การคำนวณต้นทุนผลผลิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Evidence-based การประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and transparency assessment – ita) ประจำปีงบประมาณ.
Advertisements

รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ .... (รอบ ... เดือน)
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และรูปแบบรายงานการเงิน
รายละเอียดตัวชี้วัดตาม คำรับรองการปฏิบัติราชการ
บทที่ 4 เทคนิคการแตกโครงสร้างงาน Work Breakdown
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 โรงเรียนของเรา.
ผู้บริหารกรมชลประทานกับระบบEIS
แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
วิธีปฏิบัติทางบัญชี 1. การรับบริจาคเงินสด
แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงาน
ยุทธศาสตร์ 20 ปี 5 ปี และปี 2561.
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
การวิเคราะห์อัตรากำลัง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
Controlling 1.
การประยุกต์ Logic Gates ภาค 2
การคำนวณต้นทุนผลผลิต สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
ขั้นตอนการร้องเรียน.
การพิจารณากลุ่มเลข และเอกสาร หลักฐานที่ใช้ประกอบการ ลงทะเบียนในกองทุน
ณ ห้องประชุมกฤษณะ ผลอนันต์ อาคาร ๓ ชั้น ๒ สำนักงาน ป.ป.ส.
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
คู่มือการเบิกจ่ายเงิน
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การคำนวณต้นทุนผลผลิต วันที่ ก. พ
หนังสือรายงานผลการประเมิน ITA ต่อนายกรัฐมนตรี(ต่อ)
การบริหารงบประมาณ นางสาวณัฐฐวรรณ อินทรทิตย์
ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
มติ ครม. 15 ธค. 58 เห็นชอบแผนปฎิบัติงานโครงการ อบรมฯ ในกรอบวงเงิน 1,064,574,000 บาท -งบกลางฯ 948,150,000 บาท -ปรับแผนฯ ปี ,424,000.
บทที่ 7 การควบคุม (Controlling).
Click to edit Master title style
บทบาทของ สถ. ในการสนับสนุน การดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ
การประเมินส่วนราชการ
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
สิทธิรับรู้ของประชาชน
การตรวจสอบภายในภาครัฐ
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงินระดับ 7
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( )
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 33
การบริหารสัญญา และหลักประกัน.
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
เงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบแข่งขันบุคคลเข้ารับราชการ
(เครื่องมือทางการบริหาร)
Activity-Based-Cost Management Systems.
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
แนวคิดหลัก 1. Systematic 2. Sustainable 3. Measurable
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การควบคุม (Controlling)
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
บทที่ 2 การเริ่มต้นกิจการใหม่และการซื้อกิจการ
เทคนิคการตรวจสอบกิจการ
การประมาณการโครงการ.
กองการเงินและบัญชี กรมชลประทาน
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2558 กองทุนหลักประกันสุขภาพ
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement: PA)
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
บทที่ 10 รายงานการเงินสำหรับกิจการที่ไม่หวังผลกำไร
แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
การประชุมสรุปงานสภาอาจารย์ วิทยาเขตปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2561
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การคำนวณต้นทุนผลผลิต 1

หัวข้อบรรยาย พรฎ. กิจการบ้านเมืองที่ดี 2546 ความหมายและคำจำกัดความ หลักเกณฑ์วิธีการคำนวณต้นทุนผลผลิต - แนวคิดเกี่ยวกับผลผลิตกิจกรรม - การวางระบบบัญชีกับการคำนวณต้นทุนผลผลิต - รูปแบบรายงานการคำนวณต้นทุนผลผลิต การวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ

ความเป็นมา

หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ความเป็นมา พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ หมวด 4

ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุน ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 21 วรรคแรก ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุน ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด

ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วย ของงานบริการสาธารณะที่รับผิดชอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 21 วรรคสอง ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วย ของงานบริการสาธารณะที่รับผิดชอบ ตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และ รายงานให้ สงป. กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ

ให้ส่วนราชการจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 21 วรรคสาม ให้ส่วนราชการจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วย ของงานบริการสาธารณะดังกล่าว เสนอ สงป. กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ

ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุน ต่อหน่วยผลผลิต

KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ 1 จัดทำหรือทบทวนแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยแสดงให้เห็นสัดส่วนการใช้ทรัพยากรต่อผลผลิตที่ดีขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ระดับ 2 จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหัวทุกกลุ่มสาขาวิชา (หน่วยนับเป็นจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า : Full Time Equivalent Student) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานผลการคำนวณต้นทุนตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ระดับ 3 จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำหรับทุกผลผลิต ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานผลการคำนวณต้นทุนตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ

KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ 4 เปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และจัดทำรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตได้แล้วเสร็จ ระดับ 5 รายงานผลตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

แนวทางการประเมินผล ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล 1 ขั้นตอนที่ 1 : จัดทำหรือทบทวนแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยแสดงให้เห็นสัดส่วนการใช้ทรัพยากรต่อผลผลิตที่ดีขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 1.ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการจัดทำหรือทบทวนดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553ได้แก่  แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยแสดงให้เห็นสัดส่วนการใช้ทรัพยากรต่อผลผลิตที่ดีขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งระบุรายละเอียดการดำเนินงานในหัวข้อ เช่น - เป้าหมาย - กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน - ระยะเวลาดำเนินการตามกิจกรรม/วิธีการ/ ขั้นตอนฯ เช่น ปฏิทินการดำเนินงาน (Gantt Chart) - วิธีวัดความสำเร็จและแนวทางการติดตามประเมินผล - ผู้รับผิดชอบ  แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่เสนอผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นชอบ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2553 โดยจัดส่งแผนฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 30 เมษายน 2553 หากเกินกว่ากำหนด จะพิจารณาปรับลดคะแนน 0.5000ของคะแนนตัวชี้วัด

แนวทางการประเมินผล ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล 2 ขั้นตอนที่ 2 : จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหัวทุกกลุ่มสาขาวิชา (หน่วยนับเป็นจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า : Full Time Equivalent Student) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานผลการคำนวณต้นทุนตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ  เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงาน มีฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต พร้อมทั้งเอกสาร หลักฐานที่แสดงถึงการจัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตด้านการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ทุกกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้ รายงานผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดที่ได้รับความเห็นชอบจากมีอำนาจ ทั้งนี้ วันที่แล้วเสร็จของรายงานผลการคำนวณต้นทุน ต่อหน่วยผลผลิตอ้างอิงจากวันที่ผู้มีอำนาจลงนามเห็นชอบต่อรายงานฯ ดังกล่าว  สำเนาหนังสือนำส่งรายงานฯ ให้กับสำนักงบประมาณกรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร.  การจัดทำบัญชีต้นทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553ต้องใช้ข้อมูลทางบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 - วันที่ 30 กันยายน 2553

