บรรยายพิเศษ เรื่อง พนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง พนักงานกระทรวงสาธารณสุข การจ้างงานรูปแบบใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข โดยนางพรพรรณ สุนาพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารลูกจ้างและพนักงานราชการ
พนักงานกระทรวงสาธารณสุข มีสองประเภท ดังต่อไปนี้ (1) พนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ได้แก่ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนทั่วไปของหน่วยบริการในด้านงานเทคนิค งานบริการ งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ (2) พนักงานกระทรวงสาธารณสุขพิเศษ ได้แก่ พนักงาน กระทรวงสาธารณสุขซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือ ความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น เฉพาะเรื่องของหน่วยบริการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว และไม่สามารถหาผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมในหน่วยบริการได้
ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข แยกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะงาน ดังนี้ ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข แยกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะงาน ดังนี้ (1) กลุ่มเทคนิค บริการ และบริหารทั่วไป (2) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงาน ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ (3) กลุ่มเชี่ยวชาญ
การจ้างงาน การจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ให้จ้างได้ตามกรอบอัตรากำลัง โดยต้องคำนึงถึงภารกิจ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการ และต้องไม่กระทบต่อการให้บริการสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (กพส.) พนักงานกระทรวงสาธารณสุขสามารถย้ายสถานที่ปฏิบัติงานภายในกรมเดียวกันได้ โดยยึดประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
1. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประเมินลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556
ลูกจ้างชั่วคราวที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 1. ลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงฯ ที่จะได้รับการจ้างเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขต้องมีชื่อตำแหน่งตามที่ กพส. ได้จัดระบบตำแหน่งไว้ตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภท ตำแหน่ง ลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 2556(ตามบัญชีตำแหน่ง จำนวน 126 สายงาน) 2. กำหนดให้มีวิธีประเมินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง
คุณสมบัติของผู้เข้าประเมิน 1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งที่ขอประเมิน(ตำแหน่งเดิมที่เคยจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว) 2. พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานประจำปี ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านเกณฑ์ และได้รับการปรับค่าจ้าง ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 3. ลูกจ้างชั่วคราวฯ รายใดไม่เข้าข่ายข้อ 2 ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้มีการประเมินผล การปฏิบัติงานตามระยะเวลาการปฏิบัติงาน โดยผู้นั้นต้องเป็นผู้ผ่านเกณฑ์ ตามที่คณะกรรมการของส่วนราชการหรือหน่วยบริการกำหนด
การประเมิน ใช้วิธีการสัมภาษณ์ในรูปคณะกรรมการ โดยมีองค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นๆ เกณฑ์การตัดสินใช้เกณฑ์ผ่าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผู้ไม่ผ่านการ ประเมินดังกล่าว ส่วนราชการหรือหน่วย บริการอาจเลิกจ้างหรือกำหนดวิธีการ จ้างด้วยวิธีอื่น เช่น จ้างเป็นรายวัน หรือจ้างเหมาบริการ เป็นต้น
ตัวอย่างการการตรวจสอบคุณสมบัติลูกจ้างชั่วคราว รายเดือน(เงินบำรุง) รายเดิม เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข กรณีที่ 1 กลุ่มบริการ ลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งพนักงานช่วยเหลือคนไข้ - มีวุฒิ ม.6 - จ้างงานตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2537 จนถึงปัจจุบัน - ปัจจุบันได้รับค่าจ้าง 9,940 บาท Spec พนักงานช่วยเหลือคนไข้ 1. มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานในหน้าที่ และ 2. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
กรณีที่ 1 (ต่อ) ผลการตรวจสอบ 1. ปรากฏว่า ลูกจ้างชั่วคราวรายนี้มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง คือ มีวุฒิ ม.6 2. ดังนั้นลูกจ้างชั่วคราวรายนี้ สามารถประเมินในตำแหน่งพนักงานช่วยเหลือคนไข้ โดยได้รับค่าจ้างดังนี้ 2.1. ค่าจ้างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง + คุณวุฒิที่จ้าง ม.3 หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า 7,590 บาท 2.2. ระยะเวลาการจ้างงาน 1 มิ.ย.37 - 30 ก.ย.56 = 19ปี 4 เดือน ค่าประสบการณ์ 10 ปี 5 ช่วง ๆ ละ 5 % = 25% ได้รับการปรับค่าจ้าง = 7,590 × 25% = 1,897.50 = 1,900 บาท * รวมค่าจ้างที่จะได้รับ = 7,590 + 1,900 = 9,490 บาท
