วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคข้อบวมอักเสบเป็นหนอง (Suppurative arthritis หรือ Purulent arthritis) เป็นโรคแบบเรื้อรัง พบได้ในสุกรทุกช่วงอายุ แต่พบมากในลูกสุกรที่มีการตัดสายสะดือไม่สะอาดเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง คุณภาพซากลดลง และตายได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดคือ Streptococcus spp.. Stphylococcus spp. และ Corynebacterium pyogenes ทั้งนี้พบว่า Streptococcus spp. และ Stphylococcus spp. เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในลูกสุกรก่อนหย่านม ขณะที่ Corynebaterium pyogenes จะเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในลูกสุกรหลังหย่านม
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคข้อบวมอักเสบเป็นหนอง (Purulent arthritis) การติดต่อ 1. การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป 2. เชื้อโรคเข้าทางบาดแผลหรือรอยถลอกที่เยื่อเมือกหรือผิวหนัง เช่น การตัดเขี้ยว ตัดหาง รอยถลอกที่ผิวหนัง การตอน การตัดสายสะดือ การฉีดยา เป็นต้น
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคข้อบวมอักเสบเป็นหนอง (Purulent arthritis) อาการ สุกรมีอาการข้ออักเสบบวมแดงและเจ็บปวดมาก การอักเสบเกิดที่ข้อขา ข้อเข่า และข้อบริเวณปลายกีบของขาหน้า ซึ่งทำให้สุกรนอนอยู่กับที่ไม่ยอมเคลื่อนไหวบางรายอาจพบฝีเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อโดยรอบข้อได้ เดินขากะเผลก (lameness) น้ำหนักลด ขนหยาบกร้าน ในรายที่ข้ออักเสบเป็นเวลานาน อาจพบรูเปิดของแผลชอนทะลุ (fistula) ซึ่งจะมีหนองไหลออกมาและจะไหลมากเมื่อใช้มือบีบกดบริเวณข้อที่บวม
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคข้อบวมอักเสบเป็นหนอง (Purulent arthritis) รายที่เป็นเรื้อรัง เชื้ออาจแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด และทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ที่เชื้อไปอยู่เฉพาะที่ ที่พบเสมอได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้อสันหลังอักเสบ เป็นต้น ทำให้สุกรแสดงอาการหลังโก่งหรืออัมพาตของส่วนท้ายลำตัว (paraplegia) หากทำการเจาะข้อจะพบหนอง หนองจากเชื้อ streptococci และ staphylococci ในระยะแรกมีลักษณะเป็นครีมสีขาว ในรายเรื้อรังมีลักษณะคล้ายเนยแข็ง หนองจากเชื้อ C. pyogenes มีลักษณะข้นสีเหลืองหรือสีเขียวแกมเหลือง
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคข้อบวมอักเสบเป็นหนอง (Purulent arthritis) การป้องกัน 1. มีการตัดสายสะดือหรือใช้เข็มฉีดยาที่สะอาด 2. มีการสุขาภิบาลที่ดี และการจัดการที่ดีและสะอาด การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยากลุ่มเพ็นนิซิลินหรือยากลุ่มเตตร้าไซคลิน เป็นต้น
