้งสองมีมวล m และทั้งระบบเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง a เชือกมีแรงดึง T1 และ T2 ดังภาพ a T2 T1 m m จากกฎการเคลื่อนที่ ; ∑F = ma พิจารณาโบกี้แรก T1 – T2 = ma ……(1) พิจารณาโบกี้ที่สอง T2 = ma ……(2) แทน (2) ใน (1) จะได้ T1 – T2 = T2 ดังนั้น T1 = 2T2

หรือ T – mg = 0 กรณีวัตถุผูกติดที่ปลายเชือก(วัตถุอยู่นิ่ง) จากกฎข้อที่ 1 วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ ; ∑F = 0 ภาษาพูดเราจะบอกว่า แรงขึ้น = แรงลง แรงที่ว่านี้ได้แก่ F = mg ดังนั้น สมดุลที่กล่าวมานี้ คือ T = mg หรือ T – mg = 0 T m w = mg

กรณีวัตถุผูกติดที่ปลายเชือก(วัตถุเคลื่อนที่) จากกฎข้อที่ 2 วัตถุเคลื่อนที่ ; ∑F = ma แรงที่ว่านี้ได้แก่ T - mg = ma ดังนั้น สมดุลต่อการเคลื่อนที่คือ T - mg = ma T a m w = mg

ตัวอย่างโจทย์ที่นักเรียนจะพบได้ 1. ลิงตัวหนึ่งมีมวล m รูดตัวลงมาจากต้นมะพร้าวด้วยอัตราเร่ง a อยากทราบว่า แรงเนื่องจากความฝืดอันเนื่องจากมือลิงกุมต้นมะพร้าวไว้นั้นมีขนาดเท่าใด กำหนดความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกเป็น g วิธีทำ วาดรูปตามโจทย์ กำหนด แรงเนื่องจากความเสียดทาน(ความฝืด) = f จากกฎการเคลื่อนที่ ; ∑F = ma แรงที่ว่านี้ได้แก่ mg - f = ma ดังนั้น สมดุลต่อการเคลื่อนที่ของลิง คือ f = m(g – a) f a mg

แบบฝึกหัดในคาบ 1. เชือกเส้นหนึ่งทนแรงดึงได้ 50 นิวตัน ผูกไว้กับมวล 4 กิโลกรัม จะดึงมวลขึ้นในแนวดิ่งด้วยความเร่งมากที่สุดเท่าใด เชือกจึงจะไม่ขาด วิธีทำ วาดรูปตามโจทย์ จากกฎการเคลื่อนที่ ; ∑F = ma T – mg = ma T a m mg

กรณีที่วัตถุอยู่บนพื้นเอียง (โดยที่พื้นมีความฝืดหรือมีแรงเสียดทาน) สมดุลของแรง จากกฎข้อที่ 1 ∑F = 0 ในลักษณะเช่นนี้จะต้องเขียนสมดุลของแรงออกมาให้หมดทั้งสองแนว คือ ∑Fx = 0 f = mg sinθ …….(1) ∑Fy = 0 N = mg cosθ …….(2) y x N f θ mg sinθ θ mg mg cosθ สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน (µ ) ระหว่างวัตถุกับพื้นเอียงจะมีค่า = tanθ นำ (1) หาร (2) จะได้ f/N = tanθ = µ

ตัวอย่างโจทย์ที่นักเรียนจะพบได้ 1. กล่องไม้สี่เหลี่ยมมวล m ไถลลงมาตามพื้นเอียงทำมุม 53 องศา กับแนวราบ ค่า ส.ป.ส.ความเสียดทานระหว่างผิวแล่องกับพื้นเอียงเท่ากับ 0.5 ความเร่งของกล่องขณะลงมาตามพื้นเอียงจะมีค่าเท่าใด วิธีทำ วาดรูปตามโจทย์ พิจารณาแรงที่กระทำต่อวัตถุ สมดุลในแนวระดับ(เคลื่อนที่ลง) F = ma mg sin53 - f = ma …….(1) สมดุลในแนวตั้งฉาก N = mg cos53 …….(2) N f m 53 mg sin53 53 mg cos53 แต่ fk = µ N = µ mg cos53 mg