กรณีที่ 1 (ต่อ2) ** สรุปผล ** 1. ลูกจ้างชั่วคราวรายนี้เดิมได้ค่าจ้าง 9,940 บาท 2. เมื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขแล้วได้รับค่าจ้าง 9,490 บาท 3. ปรากฏว่า ลูกจ้างชั่วคราวรายนี้ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าเดิม 450 บาท 4. ให้หน่วยงานสรุปปัญหากรณีดังกล่าวให้ กลุ่มบริหารงานบุคคลทราบพร้อมหลักฐาน เพื่อเสนอ กพส.พิจารณาต่อไป แต่หน่วยงานต้องตรวจสอบข้อมูลการจ้าง ลูกจ้างชั่วคราวดังกล่าวว่าเป็นการจ้างงานและสั่งให้ได้รับค่าจ้างตามวุฒิที่ถูกต้อง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งด้วย
กรณีที่ 2 กลุ่มเทคนิค ลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ - มีวุฒิ ม.6 - จ้างงานตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.39 จนถึงปัจจุบัน - ปัจจุบันได้รับค่าจ้าง 7,970 บาท Spec จพ.ธุรการ 1. ได้รับวุฒิ ปวช หรือวุฒิอื่นเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาพณิชยการ 2. ได้รับวุฒิ ปวท. หรือวุฒิอื่นเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาบัญชี บริหารธุรกิจการเงิน การเลขานุการ เทคนิคการตลาด ฯลฯ 3. ได้รับวุฒิ ปวส. หรือวุฒิอื่นเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
กรณีที่ 2 (ต่อ) ผลการตรวจสอบ 1. ปรากฏว่า ลูกจ้างชั่วคราวรายนี้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จพ.ธุรการ เนื่องจากไม่มีคุณวุฒิตามที่ Spec กำหนด 2. ให้ลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าว เขียนแบบบรรยายลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ (ถ้าลูกจ้างผู้นี้ ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานสารบรรณ) 3. ให้การเจ้าหน้าที่สืบค้นดูว่ามีตำแหน่งใดที่มีภาระงานเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน และมีวุฒิ ม.6 ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะได้ 4. จากการสืบค้น มีตำแหน่งพนักงานธุรการ Spec พนักงานธุรการ 1. มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและมีความชำนาญงานในหน้าที่ และเคยปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 2. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าใน สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่
กรณีที่ 2 (ต่อ2) ผลการตรวจสอบ 1. ลูกจ้างชั่วคราวรายนี้มี วุฒิ ม.6 และจ้างในตำแหน่ง จพ.ธุรการ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2539 ถึงวันที่ 30 ก.ย.56 เป็นเวลา 16 ปี 11 เดือน 2. ลูกจ้างผู้นี้ไม่มีวุฒิ ปวช. ที่เกี่ยวข้องแต่สามารถนำระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเป็นคุณสมบัติตาม มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานธุรการ ข้อ 1 ได้ (ปฏิบัติงานด้านนี้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี) 3. ค่าประสบการณ์ที่เหลือ = (16 ปี 11 เดือน) -5 ปี = 11 ปี 11 เดือน 4. ดังนั้นลูกจ้างชั่วคราวรายนี้ สามารถประเมินในตำแหน่งพนักงานธุรการ โดยได้รับค่าจ้างดังนี้ 4.1 ค่าจ้างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง + คุณวุฒิที่จ้าง วุฒิ ปวช. หรือประสบการณ์ 5 ปี = 8,300 บาท 4.2 ระยะเวลาการจ้างงานที่เหลือ =10 ปี 11 เดือน ค่าประสบการณ์ 10 ปี 5 ช่วง ๆ ละ 5 % = 25 % ได้รับการปรับค่าจ้าง = 8,300 × 25% = 2,075 = 2,080 รวมค่าจ้างที่จะได้รับ = 8,300 +2,080 = 10,380 บาท
ตัวอย่างแบบฟอร์มต่างๆ
2. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดประเภท ตำแหน่ง ลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่ม และการจัดทำกรอบอัตรากำลัง พนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556
การกำหนดประเภท ตำแหน่ง ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่ม ให้ส่วนราชการกำหนดตำแหน่งของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในตำแหน่งที่มิใช่สายงานที่สามารถจ้างเหมาบริการได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และต้องคำนึงถึงหน้าที่และภารกิจของส่วนราชการ (หน่วยบริการ) เป็นสำคัญ โดยชื่อตำแหน่งของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ให้นำชื่อของข้าราชการพลเรือนสามัญหรือชื่อของลูกจ้างประจำมาใช้โดยอนุโลมหรือชื่อตำแหน่งที่คณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ
ประเภทของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พนักงานกระทรวงสาธารณสุขพิเศษ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป * กลุ่มเทคนิค * กลุ่มบริการ * กลุ่มบริหารทั่วไป * กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ หรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ พระราชบัญญัติวิชาชีพ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขพิเศษ * กลุ่มเชี่ยวชาญ เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้มีความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษหรือจำเป็นเฉพาะเรื่อง และไม่สามารถหาผู้ใดในหน่วยบริการได้)