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคข้อบวมอักเสบเป็นหนอง (Purulent arthritis) ภาพที่ 11.9 ข้อบวมอักเสบ เป็นหนอน (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease หรือ Porcine polyserositis and polyarthritis) เป็นโรคติดเชื้อที่พบในสุกรทุกช่วงอายุ แต่โดยปกติจะพบมากในสุกรเล็กช่วงอายุ 2 สัปดาห์ถึง 4 เดือน แต่พบมากที่สุดคือช่วงหลังหย่านม (อายุ 5-8 สัปดาห์) เชื่อว่ามีสาเหตุจากความเครียด ซึ่งอาจเกิดจากการหย่านม การขนย้าย การย้ายคอกหรือโรงเรือน การเกิดโรคมักเกิดภายหลังมีภาวะเครียด 2-7 วัน อาจมีสุกรเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวในกลุ่มป่วย อัตราการตาย 10-50 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Hemophilus parasuis (H. parasuis)เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปกลมรีมีหลายซีโรไทป์ที่ก่อโรคในสุกร
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) การติดต่อ 1. การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปแล้วกลายเป็นการติดเชื้อแอบแฝง (latent infection) ที่ทางเดินหายใจของสุกร เมื่อเกิดภาวะเครียดเชื้อจะแทรกเข้าไปทำให้เกิดภาวะเลือดมีแบคทีเรีย และเกิดการอักเสบของเยื่อเสื่อมทั่วไป การเกิดโรคอาจจะเป็นช่วงเดียวกับที่สุกรหมดภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ทางน้ำนมเหลือง 2. การนำสุกรที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยสัมผัสกับเชื้อชนิดนี้เข้า มารวมกลุ่มกับสุกรที่เป็นพาหะ พบได้ในฝูงสุกรส่วนใหญ่ ทำให้เกิดการระบาดของโรคค่อนข้างรุนแรงจนกว่าฝูงสุกรนั้นจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) อาการ ในภาวะโลหิตเป็นพิษจากการติดเชื้อฮีโมฟิลัส ร่างกายลูกสุกรมีการส่งผ่านซีรั่มเข้าสู่ช่องว่างส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องอก ถุงหุ้มหัวใจ ช่องท้อง ช่องอุ้งเชิงกราน รวมทั้งบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ส่งผลให้มีการสะสมไฟบริน (fibrin) เพิ่มมากยิ่งขึ้นตามลำดับ สุกรมีอาการไข้สูงปานกลางถึงสูง (104-105 องศาฟาเรนไฮต์) ไม่กินอาหาร เฉื่อยชา อัตราการเต้นของหัวใจสูง 160 ครั้ง/นาที เยื่อตาขาวสีแดง การ บวมน้ำของหนังตาและใบหู เดินขากะเผลก ข้อบวมและแสดงอาการเจ็บปวดเมื่อคลำตรวจหรือส่งเสียงร้องเมื่อลุกขึ้นยืน
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) อาการ สุกรป่วยจะยืนด้วยปลายกีบและเดินลากขาโดยมีช่วงก้าวสั้น ๆ อาจมีอาการหายใจลำบากในลักษณะหายใจแบบตื้น มีการยืดสั่นหัว และอ้าปากหายใจ ในรายรุนแรง อาการของเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อสั่นกระตุก กล้ามเนื้อขาหลังทั้งสองไม่ประสานกัน อัมพาตโดยล้มตัวลงนอนตะแคงและมีการดิ้นรนเพื่อจะลุกขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะทางคลินิกที่พบได้เป็นส่วนใหญ่
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) อาการ สุกรส่วนใหญ่ตายภายใน 2-5 วันหลังเริ่มอาการป่วย สุกรที่มีชีวิตรอดจะเกิดข้ออักเสบแบบเรื้อรัง (chronic arthritis) หรืออาจเกิดการอุดกั้นของลำไส้ได้ในบางราย ในฤดูกาลที่มีฝนตกชุกละอองฝนสาดเปียกและอากาศหนาวเย็นจะพบกรณีปัญหารุนแรงมาก
