ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) สัปดาห์ที่ 2 สิทธิและความรับผิดชอบ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลีและทีมงาน หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
รายละเอียด 1. แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ 2. สิทธิบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัล 3. การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง 4. ความรับผิดชอบต่อสังคมยุคดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิ (Right) หมายถึง การรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมายโดยรัฐและประชาชนโดยเฉพาะ เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ภาวะโดยอิสระของประชาชน โดยไม่มีกฎหมายของรัฐมารับรองหรือคุ้มครองไว้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มีทั้งหมด 25 มาตรา (ตั้งแต่มาตรา 25 ถึง มาตรา 49) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพคู่กัน กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพอย่างเดียว กลุ่มที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการรับโทษ บทบัญญัติ และสัญชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 1 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพคู่กัน มาตรา 25 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 การจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 บุคคลย่อมสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 1 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพคู่กัน มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย มาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว มาตรา 37 บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก มาตรา 41 บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ หรือเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี จัดการ บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดําเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการดําเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน โดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 43 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว มาตรา 46 บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค มาตรา 47 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ มาตรา 48 สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพอย่างเดียว มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน มาตรา 33 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถานการเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือที่รโหฐานจะกระทํามิได้ มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพอย่างเดียว มาตรา 35 บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ มาตรา 38 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ มาตรา 40 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพอย่างเดียว มาตรา 42 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะอื่น มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการรับโทษ บทบัญญัติ และสัญชาติ มาตรา 29 บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ มาตรา 30 การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ มาตรา 39 การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทํามิได้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ คือ สื่อที่เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเสรีภาพมีลักษณะการดำเนินงานที่ไม่ได้เป็นสื่อเชิงพาณิชย์ โดยเป็นสื่อที่ปราศจากอิทธิพลจากกลุ่มทุนและรัฐบาล ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงพื้นที่นี้ได้โดยไม่เสียค่าบริการ และเป็นสื่อที่มุ่งสร้างคุณภาพให้กับสังคม สื่อสาธารณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ สามารถสรุปสาระเนื้อหาตามเจตนารมณ์ ได้ดังนี้ 1. สิทธิในการเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ 2. สิทธิในแก้ไข หรือดัดแปลงข้อมูล 3. สิทธิในการส่งข้อมูลหรืออีเมล์ 4. สิทธิในการจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง 5. สิทธิในการนำข้อมูลเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ 6. สิทธิในการตัดต่อ เติม ตัดแปลงภาพ ของผู้อื่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง แต่ละบุคคลควรใช้แนวคิดดังต่อไปนี้ก่อนที่จะกระทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัล การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) คือ การทำงานของสมองที่มีการคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสภาพการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล 7 ประการ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล 7 ประการ คือ 1. ความสามารถในการระบุประเด็นปัญหา 2. ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล 3. ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล 4. ความสามารถในการระบุลักษณะข้อมูล 5. ความสามารถในการตั้งสมมุติฐาน 6. ความสามารถในการลงข้อสรุป 7. ความสามารถในการประเมินผล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง แต่ละบุคคลควรใช้แนวคิดดังต่อไปนี้ก่อนที่จะกระทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัล การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) คือ ความสามารถของบุคคลที่มีการคิดและมองสถานการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวมเพื่อเป็นกรอบแนวคิดการทำงานที่มองแบบแผนและความเชื่อมโยงกันระหว่างองค์ประกอบย่อยอย่างสมเหตุสมผลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
สิทธิบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัล หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชน หรือตัวบุคคล จะต้องแสดงความรับผิดชอบ ต่อสิ่งต่าง ๆ ได้กระทำลงไป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือต่อสังคมยุคดิจิทัลทุกรูปแบบ เช่น 1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ การส่งข้อความ (text) ภาพ (image) เสียง (voice) หรือ วิดีโอ (video) ที่ทำการโพสต์ แสดงความคิดเห็น ทัศนคติ ส่งต่อ หรือจัดเก็บข้อมูล 2. ความรับผิดชอบสังคม ได้แก่ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ใบงานครั้งที่ 1 แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5-6 คน ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5-6 คน เพื่อศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจและการใช้ดิจิทัลของแต่ละช่วงวัย ประโยชน์ของการมีทักษะความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล ตลอดถึงความจำเป็นที่ต้องทราบสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบเมื่อใช้สิทธินั้นบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัลในฐานะเป็นประชากรของสังคมไทยในระดับต่าง ๆ แต่ละกลุ่มรวบรวมและสรุปเนื้อหาที่ได้ศึกษาและค้นคว้ามาแล้วจัดทำเป็นคลิปวิดีโอ (การ์ตูนแอนิเมชัน/ถ่ายทำเอง/อินโฟกราฟิก) โดยมีความยาวไม่เกิน 5 นาที ให้ตั้งชื่อไฟล์ว่า SDU_DL261 (ตอนเรียน)WK1.mp4 พร้อมอัพโหลดขึ้นยูทูป (YouTube) และนำส่งไฟล์เข้าเมล์ของผู้รับผิดใบงานประจำสัปดาห์ในแต่ละตอนเรียนที่จัดการเรียนสอนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ทรัพยากรการเรียนรู้ Link VDO ความรู้ Link VDO กรณีศึกษา 1. TPchannel : https://www.youtube.com/watch?v=7KEy1LFuE44 2. Infographic การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล : https://www.youtube.com/watch?v=sjAZ5c6R7KY 3. หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย : https://www.ect.go.th/dec/ewt_news.php?nid=71&filename=index Link VDO กรณีศึกษา 1. การ์ตูนอนิเมชั่น เรื่อง หน้าที่และความรับผิดชอบ : https://www.youtube.com/watch?v=JGQtwlZXz_A 2. Infographic การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล : https://www.youtube.com/watch?v=sjAZ5c6R7KY&t=98s 3. GUIITAR UP2ME : สิทธิและหน้าที่ : https://www.youtube.com/watch?v=5X80cH0E3fM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
จบการบรรยายประจำสัปดาห์