แนวทางการประเมินผล ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล 3 ขั้นตอนที่ 3 : จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำหรับทุกผลผลิต ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานผลการคำนวณต้นทุนตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ  เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงาน พร้อมทั้งเอกสาร หลักฐานที่แสดงการจัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตด้านการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหัวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ทุกผลผลิต ดังนี้  รายงานผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของ ปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ  ทั้งนี้ วันที่แล้วเสร็จของรายงานผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต อ้างอิงจากวันที่ผู้มีอำนาจลงนามเห็นชอบ ต่อรายงานฯ ดังกล่าว  สำเนาหนังสือนำส่งรายงาน ฯ ให้กับสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร.  การจัดทำบัญชีต้นทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553ต้องใช้ข้อมูลทางบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 - วันที่ 30 กันยายน 2553

แนวทางการประเมินผล ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล 4 ขั้นตอนที่ 4 : เปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และจัดทำรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตได้แล้วเสร็จ ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงาน พร้อมทั้งรายละเอียดการวิเคราะห์ผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตที่ได้จัดทำแล้วเสร็จ ดังนี้ รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ โดยเนื้อหาของรายงานฯ ดังกล่าวประกอบด้วย - สรุปผลการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ในต้นทุนผลผลิต ต้นทุนกิจกรรมและต้นทุนตามหน่วยงาน - สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในต้นทุนผลผลิต ต้นทุนกิจกรรมและต้นทุนตามหน่วยงาน ทั้งนี้ วันที่แล้วเสร็จของรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต อ้างอิงจากวันที่ผู้มีอำนาจลงนามเห็นชอบต่อรายงานฯ ดังกล่าว

แนวทางการประเมินผล ระดับคะแนน เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผล 5 ขั้นตอนที่ 5 : รายงานผลตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ประเมินผลจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ เอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ดังนี้ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพฯ โดยมีเนื้อหาดังนี้ - ช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการตามกิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนการที่กำหนดไว้ในแผนเพิ่มประสิทธิภาพฯ - ผลการดำเนินงานหรือผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพ ฯ โดยเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด - ปัจจัยสนับสนุน - ปัญหา/อุปสรรค - แนวทางหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการเพิ่มประสิทธิภาพฯ ในปีต่อไป ทั้งนี้ ให้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพ ฯ ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ให้ผู้มีอำนาจรับทราบอย่างสม่ำเสมอ

เงื่อนไข ให้สถาบันอุดมศึกษาส่งผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดตามเกณฑ์การให้คะแนนทั้ง 5 ระดับ ถึงสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 31 มกราคม 2554

วัตถุประสงค์ของการคำนวณต้นทุนผลผลิต 1 พัฒนาการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เพิ่มความรับผิดชอบต่อสาธารณะ Accountability เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจในการการบริหารจัดการ การวัดผลการดำเนินงาน 17

ประโยชน์ของข้อมูลต้นทุน 5 ด้าน (ข้อมูลจาก “การบัญชีเพื่อการบริหารต้นทุนภาครัฐ” มาตรฐานการบัญชีการเงินภาครัฐ ฉบับที่ 4) 1. การควบคุมต้นทุนและงบประมาณ 2. การวัดผลการดำเนินงาน 3. การกำหนดค่าธรรมเนียม (เช่น มหาวิทยาลัย) 4. ประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม 5. การตัดสินใจของคำนึงถึงความเหมาะสมทางการเงิน

ความหมายและคำจำกัดความ

ความหมายและคำจำกัดความ การบัญชีต้นทุน Cost accounting หมายถึง การบัญชีเกี่ยวกับการบันทึก การจำแนก การปันส่วน การสรุป และการรายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับ ผู้บริหาร

ความหมายและคำจำกัดความ ต้นทุน Cost หมายถึง รายจ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือ บริการ ซึ่งอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือการก่อหนี้ ผูกพัน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าและ บริการ

ความหมายและคำจำกัดความ ต้นทุนทางตรง Direct Cost หมายถึง ต้นทุนที่สามารถระบุเข้าสู่หน่วย งานย่อย กิจกรรม หรือผลผลิตได้

ความหมายและคำจำกัดความ ต้นทุนทางอ้อม Indirect Cost หมายถึง ต้นทุนที่ไม่สามารถระบุเข้าสู่ หน่วยงานย่อย กิจกรรม หรือผลผลิตได้

ความหมายและคำจำกัดความ การปันส่วนต้นทุน Allocation หมายถึง การแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายไปยัง กิจกรรม กระบวนการผลิต การดำเนินงาน หรือ ผลผลิตตามเกณฑ์ต่างๆ

ความหมายและคำจำกัดความ ต้นทุนรวม Full Cost หมายถึง ผลรวมของต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในการผลิตผลผลิตของหน่วยงาน โดยไม่ต้องคำนึง แหล่งเงินทุน และเป็นการคำนวณจากตัวเลขค่าใช้จ่าย ที่บันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง

ความหมายและคำจำกัดความ หน่วยต้นทุน Cost Center หมายถึง หน่วยงานภายในส่วนราชการที่ กำหนดขึ้นตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ ทรัพยากรหรือต้นทุนในการผลิตผลผลิต

ความหมายและคำจำกัดความ หน่วยงานย่อย หมายถึง หน่วยงานย่อยภายในองค์กร การพิจารณา ว่าหน่วยงานระดับใดควรถูกกำหนดเป็นหน่วยงานย่อย เช่น ระดับสำนัก ระดับกลุ่ม ระดับฝ่าย ระดับคณะ หรือ ระดับภาควิชา ให้พิจารณาว่าหน่วยงานย่อยใดเป็น หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมการใช้ทรัพยากร