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) ภาพที่ 11.10 ข้อบวม ยืนด้วยปลายกีบ เดินลากขา(ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) ภาพที่ 11.11 ใบหูสีม่วงจากการขาดอ๊อกซิเจน(ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) ภาพที่ 11.12 นอนตะแคงผิวหนังสีม่วง (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) อาการ เมื่อเปิดผ่าซากจะพบเยื่อเหนียวสีขาวเหลืองใสหรือขุ่นเหมือนกาว แข็งแป้งเปียก ซึ่งเกิดจากการรวมตัวสะสมของไฟบรินในช่องอก ถุงหุ้มหัวใจ ช่องท้อง โดยเฉพาะช่องท้อง ทำให้อวัยวะภายในถูกยึดตรึงติดกันทุกส่วนเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะค่อนข้างเฉพาะของโรคนี้ การป้องกัน 1. ให้ยาที่ควบคุมโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อะมิโนกลัยโคไซดส์โปลีเปปไทด์ เพื่อทำให้สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงยิ่งขึ้น
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) การป้องกัน 2. ควรใส่ยาปฏิชีวนะหรือเคมีบำบัดผสมอาหารหรือน้ำดื่มกิน เพื่อควบคุมป้องกันโรค เช่น ชนิดยาในกลุ่มเบต้าแลคแตม กลุ่มเตตระไซคลิน กลุ่มมาโครลีดส์ ลิงโคซามีดส์ หรือกลุ่มควิโนโลนส์ ตัวยาเอนโรฟลอกซาซินผสมในอาหารมักออกรสขม อาจทำให้สุกรไม่กินได้ 3. เมื่อมีการขนย้ายหรือการรวมกลุ่ม ควรให้ยาซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide) หรือซันโฟนาไมด์-ไตรเมทโทพรีม (sulfonamide-trimethoprime) ผสมอาหารในขนาด 250-500 กรัม/ตัน ให้สุกรกินติดต่อกัน 8-14 วัน เพื่อป้องกันการเกิดโรค
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเกลสเซอร์หรือโรคเยื่อเสื่อม (Glasser’s disease ) การรักษา ควรรีบรักษาให้เร็วที่สุด ด้วยการฉีดยารักษาและฉีดซ้ำทุก ๆ 24 ชั่วโมง (กรณีไม่ใช่ยาชนิดออกฤทธิ์นาน) ติดต่อกัน 5-7 วัน สุกรตัวอื่นในคอกเดียวกันต้องให้ยาเพื่อป้องกันหรือควบคุมการระบาดของเชื้อ ยาที่ใช้ต้องให้ในปริมาณสูงเพื่อให้ยาในกระแสเลือดสูงพอที่จะเข้าไปในไขสันหลัง และแพร่เข้าไปในข้อที่อักเสบ ยาที่ใช้คือ ยาเพนนิซิลลิน (penicillin) แอมพิซิลลิน (ampicillin) ซันโฟนาไมด์ไตรเมทโทพรีม และเตตร้าไซคลิน (tetracycline)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท้องเสียในลูกสุกรที่เกิดจากเชื้ออี. โคไล (Colibacillosis) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร พบว่าเป็นได้กับสุกรทุกอายุโดยเฉพาะลูกสุกร สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอี. โคไล (Escherichia coli; E. coli) เชื้อนี้สามารถพบได้ในทางเดินอาหารปกติ และเมื่อร่างกายสุกรอ่อนแอเชื้อโรคก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลให้สุกรป่วย
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท้องเสียในลูกสุกรที่เกิดจากเชื้ออี. โคไล (Colibacillosis) อาการ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่ที่อายุของสุกรที่ป่วย คือ ถ้าเป็นกับลูกสุกรแรกคลอดมักพบว่าลูกสุกรป่วยจะตายด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ โดยไม่พบอาการท้องเสีย สำหรับลูกสุกรป่วยที่ไม่ตาย จะพบอาการท้องเสีย ขนหยาบ ร่างกายสูญเสียน้ำ และผอม แกร็น ส่วนสุกรรุ่นที่เกิดอาการท้องเสียเนื่องจากเชื้ออี.โคไล มักเนื่องมาจากการกินหรือหายใจเอาเชื้อโรคตัวนี้เข้าไป
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท้องเสียในลูกสุกรที่เกิดจากเชื้ออี. โคไล (Colibacillosis) การป้องกัน 1. มีการจัดการเลี้ยงดูที่ดีทั้งแม่สุกรและลูกสุกร 2. มีการสุขาภิบาลที่ดี 3. ลูกสุกรแรกคลอดต้องให้ได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่สุกร การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยานีโอมัยซินหรือยาสเตร็ปโตมัยซินหรือยาโคลิสติน หรือยากลุ่มสังเคราะห์