อายุขั้นสูงของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรร เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 1. อายุไม่เกิน 50 ปี สำหรับตำแหน่งที่เสี่ยงอันตราย หรือมีผลเสียต่อสุขภาพ 2. อายุเกิน 60 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปี สำหรับตำแหน่งที่ต้องใช้ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์สูงซึ่งไม่อาจหาได้โดยทั่วไป 3. หากส่วนราชการมีความจำเป็นต้องจ้างผู้มีประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญสูง ที่อายุเกิน 65 ปี ให้นำเสนอต่อ กพส. พิจารณาเห็นชอบเป็นรายๆ ไป
การจัดทำกรอบอัตรากำลัง ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ส่วนราชการต้องจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ทุก 4 ปี โดยต้องพิจารณาถึงการใช้กำลังคนในภาพรวมของหน่วยบริการ ให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ และให้คณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขให้ความเห็นชอบ และ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาอนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เมื่อกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กระทรวงสาธารณสุข แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
การจัดทำกรอบอัตรากำลัง ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ) ส่วนราชการใดจำเป็นต้องจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขนอกเหนือกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ เพื่อปฏิบัติงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล หรือตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมาย ซึ่งถ้าไม่ทำจะเกิดความเสียหาย และมีงบประมาณสำหรับดำเนินการแล้ว ให้ส่วนราชการทำคำขอกรอบอัตรากำลังเพิ่มเติมต่อ กพส. และ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข เป็นครั้งๆ ไป
3. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข การสรรหาและการเลือกสรร รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง พ.ศ.2556
การสรรหาและเลือกสรร พนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป - ให้ส่วนราชการจัดทำประกาศรับสมัคร โดยให้ปิดไว้ในที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป และให้แพร่ข่าวการรับสมัครในเว็บไซต์ของส่วนราชการไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ก่อนกําหนดวันรับสมัคร - โดยระยะเวลาในการรับสมัครต้องไม่น้อยกว่า 5 วัน - ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเลือกสรรบุคคลเพื่อปฏิบัติงาน โดยยึดหลักความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ที่จำเป็นสําหรับการปฏิบัติงานในตําแหน่ง - บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรมีอายุตามที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 2 ปี
การดำเนินการเพื่อคัดเลือก พนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ส่วนราชการจะต้องดำเนินการทดสอบความรู้ ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ด้วยวิธีการ ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันตามที่ คณะกรรมการเห็นสมควร เพื่อให้ได้คนดีและเก่ง สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ สอบปฏิบัติ
ประกาศรับสมัคร และการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรร ระยะเวลาจ้าง การจ้างให้เป็นไปตามความจำเป็นหรือตามภารกิจของส่วนราชการ แต่ไม่เกิน 4 ปี หรือระยะเวลาตามกรอบอัตรากำลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุข โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง ประกาศรับสมัคร และการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรร ประกาศรับสมัครให้ติดไว้ในที่เปิดเผย และมีระยะเวลาในการเผยแพร่ข่าวไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ก่อนวันรับสมัคร ระยะเวลาการขึ้นบัญชีฯ ให้เป็นไปตามสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี
พนักงานกระทรวงสาธารณสุขประเภทพิเศษ การสรรหาและเลือกสรร พนักงานกระทรวงสาธารณสุขประเภทพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการ กำหนดขอบข่ายงานของตำแหน่ง ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้าง ค่าจ้างที่จะได้รับ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรรที่จำเป็น เหมาะสมและสอดคล้องกับตำแหน่ง เกณฑ์การตัดสิน และเงื่อนไขการจ้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแสดงแหล่งข้อมูลที่จะสรรหา ได้แก่ สถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ สมาคมอาชีพ สถานทูต ศูนย์ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เคยจ้างบุคคลในงานประเภทเดียวกัน หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร โดยดำเนินการสรรหารายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมจากแหล่งข้อมูลที่กำหนด และเลือกสรรพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพิเศษจากรายชื่อดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรร และเกณฑ์การตัดสินที่กําหนด โดยมีระยะเวลาการจ้างไม่เกิน 1 ปี