แทนค่า ใน (1) จะได้ mg sin53 - µ mg cos53 = ma g sin53 - µ g cos53 = a 10(4/5) – 0.5 x 10(3/5) = a a = m/s2

จงหาเวกเตอร์ลัพธ์ของวัตถุที่อยู่ในสภาพสมดุล จากภาพต่อไปนี้ F α N m f θ mg sinθ θ mg cosθ mg

สรุปได้ว่า ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน นั่นแสดงว่า ผลรวมของแรงทุกแรงที่มากระทำต่อวัตถุชิ้นนั้นทำให้วัตถุหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน สภาพสมดุลของวัตถุ คือ การที่วัตถุสามารถรักษาสภาพการเคลื่อนที่ไว้ได้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า วัตถุจะมีการเคลื่อนที่เพียงแนวเดียว

แบบฝึกหัดในคาบ 1. วัตถุมวล 1 กิโลกรัม ไถลลงมาตามพื้นเอียงที่มีความชันเป็น 3/4 จากจุดที่สูง 3 เมตร ถ้าแรงเสียดทานมีค่า 1 นิวตัน จงหาความเร็วของวัตถุที่ปลายล่างของพื้นเอียง (ตอบ v = 7.07 m/s) m 3 m θ 4 m

เนื้อหาที่เรียน รู้จักกับงานและพลังงาน งาน(Work) กำลัง(Power) พลังงานจลน์(Kinetic Energy) พลังงานศักย์(Potential Energy) -พลังงานศักย์โน้มถ่วง -พลังงานศักย์ยืดหยุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างงานและพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน การคำนวณเกี่ยวกับพลังงาน

รู้จักกับงานและพลังงาน ความหมายของงานโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน งานมักจะหมายถึง การยกของ ทำสวนครัว ปรุงอาหาร ซักเสื้อผ้า เขียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อรับค่าตอบแทนและขณะที่เด็กวิ่งเล่นกันอยู่ในสนามเด็กเล่นหรือเล่นแบดมินตัน หรือตีเทนนิส แต่ความหมายของงานโดยทั่วไป กับความหมายทางฟิสิกส์แตกต่างกัน ซึ่งความหมายของงานในทางฟิสิกส์ คือ งานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่ได้ระยะกระจัด (ระยะกระจัดหมายถึงระยะที่วัดในแนวตรง)

เพราะฉะนั้นตัวอย่างการเล่นกีฬาของเด็ก ๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นการทำงานในทางฟิสิกส์ เมื่อมีแรงกระทำแก่วัตถุ และสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้จะเกิดงาน งานวัดได้จากผลคูณของระยะทางกับแรงตามแนวที่วัตถุเคลื่อนที่ เช่น แรง 14 ปอนด์ ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่ ขึ้นมา 1 ฟุต  งานที่ต้องใช้คือใช้คือ 14 x 1 หรือ 14 ฟุต-ปอนด์  แต่ถ้าเมื่อยกวัตถุให้สูงขึ้นมาได้  2 ฟุต งานที่ต้องใช้ คือ 28 ฟุต-ปอนด์

งาน = แรง x ระยะทางตามแนวแรง งาน(Work) งาน (Work) คือผลคูณของแรงกับการขจัดที่อยู่ในแนวเดียวกันเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็น จูล หรือนิวตัน-เมตร งานที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่ถูกกระทำด้วยแรงต่างๆ งาน = แรง x ระยะทางตามแนวแรง W = F.s F m m s A B