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท้องเสียในลูกสุกรที่เกิดจากเชื้ออี. โคไล (Colibacillosis) ภาพที่ 11.13 วัฐจักรโรคท้องเสีย (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis, AR) เป็นกับระบบทางดินหายใจ พบได้ในสุกรทุกช่วงอายุ มีอัตราการเกิดโรคสูงแต่มีอัตราการตายต่ำ สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดร่วมกัน คือ Bordetella bronchiseptica (Bb) และ Pasteurella multocida (Pm) ชนิดสร้างสาร พิษทำให้เกิดการฝ่อลีบอย่างรุนแรงของ turbinate bone และจมูกผิดรูป การติดต่อ 1. การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป 2. การสัมผัสกับสุกรป่วยโดยตรง 3. การกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อโรคปนอยู่
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis, AR) อาการ จาม เลือดไหลออกจากจมูก มักพบอาการทั้งสองในสุกรที่มีอายุน้อยกว่า 4 สัปดาห์ เยื่อบุตาอักเสบและมีคราบน้ำตา จมูกและ/หรือยากรรไกรปากบนหดสั้นและจมูกบิดเบี้ยว ปัญหาทางเดินหายใจมีมากขึ้น ปอดบวม สูญเสียประสิทธิภาพการผลิต สุกรใหญ่ที่เป็นโรคนี้พบว่าไม่มีผลทำให้จมูกบิดเบี้ยวหรือย่น แต่จะเป็นตัวอมโรคและจะแพร่เชื้อโรคเมื่อสุกรเครียด
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis, AR) ภาพที่ 11.14 จาม เลือดไหล จมูกบิดเบี้ยว (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis, AR) การป้องกัน 1. การกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม่ 2. ศึกษาแหล่งที่มาของสุกรใหม่ว่ามีโรคนี้ระบาดหรือไม่ 3. กำจัดสัตว์พาหะ เช่น หนู แมว และสุนัข ออกจากโรงเรือน 4. การจัดการควบคุมโรคที่เข้มงวด 5. การเลี้ยงดูดีและอาหารดี 6. การสุขาภิบาลที่ดี การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดที่ออกฤทธิ์และทำลายเชื้อโรคได้กว้าง เช่น ยาซัลฟาเมทธาลีน ซัลฟาไทอะโซน เป็นต้น
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) เป็นโรคระบาดที่สามารถติดต่อถึงคนได้ ความรุนแรงของโรคอาจมีผลเนื่องจากพันธุกรรม คุณค่าของอาหารที่ใช้เลี้ยง การสุขาภิบาล อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมหรือฤดูกาล สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erysipelothrix rhusiopathiae การติดต่อ 1. การกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อโรคปนอยู่ 2. การสัมผัสกับสุกรป่วยโดยตรง ระยะฟักตัว 3-4 วัน
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) อาการ อาการมี 4 แบบคือ 1. แบบที่หนึ่ง สุกรป่วยแสดงอาการแบบฉับพลันและอาจตายได้โดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น อาการที่พบคือ ไข้สูง 104-108 องศาฟาเรนไฮต์ ซึม เบื่ออาหาร หนาวสั่น นอนสุมกัน ตาแดง ไอ มีขี้มูกขี้ตา ท้องผูกตามด้วยอาการท้องเสียอย่างรุนแรง บางตัวอาจพบอาการอาเจียน 2. แบบที่สอง สุกรป่วยแสดงอาการที่ผิวหนังคือ พบอาการบวมที่ผิวหนังลักษณะคล้ายรูปข้าวหลามตัดหรือเป็นหย่อมสีแดงจนถึงสีม่วงที่บริเวณท้อง ต้นขาและลำตัว สุกรป่วยที่ฟื้นจากโรคจะพบว่าผิวหนังที่มีรอยโรคจะลอก
