บทที่ 6ทฤษฎีเกม Game Theory
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) กระบวนการตัดสินใจที่ไม่ซับซ้อนอยู่ใน Common Sense ของมนุษย์ แต่ในบางสถานการณ์ ที่มีความสลับซับซ้อนสูง ทฤษฎีเกมส์ หรือ Game Theory จะเป็นกระบวนการที่มาช่วยวิเคราะห์ เรียบเรียง และทำให้การตัดสินใจดีขึ้น และแม่นยำขึ้น
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) ผู้ต้องหาร่วมกันฆ่าคนตาย 2 คนถูกนำตัวมาสอบสวน โดยตำรวจแจ้งข้อหาร่วมกันฆ่าคนตาย แต่ทั้งคู่ไม่ยอมรับสารภาพ เมื่อตำรวจไม่มีหลักฐานเอาผิด จึงได้แยกสอบสวนผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน คนละห้อง โดยยื่นข้อเสนอว่าถ้าใครรับสารภาพและให้การซัดทอดอีกคนจะกันคนที่รับสารภาพเป็นพยาน ซึ่งจะถูกลดโทษลงเป็นโทษจำคุก 1 ปี ส่วนผู้ที่ถูกซัดทอดจะต้องโทษจำคุก 10 ปี แต่ถ้ารับสารภาพทั้งคู่จะได้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง นั่นก็คือ เหลือโทษจำคุก 5 ปี อย่างไรก็ตามถ้าทั้งคู่ “ไม่สารภาพทั้งคู่” ตำรวจก็ไม่สามารถเอาผิดได้เพราะไม่มีพยานหลักฐาน จึงต้องปล่อยตัวทั้งคู่ไป
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) Prisoner’s Dilemma
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) กรณีที่ 1 “นาย A” สารภาพ “นาย B” สารภาพ = จำคุก คนละ 5 ปี (5,5) กรณีที่ 2 “นาย A” สารภาพ “นาย B” ปฏิเสธ = จำคุก นาย A = 1 ปี, นาย B = 10 ปี (1,10) กรณีที่ 3 “นาย A” ปฏิเสธ “นาย B” สารภาพ =จำคุกนาย A = 10 ปี, นาย B = 1 ปี (10,1) กรณีที่ 4 “นาย A” ปฏิเสธ “นาย B” ปฏิเสธ =ตำรวจต้องปล่อยตัวทั้งคู่ไม่มีใครติดคุก
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) แน่นอนว่าทั้งสองคนไม่มีใครอยากจะติดคุก วิธีที่ดีที่สุดก็คือการ “ปฏิเสธ” ทั้งคู่ แต่ควาลำบากใจเกิดขึ้นเมื่อตำรวจได้แยกห้องกันสอบสวน ทำให้ทั้งคู่ไม่แน่ใจว่าเพื่อนจะสารภาพหรือไม่ เพราะถ้าเพื่อนสารภาพเขาก็จะต้องติดคุกถึง 10 ปี การคิดคำนวนผลประโยชน์จึงเข้ามามีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง นาย A และ นาย B เริ่มไม่ไว้ใจกันและกัน ดังนั้น ทั้งคู่จะสารภาพนั่นก็คือ ถ้าสารภาพเขาจะ “เสี่ยงน้อย” กว่าเพราะอาจได้กันตัวเป็นพยาน ซึ่งมีโทษจำคุกเพียง 1 ปี หรือถ้าอีกฝ่ายสารภาพด้วยก็จะได้ลดโทษลดครึ่งหนึ่งคือจำคุก 5 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดและได้ผลประโยชน์มากที่สุด
กลยุทธ์ในการแข่งขัน (Strategy) กลยุทธ์เดี่ยว หรือ กลยุทธ์แท้ (Pure Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่ผู้เล่นจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเป็นประจำ ไม่มีการเล่นหลายวิธีผสมกัน กลยุทธ์ผสม (Mixed Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่ผู้เล่น ไม่ได้เลือกใช้กลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งเพียงวิธีเดียว แต่จะเล่นหลายวิธีผสมกัน โดยจะมีการกำหนดสัดส่วนว่าจะใช้กลยุทธ์ใดเป็นสัดส่วนเท่าไร
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมของศาสตร์ด้านต่างๆ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ชีววิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร์ สังคมวิทยา