เมื่อ F คือแรง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) Ѳ m m A B s ถ้า F และ S อยู่คนละแนว เมื่อ F คือแรง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) S คือระยะทาง มีหน่วยเป็น เมตร (m) Ѳ คือ 0≤ Ѳ ≤180 มีหน่วยเป็น องศา หรือ เรเดียน(rad) W คืองาน มีหน่วยเป็น จูล (J)

หน่วยของงาน ระบบ แรง ระยะทาง งาน FPS ปอนด์ ฟุต ฟุต-ปอนด์ CGS กรัม ซม. กรัม-ซม. MKS กิโลกรัม เมตร กิโลกรัม-เมตร SI นิวตัน นิวตัน-เมตร

ข้อสังเกต ถ้า F มีทิศเดียวกับ s (Ѳ =0) จะได้ว่า ระบบได้งาน ไม่เกิดงาน ถ้า F มีทิศทางตรงข้ามกับ s (Ѳ =180) จะได้ว่า ระบบเสียงาน ทิศการเคลื่อนที่ งานเป็นลบ คืองานอันเนื่องจากแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ ได้แก่ งานเนื่องจากแรงเสียดทาน m m f s

สรุป งานมีค่าได้ทั้งบวก และ ลบ s F m งานมีค่าได้ทั้งบวก และ ลบ s 1.งานมีค่าเป็นบวก เกิดจากแรงกระทำต่อวัตถุในแนวกับการเคลื่อนที่ 2.งานมีค่าเป็นศูนย์ เกิดจากแรงที่กระทำกับวัตถุมีทิศตั้งฉากกับทิศของการเคลื่อนที่ 3.งานมีค่าเป็นลบ เกิดจากแรงกระทำต่อวัตถุในทิศตรงข้ามกับแนวการเคลื่อนที่ mg เมื่อยกก้อนปูน ขึ้น งานที่ทำโดยคนยกเป็นบวก งานที่ทำโดยแรงโน้มถ่วงเป็นลบ เมื่อวางก้อนปูน ลง งานที่ทำโดยคนยก เป็นลบ งานที่ทำโดยแรงโน้มถ่วงเป็น บวก

โจทย์การคำนวณ เรื่อง งาน ตัวอย่าง ผลักกล่องไปได้ไกล 2 m ด้วยแรงในแนวระดับ 2 N ถ้าแรงเสียดทาน เท่ากับ 0.4 N จงหา (a) งานที่ทำโดยแรง 2 N (b) งานที่ทำโดยแรงเสียดทาน F=2N f=0.4 m 2 m W = F.s (a) (b) W = F.s = -0.4 x 2 m = 2 N x 2 m = 4 J = -0.8 J

ตัวอย่าง ช้างตัวหนึ่งลากซุงไปได้ไกล 20 m ด้วยแรง 20 N ในแนว 37 องศา กับระดับ ถ้าแรงเสียดทานขณะที่ช้างลากซุง เท่ากับ 5 N จงหา (a) งานที่ทำโดยแรง 20 N 37⁰ 5 N 20 m จาก W = F.s W = FcosѲ.s W = (FcosѲ.s) – (f.s) หรือ W = (FcosѲ – f).s แทนค่า จะได้ W = {20(4/5) – 5}x20 W = 220 N.m = 220 J # วิธีทำ 1.แรงที่ใช้ลากกระทำกับแนวแกน x (แนวระดับ) จะได้ FcosѲ 2.ผลรวมของแรงในแนวระดับ จะได้ FcosѲ - f

ตัวอย่าง สามหาวลากกล่องใบหนึ่งที่มีมวล 60 kg ขึ้นไปตามทางลาดเอียงเป็นระยะทาง 5 m ดังภาพ ด้วยความเร็วคงที่ ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ขณะลากขึ้นไปเป็น 0.1 จะต้องทำงานทั้งสิ้นเท่าใด วิธีทำ 3 m 5 m 4 m