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) อาการ อาการมี 4 แบบคือ 3. แบบที่สาม สุกรป่วยแสดงอาการที่ข้อขาคือ เดินขากระเผลกหรือเดินในลักษณะขาไม่สัมพันธ์กัน เกิดจากข้ออักเสบโดยเฉพาะที่ข้อเข่าหน้าและเข่าหลัง 4. แบบที่สี่ สุกรป่วยจะตายแบบทันทีหรืออาจพบอาการบวมที่ปลายจมูก หู และส่วนอื่นของร่างกาย
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) ภาพที่ 11.15 หนังแดงเข้มลายคล้ายข้าวหลามตัด (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) การป้องกัน 1. การกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม่ 2. การจัดการควบคุมโรคที่เข้มงวด 3. การเลี้ยงดูดีและอาหารดี 4. การสุขาภิบาลที่ดี การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มของยาเพ็นนิซิลินและยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อได้กว้าง
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคซัลโมแนลโลซีสหรือพาราไทฟอยด์ (salmonellosis) โรคนี้เป็นโรคระบาดที่พบได้กับสุกรทุกอายุ อัตราการเกิดโรคสูงและอัตราการตายสูง สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ ในสกุลซัลโมเนลลา มี 2 ชนิดคือ Salmonella choleraesuis และ Salmonella typhisuis การติดต่อ 1. การกินอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปนอยู่ 2. การกินกระดูกป่นที่มีเชื้อโรคปนอยู่ 3. การสัมผัสกับสัตว์ฟันแทะหรือนกป่าที่เป็นตัวพาหะของโรค ระยะฟักตัว 1-2 วัน
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคซัลโมแนลโลซีสหรือพาราไทฟอยด์ (salmonellosis) อาการ อาการป่วยที่พบได้มีอยู่ 4 แบบคือ 1. แบบที่หนึ่ง มักพบกับลูกสุกร โดยอาการป่วยจะเกิดแบบฉับพลัน ไข้สูง 105-107 องศาฟาเรนไฮต์ สุกรจะซึมและตายภายใน 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าผิวหนังมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วง โดยเฉพาะที่ขอบตาและใต้ท้อง อาการทางประสาท อาจพบและอัตราการตายสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ 2. แบบที่สอง มักพบกับสุกรที่มีอายุมากหรือสุกรใหญ่ อาการที่พบได้ คือ ไข้สูง 105-107 องศาฟาเรนไฮต์ ท้องเสียเป็นน้ำอย่างแรง อุจจาระมีกลิ่นเน่า เป็นมูก และอาจพบเยื่อเมือกของลำไส้ปนด้วย
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคซัลโมแนลโลซีสหรือพาราไทฟอยด์ (salmonellosis) อาการ อาการป่วยที่พบได้มีอยู่ 4 แบบคือ 3. แบบที่สาม อาการที่พบคือ ไข้สูง 103-104 องศาฟาเรนไฮต์ เบื่อ อาหาร อุจจาระนิ่ม และบางรายพบอาการสูญเสียน้ำ เช่น ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น ตาจมลึก ขนลุก ซูบผอมลงเรื่อยๆ และตายในที่สุด 4. แบบที่สี่ อาการที่พบคือ ท้องเสีย โดยพบเป็น ๆ หาย ๆ ผอมแห้ง และตอบสนองต่อการรักษาได้น้อย (อุจจาระอาจปกติหรืออาจมีมูกหรือเลือดปน)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคซัลโมแนลโลซีสหรือพาราไทฟอยด์ (salmonellosis) การป้องกัน 1. กำจัดสุกรที่เป็นตัวอมโรค 2. การกักโรคและตรวจโรคสุกรใหม่ 3. การจัดการควบคุมโรคที่เข้มงวด 4. ระวังการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์จากโรงฆ่าสัตว์ 5. การสุขาภิบาลที่ดี การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยานีโอมัยซิน หรือยาเตตร้าไซคลิน หรือยาซัลโฟนามาย หรือยาไนโตรฟูราโซน
