รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Quality Development with Outcome Research
Advertisements

ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน
ผ.ศ(พิเศษ).น.พ.นภดล สุชาติ พ.บ. M.P.H.
รูปแบบการวิจัย Research Design
B3 นสพ.ต้า นิรุกติศานติ์ นสพ.ปารเมศ เทียนนิมิตร
วิธีการทางวิทยาการระบาด
Practical Epidemiology
ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
ระบาดวิทยา Epidemiology.
มาตรฐานการให้รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย
วิจัย Routine to Research ( R2R )
อาจารย์ ดร.ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
Measures of Association and Impact for HTA
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
แนวทางการจัดทำรายงานการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน
มาตรฐานงานสุขศึกษา &โปรแกรมประเมิน.
ทบทวนสถิติสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
สถิติและการวัดทางระบาดวิทยาที่ควรรู้
Burden of disease measurement
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
แนวคิดพื้นฐานทางระบาดวิทยา
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การอ่านและให้คุณค่าบทความวิชาการ (Journal Article Appraisal)
วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุคนธา ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การใช้ทฤษฎีในงานวิจัย
นพ.เฉวตสรร นามวาท กรมควบคุมโรค
ประเภทของการวิจัย อาจารย์พุทธิวัฒน์ ไวยวุฒิธนาภูมิ
เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น
เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา (Study design)
การสอบสวนทางระบาดวิทยา (Epidemiological investigation)
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การวัดทางระบาดและดัชนีอนามัย
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ขั้นตอนการทำโครงงานวิจัย
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว นิลุบล สุวลักษณ์ รหัสนักศึกษา
การกระจายของโรคในชุมชน
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
การสอบสวนโรค เฉพาะราย
Selecting Research Topics for Health Technology Assessment 2016
สถิติกับดัชนีการวัด... ในงานระบาดวิทยา
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
ระบบข้อมูลของโครงการสืบสานพระราชปณิธานต้านมะเร็งเต้านม
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
สถานการณ์วัณโรค นางสาวภัทรา ทองสุข นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การวิจัย “อนาคตเด็กไทยที่พึงประสงค์”
เรื่องชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร
ผู้วิจัย : สุภาพร อภิพันธุ์
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
Introduction to Public Administration Research Method
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักระบาดวิทยา (Principles of Epidemiology)
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
งานวิจัย.
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา รายวิชา: ระบาดวิทยา (Epidemiology) รหัสวิชา: ๔๑๐๒๗๐๖ อ. กมลวรรณ บุตรประเสริฐ ๑

บทที่ ๗ รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา หัวข้อการบรรยาย  การแบ่งชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยา  ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา  ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์  ระบาดวิทยาเชิงทดลอง  การเลือกรูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา ๒

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้นักศึกษาทราบชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยาที่แบ่งโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ๒. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายวิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาได้ถูกต้อง ๓. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายวิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ได้ถูกต้อง ๔. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายวิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงทดลองได้ถูกต้อง ๕. เพื่อให้นักศึกษาพิจารณาเลือกรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดได้ ๓

รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา การศึกษาทางระบาดวิทยา อาจแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สามพวก แต่ละพวกมีจุดมุ่งหมายและประโยชน์แตกต่างกัน คือ ๑. การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) เพื่อทราบถึงการกระจายของโรค และแนวโน้มของการกระจายของโรคในชุมชน ๒. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (analytical study) เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของโรค และสาเหตุการระบาดของโรค ๓. การศึกษาเชิงทดลอง (experimental study)เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรควิธีการป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนประสิทธิภาพของยาและวัคซีน ๔

การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยา (classification of epidemiological studies) ๑. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลำดับเวลา (time sequence) ๑.๑ การศึกษาที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional studies or prevalence studies) ๑.๒ การศึกษาย้อนหลัง (retrospective studies or case-control studies) ๑.๓ การศึกษาย้อนหลังและไปข้างหน้า (retrospective-prospective studies or historical-prospective studies) ๑.๔ การศึกษาไปข้างหน้า (prospective studies or cohort studies) ๑.๕ การศึกษาเชิงทดลอง (experimental studies, intervention studies or clinical trials) ๕

๒. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลักษณะประชากรที่ศึกษา (study population) การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยา (classification of epidemiological studies) ๒. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลักษณะประชากรที่ศึกษา (study population) ๒.๑ ประชากรทั่วไป (general population) ๒.๒ ประชากรพิเศษ (special population) เช่น ประชากรเคลื่อนย้าย (migrant population) กลุ่มเชื้อชาติ (ethnic group) กลุ่มอาชีพ (occupational group) ๖