แนวทางการคำนวณต้นทุนผลผลิต ปีงบประมาณ พ.ศ.2552

ความสำคัญของข้อมูลด้านต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต 1. การตัดสินใจในการบริหารองค์กรโดยใช้ข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมีผลต่อประสิทธิภาพขององค์กร และผลประโยชน์ของประเทศชาติ 2. การระบุทรัพยากรเข้าสู่กิจกรรม และพิจารณาว่ากิจกรรมได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไร ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณาต้นทุนของผลผลิต 3. ในการหาต้นทุนกิจกรรม ถ้าหน่วยงานมีกิจกรรมที่เหมือนหน่วยงานอื่นก็ ควรกำหนดงานนั้นขึ้นเป็นกิจกรรมและกำหนดหน่วยนับให้เหมือนหน่วยงานอื่น เช่น กิจกรรมการก่อสร้าง เป็นกิจกรรมที่เอกชนก็ทำ ก็ควรกำหนดเป็นกิจกรรมเพื่อหาต้นทุนพร้อมหน่วยนับที่เหมือนกัน ถ้าภาครัฐดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ เราสามารถพิจารณา outsource จ้างเอกชน

คำศัพท์ ผลผลิตหลัก หมายถึง ผลผลิตตามเอกสารงบประมาณ รวมถึงผลผลิตอื่นที่นอกเหนือจากเอกสารงบประมาณที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้เงินในงบประมาณในการผลิตผลผลิต ผลผลิต หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่หน่วยงานภาครัฐทำการผลิต และส่งมอบให้กับบุคคลภายนอก ได้แก่รัฐบาล ประชาชน หน่วยงานภาครัฐอื่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของหน่วยงาน (หน่วยงานสามารถกำหนดผลผลิตที่ละเอียดและชัดเจนขึ้นซึ่งอาจแตกต่างจากผลผลิตมาเอกสารงบประมาณได้)

คำศัพท์ กิจกรรมหลัก หมายถึง กิจกรรมตามเอกสารงบประมาณ รวมถึงกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากเอกสารงบประมาณที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้เงินในงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม กิจกรรม หมายถึง กิจกรรมของหน่วยงาน โดยหน่วยงานสามารถระบุต้นทุนเข้าสู่กิจกรรมได้ เพื่อให้ทราบต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมและสามารถเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมของหน่วยงานทำให้สามารถปรับปรุงผลการดำเนินงานของหน่วยงาน และประเมินประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรหน่วยงานได้

การวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมย่อย กิจกรรม ส่วนราชการต้องวิเคราะห์กิจกรรมในการดำเนินงาน ของหน่วยงาน และทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมย่อย เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานในรูปของต้นทุนกิจกรรม ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมควรจะสามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างปีของหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานได้

การวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรม นักวิเคราะห์จะกำหนดกิจกรรมละเอียดหรือหยาบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ การระบุกิจกรรมที่ละเอียดเกินไปอย่างทำให้ต้นทุนกับประโยชน์ที่ได้รับไม่คุ้มกัน ต้นทุน-ประโยชน์ คุ้มหรือไม่ขึ้นอยู่กับความตั้งใจในการใช้ข้อมูลต้นทุนกิจกรรม การตัดสินใจพัฒนากิจกรรมขององค์กรอาจต้องการข้อมูลกิจกรรมที่ละเอียด เป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงานอย่างละเอียดในแต่ละศูนย์ต้นทุน แต่ละศูนย์ต้นทุนทำกิจกรรม 1 กิจกรรมหรือมากกว่า เพื่อที่จะสร้างผลผลิต

การวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรม Top-down approach Interview or participative approach Recycling approach

วิธี Top – down approach แต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์กิจกรรม คณะทำงานต้องมีความเข้าใจและมีประสบการณ์ในกระบวนการทำงานของหน่วยงานเป็นอย่างดี ข้อดี สามารถกำหนดกิจกรรมได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ องค์กรขนาดใหญ่มักใช้วิธีนี้ในการกำหนดกิจกรรม

วิธีการสัมภาษณ์หรือการมีส่วนร่วม Interview or participative approach แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสัมภาษณ์กิจกรรมจากพนักงาน แต่งตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยพนักงานจากศูนย์ต้นทุนต่างๆ ข้อดี การกำหนดกิจกรรมจะถูกต้องมากกว่าวิธี Top – down approach ข้อเสีย ใช้เวลามาก พนักงานปิดบังข้อมูลที่แท้จริงเพราะกลัวว่าผู้บริหารระดับสูงจะทราบข้อมูลการทำงานของตน

วิธีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ Recycling approach ใช้เอกสารเกี่ยวกับเกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่มีอยู่แล้ว เช่น เอกสารภารกิจตามกฎกระทรวง ข้อดี ใช้เวลาน้อย รวดเร็ว

การวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรม โครงสร้างของส่วนราชการว่าประกอบด้วย สำนักฯ กอง ศูนย์ อะไรและมีภารกิจอะไรจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ต้นทุน ในช่วงเริ่มแรก การกำหนดกิจกรรมในศูนย์ต้นทุนอาจจะกำหนดจากจำนวนฝ่ายหรือกลุ่มย่อยภายใต้ศูนย์ต้นทุนหรือกิจกรรมการทำงานหลักที่เกิดขึ้นจริง กำหนดหน่วยนับของกิจกรรม ให้พิจารณาดังนี้ กรณีที่กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานภายนอกอื่นทำเหมือนกัน กำหนดหน่วยนับตามหน่วยงานอื่น กรณีที่กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ไม่มีหน่วยงานภายนอกอื่นทำเหมือนกัน กำหนดหน่วยนับให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสม่ำเสมอในแต่ละปี โดยหน่วยนับแสดงถึงปริมาณงานของกิจกรรม

การวิเคราะห์และกำหนดผลผลิต ผลผลิต ต้องเป็นผลผลิตที่ส่งมอบให้กับบุคคลภายนอกที่มี ความละเอียดในส่วนของชื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่วนราชการ ดำเนินการผลิต รวมถึงต้องมีการกำหนดหน่วยนับให้เหมาะสม

การวิเคราะห์และกำหนดผลผลิต สิ่งสำคัญในการกำหนดผลผลิต คือ ต้องมีความสม่ำเสมอและสามารถเปรียบเทียบได้ในแต่ละปีตลอดจนBenchmark ได้ ทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงาน

ตัวอย่างกิจกรรมที่กรมบัญชีกลางกำหนดให้ส่วนราชการ ใช้ในการคำนวณ

กิจกรรมของหน่วยงานที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้ส่วนราชการใช้ในการคำนวณ

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน ต้นทุนกิจกรรม หมายถึง ทรัพยากรทั้งหมดที่หน่วยงานจ่ายไปเพื่อ ให้สามารถดำเนินงานในกิจกรรมดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินในงบประมาณเงินนอกงบประมาณ หรืองบกลาง