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคแท้งติดต่อหรือบรูเซลโลซีส (Brucellosis, Undulent fever) เป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดแพร่หลายทั่วไปในสัตว์เลี้ยง เช่น โค แพะ แกะ และสุกร ในคนสามารถติดโรคนี้ได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา (brucella) ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย การติดต่อ 1. กินอาหารและน้ำที่มีเชื้อปะปนอยู่ 2. เชื้อโรคเข้าทางบาดแผล หรือเยื่อบุต่าง ๆ 3. การผสมพันธุ์ 4. ทางน้ำนม และสิ่งขับถ่ายจากการแท้งลูกของสัตว์ที่เป็นโรค
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคแท้งติดต่อหรือบรูเซลโลซีส (Brucellosis, Undulent fever) อาการ ในสัตว์แม่พันธุ์มักแท้งลูกหลังจากตั้งท้องได้ 5 เดือน แต่ถ้าไม่แท้งลูก ลูกที่ออกมาจะอ่อนแอและมักเกิดโรคแทรกซ้อน ถ้าเป็นแบบรุนแรงอาจเกิดอาการโลหิตเป็นพิษตาย ถ้ามดลูกอักเสบเรื้อรังทำให้เกิดอาการเป็นหมัน เป็นสัดไม่สม่ำเสมอ ผสมไม่ค่อยติด ซึ่งอาจเป็นแบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ นอกจากนี้รูปร่างลักษณะทั่วไปไม่ค่อยสมบูรณ์ น้ำหนักลด เกิดเนื้องอกที่ข้อเข่า และในบางรายเกิดเต้านมอักเสบ สัตว์บางตัวไม่มีอาการใด ๆ เลย แต่เป็นตัวแพร่เชื้อโรคได้ในการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติหรือผสมเทียม ส่วนในสัตว์พ่อพันธุ์มีอาการอักเสบของอัณฑะและผิวของอัณฑะ ทำให้เป็นหมันและเป็นตัวแพร่เชื้อโรคในการผสมพันธุ์
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคแท้งติดต่อหรือบรูเซลโลซีส (Brucellosis, Undulent fever) การป้องกัน 1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในลูกสัตว์เพศเมียอายุ 3-8 เดือน 2. ทำการตรวจสอบโรคแท้งติดต่อทุก 6 เดือน การรักษา ไม่มียารักษาให้หายขาด เพียงแต่ทำให้เชื้อโรคสงบลงชั่วคราวแล้วโรคจะกลับเป็นขึ้นได้อีก
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเล็ปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) เป็นโรคที่เกิดกับสุกรได้ทุกช่วงอายุ ในแม่สุกรทำให้แท้งลูกได้ สาติดต่อสู่คนได้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผล ในขณะสัมผัสสัตว์หรือซากสัตว์ป่วย หรือการใช้น้ำหรือกินเนื้อหรือนมที่มีเชื้อโรคอยู่และไม่สุก สาเหตุ เกิดจากเชื้อเล็ปโตสไปร่า มีอยู่หลายชนิด การติดต่อ 1. เชื้อโรคเข้าทางบาดแผลของผิวหนังหรือเยื่อบุผนังตา 2. กินอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรค 3. การหายใจ เอาเชื้อที่อยู่ในอากาศเข้าไป 4. แมลงดูดเลือดเป็นตัวแพร่เชื้อโรคนี้
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเล็ปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) ระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์ อาการ แม่สุกรแสดงอาการไข้สูง เบื่ออาหาร ล้มลงนอน ไม่มีแรงลุกขึ้น หายใจถี่หอบ มีฮีโมโกลบินและเลือดในปัสสาวะ หลังแสดงอาการป่วยแล้วประมาณ 10 วัน แม่สัตว์ท้องจะแท้งลูก ถ้าไม่แท้งลูก ลูกที่คลอดออกมาจะตายก่อนคลอดหรือเป็นมัมมี่หรือลูกสุกรที่คลอดจะอ่อนแอ ส่วนในลูกสัตว์มีอาการไข้ แล้วค่อย ๆ ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง มีอาการดีซ่านโดยมีเม็ดเลือดแดงลดลงและเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นจากปริมาณปกติ เชื้อ โรคนี้ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุทำให้ไตถูกทำลายโดยไตจะมีจุดสีขาว ในกรณีเชื้อรุนแรงโดยเฉพาะที่เกิดกับลูกสัตว์อาจทำให้ตายภายใน 5-7 วัน
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเล็ปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) ระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์ อาการ ส่วนลูกสัตว์ที่กินนมน้ำเหลืองจากแม่ที่เคยเป็นโรคแล้วหายจะมีภูมิคุ้มกันโรคนาน 1-2 เดือน เชื้อโรคนี้ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะและสิ่งขับถ่ายที่แท้งออกมา ทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดได้ สิ่งที่บ่งบอกว่าฟาร์มได้เกิดโรคเล็ปโตสไปโรซีสคือ 1. การแท้งลูกในช่วงท้องได้ 2 เดือน จนกระทั่งใกล้คลอด 2. ลูกสัตว์ตายก่อนคลอดมากกว่าลูกสัตว์ที่คลอดมีชีวิต 3. ลูกสัตว์ที่คลอดออกมาอ่อนแอ 4. น้ำปัสสาวะของแม่สุกรมีสีน้ำตาลเข้ม
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเล็ปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) ภาพที่ 11.16 เชื้อเล็ปโตสไปรา (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเล็ปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) ภาพที่ 11.17 แม่สุกรแท้งลูกระยะต้นถึงใกล้คลอด (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคเล็ปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) การป้องกัน 1. การจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ดี 2. การกักโรคสัตว์ใหม่และการตรวจโรค การรักษา 1. ใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยาสเตร็ปโตมัยซิน หรือกลุ่มยาเตตร้าไซคลิน ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคลาดพื้นคอกนาน 2-3 สัปดาห์
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis) โรคที่พบได้ในสุกรทุกอายุ แต่ลูกสุกรและแม่สุกรจะแสดงอาการรุนแรงมากกว่า สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii พบได้ในอุจจาระแมวและสามารถอยู่ในดินชื้นได้นานหลายเดือน การติดต่อ 1. กินน้ำและอาหารที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ 2. การหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศเข้าไป
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis) อาการ แม่สุกรแสดงอาการเบื่ออาหาร อาเจียน หายใจลำบาก ไข้สูง 104-106 F และส่วนท้ายไม่มีแรงหรืออัมพาต ในรายรุนแรงแม่สุกรจะตายภายใน 1-2 วันหลังแสดงอาการป่วย แม่สุกรท้องอาจจะแท้งหรือให้ลูกสุกรตายหรืออ่อนแอ แต่ลูกสุกรพบอาการรุนแรงมากกว่า และสามารถติดต่อถึงลูกสุกรได้โดยทางน้ำนมแม่ ลูกสุกร แสดงอาการ หายใจลำบาก เยื่อตาอักเสบ ขี้ไหล ควบคุม ตัวเองไม่ได้และสั่น และอัตราการตายสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis) อาการ สุกรรุ่นและสุกรใหญ่ แสดงอาการ ไข้สูง เบื่ออาหาร ไอ หายใจลำบากเล็กน้อย ผิวหนังที่หูและท้องอาจจะแดง พบอัตราการเกิดโรค 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราการตายต่ำ