การบ้าน (วาดรูปพร้อมแสดงวิธีการหาคำตอบ) 1.จงหางานในการเคลื่อนที่ตู้คอนเทนเนอร์มวล 1000 kg ขึ้นไปตามพื้นเอียงทำมุม 53 องศา กับพื้นราบไปยังจุดซึ่งอยู่สูงจากพื้นราบ 4 เมตร ด้วยความเร็วคงที่ ถ้าแรงเสียดทานระหว่างกล่องกับพื้นเอียงเท่ากับ 10 นิวตัน กำหนด sin53⁰ = 4/5 (ตอบ 40,050 จูล)

2.ชายคนหนึ่งหนัก 500 N เดินบนพื้นราบได้ 2 เมตร แล้วเดินขึ้นบันไดซึ่งสูง 8 m จงหางานที่ทำโดยชายคนนี้(ตอบ 4,000 นิวตัน-เมตร) 8 m 2 m 5 m 500 N

งานเนื่องจากแรงชนิดต่างๆ F m m µ f s A B วัตถุเคลื่อนที่แสดงว่าแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น คือ งานที่เกิดกับวัตถุ จากกฎข้อที่ 2 ของนิวตัน

การหางานด้วยวิธีคำนวณจากพื้นที่ใต้กราฟ 1.ลักษณะกราฟที่มีแรงคงตัว F F s s จาก W = F.s ถ้าเป็นกราฟเราหาได้จาก W = พท.ใต้กราฟของแรงกับระยะทาง

2.ลักษณะกราฟที่มีแรงไม่คงตัว F s

ถ้ามีแรงคงที่และไม่คงที่กระทำกับวัตถุ F ตรวจสอบว่าวัตถุเคลื่อนที่หรือไม่ F2 วัตถุจะไม่เคลื่อนที่ F1 วัตถุจะเคลื่อนที่ทันที s ในกรณีนี้ถ้า x งาน เท่ากับพื้นที่ย่อยๆ ทั้งหมดใต้กราฟ ระหว่าง F กับ s

ตัวอย่างที่ 1 แรง F กระทำกับวัตถุแสดงโดยกราฟดังภาพ งานที่เกิดขึ้นในระยะ 10 เมตรเป็นกี่จูล F (N) 30 S (m) 10

การบ้าน ส่งจันทร์ที่ 8 มิ.ย. 52 การบ้าน ส่งจันทร์ที่ 8 มิ.ย. 52 เด็กชายจิ๋มเป็นนักเรียน ม.5 สายการเรียนคณิต-วิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนแห่งหนึ่งได้ทำการทดลองยืดยางยืด แล้วเขาพบว่าแรงที่ใช้ดึงจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความยาวที่ยืดออก โดยเขาได้บันทึกการทดลองแล้ว Plot กราฟ ได้กราฟเส้นตรงดังนี้ F (N) B 40 (N) E 20 (N) D C S (m) A 2 4 จงหางาน a. เมื่อยืดยางยืดจากระยะยืด 0 – 4 เมตร (ตอบ 80 N-m) b. ในการยืดยางจากระยะที่ยืดได้ 2 เมตร จากระยะเดิมเป็น 4 เมตร (ตอบ 60 N-m)

กำลัง(Power) กำลังงาน(Power) หรือเรียกสั้นๆ ว่า กำลัง คืออัตราการทำงานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา กำลังเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็น จูล/วินาที หรือ วัตต์ เมื่อ P คือ กำลัง มีหน่วยเป็น วัตต์(W) W คือ งาน มีหน่วยเป็น จูล(J) t คือ ช่วงเวลาที่ใช้ในการทำงาน มีหน่วยเป็น วินาที(s) 1.ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ จะได้กำลังขณะใดๆ มีค่าเท่ากับกำลังเฉลี่ย P=W/t =F.s/t= Fvav

P=W/t =F.s/t= Fvav สมการนี้เราเรียกว่า กำลังเฉลี่ย หรือ อัตราการทำงาน เป็นคำที่จะเจอในเรื่องของงานและพลังงาน ในการคำนวณเรื่องของกำลังสามารถที่จะใช้ในการหาอัตราการทำงานจากพื้นที่ใต้กราฟได้