รูปแบบและชนิดของเกม ข้อสมมติฐาน 1) ผู้เล่น ซึ่งต้องมีตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป 2) ทางเลือกของผู้เล่น ที่แสดงให้เห็นถึงผลเสียหรือผลประโยชน์ของแต่ละทางเลือก 3) ผู้เล่นต้องมีกลยุทธ์ในการตัดสินใจในการเลือกทางเลือกของตนเอง ซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้
รูปแบบของเกม 1) เกมรูปแบบครอบคลุม เป็นเกมที่ผู้เล่นแต่ละคนตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ ตามลำดับ โดยผู้เล่นจะทราบถึงการตัดสินใจของผู้เล่นอีกฝ่ายล่วงหน้า สามารถเขียนเกมประเภทนี้ได้ในรูปแผนภาพต้นไม้ โดยตั้งต้นที่จุดเริ่มแรก และจบที่จุดสิ้นสุดของเกม ซึ่งสามารถมีได้หลายจุด มีการใช้จุดยอดแทนสถานะที่มีทางเลือกในการตัดสินใจของผู้เล่น และใช้เส้นแทนทางเลือกของผู้เล่นในตาถัดไป
เกมแห่งชีวิต:ปัญหาและทางเลือก คุณลุงท่านหนึ่งโดนรถชนบาดเจ็บสาหัสต้องนอนพักในโรงพยาบาลหลายเดือน ซึ่งรถคันนั้นขับโดยว่าที่คุณหมอ ว่าที่คุณหมอขอร้องไม่ให้คุณลุงนำเรื่องนี้ลงบันทึกประจำวัน เพราะหากลงบันทึกประจำวัน อนาคตของการเป็นหมอต้องดับวูบ เพราะเหตุขับรถโดยประมาท และสัญญาว่าจะยินยอมชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้ ถ้าคุณเป็นญาติลุงท่านนี้ ท่านจะแจ้งความและลงบันทึกประจำวันหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? (ดัดแปลงจากหนังสือ เอาตัวรอดด้วยทฤษฎีเกม ของ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ปัญหาและทางเลือก แจ้งความ+ลงบันทึกประจำวัน ลุง ใช่ ไม่ ดี ชั่ว ต้องใช้ค่าเสียหาย ว่าที่หมอ และโดนคดี หมดอนาคต ต้องใช้ค่าเสียหาย หนี
ปัญหาและทางเลือก คุณลุงไม่ได้แจ้งความและลงบันทึกประจำวันเพราะเห็นแก่อนาคตหมอหนุ่ม ว่าที่หมอ มาเยี่ยม 2-3 ครั้ง แล้วก็หายตัวไป คุณลุงพยายามติดต่อกลับไป เพื่อให้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ว่าที่หมอ ไม่จ่าย และ ขู่ว่าถ้าติดต่อมาอีก จะฟ้องคุณลุงในข้อหาปรักปรำ (ดัดแปลงจากหนังสือ เอาตัวรอดด้วยทฤษฎีเกม ของ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ปัญหาและทางเลือก แจ้งความ+ลงบันทึกประจำวัน ลุง ใช่ ไม่ ดี ชั่ว Cost แจ้งความ+ลงบันทึกประจำวัน -1,750,000 ลุง ใช่ ไม่ ดี ชั่ว ต้องใช้ค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล ต้องใช้ ค่ารักษาพยาบาล ว่าที่หมอ หนี และโดนคดี หมดอนาคต ว่าที่หมอ Cost -5,000,000 -500,000 -1,750,000 ลุง Cost -250,000 -1,250,000
ปัญหาและทางเลือก ข้อสรุป: เมื่อได้เลือก ผู้เล่นจะตัดสินใจเลือกทางที่ได้เปรียบมากที่สุดเสมอ ผู้เริ่มศึกษาทฤษฎีเกม(Game Theory) ในระยะแรกคือ จอห์น ฟอน นอยมันน์ และออสการ์ มอร์เกินสเติร์น โดยได้ตีพิมพ์ตำรา Theory of Games and Economic Behavior ใน พ.ศ. 2487 ต่อมา จอห์น แนช ได้พัฒนาการศึกษาในด้านนี้และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการนำทฤษฎีเกมไปประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐศาสตร์ ต่อมาได้นำไปสร้างภาพยนตร์ เรื่อง A Beautiful Mind
เกมรูปแบบปกติ เป็นเกมที่ผู้เล่นไม่ทราบถึงการตัดสินใจของผู้เล่นคนอื่น นิยมเขียนแสดงเกมในรูปแบบตาราง ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่มีผู้เล่น 2 คน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะแทนการตัดสินใจด้วยแถวต่าง ๆ และผู้เล่นอีกคนหนึ่งแทนการตัดสินใจด้วยคอลัมน์ต่าง ๆ