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis) ภาพที่ 11.18 วงจรชีวิตโรคท็อกโซพลาสโมซิส (ที่มา: e-book.ram.edu)
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis) การป้องกัน 1. กำจัดแมวพาหะของโรคออกจากฟาร์ม 2. มีการจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ดี 3. มีการกักโรคสุกรใหม่ การรักษา ใช้ยาซัลฟาไดอะซีน (72.6 มลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และยาไพริเม็ธทามีน (0.44 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และอาจเสริมวิตามินบีด้วย
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis) การป้องกัน 1. กำจัดแมวพาหะของโรคออกจากฟาร์ม 2. มีการจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ดี 3. มีการกักโรคสุกรใหม่ การรักษา ใช้ยาซัลฟาไดอะซีน (72.6 มลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และยาไพริเม็ธทามีน (0.44 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และอาจเสริมวิตามินบีด้วย
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคสมองอักเสบ สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis type I และ II เข้าในเยื่อหุ้มสมอง อาการ กรณีของสุกรดูดนมจะเป็น type I หรือสุกรหลังหย่านมเป็น type II ลูกสุกรป่วยมีอาการแสดงทางระบบประสาท ชักตะกาย มีกิริยาอาการผิดปกติไป ตาจ้องค้าง (opisthotonus) เคี้ยวปากจนน้ำลายจับเป็นฟองเหนียว นอนบิดตัว เกร็งตัว ไม่ลุกยืนหรือยืนแต่เดินไม่ได้ ซึ่งมักจะพบเสมอจากลูกสุกรจำนวนมาก ส่วนใหญ่พบในลักษณะชักตะกาย 2 ขาหน้าคล้ายถีบจักรยานหรือกรรเชียงเรือ
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคสมองอักเสบ อาการ มักวินิจฉัยสับสนกับโรคที่แสดงทางระบบประสาท เช่น โรคพิษสุนัขบ้าเทียมหรือ neurotoxin จากแบคทีเรีย E. coli ที่ทำให้เกิดการบวมน้ำของสมองจนแสดงอาการระบบประสาท และอาจมีอาการประสาทคล้ายกับอาการของโรค polioen cephalomyelitis
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคสมองอักเสบ การตรวจผ่าซากอาจไม่พบรอยโรคจากอวัยวะต่าง ๆ นอกจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองที่มีเส้นเลือดคั่งและมีหนอง จึงต้องอาศัยการเพาะแยกเชื้อจากแบคทีเรียเก็บจากด้านใต้ของเยื่อหุ้มสมอง พร้อมทั้งทดสอบหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะและ/หรือเคมีบำบัดต่าง ๆ ความเครียดที่ก่อให้เกิดโรคเกลสเซอร์ อาจก่อให้เกิดปัญหาสมองอักเสบจากเชื้อ Streptococcus ได้เช่นกัน ในบางครั้งอาจแยกได้เชื้อ Staphylococcus และ Actinobacillus จากส่วนของเยื่อหุ่มสมองนี้ก่อให้เกิดอาการทางประสาทได้เช่นกัน
บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร 11.6 โรคที่มักเกิดกับสุกร โรคสมองอักเสบ การป้องกัน 1. ควรใส่ยาปฏิชีวนะหรือเคมีบำบัดผสมอาหารหรือน้ำดื่มกินเพื่อ ควบคุมป้องกันโรค เช่น ชนิดยาในกลุ่มเบต้าแลคแตม กลุ่มเตตระไซคลิน กลุ่มมาโครลีดส์ ลิงโคซามีดส์ หรือกลุ่มควิโนโลนส์ ตัวยาเอนโรฟลอกซาซินผสมในอาหารมักออกรสขมอาจทำให้สุกรไม่กินได้ 2. ให้ยาที่ควบคุมโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อะมิโนกลัยโค- ไซดส์ โปลีเปปไทด์ เพื่อทำให้สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงยิ่งขึ้น