1 กำลังม้า มีค่าเท่ากับ 746 วัตต์ แรงม้า คือ อัตราเร็วในการทำงาน  วัดได้เพียงว่า 1  แรงม้า เท่ากับงานที่ทำ33,000  ปอนด์ใน  1 นาที  หรือ เท่ากับ 746 วัตต์ 1 กำลังม้า มีค่าเท่ากับ 746 วัตต์

Activity Power(W) Sleeping 83 Sitting at rest 120 Standing relaxed 125 Riding in a car 140 Sitting in a lecture (awake) 210 Walking slowly at 4.8km/h 265 Cycling at 13-18km/h 400 Playing Tennis 440 Breaststroke swimming at 1.6km/h 475 Skating at 15km/h 545 climb stairs at 116 steps/min 685 Cycling at 21km/h 700 Playing Basketball 800 Harvard Step test 1120

ตัวอย่างการคำนวณพลังงานจลน์ ตัวอย่างที่ 1 ออกแรง 60 นิวตัน ดึงกล่องใบหนึ่งให้เคลื่อนที่ไปทางขวาได้ระยะทาง 5 เมตร ในเวลา 3 วินาที จงหากำลังของแรงนี้ วิธีทำ 1. วาดรูปตามโจทย์และแตกแรงตามแนวการเคลื่อนที่ 60 N 5 m

วิธีทำ 1. วาดรูปตามโจทย์และแตกแรงตามแนวการเคลื่อนที่ ตัวอย่างที่ 2 ธิดาช้างคนหนึ่งออกแรง 120 นิวตัน ทำมุม 37 องศา กับแนวระดับดึงกล่องใบหนึ่งให้เคลื่อนที่ เป็นระยะทาง 2 เมตร ในเวลา 4 วินาที กำลังของธิดาช้างคนนี้เป็นเท่าใด วิธีทำ 1. วาดรูปตามโจทย์และแตกแรงตามแนวการเคลื่อนที่ 120 N Ѳ 2 m

การบ้าน 1.ช้างตัวหนึ่งออกแรง 20 นิวตัน ในทิศทางทำมุม 53 องศากับพื้นราบ ดึงซุงมวล 100 กิโลกรัม ซึ่งอยู่นิ่งบนพื้น และลากไปด้วยความเร็ว 10 m/s ในเวลา 20 วินาที อัตราการทำงานของช้างตัวนี้เป็นเท่าใด วิธีทำ 1. วาดรูปตามที่โจทย์กำหนดพร้อมแตกแรงในแนวการเคลื่อนที่

พลังงาน(Energy) พลังงาน(Energy)คือ สิ่งที่ไม่มีตัวตนแต่มีความสามารถ ทำงานได้หรือ ความสามารถของวัตถุที่จะทำงานได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงพลังงานเพียง 2 ชนิด 1. พลังงานจลน์ 2. พลังงานศักย์ -พลังงานศักย์โน้มถ่วง -พลังงานศักย์ยืดหยุ่น

พลังงานจลน์(Kinetic Energy) Ek พลังงานจลน์(Ek) คือพลังงานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เป็นพลังงานของวัตถุที่กำลังลังเคลื่อนที่ v

m u m ∑F ∑F V s W = F.s = ma.s งานที่ทำ ………………(a) จาก จาก (a) จะได้

สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง งานที่เกิดขึ้นบนวัตถุกับพลังงานจลน์ สมการนี้เรียกว่า Work – Energy Equation นอกจากจากพลังงานจลน์จะเป็นพลังงานที่จะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่แล้ว พลังงานจลน์ยังจะมีค่าเท่ากับงานที่ใช้ในการทำให้วัตถุนั้นหยุดนิ่งด้วย ซึ่งเป็นไปตามสมการ

ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 ต้องการเร่งให้เครื่องยนต์ของรถไฟเหาะตีลังกาที่มีมวล 1000 กิโลกรัม มีความเร็วเปลี่ยนจาก 20 m/s เป็น 40 m/s ภายในเวลา 5 นาที จะต้องใช้กำลังเฉลี่ยอย่างน้อยเท่าใด วิธีทำ โจทย์กำหนด มวลของรถไฟเหาะ 1000 kg ความเร็วเริ่มต้น 20 m/s ความเร็วสุดท้าย 40 m/s เวลา 5 นาที

ความสัมพันธ์ระหว่างงานและพลังงาน ถ้าวัตถุเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยมีแรงเสียดทานหรือแรงภายนอกใดๆ ที่มากระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ จะทำให้พลังงานของวัตถุมีค่าเปลี่ยนแปลงไปโดยพลังงานที่เปลี่ยนไปมีค่าเท่ากับงาน เนื่องจากแรงเสียดทาน หรือแรงภายนอกใดๆ ที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ เราเขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้ โดย w คือ งานอันเนื่องจากแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ E2 คือ พลังงานรวมของวัตถุที่ตำแหน่งหลัง E1 คือ พลังงานรวมของวัตถุที่ตำแหน่งเริ่มต้น

1 2 m u m V s “งานของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานจลน์ของวัตถุนั้น”

งานและพลังงานจลน์ เมื่องานที่ทำ เกิดจากแรงลัพธ์ที่กระทำกับวัตถุ วัตถุจะเปลี่ยนความเร็ว ทำให้พลังงานจลน์เปลี่ยน ดังนั้น งานที่ทำจะเท่ากับ การเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของวัตถุ ความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้น เมื่อ งานเป็น บวก ความเร็วของวัตถุจะลดลง เมื่อ งานเป็น ลบ

ตัวอย่างโจทย์ 1. วัตถุมวล 1 กิโลกรัม ไถลลงมาตามพื้นเอียงที่มีความชันเป็น 3/4 จากจุดที่สูง 3 เมตร ถ้าแรงเสียดทานมีค่า 1 นิวตัน จงหาความเร็วของวัตถุที่ปลายล่างของพื้นเอียง (ตอบ v = 7.07 m/s) m 3 m θ 4 m

พลังงานศักย์(Potential Energy) พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานศักย์ (Ep) คือ พลังงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง งานที่ใช้ในการนำพาวัตถุให้เคลื่อนที่จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์ของวัตถุนั้นที่ระดับใหม่ เมื่อเทียบกับระดับเดิม พลังงานศักย์บยืดหยุ่น

พลังงานศักย์โน้มถ่วง(Gravitational Potential Energy) m เกิดจากการเปลี่ยนระดับของวัตถุจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง สมมุติ ให้วัตถุหนัก mg วางบนพื้น จากนั้นถูกยกยึ้นไปแขวนสูงจากเดิม h F h m ดังนั้น งานที่ทำเข้าไป = น้ำหนักของวัตถุ x ความสูง mg จะเห็นว่า งานนี้ไม่สูญหาย แต่กลายเป็น พลังงานศักย์โน้มถ่วง ของวัตถุ

พลังงานที่สัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของ แรงโน้มถ่วงของโลก m mg ∆y m yi yj mg

พลังงานศักย์ยืดหยุ่น(Elastic Potential Energy) F หดเข้า m ตำแหน่งปกติ m s ยืดออก F m

ตัวอย่างโจทย์ ตัวอย่างที่ 1 สปริงตัวหนึ่งมีค่าคงที่ k = 24 N/m ผูกปลายข้างหนึ่งเข้ากับกำแพง และอีกปลายข้างหนึ่งกับมวล 4 กิโลกรัม ซึ่งวางบนพื้นราบลื่นใช้แรงขนาด 10 นิวตัน ดึงมวล 4 กิโลกรัม ในแนวราบจากตำแหน่งหยุดนิ่ง จงหาความเร็วของมวล เมื่อเคลื่อนที่ได้ 0.5 เมตร วิธีทำ 1.วาดรูปตามที่โจทย์กำหนด N 4 kg 10 N 0.5 m mg