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน ต้นทุนของกิจกรรมด้านการเงินและบัญชี คือ ต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมด้านการเงินและบัญชีของหน่วยงาน เช่น การรับ-จ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ การติดตามและการรายงานด้านการเงินและบัญชี รวมถึงการบริหารจัดการด้านงบประมาณ (แต่ไม่รวมถึงการจัดทำแผนที่อยู่ใน ความรับผิดชอบของกลุ่มแผนงาน) จำนวนเอกสารรายการ หมายถึง จำนวนรายการเอกสารทางการเงินและบัญชี ยกเว้นเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งหน่วยงานสามารถเรียกดูจำนวนเอกสารรายการการเงินและบัญชีในระบบ GFMISได้โดยใช้ Transaction Code: FB03

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน ต้นทุนของกิจกรรมด้านการพัสดุ (จัดซื้อจัดจ้าง) คือ ต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมการบริหารด้านพัสดุ และการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่รวมถึงมูลค่า ของสิ่งของหรือบริการที่จัดซื้อหรือจัดจ้าง ในกรณีนี้ยังไม่รวมการซ่อมบำรุง และงานด้านยานพาหนะ จำนวนครั้งของการจัดซื้อจัดจ้าง หมายถึง จำนวนครั้งที่หน่วยงาน ทำการจัดซื้อและจัดจ้าง ซึ่งจำนวนเอกสารของการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ GFMIS สามารถเรียกได้โดยใช้ Transaction Code: ZMM_PO_RPT01

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน ต้นทุนของกิจกรรมด้านบริหารบุคลากร คือ ต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารบุคลากรของหน่วยงาน เช่น การดูแลอัตรากำลังและระบบงาน ด้านวินัย และงานสรรหา และบรรจุแต่งตั้ง

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน จำนวนบุคลากร หมายถึง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ถ้าจำนวนบุคลากรไม่เท่ากันระหว่างปีให้ใช้จำนวนบุคลากรถั่วเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น ระหว่าง 1 ตุลาคม 2550 ถึง 15 มกราคม 2550 มีจำนวนบุคลากร 50 คน ระหว่าง 16 มกราคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2550 มีจำนวนบุคลากร 60 คน ดังนั้น การคำนวณหาจำนวนบุคลากรเท่ากับ ระยะเวลา จำนวนวัน จำนวนบุคลากร จำนวนวัน x จำนวนบุคลากร 1 ตุลาคม - 15 มกราคม 107 50 คน 5,350 16 มกราคม - 30 กันยายน 258 60 คน 15,480 รวม 365 20,830 จำนวนบุคลากรถั่วเฉลี่ยทั้งปี 20,830 / 365 วัน =57.07 คน

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน ต้นทุนของกิจกรรมด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล หมายถึง กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินงานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การประเมินผล และการจัดฝึกอบรม รวมถึงการจัดทำสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยนับรวมการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ในกรณีนี้ยกเว้นการศึกษาดูงานและการฝึกอบรมต่างประเทศ จำนวนชั่วโมง/คนการฝึกอบรม หมายถึง ผลรวมของจำนวนชั่วโมงของการฝึกอบรมของแต่ละหลักสูตรคูณด้วยจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรนั้น เพื่อคำนวณหาต้นทุนของการฝึกอบรม 1 คน ต่อ 1 ชั่วโมงเป็นเท่าใด ตัวอย่างเช่น หลักสูตรฝึกอบรมมีผู้เข้ารับการอบรม 20 คน มีระยะเวลา 6 ชั่วโมง ดังนั้นจำนวนชั่วโมง/คนการฝึกอบรม เท่ากับ 120 ชั่วโมง/คน

อธิบายกิจกรรมของหน่วยงาน ต้นทุนของกิจกรรมตรวจสอบภายใน คือ ต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานด้านตรวจสอบภายในของหน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินงานโดยกลุ่มตรวจสอบภายใน จำนวนงานตรวจสอบ หมายถึง จำนวนคนวันที่ใช้ที่ในงานตรวจสอบตามแผนงานการตรวจสอบประจำปี

การวางระบบบัญชีกับการคำนวณต้นทุนผลผลิต

□ องค์การมหาชน □ สถาบันอุดมศึกษา □ หน่วยงานของรัฐอื่นๆ หน่วยงานภาครัฐที่มีระบบบัญชีแยกจาก GFMIS □ องค์การมหาชน □ สถาบันอุดมศึกษา □ หน่วยงานของรัฐอื่นๆ มีระบบบัญชีเป็นของตัวเอง

แนวทางการคำนวณต้นุทน การกำหนดวิธีการคำนวณต้นทุนของกรมบัญชีกลางใช้แนวทางการคำนวณต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-based costing) โดยต้องอาศัยการวางระบบบัญชีที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการคำนวณต้นทุนผลผลิตขององค์กรจึงจะประสบผลสำเร็จ

การวางระบบบัญชี การวางระบบบัญชีที่เป็นแบบบูรณาการ (Integrated System) ทั้งองค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การคำนวณต้นทุนผลผลิตถูกต้องและข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานย่อย

การวางระบบบัญชี การวางระบบบัญชีที่ดีส่งผลให้รายงานบัญชีการเงินและรายงานบัญชีเพื่อการบริหารมีความถูกต้องครบถ้วนและเกิดประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

การวางระบบบัญชี ระบบบัญชีของแต่ละแห่งอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินงานขององค์ซึ่งระบบบัญชีควรสามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการคำนวณและควรเป็นแบบบูรณาการ (Integrated System) โดยมีฐานข้อมูลเดียวกันทั้งองค์กร

การวางระบบบัญชี ระบบบัญชี อย่างน้อย ควรสามารถระบุประเภทค่าใช้จ่าย แหล่งของเงิน หน่วยงานย่อย กิจกรรม และผลผลิต ได้ เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการคำนวณต้นทุนผลผลิตโดยมีฐานข้อมูลเดียวกัน

การวางระบบบัญชี ระบบบัญชีที่รองรับการคำนวณต้นทุนควรสามารถออกรายงานได้ดังต่อไปนี้ - รายงานต้นทุนตามหน่วยงานย่อย แยกตามแหล่งเงิน - รายงานต้นทุนตามกิจกรรม แยกตามแหล่งเงิน - รายงานอื่นตามความต้องการของหน่วยงาน

