LS 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล ตอนที่ 1 1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 1.2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล 1.3 การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูล
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 1. ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีค่าที่ทำให้มนุษย์มีความรู้เพิ่มขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการเรียนรู้แม้จะยังไม่ผ่านการประมวลผล ข้อมูลมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ส่วนสารสนเทศคือสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการประมวลผลจนสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์และสนับสนุนการตัดสินใจได้ ข้อมูลที่ดีจะทำให้ได้สารสนเทศที่ได้ ในระบบคอมพิวเตอร์มีการจัดเก็บข้อมูลที่เรียงเป็นลำดับชั้น ทำให้เกิดหน่วยข้อมูลที่แตกต่างกันไป การเก็บข้อมูลแบบเดิมมักจะเก็บในรูปแฟ้มข้อมูลที่แยกกันเก็บในแต่ละแผนกงานซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บและการจัดการข้อมูล จึงมีแนวคิดในการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลมาเป็นการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 2. ระบบฐานข้อมูล ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลมีความสัมพันธ์กันสามารถจัดเก็บให้อยู่ในที่เดียวกันได้อย่างเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บและสามารถเข้าถึงข้อมูลและการรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในระบบฐานข้อมูลจะมีซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล 3.ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูลในหลายๆด้าน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ การบริหารจัดการและการใช้ข้อมูลร่วมกันในหน่วยงานหรือองค์กร ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ และด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ หัวเรื่อง 1.1.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 1.1.2. การบริหารจัดการข้อมูลและลำดับชั้นของการจัดเก็บข้อมูล 1.1.3. แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล แนวคิด
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 1. ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งยังไม่ผ่านการประมวลผล และเป็นสิ่งที่มีค่าและนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ข้อมูลมีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ ตัวเลข ตัวอักขระ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน มีความเป็นสมบูรณ์ กระชับชัดเจน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และมีความต่อเนื่อง ส่วนสารสนเทศคือ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผลจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์และสนับสนุนการตัดสินใจได้ สารสนเทศที่ดีต้องมีความถูกต้อง มีความสมบูรณ์ ทันต่อความต้องการใช้ สอดคล้องกับความต้องการตรวจสอบได้
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 2. การจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ในการบริหารจัดการข้อมูลต้องคำนึงถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ในอนาคต ในการจัดเก็บข้อมูลสามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้นจากหน่วยข้อมูลขนาดเล็กไปใหญ่ โดยเริ่มจาก บิต ไบต์ เขตข้อมูล ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูล
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลมีหลายรูปแบบ ได้แก่ แฟ้มข้อมูลแบบเรียง แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ แฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม และแฟ้มข้อมูลเรียนลำดับดัชนี หากไม่มีระบบการจัดการและควบคุมแฟ้มข้อมูลที่ดี จะทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความขึ้นต่อกันของข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้งาน ข้อความขาดความยืดหยุ่น ข้อมูลขาดความปลอดภัย ข้อมูลขาดความสะดวกในการใช้งานและการแบ่งปั่นข้อมูลใช้งานร่วมกัน ดังนั้น จึงแก้ไขข้อจำกัดของการจัดเก็บด้วยแฟ้มข้อมูลแบบเดิม โดยรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเรียงรวมกันไว้ในที่เดียวกันอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ฐานข้อมูล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ 1.1 ความหมายและความสำคัญของข้อมูล 1.2 ชนิดของข้อมูล 1.3 คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี 1.4 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ 1.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 1.6 กระบวนการประมวลผลข้อมูล
