13 October 2007 E-mail:wichai@buu.ac.th
887420 มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 13 July 2002 887420 มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 3 จริยธรรมในสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย บุญเจือ E-mail: wichai@buu.ac.th http://www.informatics.buu.ac.th/~wichai Email:wichai@buu.ac.th
จริยธรรม จริยศาสตร์ และจริยศึกษา จริยธรรมและจริยศาสตร์มีความหมายต่างกัน จริยธรรม เป็นคําสอนที่เป็น หลักปฏิบัติของบุคคล ส่วนจริยศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเหตุผลของคําสอนดังกล่าว เช่น มีหลัก จริยธรรมว่าไม่ควรฆ่าสัตว์ ความเมตตาสัตว์ จริยศาสตร์จะตีความว่า คําสอนนี้มีเหตุผลอะไร คือ ทําไมจึงควรละเว้นการฆ่าสัตว์ ทําไมจึงควรเมตตาสัตว์ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม จริยศาสตร์ และจริยศึกษา จริยศาสตร์กับจริยธรรมมีส่วนเกื้อกูลกัน คือ เราอาจปฏิบัติตามหลักจริยธรรมเพราะ ได้รับคําสั่งสอนมาว่าเป็นสิ่งที่ดี โดยตนไม่รู้เหตุผลหรือรู้เหตุผลเพียงเล็กน้อยได้ การศึกษาจริยศาสตร์จะช่วยให้เข้าใจเหตุผลของหลักคําสอนทางจริยธรรมละเอียดถี่ถ้วนและหลายแง่มุมขึ้น ทําให้เราเข้าใจหลักคําสอนดีขึ้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม จริยศาสตร์ และจริยศึกษา จริยศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ศึกษาปัญหาสําคัญเกี่ยวกับความประพฤติ คือ ปัญหาว่าคนเราควรดําเนินชีวิตอย่างไร อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทําของมนุษย์ว่าดีหรือ ชั่ว ซึ่งเป็นการศึกษาจริยธรรมอย่างมีเหตุผลโดยไม่จํากัดว่าต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาใดหรือไม่ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม จริยศาสตร์ และจริยศึกษา จริยศึกษา หมายถึงอะไร หมายถึง การศึกษาสาขาหนึ่ง ใน 4 สาขา ได้แก่ พุทธิศึกษา การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับความรู้ที่จะนําไปใช้ชีวิตจริยศึกษา การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีที่ถูกต้อง พลศึกษา การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับร่างกาย มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มีสุขภาพดี และหัตถศึกษา การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการใช้ฝีมือในการ ทํางานอาชีพต่างๆ ดังนั้น การศึกษาด้านจริยธรรมทางธุรกิจจึงเป็นส่วนหนึ่งของจริยศึกษาด้วย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ ความหมายของจริยธรรม "จริย" แปลว่า ความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ ส่วน "จริยธรรม" หมายถึง ธรรมที่ เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม คําว่า ธรรม หรือ ธรรมะ นั้น ในภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นที่มาของคํานี้ หมายถึง หน้าที่ คือหน้าที่ที่คนซึ่งมีฐานะต่าง ๆ ในสังคมจะต้องปฏิบัติ ธรรมะจึงเป็นหลักปฏิบัติและ แปลว่าหลักปฏิบัติที่ถูกที่ควรหรือที่ชอบด้วยเหตุผล 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ ความหมายของจริยธรรมสรุปได้ ใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกจริยธรรม คือหลักเกณฑ์หรือกฏที่สังคมใช้ตัดสินว่า การกระทําใดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามควรปฏิบัติ และการกระทําใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ประเด็นที่ 2 จริยธรรมเป็นการกระทะหรือพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือดีงาม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ ความหมายของคุณธรรม คุณธรรม (Morality) หมายถึง คุณธรรม (Morality) หมายถึง ความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่ซึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ ดีงาม และส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมกระทําความดี และสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม เช่น การรักษาศีล และการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม หรือคําสอน 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ คุณธรรม หมายถึงคุณธรรม หมายถึง หลักธรรมจริยธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีทางศีลธรรม คุณงามความดีภายในจิตใจจนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความสบายยินดี การกระทําที่ดีย่อม ได้รับผลของความดี คือ ความชื่นชมยกย่อง ในขณะที่ การกระทําชั่วย่อมได้รับผลของความชั่ว คือ ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ต่าง ๆ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ ดังนั้น ผู้มีคุณธรรม หมายถึง ผู้มีการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบที่ดีงามและ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ถูกต้องและเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักธรรมหรือคําสอนใน พระศาสนา ซึ่งสามารถจําแนกความถูกผิดได้ สามารถอบรมสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม มาตรฐาน ของพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีสติสัมปชัญญะ มีความรับผิดชอบชั่วดี ตามทํานอง คลองธรรม มีอุปนิสัย ความตั้งใจและเจตนาที่ดีงาม : 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ ความหมายของจรรยาบรรณ จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละ อย่างกําหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็น ลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ ดร.อมร รักษาสัตย์ ได้ให้ความหมายคําว่า จรรยาบรรณหรือจริยะว่า "คณะบุคคล ร่วมกลุ่มร่วมอาชีพ ร่วมกันก่อตั้งเพื่อเป็นแนวทางดํารงชีวิตของผู้อยู่ในอาชีพนั้น ๆ โดยปกติจะไม่ มีอํานาจกฎหมายของบ้านเมืองบังคับให้สมาชิกผู้ถือจรรยาบรรณนั้นต้องปฏิบัติตาม แต่เป็นการ ควบคุมตนเอง" 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ สามารถสรุปได้ว่า จรรยาบรรณ หมายถึง กรอบ ข้อยึดถือ หรือ ข้อบังคับ อันเป็นความประพฤติที่ดีที่มีต่ออาชีพหนึ่ง ๆ โดยจรรยาบรรณ จะกล่าวถึงสิ่งที่พึงปฏิบัติและสิ่งที่ไม่พึงปฏิบัติในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ จะเห็นได้ว่า ความหมายของคําว่าจรรยาบรรณนั้น แคบกว่าคําว่าจริยธรรม คําว่า จรรยาบรรณนั้นแม้จะเป็นเรื่องของแนวทางความประพฤติที่ถูกต้องแต่ก็เน้นถึงการทําความดี เฉพาะแต่ละวิชาชีพเท่านั้นอีกทั้งจรรยาบรรณยังเป็น "กรอบ หรือ ข้อบังคับความประพฤติ ที่ให้คนในวิชาชีพนั้น ๆ ต้องปฏิบัติตามซึ่งแตกต่างไปจากจริยธรรม ที่ไม่ใช่ข้อบังคับ หากเป็น ความดีงามที่เกิดขึ้นตั้งแต่จิตใจที่ส่งไปยังความประพฤติปฏิบัติ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ จึงกล่าวได้ว่าประเด็นของจริยธรรมเป็นสิ่งสามารถประกาศออกมาได้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่ง ที่ถูกต้องหรือสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครสามารถกําหนดได้ว่า อะไร คือสิ่งที่ถูกและอะไรคือสิ่งที่ผิด ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่นบางครั้ง นายจ้างปลดลูกจ้างออกเพราะความไม่พอใจในผลการปฏิบัติงาน สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย แต่ถือว่าไม่มีจริยธรรม (Quinones and Schaefer, 1997) 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ จากที่กล่าวมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า คําว่า จริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณ เป็นคําที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านคุณงามความดี กล่าวคือ จริยธรรมและจรรยาบรรณ คือ แนวความประพฤติ การปฏิบัติ ตลอดจนการดําเนินชีวิตที่ดีงาม หรือถูกต้องกับกฎเกณฑ์ ของสังคม ส่วนคุณธรรมเป็นเรื่องภายในจิตใจของคน การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลจึงต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้านควบคู่กันไป คือ การพัฒนาด้านสติปัญญา ด้านจิตใจ และด้าน พฤติกรรม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ความสําคัญของจริยธรรม จริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สําคัญของมนุษย์ทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือ วิชาชีพใดไม่มีจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสําเร็จแห่งตนและวิชาชีพ นั้น ๆ ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การขาดจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อ ตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตอีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาใน วิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งในวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตํารวจ ทหาร นักการเมืองการ ปกครอง ฯลฯ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ความสําคัญของจริยธรรม จึงมีคํากล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถ สร้างแพทย์ ตํารวจ ทหาร นักการเมือง และนักธุรกิจที่ดี ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัย และความประพฤติที่ไม่ดี 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ความสําคัญของจริยธรรม จริยธรรมจึงเป็นสิ่งสําคัญในสังคม ที่จะนําความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่ สังคมนั้น ๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ จะทําการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคล มีคุณค่า มีประโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของจริยธรรม จริยธรรมจะมีประโยชน์ต่อเมื่อนําไปปฏิบัติ เพราะจริยธรรมเป็นหลักสําคัญสําหรับการ ปฏิบัติ การศึกษาเพื่อเข้าใจหรืออธิบายได้เท่านั้นไม่มีประโยชน์ การนําจริยธรรมไปใช้ปฏิบัตินั้น จะให้ประโยชน์ได้ดังนี้ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของจริยธรรม 1. ด้านตนเอง การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทําให้เราเป็นคนดี คนดีย่อมความ สบายใจ อิ่มใจเพราะได้ทําความดี ศัตรูก็น้อย เพราะคนดีย่อมเกื้อกูลผู้อื่น จึงเป็นที่ไว้วางใจและ รักใคร่ชอบพอของผู้อื่น 2. ด้านสังคม คนดีย่อมทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น อย่างน้อยการ ไม่ทําชั่วก็เป็นการช่วยให้สังคมไม่ต้องแก้ไขปัญหา ยิ่งทําดีด้วยก็ยิ่งเป็นผลดีแก่สังคม การงาน ก็สัมฤทธิผล การกระทําความดีและการช่วยเหลือสังคม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของจริยธรรม 3. ด้านการรักษาจริยธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่าทั้งคุณค่าทางกาย ทางใจ และทางสังคมดังกล่าวมาแล้ว จะรักษาไว้ได้ก็ด้วยการปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติแล้วก็เป็นแค่ตัว หนังสือหรือคําพูดเปล่า ๆ จะช่วยใครไม่ได้ทั้งสิ้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของจริยธรรม 4. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ควรจะควบคู่กันไป กับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกน นํานั้นจะสูญเปล่าและเกิดผลเสียเป็นอันมาก ทําให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุขมากขึ้น 5. จริยธรรมช่วยควบคุมมาตรฐาน รับประกันคุณภาพและปริมาณที่ถูกต้องในการ ประกอบอาชีพ ในการผลิตและการบริการ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ปลอมปน ไม่ดีก็บอกว่าไม่ดี 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของจริยธรรม 6. จรรยาบรรณช่วยควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพและผู้ผลิต-ผู้ค้า เช่น ให้มี ความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ฯลฯ 7. จรรยาบรรณช่วยส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและปริมาณที่ดีมีคุณค่าและเผยแพร่ให้ เป็นที่นิยมเชื่อถือ 8. จรรยาบรรณช่วยสงเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพและผู้ผลิต เช่น ให้มีเมตตา ระนา ปรองดอง เห็นอกเห็นใจ สามัคคี ฯลฯ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของจริยธรรม 9. จรรยาบรรณช่วยลดปัญหาอาชญากรรม ลดปัญญาการคดโกง เอารัดเอาเปรียบ ลดการปลอมปน เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ ตลอดจนความมักได้ ความใจแคบไม่ยอม 10. จรรยาบรรณช่วยเน้นให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาพพจน์ที่ดีของผู้มีจริยธรรม เช่น ในการเสียสละ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตน 11. จรรยาบรรณช่วยทําหน้าที่พิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย สําหรับผู้ประกอบการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามทํานองคลองธรรม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
องค์ประกอบของจริยธรรม 1. ความรับผิดชอบ 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความมีเหตุผล 4. ความกตัญญู 5. การรักษาระเบียบวินัย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
องค์ประกอบของจริยธรรม 6. ความเสียสละ 7. ความสามัคคี 8. การประหยัด 9. ความยุติธรรม 10. ความอุตสาหะ 11. ความเมตตากรุณา 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
แหล่งที่มาของจริยธรรม ความเชื่อถือเกี่ยวกับแหล่งที่มาของจริยธรรม มีต้นกําเนิดที่เป็นแหล่งใหญ่ ได้แก่ แนวคิดของนักปรัชญา คําสอนของศาสนาในศาสนาต่างๆ รวมทั้งวรรณคดีที่เป็นแหล่งที่มาที่สําคัญของจริยธรรมด้วย แหล่งที่เป็นบ่อเกิดของจริยธรรมที่เป็นแหล่งสําคัญ มีดังนี้ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
แหล่งที่มาของจริยธรรม 1. ปรัชญา วิชาปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง สาระของ ปรัชญาจะกล่าวถึงลักษณะของชีวิตที่พึงปรารถนาควรเป็นอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์ สภาพ สังคมที่ดี ความคิดเชิงปรัชญาจะแถลงออกมาเป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผล จนคนต้องยอมรับว่า เป็นความคิดที่ได้รับการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบแล้ว ปรัชญาจะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับความดี ความงาม ค่านิยม เพื่อจะได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติประจําตัวต่อไป 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
แหล่งที่มาของจริยธรรม 2. ศาสนา คําสอนของศาสดาใดในศาสนาต่าง ๆ ตามที่ศาสดาเหล่านั้นท่านได้ปฏิบัติ เองและสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม จนเกิดผลดีงามของการปฏิบัตินั้นเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว เช่น หลักคําสอนของพระพุทธศาสนา คําสอนและศาสนาคริสต์ และข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เป็นต้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
แหล่งที่มาของจริยธรรม 3. วรรณคดี หนังสือวรรณคดีเป็นหนังสือที่มีมาตรฐานทั้งด้านเนื้อหาสาระคุณค่าและ วิธีแต่ง จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ชาติที่เจริญด้วยวัฒนธรรมย่อมมีวรรณคดีเป็นของตนเอง ในหนังสือวรรณคดีจะมีแนวคิด คําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลง โลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง จึงกล่าวได้ว่าวรรณคดีก็เป็นแหล่งกําเนิดหรือเป็นที่รวบรวมแนวคิด ทางจริยธรรมด้วย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
แหล่งที่มาของจริยธรรม 4. สังคม สิ่งที่สังคมกําหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน อันได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี จารีต ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่ถือปฏิบัติกันในสังคม และยอมรับสืบทอดกันมา 5. การเมืองการปกครอง ในระบอบการเมืองการปกครองได้กําหนดข้อบังคับระเบียบ กฎหมายของบ้านเมือง จรรยาบรรณต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุขและเพื่อความยุติธรรมโดยทั่วกัน 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
การเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน การเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดได้จากลักษณะต่อไปนี้ 1 เกิดจากการเลียนแบบ อันเป็น กระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่แวดล้อมตนอยู่ แล้วนำมาปรับเข้ากับตนเอง กระบวนการนี้จัดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญ่จะเกิดในครอบครัวโรงเรียนกลุ่มเพื่อนและชุมชน 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
การเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน 2 การสร้างจริยธรรมในตนเอง โดยอาศัยตัวเองเป็นผู้กำหนดขึ้น อาจเป็นเรื่องของมโนธรรมเหตุผลหรืออารมณ์ของมนุษย์ 3 เกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรมค่านิยม ที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการกฎเกณฑ์ข้อกำหนดแนวศีลธรรมให้ยึดถือปฏิบัติ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
การเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน 4 การบำเพ็ญประโยชน์และพันธะสัญญาประชาคม เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติ มีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี การปฏิบัติตามบทบาท ให้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและความสามัคคี 5 การปฏิบัติตามหลักสากลทำ หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีที่ได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
บทสรุป จริยธรรมเป็นหลักเกณฑ์ หรือแนวความประพฤติและการปฏิบัติของมนุษย์ในสังคมซึ่งบุคคลพึงยึดถือในการดําเนินชีวิต การประกอบกิจการงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและลันติสุขแก่ตนเอง แก่ผู้อื่น และสังคมโดยรวม จริยธรรมเป็นเรื่องของการฝึก นิสัยที่ดี โดยกระทําอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอจนเป็นนิสัย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