ตัวอย่าง ข้อมูลทางการเงินบางส่วนที่ถูกบันทึกในระบบบัญชี

ข้อมูลทางบัญชี ข้อมูลทางบัญชีจะถูกบันทึกเข้าสู่ระบบโดยมีใบสำคัญประกอบการบันทึกบัญชี โดยใบสำคัญต้องมีข้อมูลของประเภทต้นทุน (รหัสบัญชี) แหล่งของเงิน(เงินในงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบกลาง) และจำนวนเงิน

ต้นทุนข้อมูลที่ระบุได้ (ต้นทุนทางตรง) ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานย่อย กิจกรรม ผลผลิตควรมีการระบุถ้าสามารถระบุได้ข้อมูลยิ่งระบุได้มากเท่าใดก็ยิ่งทำให้การปันส่วนน้อยลงและข้อมูลต้นทุนจะถูกต้องมากขึ้น

ต้นทุนที่ระบุไม่ได้ (ต้นทุนทางอ้อม) รายการส่วนใหญ่จะสามารถระบุเข้าสู่หน่วยงานย่อยได้ยกเว้นบางตัวเช่น ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ และค่าไฟฟ้า บางหน่วยงานอาจเป็นรายการที่ใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานย่อยไม่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานย่อยใด จึงไม่สามารถระบุเข้าสู่หน่วยงานย่อยได้

การปันส่วนต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนบางส่วนที่ไม่สามารถระบุได้จำเป็นต้องมีการปันส่วนต้นทุนโดยอาศัยเกณฑ์การปันส่วน โดยหน่วยงานต้องกำหนดเกณฑ์การปันส่วนที่เหมาะสมหากหน่วยงานมีระบบบัญชีที่ดีสามารถระบุต้นทุนได้ตามหน่วยงานย่อย กิจกรรม ผลผลิต และหน่วยงานสามารถระบุต้นทุนได้มากเท่าใดความถูกต้องของรายงานต้นทุนจะมีมากขึ้น

การปันส่วนต้นทุนทางอ้อม เบื้องต้นการกำหนดเกณฑ์การปันส่วนให้หน่วยงานพิจารณาว่าต้นทุนดังกล่าวมีอะไรเป็นปัจจัยผันแปร หรือ เป็นสาเหตุให้เกิดต้นทุนดังกล่าวและพิจารณาหน่วยงานย่อยหรือกิจกรรมที่ได้รับประโยชน์จากต้นทุนดังกล่าว

ทะเบียนสินทรัพย์ ทะเบียนสินทรัพย์ควรมีระบุหน่วยงานย่อยที่ใช้สินทรัพย์ เพื่อทำให้การคำนวณค่าเสื่อมราคาราคาสามารถระบุได้ว่าเป็นค่าเสื่อมราคาของหน่วยงานย่อยใด

การคำนวณหาต้นทุนผลผลิตของหน่วยงานย่อย 1. เมื่อดึงข้อมูลจากระบบบัญชีแล้ว ให้ส่วนราชการพิจารณาว่าต้นทุนที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานก่อให้เกิดผลผลิตมีอะไรบ้าง และตัดต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานออกไป 2. ในระบบบัญชีต้นทุนทางตรงจะถูกบันทึกเข้าสู่หน่วยงานย่อยแล้ว ดังนั้นเราจะทราบต้นทุนของแต่ละหน่วยงานย่อย 3. สำหรับต้นทุนทางอ้อมต้องอาศัยเกณฑ์การปันส่วน เพื่อระบุต้นทุนเข้าสู่หน่วยงานย่อยในการพิจารณาเกณฑ์การปันส่วนต้นทุนทางอ้อมเข้าสู่หน่วยงานย่อยให้หน่วยงานกำหนด ตามความเหมาะสมอย่างยุติธรรม โดยพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนนั้นผันแปร เพื่อที่จะใช้เป็นตัวผลักดันต้นทุนเข้าสู่ศูนย์ต้นทุน

รูปแบบรายงานการคำนวณต้นทุนผลผลิต

รูปแบบรายงานการคำนวณต้นทุนผลผลิต ตารางที่ 1 รายงานรายได้แยกประเภทตามแหล่งของเงิน รายงานรายได้แยกตามแหล่งเงิน รายได้ รายได้จากรัฐบาล xx รายได้จากการขายสินค้าและบริการ xx รายได้จากเงินช่วยเหลือและเงินบริจาค xx รายได้อื่น xx รายได้รวม xx รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่าย xx

รูปแบบรายงานการคำนวณต้นทุนผลผลิต ตารางที่ 2 รายงานประเภทค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน ประเภทค่าใช้จ่าย เงินในงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบกลาง (ถ้ามี) รวม 1. 2. 3. 4. หมายเหตุ (กรณีที่ต้นทุนผลผลิตรวมไม่เท่ากับค่าใช้จ่ายรวมตามงบการเงินที่เสนอสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ต้องมีการกระทบยอดค่าใช้จ่ายรวมตามงบการเงินและต้นทุนผลผลิต) ค่าใช้จ่ายรวมตามงบการเงิน xxx หัก ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องในการผลิตผลผลิต (xx) บวก ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการผลิตผลผลิต xx รวมค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน xxx

รูปแบบรายงานการคำนวณต้นทุนผลผลิต ตารางที่ 3 รายงานต้นทุนกิจกรรม ชื่อกิจกรรม เงินในงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบกลาง ค่าเสื่อมราคา ต้นทุนรวม ปริมาณ ต้นทุนต่อหน่วย 1. 2. 3. รวม

รูปแบบรายงานการคำนวณต้นทุนผลผลิต ตารางที่ 4 รายงานต้นทุนผลผลิต ชื่อผลผลิต เงินในงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบกลาง ค่าเสื่อมราคา ต้นทุนรวม ปริมาณ ต้นทุนต่อหน่วย 1. 2. 3. รวม

หมายเหตุ ในช่วงเริ่มแรกถ้าระบบบัญชีขององค์กรไม่สามารถแยกได้ว่าต้นทุนเป็นเงินในงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หรืองบกลางให้หน่วยงานพิจารณาจากรายได้โดยดูจากสัดส่วนของรายได้ยกเว้นค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลซึ่งเป็นงบกลาง ถ้าระบบบัญชีขององค์กรสามารถรองรับการคำนวณต้นทุนแยกตามแหล่งเงินได้อย่างเหมาะสม หากมีปัญหาค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์โดยไม่ทราบว่าเป็นสินทรัพย์จากแหล่งเงินใดก็ให้รวมราคาดังกล่าวไว้เป็นเงินนอกงบประมาณ

ตัวอย่าง เปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต ตัวอย่าง เปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต งวด 6 เดือนแรก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548 * ในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถเปรียบเทียบผลผลิตและกิจกรรมได้ ในระหว่างปีงบประมาณ

ผลการคำนวณต้นทุนผลผลิตงวด 6 เดือนแรก ปี 47 กิจกรรม รวม ผลผลิต รวม ต้นทุน/หน่วย 1. จัดทำ วิเคราะห์ และ พัฒนาระบบเทคโนโลยีฯ 22.2 ลบ. 1. การเป็นศูนย์ข้อมูล สารสนเทศการคลัง 22.2 ลบ. 216,296บ. 2. บริหารงานสวัสดิการ รักษาพยาบาล 2.5 ลบ. 2. การกำกับ ดูแล การคลัง การบัญชี การพัสดุภาครัฐ 47.5 ลบ. 3,272บ. 3. บริหารงานเงินนอกฯ 3.9 ลบ. 4. กำกับ ดูแล ควบคุม มาตรฐานฯ 41.1 ลบ. 5. กำกับ ดูแล งานตรวจ สอบภายใน 10.9 ลบ. 3. การกำกับ ดูแลการ ตรวจสอบภายใน 10.9 ลบ. 259,075บ. 6. บริหารการรับ-จ่าย 341.3 ลบ. 4. การบริหารการเงิน การคลัง 345.6ลบ. 560บ. 7. พัฒนาทรัพยากรบุคคล 4.3 ลบ.

ผลการคำนวณต้นทุนผลผลิตงวด 6 เดือนแรก ปี 48 กิจกรรม รวม ผลผลิต รวม ต้นทุน/หน่วย 1. บริหารและควบคุม การรับจ่ายเงินภาครัฐ และดำเนินงานด้านการ คลังให้ผู้ว่า CEO 292.3 ลบ. 1. การบริหารการเงิน การคลังภาครัฐ 316.4 ลบ. 546,430 บ. 2. พัฒนาทรัพยากรบุคคล 7.4 ลบ. 3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ การคลังและวิเคราะห์ รายงานการเงินแผ่นดิน 16.6 ลบ. 2. การกำกับ ดูแลการ คลัง การบัญชี การ พัสดุ และการตรวจ สอบภายใน 91.6 ลบ. 3,498.4 บ. 4. กำกับ ดูแลการคลัง การบัญชี การพัสดุ และ การตรวจสอบภายใน 91.6 ลบ.

การเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต กิจกรรม ปี 47 การ Mapping กิจกรรมปี 47 สู่กิจกรรม ปี 48 กิจกรรม ปี 48 1. บริหารและควบคุม การรับจ่ายเงินภาครัฐ และดำเนินงานด้านการ คลังให้ผู้ว่า CEO 1. จัดทำ วิเคราะห์ และ พัฒนาระบบเทคโนโลยีฯ 2. บริหารงานสวัสดิการ รักษาพยาบาล 3. บริหารงานเงินนอกฯ 2. พัฒนาทรัพยากรบุคคล 4. กำกับ ดูแล ควบคุม มาตรฐานฯ 3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ การคลังและวิเคราะห์ รายงานการเงินแผ่นดิน 5. กำกับ ดูแล งานตรวจ สอบภายใน 4. กำกับ ดูแลการคลัง การบัญชี การพัสดุ และ การตรวจสอบภายใน 6. บริหารการรับ-จ่าย 7. พัฒนาทรัพยากรบุคคล

การเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต กิจกรรม ปี 47 ต้นทุนกิจกรรม ปี 47 ต้นทุนกิจกรรม ปี 48 กิจกรรม ปี 48 1. จัดทำ วิเคราะห์ และ พัฒนาระบบเทคโนโลยีฯ 3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ การคลังและวิเคราะห์ รายงานการเงินแผ่นดิน 22.19 16.63 2. บริหารงานสวัสดิการ รักษาพยาบาล 4. กำกับ ดูแลการคลัง การบัญชี การพัสดุ และ การตรวจสอบภายใน 3. บริหารงานเงินนอกฯ 56.38 91.60 4. กำกับ ดูแล ควบคุม มาตรฐานฯ 1. บริหารและควบคุม การรับจ่ายเงินภาครัฐ และดำเนินงานด้านการ คลังให้ผู้ว่า CEO 5. กำกับ ดูแล งานตรวจ สอบภายใน 341.33 292.31 6. บริหารการรับ-จ่าย 7. พัฒนาทรัพยากรบุคคล 4.29 2. พัฒนาทรัพยากรบุคคล 7.44

การเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต การ Mapping ผลผลิตปี 47 สู่ผลผลิตปี 48 ผลผลิต ปี 47 ผลผลิต ปี 48 1. การเป็นศูนย์ข้อมูล สารสนเทศการคลัง 1. การบริหารการเงิน การคลังภาครัฐ 2. การกำกับ ดูแล การคลัง การบัญชี การพัสดุภาครัฐ 2. การกำกับ ดูแลการคลัง การบัญชี การพัสดุ และ การตรวจสอบภายใน 3. การกำกับ ดูแลการ ตรวจสอบภายใน 4. การบริหารการเงิน การคลัง

การเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต ต้นทุนผลผลิตรวม ปี 47 ต้นทุนผลผลิตรวม ปี 48 ผลผลิต ปี 47 ผลผลิต ปี 48 1. การเป็นศูนย์ข้อมูล สารสนเทศการคลัง 1. การบริหารการเงิน การคลังภาครัฐ 367.82 316.4 4. การบริหารการเงิน การคลัง 2. การกำกับ ดูแล การคลัง การบัญชี การพัสดุภาครัฐ 2. การกำกับ ดูแลการคลัง การบัญชี การพัสดุ และ การตรวจสอบภายใน 58.38 91.6 3. การกำกับ ดูแลการ ตรวจสอบภายใน

การเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนผลผลิต ผลผลิต ปี 47 ต้นทุน (ลบ.) จำนวน หน่วยนับ ต้นทุน / หน่วย ผลผลิต ปี 48 1.เป็นศูนย์ข้อมูลฯ 4. การบริหารการเงิน การคลัง 367.82 413,697 839.09 1. การบริหารการเงินการคลังภาครัฐ 316.4 579 546,430.04 2. กำกับการคลัง การบัญชี การพัสดุ 3. กำกับการตรวจสอบภายใน 58.38 8,707 6,704.95 2. กำกับ ดูแลการคลัง 91.6 26,183 3,498.49 สรุป เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนรวม จะเห็นได้ว่าในผลผลิตที่ 1 ต้นทุนรวมในปี 48 ลดลง จากปี 47 แต่เมือเปรียบเทียบในระดับต้นทุนต่อหน่วย จะเห็นได้ว่า ต้นทุนต่อหน่วยในปี 48 เพิ่มขึ้น จากปี 47 เนื่องจากจำนวนหน่วยนับลดลง จากปี 47 เพราะลักษณะงานมีการเปลี่ยน