1. ความหมายและความสำคัญของข้อมูล ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นจริง สำหรับใช้เป็นหลัก อนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ (พจนานุกรมฉบับราชบุณฑิตยสถาน, 2542) ข้อมูล คือ ข้อความ หรือตัวเลขที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อมูลจะบอกเกี่ยวกับ สภาพการณ์หรือสิ่งที่ปรากฎขึ้น ข้อมูลจะมีสภาพเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น ไม่ว่าจะนำ ไปใช้หรือไม่ (สุชาดา กีระนันทน์, 2541) ข้อมูล หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยัง ไม่มีการประมวลผล ไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
1 ความหมายและความสำคัญของข้อมูล (ต่อ) ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล (มนตรี ดวงจิโน, 2556) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหรือที่สนใจซึ่งยัง ไม่ผ่านการประมวลผล จำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้เป็นต้น 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถระบุเป้นตัวเลขได้ แต่เป็นข้อมูล ที่ใช้อธิบายลักษณะสมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ เช่น สีผิว ลักษณะพื้นผิว รูปร่าง เป็นต้น (การจัดการระบบฐานข้อมูล, 2558)
2. ชนิดของข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้ -ข้อมูลชนิดตัวเลข (numerical data) - ข้อมูลชนิดอักขระหรือข้อความ(character data หรือ text data ) - ข้อมูลชนิดรูปภาพ (image data) - ข้อมูลชนิดภาพเคลื่อนไหว (Animation data/video data) ข้อมูลชนิดเสียง (audio data)
2. ชนิดของข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้ -ข้อมูลชนิดตัวเลข (numerical data) เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น และตัวเลขนั้นต้องสามารถนำไปคำนาณได้ -10, 20, 20.35, -25.50 - ข้อมูลชนิดอักขระหรือข้อความ(character data หรือ text data ) เป็นข้อมูลประเภทตัวอักษร ตัวเลข ตัวอักขระพิเศษ หรือเครื่องหมาย ซึ่งข้อมูลที่เป็นตัวเลขนั้นม่าสามารถนำไปคำนวณได้ A-Z, ก-ฮ, สัญลักษณ์ # , “สวัสดีครับ ”, 72/108 , 236521422
2 ชนิดของข้อมูล (ต่อ) แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้ - ข้อมูลชนิดรูปภาพ (image data) เป็นรูปแบบของภาพนิ่ง ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากการมองเห็น เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องสแกน(Scanner) ภาพที่เกิดจากการถ่ายเอกสาร เป็นต้น - ข้อมูลชนิดภาพเคลื่อนไหว (Animation data/video data) เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหว ซึ่งอาจสร้างขึ้นจากอุปกรณ์ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ (Video) ภาพเคลื่อนไหวสองมิติ (2D animation) ภาพเคลื่อนไหวสามมิติ (3D animation)
2. ชนิดของข้อมูล(ต่อ) หูหนวก มากกว่า 90 เดซิเบล ข้อมูลชนิดเสียง (audio data) เป็นรูปแบบของเคลื่อนเสียง ซึ่งการจากการรับรู้ หรือทางการได้ยิน (อยู่ที่ 0-80 เดชิเบล ) ระดับการได้ยิน ปกติ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 เดซิเบล หูตึงเล็กน้อย 26-40 เดซิเบล หูตึงปานกลาง 41-55 เดซิเบล หูตึงมาก 56-70 เดซิเบล หูตึงรุนแรง อยู่ในช่วง 90 เดซิเบล หูหนวก มากกว่า 90 เดซิเบล 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
3. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี 1. ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) 2. ความทันเวลาและเป็นปัจจุบัน (timeliness) 3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน(completeness) 4. สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) 5. ความกระชับและชัดเจน (conciseness) 6. ความต่อเนื่อง (continuity) 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
4 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยน(Convert) ด้วยการจัดรูปแบบ(format) การกลั่นกรอง(filtering) และการสรุป (Summarizing) ให้เป็นผลลัพธ์ที่มีรูปแบบ เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพหรือวีดิโอและเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการ และเหมาะสมกับการนำไปใช้ (Alter 1996:29,65,714) สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีคุณค่าอันแท้จริง หรือคาดการณ์ว่าจะมีค่าสำหรับการดำเนินงาน หรือตัดสินใจในปัจจุบัน หรืออนาคต (ครรชิต มาลัยวงศ์ 2535:12) 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
4 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ(ต่อ) สารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบที่สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ทำให้ผู้บริหารสามารถแก้ปัญหา หรือทางเลือกในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ(ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล 2545:40) สารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบ (Raw data)ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพ ที่นำไปใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจของผู้บริหาร(นิภาภรณ์ คำเจริญ 2545: 14 ) 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
4 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ(ต่อ) การประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ
4 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ)
