งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Public-Choice School การคาดคะเนและตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Public-Choice School การคาดคะเนและตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Public-Choice School การคาดคะเนและตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล
อารีลักษณ์ พูลทรัพย์

2 Rational-Choice School
พฤติกรรมการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการคาดคะเนล่วงหน้าควบคู่กับการคำนวน ต้นทุน-กำไร โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง มีสมมุติฐานว่าพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเกิดจากความต้องการที่จะแสวงหาและปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ โดยใช้การพิจารณาอย่างมีเหตุผล คือการคำนวนต้นทุนกำไรพร้อมคาดคะเนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด (Homo Economicus)

3 Rational-Choice School
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) กระบวนการตัดสินใจที่ไม่ซับซ้อนอยู่ใน Common Sense ของมนุษย์ แต่ในบางสถานการณ์ ที่มีความสลับซับซ้อนสูง ทฤษฎีเกมส์ หรือ Game Theory จะเป็นกระบวนการที่มาช่วยวิเคราะห์ เรียบเรียง และทำให้การตัดสินใจดีขึ้น และแม่นยำขึ้น

4 ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory)
ทฤษฎีเกมส์ถูกคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกโดย นักคณิตศาสตร์ ชื่อ Von Neumann และนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Oskar Morgenstern ในปี 1944 50 ปีต่อมา ทฤษฎีเกมส์โด่งดังอีกครั้ง เมื่อจอห์น เอฟ. แนช (John F. Nash) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์อีกสองท่าน ในด้านทฤษฎีเกี่ยวกับ Non-Cooperative Games

5 ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory)
ผู้ต้องหาร่วมกันฆ่าคนตาย 2 คนถูกนำตัวมาสอบสวน โดยตำรวจแจ้งข้อหาร่วมกันฆ่าคนตาย แต่ทั้งคู่ไม่ยอมรับสารภาพ เมื่อตำรวจไม่มีหลักฐานเอาผิด จึงได้แยกสอบสวนผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน คนละห้อง โดยยื่นข้อเสนอว่าถ้าใครรับสารภาพและให้การซัดทอดอีกคนจะกันคนที่รับสารภาพเป็นพยาน ซึ่งจะถูกลดโทษลงเป็นโทษจำคุก 1 ปี ส่วนผู้ที่ถูกซัดทอดจะต้องโทษจำคุก 10 ปี แต่ถ้ารับสารภาพทั้งคู่จะได้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง นั่นก็คือ เหลือโทษจำคุก 5 ปี อย่างไรก็ตามถ้าทั้งคู่ “ไม่สารภาพทั้งคู่” ตำรวจก็ไม่สามารถเอาผิดได้เพราะไม่มีพยานหลักฐาน จึงต้องปล่อยตัวทั้งคู่ไป

6 ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory)
Prisoner’s Dilemma

7 ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory)
กรณีที่ 1  “นาย A” สารภาพ “นาย B” สารภาพ   = จำคุก คนละ 5 ปี (5,5) กรณีที่ 2 “นาย A” สารภาพ “นาย B” ปฏิเสธ       = จำคุก นาย A = 1 ปี, นาย B = 10 ปี (1,10) กรณีที่ 3 “นาย A” ปฏิเสธ “นาย B” สารภาพ      = จำคุกนาย A = 10 ปี, นาย B = 1 ปี (10,1) กรณีที่ 4 “นาย A” ปฏิเสธ “นาย B” ปฏิเสธ          = ตำรวจต้องปล่อยตัวทั้งคู่ไม่มีใครติดคุก

8 ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory)
แน่นอนว่าทั้งสองคนไม่มีใครอยากจะติดคุก วิธีที่ดีที่สุดก็คือการ “ปฏิเสธ” ทั้งคู่ แต่ควาลำบากใจเกิดขึ้นเมื่อตำรวจได้แยกห้องกันสอบสวน ทำให้ทั้งคู่ไม่แน่ใจว่าเพื่อนจะสารภาพหรือไม่ เพราะถ้าเพื่อนสารภาพเขาก็จะต้องติดคุกถึง 10 ปี การคิดคำนวนผลประโยชน์จึงเข้ามามีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง นาย A และ นาย B เริ่มไม่ไว้ใจกันและกัน ดังนั้น ทั้งคู่จะสารภาพนั่นก็คือ ถ้าสารภาพเขาจะ “เสี่ยงน้อย” กว่าเพราะอาจได้กันตัวเป็นพยาน ซึ่งมีโทษจำคุกเพียง 1 ปี หรือถ้าอีกฝ่ายสารภาพด้วยก็จะได้ลดโทษลดครึ่งหนึ่งคือจำคุก 5 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดและได้ผลประโยชน์มากที่สุด


ดาวน์โหลด ppt Public-Choice School การคาดคะเนและตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google