Hilda Taba (ทาบา)
Hilda Taba (ทาบา) (1902-1967) เป็นนักหลักสูตรกลุ่ม แนวคิดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (scientificmanagement) ที่ มีชื่อเสียงในวงการด้านหลักสูตรและการสอน เธอเป็นศิษย์ของ John Dewey นักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนิยม Taba สำเร็จ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง พลวัตของ การศึกษา : วิธีวิทยาของแนวคิดการศึกษาพิพัฒนาการ (1932) (Dynamics of Education: A Methodology of Progressive Educational Thought) ซึ่งเน้นการนำเสนอการจัดการศึกษาเพื่อ ความเป็นประชาธิปไตย
ภายหลังเมื่อเธอหันมาสนใจเกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร เธอ จึงได้มีโอกาสร่วมงานกับ John Dewey, Benjamin Bloom, Ralph W. Tyler และได้เขียนผลงานซึ่งเป็นตำราเล่มสำคัญ เกี่ยวกับหลักสูตร ซึ่งเธอได้แสดงแนวคิดของตนเองไว้อย่าง ชัดเจนว่า หลักสูตรการศึกษาควรมุ่งเน้นไปที่การสอนให้ ผู้เรียนคิดมากกว่าจะเป็นการถ่ายทอดข้อเท็จจริง
แนวคิดและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่นิยมนำมาใช้ในการ วางแผนหลักสูตร (curriculum planning) ในปัจจุบัน เรียกว่าแนวคิด การบริหารทางวิทยาศาสตร์ (scientific management) ซึ่งเป็น แนวคิดของนักหลักสูตรกลุ่มผลผลิต (product approach) หรือ หลักสูตรที่กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable result) ในรูป ของคุณลักษณะหรือสมรรถนะในด้านความรู้และทักษะของผู้เรียน เป็นปลายทางของการพัฒนาผู้เรียน แนวคิดหลักสูตรกลุ่มผลผลิตนี้ เป็นฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (outcome based-education) และก่อให้เกิดรูปแบบหลักสูตรใหม่ตามมา ได้แก่ หลักสูตรอิงมาตรฐาน (standards-based curriculum) และหลักสูตร อิงสมรรถนะ (competencies based-curriculum) เป็นต้น
แม้ว่ารูปแบบของหลักสูตรจะมีความแตกต่างในด้าน การกำหนดเป้าหมาย แต่หลักสูตรในกลุ่มนี้ ล้วนแต่มีวิธีการ ดำเนินการพัฒนาบนกระบวนการหรือขั้นตอนที่คล้ายคลึง กัน และขั้นตอนเหล่านั้น มาจากแนวคิดของนักหลักสูตร กลุ่มผลผลิต ได้แก่ Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1982) โดยเฉพาะแนวคิดของ Taba นั้น ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง เพราะเธอได้เสนอแนวคิด กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นขั้นตอนชัดเจนและให้ ความสำคัญกับครูในฐานะผู้สร้างหลักสูตร
Taba ได้ให้ทัศนะเรื่องการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้ “การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่ต้องการความคิดที่เป็นระบบและเป็นลำดับขั้นตอนและมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบทุกลำดับขั้นตอนของการตัดสินใจและวิธีการที่ใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกการตัดสินใจได้ผ่านการพิจารณาที่สอดคล้องเหมาะสม” ในการพัฒนาหลักสูตรจึงควรวางรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อความถูกต้องเหมาะสมและสะดวกรวดเร็วเมื่อทำการสร้างหลักสูตร
Taba มีพื้นฐานความเชื่อ และเป้าประสงค์ เกี่ยวกับการ คิด ดังนั้น Taba ได้ตั้งสมมติฐานในการคิด 3 ข้อ ได้แก่ 1. การคิดสามารถสอนได้ 2. การคิดเป็นการกระทำระหว่างบุคคลและข้อมูล 3. กระบวนการคิดเกิดเป็นขั้นตอน
ทาบา (Taba, 1962, p. 422-423) กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตร 4 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ การประเมินผล
เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ / ความมุ่งหมาย 1. วัตถุประสงค์ (Objectives) เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนอย่างไรหรือจะให้การศึกษาเพื่ออะไร เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ / ความมุ่งหมาย สิ่งทั้งหลายที่เรากำลังพิจารณานั้นมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของเราหรือไม่ สิ่งทั้งหลายที่เรากำลังพิจารณานั้นมีส่วนสัมพันธ์ต่อเนื่องกันกับเนื้อหาสาระและการเรียนรู้หรือไม่
สิ่งที่เรากำลังจะกำหนดเป็นวัตถุประสงค์นี้ได้แสดงถึงความแจ่มชัดเกี่ยวกับการเลือกและการจัดประสบการณ์เรียนรู้หรือไม่ การกำหนดวัตถุประสงค์นั้นได้แสดงถึงระดับพฤติกรรมต่างๆ ปรากฏออกมาอย่างชัดเจนหรือยัง การกำหนดวัตถุประสงค์แต่ละข้อได้แสดงเอกลักษณ์หรือการมีลักษณะเฉพาะของมันเองมากน้อยเพียงไร มีการซ้ำซ้อนกับวัตถุประสงค์ข้ออื่นๆหรือไม่