ชนิดของเกม 1) เกมร่วมมือ และเกมไม่ร่วมมือ Non-cooperative and Cooperative Game) 2) เกมสมมาตร และเกมไม่สมมาตร (Dominant strategy and Non-Dominant strategy) 3) เกมผลรวมศูนย์ (Zero Sum Game)
ชนิดของเกม 1. เกมร่วมมือ และเกมไม่ร่วมมือ เกมร่วมมือเป็นเกมที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายสามารถตกลงกันได้เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนรวมที่ดีที่สุด โดยจะถือว่าผู้เล่นที่ร่วมมือกันจะเป็นผู้เล่นฝ่ายเดียวกันและจะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งแตกต่างจากเกมไม่ร่วมมือที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายไม่สามารถตกลงผลตอบแทนกันได้เลย จะต้องตัดสินใจโดยใช้ผลตอบแทนของตนเป็นหลักเท่านั้น
ชนิดของเกม 2. เกมสมมาตร และเกมไม่สมมาตร เกมสมมาตรเป็นเกมที่ผลตอบแทนที่ได้รับขึ้นกับการตัดสินใจของตนเองและคนอื่นเท่านั้น โดยไม่ขึ้นกับว่าใครจะเป็นผู้เล่นเกมนี้ จึงมีกลยุทธ์ในการเล่นที่เหมือนกันสำหรับผู้เล่นทุกคน เกมที่มีผู้เล่น 2 คนและทางเลือก 2 ทางที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จัดอยู่ในประเภทนี้ เช่น เกมความลำบากใจของนักโทษ เกมไก่ตื่น และเกมความร่วมใจเกมไม่สมมาตรจะมีกลยุทธ์ในการเล่นที่แตกต่างกันออกไปสำหรับผู้เล่นแต่ละคน
ชนิดของเกม 3. เกมผลรวมศูนย์ และเกมผลรวมไม่เป็นศูนย์ เกมผลรวมศูนย์เป็นกรณีเฉพาะของเกมผลรวมคงที่ ซึ่งเป็นเกมในลักษณะที่ผลรวมของผลตอบแทนที่ได้ของผู้เล่นจะเป็นค่าคงที่ เช่น การแบ่งปันผลกำไร หรือเกมที่มีผู้ชนะและผู้แพ้ เช่น หมากรุกหมากล้อม ก็ถือว่าเป็นเกมผลรวมศูนย์เช่นกัน ในการเขียนเกมในรูปแบบตารางที่มีผู้เล่นสองคนจึงสามารถละไว้โดยเขียนเพียงผลตอบแทนของผู้เล่นเพียงคนเดียวได้ และกลยุทธ์ในการตัดสินใจให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุดจะเป็นวิธีเดียวกับที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดเกมส่วนมากที่นักทฤษฎีเกมศึกษามักจะเป็นเกมผลรวมไม่เป็นศูนย์ เนื่องจากในความเป็นจริง ผลลัพธ์ที่ได้ไม่จำเป็นต้องคงที่เสมอไป ขึ้นอยู่กับแนวทางการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย ดังนั้น การได้รับผลตอบแทนมากที่สุดจึงไม่จำเป็นต้องทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้ผลตอบแทนน้อยที่สุด
การวิเคราะห์ผลลัพธ์ของเกม ข้อสมมติฐาน 1) คู่แข่งขันมีจำนวนจำกัดนับจำนวนได้ 2) คู่แข่งขันแต่ละฝ่าย ต่างก็มีจำนวนกลยุทธ์ที่นับได้ 3) คู่แข่งขันแต่ละฝ่ายจะไม่ทราบ กลยุทธ์ของคู่แข่งขัน 4) ผลของเกมจะทราบเมื่อแต่ละฝ่ายต่างเปิดเผยกลยุทธ์ออกมา ทำให้มีฝ่ายได้และฝ่ายเสีย
Maximin คือ วิธีการเลือกทางเลือกที่ให้ค่าตอบแทนสูงสุดจากบรรดาค่าตอบแทนต่ำสุด หาค่าต่ำที่สุดของแถวนอนแต่ละแถว ดูว่าค่าใดเป็นค่าสูงที่สุด (ในต่ำที่สุด) เลือกค่านั้น Minimax คือ วิธีการเลือกทางเลือกที่ให้ค่าตอบแทนต่ำสุดจากบรรดาค่าตอบแทนสูงสุดหาค่าสูงที่สุดของแถวตั้งแต่ละแถว ดูว่าค่าใดเป็นค่าต่ำที่สุด (ในสูงที่สุด) เลือกค่านั้น เกมที่ผู้เล่นจะใช้หลายๆ กลยุทธ์ผสมกัน เมื่อหาค่า Maximin และ Minimax จะได้ตัวเลขต่างกัน แล้วจึงเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดของผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย
ตัวอย่างเกม : เกมไก่ตื่น chicken เรื่องมีอยู่ว่า มีคนขับรถอยู่ 2 คัน คนนึงขับรถตามเลน อีกคนขับสวนเลน จะด้วยเหตุใดก็ตาม 2 คันนี้จะต้องชนกันอย่างแน่นอน ( -10 ) ไม่ใครก็ใครต้องเป็นคนหักหลบ ถ้าหลบทั้งคู่ ก็จะอยู่คนละครึ่งถนน ( 0, 0) ผ่านไปได้ทั้งคู่โดยไม่ลงข้างทาง แต่ถ้าหักหลบข้างเดียว รถก็จะพุ่งลงไหล่ทาง ( -1 )ส่วนคนที่ไม่หลบก็ขับต่อไปได้ ( +1 ) ที่เรียกว่าไก่ (chicken) เพราะฝรั่งหยามคนขลาดที่หักหลบ (chicken=coward) คงคล้ายกับที่เราเรียกว่าใครเป็นหมูอู๊ดๆในเกม -10 -1 +1 B หลบ B ไม่หลบ A หลบ 0,0 -1,+1 A ไม่หลบ +1,-1 -10,-10 http://en.wikipedia.org/wiki/Chicken_(game)
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1. เกมแอ็คชัน (Action Game) เป็นประเภทเกมที่ใช้การบังคับทิศทางและการกระทำของตัวละครในเกมเพื่อผ่านด่านต่างๆ ไปให้ได้เกมประเภทนี้มักจะเน้นการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ เพราะผู้เล่นมองเห็นตัวละครที่ควบคุม มีตั้งแต่เกมระบบง่ายๆ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย อย่างเช่น เกมมาริโอ้ ไปจนถึงแอ็คชันที่มีเนื้อหารุนแรงไม่เหมาะสมกับเด็กๆ
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 2. เกมเล่นตามบทละคร (Role-Playing Game) หรือ อาร์พีจี (RPG) หรือที่นิยมเรียกว่าเกมภาษา เป็นเกมที่พัฒนาจากเกมสวมบทบาท เกมประเภทนี้จะกำหนดตัวผู้เล่นบนโลกที่สมมติขึ้น และให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นตัวละครหนึ่งในโลกนั้นๆ ผจญภัยไปตามเนื้อเรื่องที่กำหนดโดยมีจุดเด่นทางด้านการพัฒนาระดับของตัวละคร (Experience) มีการสะสมเงิน อาวุธ อุปกรณ์เมื่อผจญภัยไปมากขึ้น และเอาชนะศัตรูตัวร้ายที่สุด ในตัวเกมไม่เน้นการบังคับหวือหวา แต่จะให้ผู้เล่นสัมผัสกับเรื่องราวแทน มีทั้งแบบผู้เล่นคนเดียวและแบบผู้เล่นหลายคนเข้ามาเล่นในเวลาเดียวกัน และเสมือนอยู่ในโลกเดียวกัน โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และผู้เล่นแต่ละคนจะสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวหนึ่งในโลก เป็นต้น
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 3.เกมผจญภัย (Adventure Game) เป็นเกมที่ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวหนึ่งและต้องกระทำเป้าหมายในเกมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เกมผจญภัยจะเน้นหนักให้ผู้เล่นหาให้ผู้เล่นหาทางออกหรือแก้ไขปริศนาและใช้สิ่งของที่ผู้เล่นเก็บมาระหว่างผจญภัย นอกจากนั้นผู้เล่นยังคงต้องพูดคุยกับตัวละครตัวอื่นๆ ทำให้เกมประเภทนี้ผู้เล่นต้องชำนาญด้านภาษามากๆ เกมผจญภัยส่วนมากมักจะไม่มีการตายเพื่อให้ผู้เล่นได้มีเวลาวิเคราะห์ปัญหาข้างหน้าได้หรือถ้ามีการตายในเกมผจญภัยมักจะถูกวางไว้แล้วว่าผู้เล่นจะตายตรงไหนได้บ้าง
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 4. เกมปริศนา (Puzzle Game) เป็นเกมที่เล่นได้ทุกเพศทุกวัย ตัวเกมมักจะเน้นการไขปริศนาปัญหาต่างๆ มีตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงซับซ้อน ในอดีตตัวเกมมักนำมาจากเกมปริศนาตามนิตยสาร เช่น เกมตัวเลข เกมอักษรไขว้ต ่อมาปัจจุบันมีเกมปริศนาแบบใหม ่ๆ ออกมามากมายเกมแนวนี้เป็นเกมที่เล่นได้ทุกยุคทุกสมัย เช่น Tetris เกมปริศนาเป็นเกมที่ไม่เน้นเรื่องราวแต่จะเน้นไปที่ความท้าทายให้ผู้เล่นกลับมาเล่นซ้ำๆ ในระดับที่ยากขึ้น