5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี การได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดีมีประโยชน์ต่อองค์กร เป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นสิ่งที่ต้องการอย่างมาก เพื่อนำใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ทันเวลาที่ต้องการ ซึ่งสารสนเทศที่ดีเกิดขึ้นได้จากข้อมูลที่ดี ดังนี้ 5.1 ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) 5.2 ความทันเวลาและเป็นปัจจุบัน(timeliness) 5.3 ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) 5.4 สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) 5.5 ตรวจสอบได้(verifiability) 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 5.1 ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) สารสนเทศที่ดีต้องมีความถูกต้องแม่นยำ โดยไม่ให้มีความคาดเคลื่อนหรือมีความคาดเคลื่อนน้อยที่สุด หากสารสนเทศมีความผิดพลาดย่อมส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย 5.2 ความทันเวลาและเป็นปัจจุบัน(timeliness) สารสนเทศที่ดีต้องสามารถนำไปใช้ได้ทันเวลากับความต้องการใช้งาน และมีความทันสมัยต่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะสารสนเทศที่จะนำไปใช้ในทางธุรกิจ หากสารสนเทศมีความถูกต้องสมบูรณ์แต่ได้มาช้าไม่ทันกับเวลาที่ต้องการหรือสารสนเทศไม่ทันสมัย ก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 5.3 ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะนำไปใช้ในการจัดการหรือการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เช่นสารสนเทศมีจำนวนมากและบางส่วนไม่ใช่สารสนเทศที่จะนำไปใช้งาน หรือสารสนเทศมีจำนวนน้อยเกินไป อาจทำให้ขาดบางส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งาน 5.4 สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) สารสนเทศที่ดีต้องเป็นสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับความต้องการนำไปใช้ของผู้ใช้งาน ควรสอบถามความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการสารสนเทศแบบไหน อย่างไร เนื่องจากผู้ใช้สารสนเทศแต่ละระดับอาจมีความต้องการสารสนเทศในรูปแบบที่แตกต่างกัน 5.5 ตรวจสอบได้(verifiability) สารสนเทศที่ดีต้องสามารถตรวจสอบการได้มาของสารสนเทศนั้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของสารสนเทศ
6 กระบวนการประมวลผล กระบวนการประมวลผลข้อมูล คือ กระบวนการเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศด้วยการป้อนข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลดิบเข้าไปเพื่อดำเนินการกับข้อมูล เช่น คำนวณ สรุป วิเคราะห์ หรือปรับปรุงรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบสารสนเทศที่พร้อมสำหรับการใช้งาน ดังนี้ 6.1 การนำเข้า(input) 6.2 การประมวลผล(Process) 6.3 การส่งออกผล (output) 6.4 ผลตอบกลับ(Feedback)
6 กระบวนการประมวลผล 6.1 การนำเข้า(input) หมายถึง ส่วนของการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล ในกระบวนการนี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเข้า เช่น การคำนวณค่าตอบแทนพนักงาน ต้องใช้ข้อมูลจำนวนวันทำงานของพนักงานต้องใช้ เครื่องตอกบัตร เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น
6 กระบวนการประมวลผล 6.1 การนำเข้า(input) หมายถึง ส่วนของการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล ในกระบวนการนี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเข้า เช่น การคำนวณค่าตอบแทนพนักงาน ต้องใช้ข้อมูลจำนวนวันทำงานของพนักงานต้องใช้ เครื่องตอกบัตร เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น 6.2 การประมวลผล(Process) หมายถึงการดำเนินการใดๆ ที่จะทำให้ข้อมูลนั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ สถิติ การจัดการตัวเลข การจัดเรียงตัวเลข การเปรียบเทียบ การสร้างรูปแบบชุดข้อมูลใหม่ การบันทึกเพื่อจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
6 กระบวนการประมวลผล 6.3 การส่งออกผล (output) หมายถึง การนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงผล ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น การแสดงผลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือการส่งออกไปยังอุกรณ์อื่นๆเพื่อใช้เป็นข้อมูลรับเข้าโดยไม่มีการแสดงผลออกมา เป็นต้น 6.4 ผลตอบกลับ(Feedback) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงผลการรับ การส่ง หรือการดำเนินการกับข้อมูล การแสดงถึงข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่อาจเกิดจากกระบวนการ เช่น ข้อความแสดงความผิดพลาดเพื่อแจ้งให้ทำการแก้ไขกระบวนการประมวลผลเพื่อทำให้การทำงานมีความถูกต้อง เป็นต้น
กิจกรรม 1.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ 2.ข้อมูลและสารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร 3.คุณสมบัติใดของข้อมูลที่ดีที่มีความสอดคล้องกับคุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี หรือมีผลต่อการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดีด้วย