๓. การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาตามเทคนิคที่ใช้ศึกษา (study technique) การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยา (classification of epidemiological studies) ๓. การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาตามเทคนิคที่ใช้ศึกษา (study technique) ๓.๑ การตรวจหลายครั้ง (serial examination) การตรวจครั้งเดียว (single examination) ๓.๒ การสัมภาษณ์ (personal interview) การสอบถามทางโทรศัพท์ (telephone) การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mail questionnaire) ๗

๔. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลักษณะการศึกษา (nature of study) การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยา (classification of epidemiological studies) ๔. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลักษณะการศึกษา (nature of study) ๔.๑ การศึกษาเชิงสังเกต (observational studies) ๔.๑.๑ การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive) ๔.๑.๒ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (analytical studies) ๔.๒ การศึกษาเชิงทดลอง (experimental studies) ๘

ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (descriptive epidemiology) ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรคหรือ การกระจายของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในชุมชน การศึกษาแบบนี้มักเกี่ยวข้องกับอัตราอุบัติการณ์ (incidence rate) อัตราความชุก (prevalence rate) และอัตราตาย (mortality rate) ของโรคที่สัมพันธ์กับบุคคล สถานที่ และเวลา โดยมากไม่ได้มุ่งที่จะตอบคำถามเฉพาะข้อใดข้อหนึ่ง รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาเป็นรูปแบบการศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุม (control group) ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรคหรือปัญหาทางแพทย์และอนามัยกับปัจจัยที่น่าสนใจ ๙

การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา retrospective descriptive study   การศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา prospective descriptive study การศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง crossectional descriptive study อดีต ปัจจุบัน อนาคต การแบ่งชนิดของการศึกษาเชิงพรรณนาตามลำดับเวลา ที่มา : (ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร, ๒๕๕๒) ๑๐

จุดมุ่งหมายของการศึกษาเชิงพรรณนา ๑. ทำให้ทราบถึงการกระจายของโรค และแนวโน้มของโรคในชุมชน เป็นประโยชน์ในการวางแผน การให้บริการด้านแพทย์และอนามัยแก่ชุมชน ๒. ได้ข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งเป็นแนวทางในการหาสาเหตุของโรค และการตั้งสมมุติฐานเพื่อการศึกษาและค้นคว้าก้าวต่อไป ๑๑

การศึกษาเชิงพรรณนา การศึกษาระยะสั้นเชิงพรรณนา (cross-sectional descriptive study) การศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา (prospective descriptive study) การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) ๑๒

วิธีการออกแบบการศึกษาเชิงพรรณนา การเลือกตัวอย่างตาม ลักษณะที่สนใจ   การวัดปัจจัยหรือ ผลต่างๆที่สนใจ   กลุ่ม ตัวแปรหรือปัจจัยที่ศึกษา พบ ไม่พบ โรคหรือผลที่สนใจ a b ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ - ๑๓

ขั้นตอนการวางแผนและดำเนินการศึกษา เชิงพรรณนาที่สำคัญประกอบด้วย การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ การกำหนดกลุ่มประชากรศึกษา ตัวแปรที่ศึกษา รูปแบบการศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปผล ๑๔

ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (analytical epidemiology) ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในชุมชน ทำให้ทราบปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆรูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์เป็นรูปแบบการศึกษาที่มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเพื่อศึกษาสาเหตุของโรคและสาเหตุของการระบาด ของโรค ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆต่อการเกิดโรคและอัตราเสี่ยง (relative risk) ของปัจจัยต่างๆต่อการเกิดโรคว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ๑๕

รูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย รูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย ๑. การศึกษาระยะสั้นเชิงวิเคราะห์ ๒. การศึกษาย้อนหลัง ๓. การศึกษาไปข้างหน้า ๑๖

การออกรูปแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ ควรจะได้คำนึงถึงเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้ คือ การตั้งสมมุติฐาน การจัดกลุ่มเปรียบเทียบหรือกลุ่มควบคุม วิธีการของรูปแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ ๑๗

วิธีการของรูปแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ การศึกษาระยะสั้นเชิงวิเคราะห์ (cross-sectional analytic study) วิธีการออกแบบการศึกษาชนิดนี้ ผู้ทำการศึกษาจะทำการเลือกขนาดตัวอย่างซึ่งมีจำนวนแน่นอน ทำการวัดปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการเกิดโรค และทำการประเมินผลโรคที่มีอยู่ไปพร้อมกัน ๑๘

วิธีการของรูปแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ การศึกษาย้อนหลัง (retrospective or case-control study) การศึกษาแบบนี้เป็นการศึกษาที่เริ่มจากผลไปหาเหตุ โดยการเลือกกลุ่มศึกษา หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะหรือผลที่ต้องการศึกษา เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งของปอด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด แล้วดำเนินการเลือกกลุ่มควบคุมหรือเปรียบเทียบโดยควบคุมตัวแปรต่างๆ นอกจากตัวแปรที่ศึกษาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด กลุ่มควบคุมอาจเป็นผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆหรือประชาชนทั่วไป ๑๙

วิธีการของรูปแบบศึกษาเชิงวิเคราะห์ การศึกษาไปข้างหน้า (prospective or cohort study) การศึกษาแบบนี้เริ่มต้นด้วยการเลือกกลุ่มประชากรศึกษาที่สัมผัส และไม่สัมผัสกับปัจจัยที่ศึกษา เช่น กลุ่มสูบบุหรี่และกลุ่มไม่สูบบุหรี่ กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการถ่ายภาพเอกซเรย์ขณะที่ตั้งครรภ์ ขณะที่ เริ่มทำการศึกษาบุคคลที่มีโรคหรือผลที่ต้องการศึกษาเกิดขึ้นแล้วต้องทำการคัดออกเฝ้าสังเกตและติดตามผลที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ๑ ปี ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี หรือ ๒๐ ปี เป็นต้น ๒๐

ระบาดวิทยาเชิงทดลอง (experimental epidemiology) ระบาดวิทยาเชิงทดลองเป็นการศึกษาที่ผู้ทำการศึกษา (investigator) เป็นผู้กำหนดตัวกระตุ้นที่จะทดสอบ (test stimuli) ในกลุ่มต่างๆที่ทำการศึกษา ๒๑

การศึกษาเชิงทดลอง อาจทำการศึกษาได้โดย ๑. ให้กลุ่มทดลองได้รับปัจจัยที่สงสัยจะทำให้เกิดโรค แต่กลุ่มควบคุมหรือกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับ ปัจจัยดังกล่าว แล้วเฝ้าสังเกตเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคของทั้งสองกลุ่ม ๒. ทำการลดหรือกำจัดปัจจัยที่สงสัยจะทำให้เกิดโรคในกลุ่มทดลอง เปรียบเทียบอัตราการเกิดโรค กับกลุ่มควบคุมซึ่งยังคงได้รับปัจจัยตามปกติ ๒๒

การวางแผนและดำเนินการศึกษาเชิงทดลอง โครงร่างการวิจัย (research Proposal) ประชากรอ้างอิงและประชากรทดลอง(reference and experimental population) การพิจารณาขนาดตัวอย่าง (sample size determination) การจัดกลุ่ม (allocation of subjects) การจัดโปรแกรมสำหรับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (experimental and control programs) ๒๓

การวางแผนและดำเนินการศึกษาเชิงทดลอง ๖. การกำจัดอคติและความผันแปรต่างๆ (elimination of biases and variations) ๗. การวัดผลการทดลอง (assessment of outcome) ๘. การดำเนินการศึกษา (conduct of the study) ๙. การวิเคราะห์ข้อมูล (analysis of data) ๑๐. การแปลผลและรายงานผล (interpretation and reporting) ๒๔

การเลือกรูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา ๑. วัตถุประสงค์ของการศึกษา ๒. ความรู้ในอดีตและปัจจุบัน ๓. ทรัพยากร ๔. ความถี่ของโรคและปัจจัยที่ต้องการศึกษา ๕. ประชากรที่ศึกษา ๒๕

สรุป การศึกษาทางระบาดวิทยา จำแนกออกเป็นชนิดต่างๆได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติหรือลักษณะจำเพาะแตกต่างกันออกไปบางชนิดช่วยในการค้นหาข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆตลอดจนช่วยการตั้งสมมุติฐาน บางชนิดก็ช่วยในการศึกษาความสัมพันธ์เบื้องต้น และช่วยในการทดสอบสมมุติฐาน การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาทางระบาดวิทยา ๑. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลำดับเวลา ๒. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลักษณะประชากรที่ศึกษา ๓. การแบ่งแยกชนิดของการศึกษาตามเทคนิคที่ใช้ศึกษา ๔. การแบ่งชนิดของการศึกษาตามลักษณะการศึกษา ๒๖

คำถามทบทวน ๑. ให้นักศึกษาอธิบายรูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยาในประเภทต่างๆ พร้อมทั้งบอกข้อดี ข้อเสียของแต่ละรูปแบบ ๒. ให้นักศึกษาอธิบายวิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ และระบาดวิทยาเชิงทดลอง ๓. ให้นักศึกษายกตัวอย่างระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ และระบาดวิทยาเชิงทดลอง ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ๒๗

เอกสารอ้างอิง ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร.(๒๕๕๒) ระบาดวิทยา พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๘