2. เนื้อหาวิชา (Contents) เป็นการเลือกสรรและจัดเนื้อหาวิชาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายที่กำหนดไว้การพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระนี้จะต้องพิจารณาให้ตรงกับจุดประสงค์ของวัตถุประสงค์เกี่ยวกับความรู้ เพราะเนื้อหาสาระที่จะพิจารณาเลือกสรรมานี้จะมองเห็นถึงลำดับของความรู้ว่าอะไรควรมาก่อนมาหลัง นอกจากนั้นแล้วยังแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ของความรู้นั้นมีบทบาทในที่ๆแตกต่างกัน และสะดวกกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้และตัวผู้เรียนด้วย
เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระ ความรู้ที่เราได้คัดเลือกมานั้น ได้แสดงถึงความแตกต่างและการมีลักษณะเฉพาะของมันเองหรือไม่มากน้อยเพียงไร เนื้อหาสาระนั้น มีความสมดุลในธรรมชาติของวิชานั้นหรือไม่ ทั้งด้วยขอบข่ายเกี่ยวกับความกว้างและความลึกของวิชา เนื้อหาสาระนี้มีความต้องการและความสนใจ เพื่อตอบสนองแก่ผู้เรียนได้มากน้อยเพียงไร เนื้อหาสาระนี้มีแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์เกี่ยวกับความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้มากน้อยเพียงไร
3. การนำหลักสูตรไปใช้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน (Curriculum Implementation) เป็นการนำเอาหลักสูตรที่เป็น รูปเล่มไปปฏิบัติให้เกิดผล การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้การสอนเกิดขึ้นและได้แนวคิดพื้นฐานมาจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้โดยเฉพาะเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ทางด้านความรู้ ซึ่งเป็นข้อมูลมาให้เราพิจารณาในการวางแผนที่สำคัญในการจัดกระบวนการเรียนการสอน และข้อมูลอีกประการหนึ่งที่เราต้องนำมาประกอบการพิจารณาคือเนื้อหาสาระของหลักสูตร
สิ่งที่จะช่วยให้การจัดประสบการณ์เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ทาบาได้เสนอแนะไว้ดังนี้คือ ประสบการณ์เรียนรู้ต้องการการฝึกปฏิบัติอย่างกว้างขวางโดยคำนึงถึงกระบวนการและวิธีการมากกว่าที่จะมุ่งเน้นเฉพาะผลผลิตแต่อย่างเดียวเท่านั้น ประสบการณ์เรียนรู้ควรจะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย และกำหนดหน้าที่ที่นักเรียนจะต้องฝึกปฏิบัติพื้นฐาน
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ควรจะมีการพิจารณาและพินิจเกี่ยวกับการเรียงลำดับ ขั้นตอนของความรู้ว่าสิ่งใดมาก่อนและหลัง เพื่อให้ผู้เรียนไม่เกิดความสับสน ลำดับขั้นตอนควรดำเนินการไปอย่างเป็นรูปธรรมจนไปถึงนามธรรม ส่วนการฝึกปฏิบัตินั้นจะเป็นขบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเป็นที่พอใจในการฝึกปฏิบัติให้มากที่สุด
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก ส่งเสริมความคิดของเด็กให้ฝึกปฏิบัติเองให้มากที่สุด และการฝึกปฏิบัตินั้นจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้แก้ไขปัญหาและคิดสร้างสรรค์ต่อไป ประสบการณ์เรียนรู้นั้นที่ได้จัดขึ้นอย่างเดียวอาจจะนำไปสู่ผลหลายๆด้าน อันเป็นหนทางนำไปสู่ขบวนการความคิด แบบสืบค้น และการคิดสร้างสรรค์
4. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการหาคำตอบว่าการดำเนินการของหลักสูตรเป็นไปตามความมุ่งหมายหรือไม่ เพียงใดและมีอะไรเป็นสาเหตุ แต่การประเมินผลควรจะมีการกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาให้ชัดเจนว่าจะประเมินผลสิ่งใดบ้าง และต้องการความลุ่มลึกในสิ่งที่จะประเมินเพียงใด ตลอดจนระยะเวลาและขีดจำกัดต่างๆว่าจะกระทำได้ตามขีดความสามารถแค่ไหน ทาบ้าได้เสนอแนะเกณฑ์ในการพิจารณาการประเมินผลไว้ดังนี้
การประเมินผลควรจะกว้างและลุ่มลึกพอสมควร การประเมินผลควรจะครอบคลุมถึงขอบข่ายของวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาของโรงเรียนด้วย การประเมินผลควรเป็นปัจจุบัน และทันสมัยเสมอเพราะการประเมินผลนั้นกระทำเพื่อการวินิจฉัยปรับปรุงหลักสูตรทั้งระบบว่าบกพร่องอยู่ที่จุดใด
การประเมินผลควรจะกระทำกันอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะส่วนที่เป็นหลักสูตรและส่วนที่เป็นการสอนนั้นไม่สามารถจะแยกแยะออกจากกันได้ เพราะจะต้องศึกษาถึงความก้าวหน้าของการสอนที่มีจุดอ่อน และจุดเด่นที่ได้ปฏิบัติมาตลอดปีที่เป็นเครื่องบ่งชี้เพื่อปรับปรุงแก้ไขใช้ต่อไป
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Taba ดำเนินการอย่าง เป็นขั้นตอนรวมทั้งสิ้น 7 ขั้นตอนจะเน้นการมีส่วนร่วมของวัสดุ ในห้องเรียน ภาพถ่าย แผนผัง สามารถใช้เป็นการอ้างอิงในการเรียน การสอน โดยที่นักเรียนนำมาเป็นรูปแบบการคิดเชิงนิรนาม เป็น กระบวนการที่นักเรียนใช้อ้างอิงได้อย่างใกล้ตัว และเป็นการสอนวิธี คิดอย่างเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs) การศึกษาความต้องการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับ แรก ผู้พัฒนาหลักสูตร (ครู) จะต้องวินิจฉัยประสบการณ์ ความ ต้องการและความสนใจของผู้เรียนเพื่อมากำหนดเนื้อหาของ หลักสูตร
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives) เมื่อทราบความต้องการของผู้เรียนหรือของสังคมแล้ว ผู้พัฒนา หลักสูตรจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งจะใช้ กำหนดเนื้อหาว่าจะมีความเฉพาะเจาะจงเพียงใดและวิธีการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ 3. การเลือกเนื้อหา (selection of content) ผู้พัฒนา หลักสูตรเลือกเนื้อหาสาระที่จะนำมาให้ผู้เรียนศึกษาโดยพิจารณา จากวัตถุประสงค์ เนื้อหาที่เลือกมานั้นจะต้องมีความตรง (validity) ตามวัตถุประสงค์และมีนัยสำคัญ (significance) ต่อผู้เรียน
4. การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา (organization of content) เนื้อหาที่คัดเลือกมาได้นั้น ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องนำมา จัดเรียงลำดับ (sequence) โดยใช้เกณฑ์หรือระบบบางอย่าง ทั้งยัง จะต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงและการเน้น (focus) ให้เหมาะกับ วัตถุประสงค์ที่จะสอนและระดับของผู้เรียน 5. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (selection of learning experiences) ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาเรื่องของ การจัดเรียงลำดับประสบการณ์ และจะต้องเลือกวิธีการจัดการเรียน การสอนที่จะสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาตามวัตถุประสงค์
6. การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การ เรียนรู้ (organization of learning experiences) การจัด องค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้พัฒนาหลักสูตร จะต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์การสอนที่สำคัญคือการพัฒนา กระบวนการสร้างมโนทัศน์ (strategic of concept attainment) และคำนึงถึงคำถามสำคัญ ได้แก่ จะทำอย่างไรให้เนื้อหาสาระ สอดคล้องกับประสบการณ์และความสนใจของผู้เรียน และจะ ทำอย่างไรให้การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สอดคล้องและ ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมินคืออะไรและจะใช้ วิธีการและเครื่องมือใดในการประเมิน (determination of what to evaluate and of the ways and means of doing it) นักหลักสูตรจะต้องประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยจะต้องตอบคำถามว่า จะประเมินคุณภาพของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้อย่างไรและ จะใช้เครื่องมือและวิธีการใดในการประเมิน
1. สามารถนำแนวคิดของ Taba ไปใช้โดยให้เป็นไปตาม ขั้นตอนตามที่ Taba เสนอไว้ 2. เครื่องมือที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่นจะนำไปสู่ การพัฒนาทักษะการคิด ที่เน้นการคิดแบบอุปนัย 3. หลักสูตรมีความเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรแม่บท ข้อดี
4. ให้ประสบการณ์ทั้งด้าน พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) และ จิตพิสัย (Affective Domain) 5. ช่วยขยายกรอบแนวคิดของ Tyler 1. หลีกเลี่ยงแนวคิดทางการเมือง 2. การสอนที่เน้นการคิดแบบอุปนัย ค่อนข้างที่จะใช้เวลา มาก อาจจะทำให้สอนไม่ได้ครบทุกเนื้อหา ข้อจำกัด
สรุป ตามแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ Taba ข้างต้น จะ เห็นได้ว่าเธอได้ให้ความสำคัญกับครูหรือผู้สอนว่าจะต้องเป็นผู้ที่ พัฒนาหลักสูตร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือหลักสูตรต้องออกแบบโดย ผู้ใช้ และกระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 7 ขั้นตอน เป็นรูปแบบการ พัฒนาจากรากหญ้า (grass-roots model) ซึ่งแตกต่างจาก Tyler ที่ ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ จะจัดให้แก่ผู้เรียน หน้าที่หลักของครูตามแนวคิดของ Taba คือ ผู้จัดการเนื้อหาและมโนทัศน์ความรู้ต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้อง กับการเรียนรู้ของผู้เรียน และหลักสูตรจะต้องสร้างขึ้นจากภายในชั้น เรียน ก่อนที่จะพัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรสถานศึกษา
สวัสดีค่ะ