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 5. เกมการจำลอง (Simulation Game) เป็นเกมประเภทที่จำลองสถานการณ์ต่างๆ มาให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็นผู้อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ และตัดสินใจในการกระทำเพื่อลองดูว่าจะเป็นอย่างไรเหตุการณ์ต่างๆ อาจจะนำมาจากสถานการณ์จริงหรือที่สมมุติขึ้นก็ได้ เช่น การขับเครื่องบิน ควบคุมรถยกของเป็นต้น โดยส่วนมากเกมประเภทนี้มักจะจำลองรายละเอียดต่างๆ มากอย่างสมจริงที่สุด ซึ่งนอกจะใช้ผู้เล่นเพื่อความบันเทิงยังสามารถให้เป็นแหล่งเรียนรู้การควบคุมต่างๆได้
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 6. เกมวางแผนการรบ (Strategy Game) เป็นประเภทเกมที่แยกออกมาจากประเภทเกมการจำลอง เนื่องจากในระยะหลังเกมประเภทนี้มีแนวทางของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น คือเกมที่เน้นการควบคุมกองทัพซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยทหารย่อยๆ เข้าเข้าทำการสู้รบกัน พบมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคีย์บอร์ดและเมาส์เอื้อต่อการควบคุมเกม และยังมักจะสามารถเล่นร่วมกันได้หลายคนอีกด้วย เนื้อเรื่องในเกมมีตั้งแต่จับความสไตล์เวทย์มนต์คาถา พ่อมด กองทหารยุคกลางจนไปถึงยุคสงครามระหว่างดวงดาวเลยก็มี รูปแบบการเล่นหลักๆ ของเกมประเภทนี้มักจะเป็นการควบคุมกองทัพ เก็บเกี่ยวทรัพยากรและสร้างกองทัพ
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 7. เกมกีฬา (Sport Game) คือเป็นกึ่งๆ เกมจำลองการเล่นกีฬาแต่ละชนิด โดยส่วนมากเกมกีฬามักจะมีความถูกต้องและเที่ยงตรงในกฎกติกาค่อนข้างมากโดยส่วนมากเกมกีฬามักจะออกแบบมาให้ผู้เล่นที่เข้าใจกฎกติกาและการเล่นของกีฬานั้นๆ มากกว่า เกมกีฬาแบ่งออกได้เป็นกีฬาแบบให้คะแนน (Score Sport) กับกีฬาที่แข่งขันความเร็ว (Racing Sport)
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 8. เกมอาเขต (Arcade Game) คือ เป็นเกมที่สร้างขึ้นมาให้กับเครื่องเกมตู้ การเล่นมักจะไม่มีการบันทึกความก้าวหน้าในการเล่น เกมจะบันทึกเพียงคะแนน เกมประเภทนี้จะมีความท้าทายเป็นคุณค่าให้กลับมาเล่นซ้ำและใช้หลักจิตวิทยาในการบอก “คะแนนสูงสุด” ที่ผู้เล่นคนก่อนๆ เคยทำไว้ ให้ผู้เล่นใหม่ๆ หาทางทำลายสถิติ
ประเภทของเกมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 9. เกมต่อสู้ (Fighting Game) คือ เกมที่มีลักษณะที่เอาตัวละครสองตัวขึ้นไปมาต่อสู้กันเอง ลักษณะเกมประเภทนี้จะเน้นให้ผู้เล่นใช้จังหวะและความแม่นยำกดท่าโจมตีต่างๆ ออกมาจุดสำคัญที่สุดในเกมต่อสู้คือการต่อสู้ต้องถูกแบ่งออกเป็นยกๆ และจะมีเพียงผู้เล่นเพียงสองฝ่ายเท่านั้นและตัวละครที่ใช้จะต้องมีความสามารถต่างกันออกไปเกมต่อสู้จริงๆ แล้วกำเนิดมาจากเกมตู้ ซึ่งเกมต่อสู้ที่สามารถให้ผู้เล่นสองคนสู่กันเองได้เป็นเกมแรกคือ Street Fighters
ให้นักศึกษาอธิบายรูปแบบของเกมและกลยุทธ์ ในการเล่นเกมนั้นให้ชนะและวิธีการเล่นเกมนั้นแบบละเอียด
จบการนำเสนอ.