การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
เป็นการศึกษาด้านธรณีเพื่อใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงและ ธรณีแปรสัณฐาน ( Geotectonic) เป็นการศึกษาด้านธรณีเพื่อใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงและ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของเปลือกโลกเกิดจาก วงจรการพาความร้อน (Convection cell) ซึ่งเกิดจากกลไกของการพาความร้อนในชั้นแมกมา เป็นสาเหตุทำให้แผ่นทวีป (Plate) มีการเคลื่อนที่ ในช่วงปี ค.ศ.1960 - 1970 ได้มีการสรุปแนวความคิด ทฤษฎี ที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีการแปรสัณฐานของแผ่นธรณี ( Theory of plate Tectonic) ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift )
ทฤษฎีการแปรสัณฐานของแผ่นธรณี ( Theory of plate Tectonic) เป็นการอธิบายถึงลักษณะของผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน เช่นความสูงต่ำแตกต่างกัน บางแห่งเกิดเป็นเทือกเขาสูงกลางทวีป บางแห่งจะเป็นที่ราบ ที่พื้นมหาสมุทรเองก็มีทั้งเกาะแก่ง เทือกเขา และร่องลึก ทฤษฎีว่าด้วยกลไกของการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก โดยมีหลักฐานประกอบบ่งชี้ชัดเจน จึงทำให้เป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันนี้
ทฤษฎีทวีปเลื่อน หรือ ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ทฤษฎีทวีปเลื่อน หรือ ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ดร. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr.Alfred Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่า อดีตเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน ทวีปต่างๆทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย(Pangaea) และมหาสมุทรที่อยู่รอบๆ เรียกว่า พันทาลัสซา (Panthalassa) ต่อมาพันเจียเริ่มแยกออกเป็น 2 ทวีป คือ 1. ลอเรเซีย (ทางตอนเหนือ) 2. กอนด์วานา (ทางตอนใต้) อัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener)
ในยุคไทรแอสสิก ประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรเซียทางตอนเหนือและกอนด์วานาทางตอนใต้ ลอเรเซีย (Laurasia) ประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป เกาะกรีนแลนด์ และทวีปเอเชีย(ไม่รวมคาบสมุทรอินเดีย) กอนด์วานา (Gondwana) ประกอบด้วยทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปออสเตรเลีย คาบสมุทรอินเดีย และเกาะมาดากัสการ์ จนเมื่อประมาณ 210-140 ล้านปีที่ผ่านมาออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับแอนตารกติกา และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน
ประมาณ 140-66.4 ล้านปี มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชียจนเกิดเป็นภูเขาหิมาลัยซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินและมหาสมุทรดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
นักธรณีวิทยา แบ่งเปลือกโลกออกเป็นแผ่น ๆ เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก(Plate) หรือแผ่นธรณีภาค(Lithosphere Plate) แผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 6 แผ่น 1. แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย(Eurasian Plate) รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง 2. แผ่นธรณีภาคอเมริกา(American Plate) รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก 3. แผ่นธรณีภาคแปซิฟิก(Pacific Plate) รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก 4. แผ่นธรณีภาคอินเดีย – ออสเตรเลีย (India-Australian Plate) รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย 5. แผ่นธรณีภาคแอนตาร์กติก(Antartic Plate) รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ 6. แผ่นธรณีภาคแอฟริกา(African Plate) รองรับทวีปอัฟริกาและพื้นน้ำโดยรอบ นอกจากนี้ยังมีแผ่นธรณีภาคขนาดเล็กที่แทรกอยู่ระหว่าง แผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ รวมกันมีจำนวน 13 แผ่น ได้แก่ แผ่นฟิจิ แผ่นฟิลิปปินส์ แผ่นนาสกา แผ่นคาลิบเบีย แผ่นอาระเบีย แผ่นคอคอส แผ่นโก้โก้
รอยต่อของแผ่นธรณีภาค หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยา รอยต่อของแผ่นธรณีภาค เมื่อนักเรียนนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกาใต้ได้พอดี
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ นักธรณีวิทยาเชื่อว่าซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต ต่าง ๆ ในแต่ละแผ่นธรณีภาคน่าจะเป็นหลักฐาน อีกอย่างหนึ่งซึ่งใช้ยืนยันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ธรณีภาคของโลกได้ เพราะถ้าเป็นหินที่เคยเกิดอยู่ใน พื้นที่เดียวกันมาก่อน เมื่อแผ่นธรณีภาคแยกจากกัน ไปแล้ว ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์และหินก็ควร จะเหมือนกันจากการสำรวจค้นพบพืชตระกูลเฟิร์น กลอซซอพเทอริส และสัตว์เลื้อยคลานมีโซซอรัส กระจายไปอยู่ในทวีปต่างๆที่ห่างไกลกัน กลอซซอพเทอริส มีโซซอรัส
หลักฐานอื่น ๆ ยังมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่าง ๆ ของโลก เช่น หินที่เกิดจากตะกอนธารน้ำแข็งซึ่งควรจะเกิดขึ้นบริเวณขั้วโลก แต่ปัจจุบันพบหินลักษณะนี้ในบริเวณชายทะเลทางตอนใต้ ของแอฟริกาและอินเดีย เป็นต้น แสดงว่า แผ่นทวีปมีการเคลื่อนที่หลังจากที่มี การสะสมตะกอนจากธารน้ำแข็งแล้ว
ได้เวลาทำแบบฝึกหัด แล้วนะจ๊ะ