ตัวอย่างประกาศรับสมัคร
4. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556
ค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ให้ค่าจ้างตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน ดังนี้ (1) ต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณที่แล้วมาไม่น้อยกว่า 8 เดือน (2) พิจารณาเลื่อนค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่มีผลการปฏิบัติงาน ไม่ต่ำกว่าระดับดี ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 6 ของฐานค่าจ้าง ตามผลการประเมิน การปฏิบัติงาน *ถ้ามีประสบการณ์ตรงตามตำแหน่งที่จ้างให้ให้ได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อทุกประสบการณ์ 2 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 5 ช่วง วงเงินในการเลื่อนค่าจ้างต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของค่าจ้างรวม ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 1 กันยายน ที่สำคัญต้องคำนึงถึงเงินรายได้ของส่วนราชการหรือหน่วยบริการ
ค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเชี่ยวชาญ ให้พิจารณาจากคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และผลงานความเชี่ยวชาญ ตามความต้องการของแผนงานหรือโครงการ รวมทั้งสามารถเจรจาต่อรองการได้รับค่าตอบแทน และจะต้องคำนึงถึงเงินรายได้ของหน่วยบริการเป็นสำคัญ
5. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ พ.ศ.2556
ตำแหน่งที่จะได้ค่าตอบแทนที่มีเหตุพิเศษ นายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักเวชศาสตร์ การสื่อความหมาย นักวิชาการศึกษาพิเศษ ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการแก้ไข ความผิดปกติของการสื่อความหมาย นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก หรือนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านจิตวิทยาคลินิก นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ทุกตำแหน่งต้องได้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
6. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป พ.ศ.2556
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลาให้เป็นไปตามที่ กพส. กำหนด สิทธิประโยชน์การลา หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลาให้เป็นไปตามที่ กพส. กำหนด การลาคลอดบุตร การลาป่วย การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร การลากิจส่วนตัว การลาพักผ่อน การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศ
สิทธิประโยชน์อื่น ๆ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขผู้ใดตายในระหว่าง ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พนักงานกระทรวงสาธารณสุขผู้ใดตายในระหว่าง ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือ หนีราชการห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ
7. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์การลาออกจากการปฏิบัติงานในระหว่างสัญญาจ้าง ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป พ.ศ.2556
การลาออกจากการปฏิบัติงาน ในระหว่างสัญญาจ้าง ต้องยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออกจากการปฏิบัติงาน การยื่นหนังสือขอลาออกน้อยกว่า 30 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากหัวหน้าส่วนราชการหรือที่มิได้ระบุวันขอลาออก ให้ถือวันถัดจากวันครบกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันยื่นเป็นวันขอลาออกจากการปฏิบัติงาน ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษ ผู้บังคับบัญชาจะอนุญาตให้พนักงานกระทรวงสาธารณสุขซึ่งประสงค์จะลาออกจากการปฏิบัติงานในระหว่างสัญญาจ้างยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน ก็ได้
การลาออกจากการปฏิบัติงาน ในระหว่างสัญญาจ้าง (ต่อ) ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาเห็นว่าควรยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากการปฏิบัติงานในระหว่างสัญญาจ้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออก แล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกด้วย ทั้งนี้ การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกให้สั่งยับยั้งได้เพียงครั้งเดียว ไม่เกิน 90วัน ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธาน กพส. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด