ลักษณะทั่วไปของคำในภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นคำโดด คำที่ใช้เรียกญาติ คำที่ใช้เรียกจำนวนนับ (เช่น ตื้อ (ภ.ถิ่นเหนือ อีสาน =พันล้าน), ติ่ว (หมื่นล้าน ภ.ถิ่นอีสาน), ลำดับลูกชาย อ้าย ยี่ สาม ไส งั่ว ลก... ลำดับลูกสาว เอื้อย อี่ อาม ไอ่ อั้ว อก... เป็นต้น คำที่ใช้เป็นสรรพนามในการพูดจากัน เช่น อ้าย อี มึง กู สู เจ้า เรา ข้า ข้าเจ้า ข้อย (ข้าน้อย) คำที่ใช้เป็นกริยาสามัญ (มีตรงกันใน ภ.ถิ่น เช่น คิด ร้าย ร้าง ชัง ช่วย ฉก วี เป็นต้น)
สร้างคำศัพท์ขึ้นใหม่โดยวิธีประสมคำ ไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ สร้างคำศัพท์ขึ้นใหม่โดยวิธีประสมคำ คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำคู่ (จุกจิก ยู่ยี่ บู้บี้ โด่เด่ ฯลฯ) ภาษาไทยใช้ระดับเสียงเปลี่ยนความหมายของคำ (วรรณยุกต์)
ภาษาไทยย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ศัพท์สูญ เช่น ขนหัว (ภ.ไทลื้อ,ไทขาว = ผม) ตัดสิน (สีนมือสีนตีน = ตัด กฎหมายตราสามดวง) เสียงสูญ (การกร่อนเสียง) เช่น ฉันใด (ไฉน), อันไร (อะไร), แมลง (แมง), จริงทีเดียว (จริงเจียว), เมื่อรืน (มะรืน), หรือไม่ (ไหม ม้ะ), ถ้าว่า (ทว่า), เพื่อว่า (ผิว่า)
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงภาษา การเปลี่ยนแปลงภายใน (Internal Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง หน่วยคำ หน่วยเสียง ของภาษานั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติและอิทธิพลของภาษานั้นๆ หาได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นๆ ที่เข้ามาปะปนไม่ มีได้ ๓ ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียง (Sound Change) การเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ (Vocabulary Change) การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย (Semantic Change)
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียง (Sound Change) คือการเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงของคำให้ต่างไปจากคำเดิมโดยเจตนา หรือไม่เจตนาก็ตาม เป็นผลให้คำคำนั้นออกเสียงเพี้ยนไป ต่างไปจากเสียงเดิม คือ การลดเสียงหรือกร่อนเสียง หรือเสียงหาย การเพิ่มเสียง การสับเสียง การชดเชยเสียง
การเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ (Vocabulary Change) พี (อ้วน) วี (พัด) ซื่อ (เดิมความหมายดี หมายถึง มีสัจจะ ยุติธรรม ตรง ภายหลังมีคำต่างประเทศเข้ามา สัตย์ (ส.) สัจจะ(บ.) ตรง(ข.) ทำให้ความหมายของซื่อเลวลง ในที่สุดเกิดคำใหม่ว่า ซื่อบื้อ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย (Semantic Change) ความหมายแคบเข้า ความหมายกว้างออก ความหมายย้ายที่
การเปลี่ยนแปลงภายนอก (External Change) คือการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นที่มีความสัมพันธ์สืบทอดวัฒนธรรมกันมาแต่สมัยโบราณ ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมาแต่สมัยอดีต ได้แก่ ภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาเขมร ส่วนในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีอิทธิพลต่อภาษาไทยมาก เพราะชาติตะวันตกมีความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา และวิทยาการสมัยใหม่ นักวิชาการไทยที่ศึกษาวิทยาการจากตะวันตก จึงมักนำคำภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนกับภาษาไทย ทั้งคำศัพท์ทางวิชาการและคำศัพท์ทั่วไป และคนหมู่มากนิยมพูดภาษาอังกฤษ รวมทั้งสื่อมวลชน จึงทำให้ภาษาอังกฤษเข้ามาในภาษาไทยมาก
สรุปขบวนการเปลี่ยนแปลงภายนอก คำยืม (Loan Words) คือการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย โดยปรับเสียงให้เหมาะสมกับภาษาไทยบ้าง เปลี่ยนแปลงความหมายบ้าง ได้แก่คำจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ จีน ภาษาอื่นๆ ได้แก่ ชวา มลายู โปรตุเกส เป็นต้น
สรุปขบวนการเปลี่ยนแปลงภายนอก (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงด้านไวยากรณ์ (Grammar Change) คือการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของภาษาไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงระบบการสร้างคำ เช่น บาลีสันสกฤตได้นำวิธีการสร้างคำสมาสและคำสนธิ (ปัจจุบันเรียกว่าการสนธิเสียง(เสาวลักษณ์) เรายืมการแผลงคำจากเขมร
สรุปขบวนการเปลี่ยนแปลงภายนอก (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงด้านตัวอักษร (Palaeographic Change) คือแม้นักภาษาศาสตร์จะไม่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของตัวอักษรเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของเสียงพูด แต่ตัวอักษรคือลายเส้นขีดเขียนเป็นรูปสัญลักษณ์ ใช้สื่อความหมายแทนเสียงพูด ซึ่งคนในสังคมนั้นยอมรับและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ตรงกัน ฉะนั้นภาษาพูดและภาษาเขียนของไทยจึงมีวิวัฒนาการเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันเสมอมา
ที่มา ธวัช ปุญโณทก. (๒๕๔๗). วิวัฒนาการภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.