เปรียบเทียบต้นทุนแยกตามหน่วยงานปี 47 กับปี 48 (งวด 6 เดือนแรก)

ตารางต้นทุนแยกตามหน่วยงานเปรียบเทียบปี 47 กับปี 48 (งวด 6 เดือนแรก) สรุป ในการเปรียบเทียบต้นทุนแยกตามศูนย์ต้นทุนให้บอกสาเหตุการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของต้นทุนระหว่างปีที่มีการเปรียบเทียบตามศูนย์ต้นทุน

การวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ Input Process Output Economy Value-added Quantity Quality Time

การประหยัดทรัพยากร องค์กรกำหนดนโยบายการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด จัดโครงการรณรงค์การใช้ทรัพยากร ประเมินความคุ้มค่าการใช้ทรัพยากร พิจารณาว่าทรัพยากรใดที่ไม่ถูกใช้งาน หรือ ใช้งานยังไม่เต็มกำลัง การจัดซื้อจัดจ้างด้วยราคาที่เหมาะสม

ประสิทธิภาพด้านกระบวนการ พิจารณากิจกรรมทั้งองค์กร เพื่อดูความซ้ำซ้อนของกิจกรรม เปรียบเทียบประสิทธิภาพของกิจกรรมที่เหมือนกันระหว่างหน่วยงานย่อยภายในองค์กร ลดกระบวนการกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออกไป

ประสิทธิภาพของการสร้างผลผลิต ปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ประชาชนพึงพอใจ พิจารณาเพิ่มปริมาณผลผลิตให้ใช้ทรัพยากรคงที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการรอคอยการรับบริการของประชาชน

ตัวอย่างแผนเพิ่มประสิทธิภาพ ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตประจำปีงบประมาณ พ. ศ ตัวอย่างแผนเพิ่มประสิทธิภาพ ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ผลผลิต ต้นทุนรวม(บาท) ปริมาณงาน ต้นทุนต่อหน่วย การให้บริการฉายรังสี 25,000,000 4,000,000 ครั้ง 6.25 บาทต่อครั้ง การให้ตรวจสารเคมี 48,000,000 200,000 ครั้ง 240 บาทต่อครั้ง

กิจกรรม สถานะปัจจุบัน เป้าหมาย กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม สถานะปัจจุบัน เป้าหมาย 1. นโยบายใช้กระดาษ Recycle ลดการใช้กระดาษ มีการใช้กระดาษ 300,000 แผ่นต่อปี ต้นทุน 150,000 บาท มีการใช้กระดาษ 200,000 แผ่นต่อปี ต้นทุน 90,000 บาท 2. นโยบายลดการใช้หมึกพิมพ์โดยใช้โหมดประหยัดหมึกสำหรับหนังสือร่าง มีการใช้ผงหมึก 2,000 ตลับ ต่อปี ต้นทุน 400,000 บาท มีการใช้ผงหมึก 1,500 ตลับ ต่อปี ต้นทุน 300,000 บาท 3. จัดให้มีการประชุม VDO conference มากขึ้นเพื่อ ลดการเดินทางการจัดประชุม มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประชุมครั้งละ 50,000 บาท มีการประชุม 100 ครั้งต่อปี มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,000,000 บาท มีการติดตั้งระบบ VDO conference โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 1,000,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาปีละ 200,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประชุมก่อนติดตั้งระบบ 1,500,000 บาท

กิจกรรม สถานะปัจจุบัน เป้าหมาย กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม สถานะปัจจุบัน เป้าหมาย 4. มีการจ้างเอกชนในงานการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโยกย้ายบุคลากรเดิมและทรัพยากรที่ทำงานอยู่ไปปฏิบัติงานด้านการออกแบบระบบงานสถิติ (งานใหม่) มีค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยบุคลากรภายใน มีต้นทุน 5,000,000 บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยบุคลากรภายนอก มีต้นทุน 2,000,000 บาทต่อปี และมีค่าใช้จ่ายในการออกแบบระบบงานสถิติ มีต้นทุน 5,000,000 บาทต่อปี

กิจกรรม สถานะปัจจุบัน เป้าหมาย กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม สถานะปัจจุบัน เป้าหมาย 5. ขายเครื่องจักรเก่าและซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครี่องจักรเก่าเพื่อเพิ่มกำลังการให้บริการการฉายรังสี เครื่องจักรในการบริการฉายรังสี 2 เครื่อง มีค่าเสื่อมราคา 40,000 บาทต่อปี มีค่าซ่อมบำรุง 10,000 บาท มีกำลังการผลิต 500 ครั้งต่อวัน และไม่เพียงพอให้ประชาชนใช้บริการ ต้นทุนต่อหน่วย 100 บาทต่อครั้ง ขายเครื่องจักรเก่า 2 เครื่อง ขาดทุน 20,000 บาท เครื่องจักรใหม่มีค่าเสื่อมราคา 70,000 บาทต่อปี มีอายุการใช้งาน 10 ปีไม่มีค่าซ่อมบำรุงใน 3 ปีแรก ปีที่ 4 –10 มีค่าซ่อมบำรุงประมาณปีละ 15,000 บาท มีกำลังการผลิต 1,000 ครั้งต่อวัน และมีประชาชนมาใช้บริการโดยเฉลี่ย 900 ครั้งต่อวัน ดังนั้นต้นทุนต่อหน่วยปีที่ 1 เท่ากับ 100 บาทต่อครั้ง ปีที่ 2-3 เท่ากับ 77.77 บาทต่อครั้ง และ หน่วยปีที่ 4-10 เท่ากับ 94.44 บาทต่อครั้ง