บทสรุป ผู้มีความประพฤติดีงามอย่างแท้จริง จะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกในด้านดีอยู่ตลอดเวลา คือ มีคุณธรรมอยู่ในจิตใจ หรืออาจกล่าวได้ว่า จริยธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมภายนอก ส่วนคุณธรรมเป็นสภาพ คุณงามความดีภายในจิตใจ ซึ่งทั้งสองส่วนต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและวาจานั้น ย่อมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจและสติปัญญา 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
บทสรุป อิทธิพลของสังคมส่วนใหญ่มักจะก่อให้เกิดจริยธรรมขึ้นในตัวบุคคล มนุษย์จะเรียนรู้ระเบียบการปฏิบัติทางด้านจริยธรรมจากสังคม จึงทําให้มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นไปในแนวทาง เดียวกันกับโครงสร้างของสังคม จนเป็นลักษณะนิสัยที่ปฏิบัติตามที่สังคมต้องการ องค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วน คือ ด้านความรู้ ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านพฤติกรรมนั้น คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า จิตใจเป็นส่วนสําคัญที่สุด เป็นตัวที่จะควบคุมพฤติกรรมของคน 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
บทสรุป การที่ผู้บริหารจะพัฒนาตนเองทางด้านจริยธรรมและคุณธรรมเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีจริยธรรมและคุณธรรมจะต้องเริ่มจากการพัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจเพื่อให้ทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของบุคคลนั้นต่อไป การแบ่งประเภทของจริยธรรมตามพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม 4 ประการได้แก่ ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม เหตุผลเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมเชิงจริยธรรม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
บทสรุป จริยธรรมมีความสําคัญและประโยชน์ต่อคนทุกคน และทุกวิชาชีพ เป็นรากฐาน สำคัญในการพัฒนาคน สังคมจะมีความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้า เมื่อคนในสังคมมี จริยธรรม เมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ ย่อมสูงส่ง ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลที่มีคุณค่า มีประโยชน์และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
กิจกรรมในชั้น 1. ให้ท่านให้คําจํากัดความ และระบุคุณสมบัติหรือลักษณะของผู้มีจริยธรรม 2. ให้ท่านระบุชื่อของบุคคลที่ท่านเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจริยธรรมมา 1 ชื่อ พร้อมทั้งเหตุผลด้วย 3. ให้ท่านรวบรวมปัญหาที่เกิดจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคมพร้อมทั้งวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหานั้น ๆ และหาวิธีที่จะพัฒนาคนในด้านจริยธรรมเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
กิจกรรมในชั้น 4. ให้ท่านสํารวจตัวเองและระบุคุณสมบัติ หรือลักษณะของจริยธรรมที่ท่านยึดถือปฏิบัติอยู่เสมอ 5. จริยธรรมที่ท่านยึดถือปฏิบัติอยู่นั้น ท่านได้รับมาอย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบด้วย 6. ท่านคิดว่าจริยธรรม มีความสําคัญและให้ประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร 7. ท่านคิดว่าจริยธรรม มีความสําคัญและให้ประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
กิจกรรมในชั้น 8. ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อเห็นเพื่อนลอกคำตอบกันในห้องสอบ 9. ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อเห็นผู้เข้าสอบแข่งขันกับท่านลอกคำตอบจากกระดาษที่จดเข้าไปในห้องสอบ 10. ท่านต้องการเป็นคนเก่งหรือคนดี ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น 11. ท่านต้องการผู้นำประเทศที่เป็นคนเก่งแต่โกง หรือคนไม่เก่งและไม่โกง ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
1 June 2010 E-mail:wichai@buu.ac.th 13 July 2002
คำถามท้ายบทที่ 3 1. จริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณ และจริยศาสตร์ มีความหมายเดียวกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร 2. จงอธิบายการเกิดจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคนนั้นเกิดได้จากลักษณะอย่างไรบ้าง 3. จริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบอะไรบ้าง 4. พฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบายให้เข้าใจ 13 October 2007 E-mail:wichai@buu.ac.th
ส วั ส ดี บทที่ 2 ไอทีคืออะไร