สรุป พลังงานศักย์ในสปริง F F=kx เมื่อสปริงเกิดการยืดหรือหดตัว จากสภาพปกติจะทำให้เกิดแรงในตัวสปริง โดยขนาดของแรงจะแปรผันตามระยะยืดหรือหดของสปริง x กราฟแรงกับระยะยืดหรือหด พลังงานศักย์ในสปริงที่สะสมอยู่ในสปริง อันเนื่องมาจากระยะยืดหรือหดของสปริง มีค่าเท่ากับงานอันเนื่องมาจากแรงในสปริงที่ทำให้วัตถุกลับคืนสู่สภาพปกติ k = ค่านิจของสปริง/แรงที่ทำให้ สปริงยืดหรือหดต่อหนึ่งหน่วย ความยาว (N/m)

กฎการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานสามารเปลี่ยนรูปจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ แต่ผลรวมของพลังงานยังคงที่ กฎการอนุรักษ์พลังงานมีความสำคัญมากเนื่องจากมีประโยชน์ที่สามารถใช้อธิบายหรือตอบคำถามต่าง ๆ ได้ ไม่เฉพาะในทางฟิสิกส์เท่านั้น ในสาขาต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ก็สามารถนำไปใช้อธิบายได้

ผลรวมของพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของวัตถุ เรียกว่า พลังงานกลของวัตถุ หรือเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุ เมื่อ และ กฎการอนุรักษ์พลังงาน

กรณีที่ 1 ถ้าไม่มีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ(ยกเว้น mg และ kx) จะได้ว่า W = 0 แล้วผลรวมพลังงานที่สะสมภายในวัตถุจะคงที่ จากสมการพลังงาน จะได้

กรณีที่ 2 ถ้ามีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ จะได้ว่า W ≠ 0 แล้วผลรวมพลังงานที่สะสมภายในวัตถุจะเป็นไปตามสมการ จากสมการพลังงาน จะได้

โมเมนต์ของแรง

เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุ บางกรณีจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่และเปลี่ยนตำแหน่งไป แต่ในบางกรณีเมื่อออกแรงกระทำจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบหมุน M = F.l จุดหมุน l F คานที่สมดุล ในแนวระดับ ดังภาพ ผลคูณระหว่างขนาดของแรง (F) กับระยะทางจากจุดหมุน (l) ไปตั้งฉากกับแนวแรง เรียกว่า โมเมนต์ของแรง (M)

a b l1 l2 l1 l2 F1 F2 F1 F2

โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา เมื่อพิจารณาการหมุนของคานกับการหมุนของเข็มนาฬิกา จะพบว่ามีการหมุนอยู่ 2 แบบ คือ หมุนตามเข็มนาฬิกาและหมุนทวนเข็มนาฬิกา จึงกล่าวได้ว่าเมื่อมีแรงหลายแรงกระทำต่อคาน และคานสมดุลในแนวระดับ ผลรวมของโมเมนต์ของแรงที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ของแรงที่หมุนตามเข็มนาฬิกา โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

ตัวอย่าง จงหาระยะ X ที่ทำให้คานอยู่ในภาวะสมดุลได้ x m 50 m 2.5 N 4 N

ตัวอย่าง จงหาแรง x ว่ามีค่ากี่นิวตันที่ทำให้คานอยู่ในภาวะสมดุลได้ 25 m 50 m 2.5 N X

ตัวอย่าง จงหาระยะ X ที่ทำให้คานอยู่ในภาวะสมดุล 50 m 50 m x m 2.5 N 1 N 3 N