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม ระยะเวลา ตามแผน เป้าหมาย ระยะเวลาจริง ผลการดำเนินงาน เหตุผล 1. นโยบายใช้กระดาษ Recycle ลดการใช้กระดาษ ต.ค.51-ก.ย.52 มีการใช้กระดาษ 200,000 แผ่นต่อปี ต้นทุน 90,000 บาท ม.ค.52-ก.ย.52 มีการใช้กระดาษ 250,000 แผ่น ต่อปี ต้นทุน 150,000 บาท เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ 2 เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทำให้มีการใช้กระดาษเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ผลผลิตที่ 2 มีต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 2. นโยบายลดการใช้หมึกพิมพ์โดยใช้โหมดประหยัดหมึกสำหรับหนังสือร่าง มีการใช้ผงหมึก 1,500 ตลับต่อปีต้นทุน 300,000 บาท มีการใช้ผงหมึก 1,200 ตลับต่อปีต้นทุน 240,000 บาท เนื่องจากมีมาตรการรณรงค์ที่ต่อเนื่องและมีการปรับโหมดการใช้งานของเครื่องพิมพ์ และมีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นทำให้ลดการพิมพ์กระดาษ

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม ระยะเวลา ตามแผน เป้าหมาย ระยะเวลาจริง ผลการดำเนินงาน เหตุผล 3. จัดให้มีการประชุม VDO conference มากขึ้นเพื่อ ลดการเดินทางการจัดประชุม ม.ค.52-ก.ย.52 มีการติดตั้งระบบ VDO conference โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 1,000,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาปีละ 200,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประชุมก่อนติดตั้งระบบ 1,500,000 บาท มีการติดตั้งระบบ VDO conference โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 1,000,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาปีละ 200,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประชุมก่อนติดตั้งระบบ 1,400,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหลังการติดตั้ง 300,000 บาท ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจัดประชุมปีงบประมาณ พ.ศ.2552 เนื่องจากการติดตั้งระบบ VDO conference ยังไม่ครอบคลุม การจัดการประชุมบางครั้งต้องเดินทางไปร่วมประชุมจึงมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางหลังการติดตั้งเหลือ 300,000 บาท

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม ระยะเวลา ตามแผน เป้าหมาย ระยะเวลาจริง ผลการดำเนินงาน เหตุผล ประกอบด้วย ค่าตัดจำหน่ายระบบ 150,000 บาท ค่าบำรุงรักษา 150,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางประชุมก่อนติดตั้งระบบ 1,400,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการเดินทางหลังการติดตั้ง 300,000 บาท รวมทั้งสิ้น 2,000,000 บาท หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายค่าติดตั้งมีการตัดจำหน่าย 9 เดือน 150,000 บาท (ค่าติดตั้ง 1,000,000 บาท การตัดจำหน่าย 5 ปี ปีละ 200,000 บาท ซึ่งปี 52 ดำเนินการเป็นเวลา 9 เดือน คำนวณดังนี้ 200,000 x 9/12 = 150,000 บาท) ค่าบำรุงรักษา 9 เดือน 150,000 บาท (ค่าบำรุงรักษาปีละ 200,00 บาท ปี 52 ดำเนินการเป็นเวลา 9 เดือน คำนวณดังนี้ 200,000 x 9/12 = 150,000 บาท

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม ระยะเวลา ตามแผน เป้าหมาย ระยะเวลาจริง ผลการดำเนินงาน เหตุผล 4. มีการจ้างเอกชนในงานการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโยกย้ายบุคลากรเดิมและทรัพยากรที่ทำงานอยู่ไปปฏิบัติงานด้านการออกแบบระบบงานสถิติ (งานใหม่) ต.ค.51-ก.ย.52 มีค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยบุคลากรภายนอก มีต้นทุน 2,000,000 บาทต่อปี และมีค่าใช้จ่ายในการออกแบบระบบงานสถิติ มีต้นทุน 5,000,000 บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยบุคลากรภายนอก มีต้นทุน 2,000,000 บาทต่อปี และมีค่าใช้จ่ายในการออกแบบระบบงานสถิติ มีต้นทุน 4,500,000 บาทต่อปี การจ้างเหมาในการดูแลบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถดำเนินการได้ตามแผน ส่วนของต้นทุนของระบบงานสถิติหน่วยงานสามารถประหยัดได้ 500,000 บาท เนื่องจากบุคลากรของหน่วยงานมีการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 กิจกรรม ระยะเวลา ตามแผน เป้าหมาย ระยะเวลาจริง ผลการดำเนินงาน เหตุผล 5. ขายเครื่องจักรเก่าและซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่าเพื่อเพิ่มกำลังการให้บริการการฉายรังสี ก.พ.52-ก.ย.52 ขายเครื่องจักรเก่า 2 เครื่อง ขาดทุน 20,000 บาท เครื่องจักรใหม่มีค่าเสื่อมราคา 70,000 บาทต่อปี มีอายุการใช้งาน 10 ปีไม่มีค่าซ่อมบำรุงใน 3 ปีแรก ปีที่ 4 –10 มีค่าซ่อมบำรุงประมาณปีละ 15,000 บาท มีกำลังการผลิต 1,000 ครั้งต่อวัน และมีประชาชนมาใช้บริการโดยเฉลี่ย 900 ครั้งต่อวัน ดังนั้นต้นทุนต่อหน่วยปีที่ 1 เท่ากับ 100 บาทต่อครั้ง หน่วยปีที่ 2-3 เท่ากับ 77.77 บาทต่อครั้ง และ หน่วยปีที่ 4-10 เท่ากับ 94.44 บาทต่อครั้ง ขายเครื่องจักรเก่า 2 เครื่อง ขาดทุน 20,000 บาท เครื่องจักรใหม่มีค่าเสื่อมราคา 70,000 บาทต่อปี มีอายุการใช้งาน 10 ปีไม่มีค่าซ่อมบำรุงใน 3 ปีแรก ปีที่ 4 –10 มีค่าซ่อมบำรุงประมาณปีละ 15,000 บาท มีกำลังการผลิต 1,000 ครั้งต่อวัน และมีประชาชนมาใช้บริการโดยเฉลี่ย 900 ครั้งต่อวัน ดังนั้นต้นทุนต่อหน่วยปีที่ 1 เท่ากับ 100 บาทต่อครั้ง หน่วยปีที่ 2-3 เท่ากับ 77.77 บาทต่อครั้งและ หน่วยปีที่ 4-10 เท่ากับ 94.44 บาทต่อครั้ง สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ได้กำหนดไว้

Q & A 97 97

กลุ่มมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ E-mail address: baccount@cgd.go.th โทร. 0-2298-6288 โทรสาร. 0-2273-9469 E-mail address: baccount@cgd.go.th Website: www.cgd.go.th